หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2552

การเสวนาการจัดการความรู้

ในระหว่างวันที่ 1-3 พ.ค.2552 สถาบันพัฒนาการศึกษาและพัฒนาต่อเนื่องสิรินธร จะจัดประชุมแกนนำการจัดการความรู้ ปี 2552 ขึ้นที่โรงแรมอยุธยาแกรนด์ โดยมีเนื้อหาในการสัมมนาที่น้าสนใจ ดังนี้ 1 แนวคิดการขัยเคลื่อนการจัดการความรู้ กศน. 2 ประสบการณ์ชุมชนนักปฏิบัติการจัดการความรู้กับการพัฒนางาน กศน. ซึ่งประกอบด้วย 2.1 การจัดการความรู้ กระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2.2 ระบบการเรียนการสอนทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 2.3 การจัดการเรียนรู้แบบไตรมิติ 2.4 นวัตกรรมดีเด่นของ กศน. 2.5 การบริหารจัดการค่ายวิทยาศาสตร์อย่างมืออาชีพ 2.6 การจัดการเรียนรู้แบบเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนชายแดน การเสวนาครั้งนี้ ได้เชิญบุคลากร กศน. ทั่วทุกภูมิภาคมาเข้าร่วมเสวนา ซึ่ ข้อสรุปจากการเสวนา เป็นอย่างไร จะได้นำมาเสนอต่อไป

วันจันทร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2552

มองทิศทาง กศน. ไม่ออก ว่า จะเดินไปทางไหน

อาจจะห่างไกลวงการ กศน. ไปสักหน่อย หรืออาจจะเป็นเพราะไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้ทราบว่า กศน. ตอนนี้เป็นอย่างไร จึงทำให้ชักจะเริ่มมองไม่ออกว่า กศน. กำลังทำอะไรอยู่ แล้วจะไปทางไหน กิจกรรมที่ดูเหมือนว่า ว่าเป็นระบบ ระเบียบมากที่สุดของ กศน. ตอนนี้ คือ การศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือตอนก่อนเราจะเรียกว่า การศึกษาสายสามัญ ที่ดำเนินการกันชัดเจน คือเปิดเรียนทั้ง ประถม ม.ต้น ม.ปลาย ส่วนงบประมาณที่ได้ ก็เป็นค่ารายหัว เช่นเดียวกับในระบบโรงเรียน แต่ถ้าถามจริงๆ ก็ดูเหมือนว่า ไม่ใช้งานหลักของ กศน. เท่าไรนัก เพราะเป็นงานของ สพฐ ส่วน กศน. ก็จะเก็บตกคนที่พลาด หรือขาดโอกาส ดังนั้น งานนี้ ก็ไม่ชัดเจนว่า กศน. เป็นหลักหรือไม่ เพราะถ้าในระบบ ทำได้เต็มที่ กลถุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้ก็จะลดลง และถ้าดูข้อมูลกันจริงๆ แล้ว (กล่าวอย่างตรงไปตรงมา) ก็ดูเหมือนว่า จะไม่ค่อยได้ผลเท่าไร จะเห็นได้จากข้อมูลผู้เข้าเรียน ที่ไม่มาสอบ หลายสิบเปอร์เซ็นต์ ก็แสดงว่า เกิดความสูญเปล่าพอสมควร บางคนมีรายชื่อลงทะเบียนเฉยๆ แต่ไม่เคยมาเรียนและมาสอบ กิจกรรมต่อมา คือการศึกษาอาชีพ ซึ่งดูแล้ว ก็ไม่เด่น เท่าไร สังเกตจากโครงการต้นกล้าอาชีพ ไม่มี กศน. เข้าไปเกี่ยวข้อง แสดงว่า การฝึกทักษะอาชีพจริงๆ ของ กศน. คุณภาพยังไม่ดีนัก ก็มีคำถมว่า อาชีพที่ กศน. จัดอยู่มันเป็นอย่างไร และควรจะเดินต่อไปอย่างไร กิจกรรมการศึกษาสำหรับผู้ไม่รู้หนังสือ ซึ่งทุกวันนี้ ก็ต้องยอมรับว่า ยังมีอยู่ แต่ก็ไม่รู้ว่า ใครบ้าง ที่ไม่รู้หนังสือ หรือลืมหนังสือ และกิจกรรมนี้ ก็ดูเหมือนว่า หายไปหลังจากโครงการ ครช (โครงการรณรงค์เพื่อการรู้หนังสือแห้งชาติ) ยกตัวอย่างแค่นี้ก่อน เพราะกำลังตั้งคำถามว่า กศน. ควรทำอะไร ตามบทบาทที่พยายามกล่าวถึงการศึกษาตลอดชีวิต งานที่บุคลากร กศน. กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน แบ่งกองกำลังอย่างไร เพราะดูเหมือนว่า คนส่วนหนึ่ง ต้องไปทำงานในสำนักงาน คนที่จะลงพื้นที่ จึงลดลง เพราะหน่วยงานของเราขยายลงไปถึงระดับอำเภอ อย่าให้มีคนมาพูดว่า ยุบ กศน. ก็ไม่กระทบต่อการศึกษานอกโรงเรียน เพราะถ้าถึงวันนั้นเมื่อไร คงจะแก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว

