หน้าเว็บ

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สูตรลับความสำเร็จ Step for Success

เริ่มต้นปีงบประมาณของหน่วยงานราชการ มีสภาพที่เหมือนกันประการหนึ่งคือ รองบประมาณ ที่จะอนุมัติมาให้ดำเนินงาน ดังนั้นช่วงต้นปีจึงมีกิจกรรมชาร์ตแบตเตอร์รี่ กันต่างๆ นาๆ เพื่อให้ไปแรงขึ้น

  • การชาร์ตแบตของหน่วยงานในครั้งนี้คือ การเข้ารับการอบรมเรื่อง สูตรลับความสำเร็จ Step for Success ซึ่งหลังจากการอบรมแล้ว ก็ได้ว่า สูตรลับจริงๆ มีแค่ 3 ขั้นตอนเท่านั้นคือ

ขั้นตอนที่ 1 มีเป้าหมายชัดเจน วางเป้าหมายที่ต้องการไปให้ถึง

ขั้นตอนที่ 2 กำหนดวิธีการที่จะไปให้ถึง

ขั้นตอนที่ 3 ลงมือทำตามวิธีการ ในขั้นตอนที่ 2

มีคำถามว่า สำเร็จจริงหรือไม่ เพราะใครๆ เขาก็ทำแบบนี้ทั้งนั้น จริงๆ สูตรลับมันอยู่ที่ Again and Again and Again .......

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การศึกษาที่บิดเบี้ยว

วันนี้ได้มีโอกาสร่วสมประชุมกับสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ กศน. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสมาชิกส่วนมากเป็นข้าราชการบำนาญ ที่เคยทำงานอยู่ในหน่วยงานของ กศน. ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัวหวัดอุบลราชธานี หรือใกล้เคียง ได้พบหลานท่านที่เราเคยร่วมงานตั้งแต่สมัยรับราชการใหม่ๆ ดังนั้นเรื่องที่คุยแลกเปลี่ยนกัน ก็มีสองเรื่องใหญ่ๆ คือ1 เรื่องย้อนอดีตสมัยที่ยังเคยรับราชการ 2 เรื่องปัจจุบัน ซึ่งส่วนมากก็เป็นชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบัน แล้วที่แปลกคือ ส่วนมาก ไม่คุยถึงเรื่องลูกเลย ส่วนมากจะคุยถึงเรื่องหลาน หรือเหลน ผู้สูงอายุท่านหนึ่งเล่าด็วยความภูมิใจที่ช่วยดูแลหลานตัวน้อยๆ กำลังเรียนอยู่อนุบาล ที่สำคัญคือดูแลทั้งเรื่องความเป็นอยู่ และเรื่องเงินทองส่งเสียเล่าเรียนด้วย ก็แจงออกมาว่า แต่ละเดือนต้องจ่ายเรื่องอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายทั่วๆไป ที่เล่าให้ฟังก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่สะกิดใจคือ ค่าเรียนพิเศษ จนคชต้องตั้งคำถามกลับไปว่า เด็กที่เรียนอนุบาลก็ต้องเรียนพิเศษหรือนี้ คำตอบคือ ถ้าไม่เรียนพิเศษ กลัวจะไปสมัครเรียนต่อชั้น ป. 1 ไมได้ เรื่องนี้ก็เลยคุยกันยาง ถึงการศึกษาในปัจจุบัน ที่มีประเด็นหลายเรื่องเข้ามา เช่น นโยบายเรียนฟรี แต่มีค่าใช้จ่ายมากมาย หนักกว่าสมัยก่อน การเรียนที่เน้นการเรียนพิเศษในโรงเรียนกวดวิชา มากกว่าให้ห้องเรียน ครูที่หันไปเอาดีทางสอนพิเศษกันเป็นจำนวนมาก แต่สุดท้ายก็มาสรุปกันว่า การศึกษาทุกวันนี้ มันเดินไปถูกทางหรือเปล่า และใครเป็นต้นเหตุให้การศึกษามันบิดเบี้ยวไปอย่างนี้ แล้วอนาคตต่อไปมันจะเป็นอย่างไร