ตอนนี้กำลังจะทำอะไร

สัปดาห์สุดท้าย ของเดือนเมษายน มาทำงานอีกครั้ง ภายหลังจากการหยุดยาว ก็เริ่มมาเปิดแผนว่า จะทำอะไรบ้าง ซึ่งมีเรื่องที่จะต้องทำดังนี้ 1 การผลิตสื่อ e-Training หลังจากการประชุมที่ระยอง กลับมาแล้ว ก็ให้อาจารย์เล็ก ทำสื่อที่รับผิดชอบ เพื่อเตรียมนำไปทำ SCORM ที่จังหวัดราชบุรี ในต้นเดือนหน้า พร้อมทั้งทำ Scrip Titleส่งไปให้ศูนย์ภาคกลางภายในวันที่ 20 2 โครงการ Thailearning ได้รับแจ้งทาง Mail ว่า คุณทวีศิลป์ จะส้งงานวันที่ 20 นี้ ก็หมายควา,ว่า จะต้องสร้าง Link ขึ้น web ได้แล้ว 3 การนำเสนอ best Practice ที่อยุธยา เรื่อง e-Training จะต้องทำสื่อ และเอกสารประกอบการนำเสนอ และต้องเดินทาง วันที่ 30เมษายนนี้ 4 เตรียมการเปิดการอบรม e-Training ที่จะเปิดการอบรม 16 พ.ค. นี้

พักร้อนเดือนเมษายน

เดือนเมษายน ปีนี้ เป็นเดือนที่มีวันหยุดมากจริงๆ มีวันหยุด ที่เป็นปกติ 2 ครั้ง และวันหยุดพิเศษ อีก 1 ครั้ง รวมวันหยุดทั้งสิ่น 6 วัน เมื่อบวกเสาร์ อาทิย์ เข้าไปด้วย ก็เป็น 14 วัน หรือครึ่งเดือน และถ้ารวมวันพักร้อนเข้าไปด้วย ก็เกือบหมดเดือน แล้วต้องบันทึกไว้มือนกันว่า เป็นเดือนที่มีความร้อนมาก ร้อนทั้งอากาศ และร้อนทั้งเหตการณ์บ้านเมือง จนถึงต้องมีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ในช่วงวันหยุดนี้ทางราชการ และหยุดพักร้อนเดือนเมษายนนี้ มีเหตการณ์หลายอย่างที่เข้ามาเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ลองมาดูว่า มีอะไรบ้าง เรื่องแรก ข้างของแพง สิ่งที่น่าแปลกใจคือ เราบอกว่า อัตราเงินเฟ้อติดลบ ของน่าจะถูก เพราะคนไม่มีเงินซื้อ แต่ของแพงมาก มะนาวลูกละ 10 กว่าบาท ก็เพิ่งได้ยิน เนื้อหมู กิโลละ 130-140 บาท ขณะที่รายได้ลดลง ครูเรา ก็ต้องรัดเข็มขัด จนเอวคอด เอวกิ่ว ดีแต่ว่า ช่วงนี้ส่วนมากเป็นช่วงปิดเทอม ไม่มีการเรียนการสอน ได้อยู่กับบ้าน ประหยัดรายจ่ายไปได้บ้าง เรื่องที่ 2 เหตุการณ์บ้านเมื่อง ที่เกิดเรื่องเกิดราว เกิดความแตกแยก โดยตอนนี้เพิ่มมาอีก 1 สีแล้ว แต่เดิม มีสีเหลือง สีแดง ตอนนี้ สีน้ำเงินเพิ่มขึ้นมา ก็เลยครบ 3 ก๊กแล้ว เรื่องที่ 3 เรื่องข่าวสารบ้านเมือง ตอนนี้ แย่มาก ไม่รู้ว่า ข้อะเท็จจริงเป็นอย่างไร เพราะสื่อสารมวลชน เริ่มเชื่อไม่ได้ นำเสนอข้อเท็จ ข้อจริง แล้วก็โยนให้ผูเบริโภค ใช้วิจารญาณ เอาเอง แต่พยายามใช้แล้ว ก็ยังไม่รู้อยู่นั่นเอง ว่า อะไรเท็จ อะไร จริง เรื่องที่ 4 เรื่องความรุนแรงในบ้านเมือง ไม่อยากพูดเรื่องนี้

วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2552

สังคมที่กำลังวิกฤติ

  • ช่วงนี้มีวันหยุดยาวมาก ปรกติแค่หยุดสงกรารต์ ก็ยาวอยู่แล้ว แต่นี้รัฐบาลเพิ่มวันอยุดเข้าไปอีก ก็เลยหยุดยาว และตัวเราเอง แถมลาพักร้อนด้วย จึงหยุดยาวมาก สรุปก็คือ หยุดเกือบทั้งเดือน วันหยุด แต่เหตการณืต่างๆ ไม่หยุด โดยเฉพาะเหตการณ์ทางการเมือง คงจะต้องมีการบันทึกว่า ตอนช่วงนี้ มีเหตุการณ์บ่อยจริงๆ หลังจากรัฐประหารเมื่อปี 2549 ต่อจากนั้น เหตการณ์วุ่นวายก็เกิดขึ้น เมื่อกลุ่ม เสื้อแดง แต่เดิมเรียก นปก. ออกมาต่อต้าน เกิดความรุนแรง ต่อจากนั้นก็มีการเลือกตั้ง กลุ่มเสื้อเหลืองก็ออกมาต่อต้าน และเกิดเหตุการณ์รุนแรงเมื่อ 7 ตุลาคม 2551 จนเปลี่ยนแปลงรัฐบาล แล้วกลุ่มเสื้อแดง ในชื่อ นปช. ก็ออกมาต่อต้าน จนเกิดความรุนแรง ในวันสงกรานต์ คือ 13- 14 เมษายน 2552
  • เอาเรื่องใกล้ตัวมาเล่าดีกว่าทจะให้เห็นสภาพสังคมที่กำลังแย่ เมื่อคืนนี้ ได้รับโทรศัพท์จากลูก เวลาประมาณเกือบ 5 ทุ่ม น้ำเสียงยังตกใจ โดยเล่าให้ฟังว่า ขี่รถมอร์เตอร์ไซต์ออกไปกับเพื่อนเพื่อออกไปกินข้าว เมื่อเสร็จแล้ว ก็ขี่รถกลับหอพัก มีผู้ร้ายมากระชากกระเป๋าไปจากมือ ขณะที่กำลังขี่รถ สถานที่คือ คลองหก จังหวัดปทุมธานี ที่ลูกกำลังไปเรียนหนังสือ อยู่ที่ ม. ราชมงคลธัญบุรี โดยพักอยู่หอพักแถวๆใกล้มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นชุมชนและหอพักมากมาย แต่บริเวณที่ถูกกระชากกระเป๋า ค่อนข้างจะไม่ค่อยมีไฟ ก็ได้แต่ปลอบใจลูกว่าท ให้ระวังตัวให้มาก ทรัพย์สินเสียแค่นี้ไม่เป็นไร อย่าให้ตัวเองเป็นอันตรายก็พอแล้ว แต่ต่อไปก็ต้องระวังเป็นพิเศษ กลางคืนห้ามไปไหน ถ้าจำเป็นต้องไปต้อวงมีเพื่อนไปหลายๆ คน แห้กระทั่งบนหอพักก็อย่าไว้ใจ
  • เรื่องที่เล่ามานี้ ชี้ให้เห็นว่า ประชาชนทั่วไปไม่มีความปลอดภัยเลยพึ่งใครไม่ได้แล้ว ต้องพึ่งตัวเอง ขณะที่ผู้ปกครองบ้านเมืองกำลังแย่งชิงอำนาจกัน จะรู้ไหมว่า ชาวบ้านทั่วไป กำลังเดือดร้อน ทุกหย่อมหญ้า และคิดว่า อาจจะทวีควมรุนแรงมากขึ้น ตัวอย่างเช่นเหตการณ์ เมื่อวานนี้ คือเช้าวันที่ 17 เมษายน ก็มีการลอบยิงแกนนำเสื้อเหลือง คือ นายสนธิ ลิ้มทองกุล ด้วยอาวุธสงคราม กลางกรุงเทพ นี่มันอะไรกัน บ้านเมือง ท่านผู้นำทั้งหลาย จะแย่งชิงอำนาจกันไปถึงไหน แต่ละคนปากก็บอกว่า ทำเพื่อประชาชน แต่ดูเหมือนว่า พวกท่านยิ่งทำ ประชาชนยิ่งแย่ ท่านควรปรับนโยบายใหม่ จากนโยบายที่บอกว่า จะทำอะไรบ้าง มาเป็นนโยบายว่า จะไม่ทำอะไรบ้าง ส่วนจะทำอะไรบ้าง ให้ข้าราชการประจำเขาทำไป เขาก็ทำเป็น ส่วนนักการเมืองมาคิดว่า จะไม่ทำอะไรบ้างที่จะทำให้ประชาชนเดือดร้อนบ้าง

วันพฤหัสบดีที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2552

การปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศ

ระหว่างวันที่ 2-3 เทษายน ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมปฏิบัติการคณะทงำนโครงการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ: การปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศปีงบประมาณ 2552 ที่สำนักงาน กศน. ซึ่งการประชุมครั้งนี้ เป็นการระดมแนวคิดจาดคณะทำงาน เพื่อพิจารณาแนวทางการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ พร้อมทั้งศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ โดยกำหนดแนวคิดในการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ ได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ กลุ่มที่ 2 ระบบสารสนเทศ เพื่อการเรียนการสอน เป้าหมายที่สำคัญประการหนึ่งคือ เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่ กพร. กำหนด วึ่งมี 2 เรื่อง ใหญ่ๆ คือ สารเทศเรื่องการบริหารจัดการงบประมาณ และ สารสนเทศเรื่องกลุ่มเป้าหมาย จากการประชุม ได้พิจารณาระบบฐานข้อมูลที่จำเป็นและฐานข้อมูลที่มีอยู่แล้ว ที่จะนำมาใช้ดังนี้ ระบบฐานข้อมูลที่นำมาใช้
  • โปรแกรมสารสน เทศห้องสมุด นำมาใช้งานแล้ว พร้อมทั้งมีข้อมูลของห้องสมุดทั่วประเทศ ดำเนินการโดย สพร. ติดตั้งระบบอยู่ที่ server ของ สถาบัน กศน. ภาคกลาง
  • บุคลากร (PSB) ดำเนินการพัฒนาโดย อ.ฐิติ ติดตั้ง และทดลองใช้งานที่ server ของ สถาบัน กศน. ภาคกลาง มีข้อมูลบุคลากรบางส่วน เช่น ข้อมูลบุคลากรของ สถาบัน กศน. ภาคกลาง
  • บริหารงบประมาณ พัฒนาโดย อ. อดิศักดิ์ มีการใช้งาน ที่สำนักงาน กศน. หลายจังหวัด แต่ยังไมได้ใช้ทั่วประเทศ
  • ฐานข้อมูลผู้จบหลักสูตร (NFE-GDM) มีการใช้งานที่สำนักงาน กศน. เกือบทุกจังหวัด
  • ผู้ไม่รู้หนังสือ กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาระบบฐานข้อมูล โดยอ.อุดมศักดิ์ ส่วนข้อมูลกำลังสร้างแบบสำรวจ ที่จะให้แต่ละจังหวัดดำเนินการสำรวจ
  • การศึกษาขั้นพื้นฐาน แต่ละจังหวัดใช้งานอยู่แล้ว
  • การศึกษาต่อเนื่อง ยังไม่ได้ดำเนินการ
  • ฐานข้อมูลภาคีเครือข่าย ยังไม่ได้ดดำเนินการ ข้อมูลอยู่ที่ กป.

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2552

ชีพจรลงเท้า

ปัญหาที่แก้ไม่ตกสักทีของการทำงานราชการ คือ ปีหนึ่งมีเวลาทำงานเพียงไม่กี่เดือน เพราะหน่วยงานบางหน่วย ทำงานตามเงินงบประมาณ ซึ่งปีงบประมาณ จะเริ่มเดือน ตุลาคม และสิ้นสุดเดือนกันยายน ของปีต่อไป ถ้าการทำงานนั้น ต้องเกี่ยวข้องกับงบประมาณ ก็ต้องรอให้อนุมัติงบประมาณ มมาก่อน ซึ่งกว่าจะจัดสรรให้ใช้จ่ายได้ ก็ผ่านไปประมาณ 4 เดือนคือประมาฯไตรมาสที่สองจึงจะมีเงินมาทำงาน งานบางเรื่องทำล่วงหน้าได้เพราะไม่ต้องใช้เงิน แต่บางเรื่องต้องรอเงินจึงจะได้ทำน ดังนั้น จึงไมต้องรอ และเมื่อทำงานก็ต้องใช้เงินให้หมดประมาณเดือนกรกฏาคม หรืออย่างช้า สิงหาคม เมื่อทุกคนได้รับงบประมาณ ต่างก้เร่งทำงาน แต่งานบางเรื่อง ทำคนเดียว หรือหน่วยงานเดียวไมได้ ต้องทำงานเป็นเครือข่าย คือ ทำร่วมกัน ดังนั้น จึงต้องจัดคิวการทำงาน คือ ทำทั้งของตนเอง และไปร่วมงานกับคนอื่น ดังนั้น สำหรับบางคน ในช่วงเวลานี้ จึงต้องเดินทางกันเป็นว่าเล่น งานหลายๆอย่างจึงต้องใช้โรงแรมเป็นสำนักงาน หรือสถานที่ทำงาน ใช้ห้องประชุมเป็นสถานที่ทำงานร่วมกัน ตั้งข้อสังเกตว่า เมื่อ ICT พัฒนาไปได้มาก ทำอย่างไรจึงจะนำเอาICT มาใช้ประโยชน์ให้ได้มากกว่านี้