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

e-Education เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน

แหล่งเรียนรู้บนโลกอินเทอร์เน็ต มีมากมาย และมากเสียจนไม่รู้ว่ามีอะไรบ้าง อยู่ที่ไหนบ้าง ถ้ามีระบบการจัดการความรู้ที่ดี ก็จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้มากขึ้น
  • เคยเขียนถึงเรื่อง e-Education เอาไว้แล้ว เพื่อรอการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านผู้รู้ วันนี้ขอเขียนต่ออีกนิด ถึงประสบการณ์ที่ได้ทำมาเกี่ยวกับเรื่อง e-Learning พบว่าความยุ่งยากประการหนึ่งคือ การสร้างบทเรียน เพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนในระบบ e-Learning เพราะใช้เวลาในการสร้างมาก ถ้าเปรียบกับการเรียนการสอนในโรงเรียน ก็คงเหมือนกับครูผู้สอนที่ต้องสร้างตำราของตนเอง กว่าจะเขียนตำราได้แต่ละเล่ม ไม่ใช่ง่าย เมื่อเขียนมาแล้วก็ต้องคอยปรับปรุงให้ทันสมัย ดังนั้นจึงหันมาใช้ตำราที่มีขายในท้องตลาดสะดวกกว่า หรืออาจารย์ในมหาวิทยาลัย ก็ใช้วิธีให้นักศึกษาไปค้นคว้าจากเอกสารต่างๆเอาเอง
  • การศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็คงเช่นเดียวกัน มีบทเรียนที่ใช้เพื่อการเรียนรู้ในระบบ เป็นหลักเพียงชุดเดียวคงไม่พอ ควรเสนอแนะด้วยว่า ผู้เรียนควรไปศึกษาหาวามรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งส่วนมากก็แนะนำแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในเว็บไซต์ต่างๆ เพราะง่ายต่อการค้นหา เพราะผู้เรียนใช้งานอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว
  • ถ้ามีเครื่องมือสักอย่าง ที่ช่วยให้ผู้เรียนค้นหาได้ง่ายขึ้น เช่นใช้ Google ช่วยค้นหา จะทำให้ผู้เรียนเข้าถึงเรื่องที่อยากรู้ได้ง่ายขึ้น แต่ก็พบว่า บางครั้ง ก็ได้แหล่งเรียนรู้มากมาย จนไม่รู้จะเข้าไปที่ไหน บางที่เข้าไปแล้ว ก็ไม่ตรงกับเรื่องที่ต้องการรู้
  • ถ้ามีห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ เฉพาะสำหรับการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ เป็นตัวช่วยผู้เรียนว่า เอกสารเสริมความรู้ในหลักสูตรต่างๆนั้นอยู่ที่ไหนบ้าง ก็จะช่วยผู้เรียนได้มาก ไม่ต้องเสียเวลามาก แนวคิดนี้น่าจะนำมาใช้ช่วยอำนวยความสะดวกได้มาก และไม่รู้ว่า จะเป็นส่วนหนึ่งของ e-Education ได้หรือไม่

e-Education

เทคโนโลยีก้าวหน้าไปเรื่อยๆ แต่การหยิบเอาเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์เป็นเรื่องที่ก้าวเดินตามไปอย่างช้าๆ ต้องรอปัจจัยหลายอย่าง จนมีคนเริ่มสงสัยกันว่า เทคโนโลยีมันดีจริงหรือไม่ ห่างหายไปนานมาก ไม่ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แต่ก็ยังติดตามเรื่องราวทาง Gotoknow ประจำ แต่การเสนอแนวคิดต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็ยังทำอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่ย้ายไปหลายเวที เพื่อไปพบปะกับบุคคลมากหน้าหลายตา ในเวทีต่างๆ
  • ถึงคราวที่ต้องมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์งาน ICT ในเวที่นี้อีกครั้งหลังจากได้ประสบการณ์จากการทำงานด้านการศึกษาออนไลน์หลายประการ อดไมได้ที่จะนำมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อจะได้มีท่านที่สนใจให้ข้อเสนอแนะกันบ้าง
  • จัดการอบรมออนไลน์ หรือ ใช้คำว่า e-Training มากลายปี ได้รับการตอบรับค่อนข้างดี ว่า เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เป็นกระบวนการที่พัฒนาบนพื้นฐานที่เริ่มมีความเป็นไปได้มากขึ้น ทำให้ดีใจ ท่อย่างน้อยๆ ก็เป็นช่องทางหนึ่งของการเรียนรู้ สำหรับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มหนึ่ง ที่มีความพร้อมในเรื่องนี้ จากผลการดำเนินงานแบบลุ่มๆดอนๆที่ผ่านมาโดยตลอด ทำให้ได้รับประสบการณ์จากทั้งประสบการณืจากความสำเร็จ และประสบการณ์จากความล้มเหลว จนเขียนเป็นรายงานได้มากมาย
  • งานการศึกษาผ่านอินเทอร์เน็ต กำลังก้าวจาก e-Learning ไปสู่การบริการที่กว้างขวางขึ้น คือ คำว่า e-Education ซึ่งพยายามค้นหาแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่า มึความหมายหรือขอบเขตกว้างขวางแค่ไหน แต่ก็ยังมีผู้ที่กล่าวถึงเรื่องนี้ไม่มากนัก จากการค้นหาจาก Google ไม่เหมือนคำว่า e-Learning ที่มีผู้กล่างถึงอย่างกว้างขวาง ดังนั้นจึงคิดว่า จะทดลองทำตามความเข้าใจของเราก่อน และค่อยศึกษาเพิ่มเติมว่า คนอื่นคิดอย่างไร และทำอย่างไร
  • แนวคิดของ e-Education คือ เอาเทคโนโลยัสารสนเทศและการสื่อสาร เข้ามาใช้กับระบบการศึกษาทั้งระบบ ไม่ใช่เฉพาะเรื่องการเรียนการสอนเพียงอย่างเดียว เพียงแต่ต้องพิจารณาว่า จะนำมาใช้กับเรื่องใดได้บ้าง ซึ่งจะลองดำเนินการจากเรื่องเล็กๆ และขยายให้กว้างขึ้น และตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น พร้อมทั้งรอคอยแนวคิดและข้อเสนอแนะจากท่านอื่นๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปัญหาซ้ำซาก สำหรับครูคอมพิวเตอร์

วันนี้เกิดปัญหาอีกแล้ว IO Error และเป็นปัญหาที่กระทบต่อการทำงาน เพราะพึ่งพาเทคโนโลยี เพราะข้อมูลทั้งหลายเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด แล้วอยู่ดีๆ ก็ไม่สามารถเข้าไปเปิดได้ ตั้งใจว่าจะ Backup ข้อมูล แต่ยังไม่ได้ทำ จะทำอย่างไรดี

เดินหน้าการศึกษาทางไกล

ขยับไปอีกก้าวของการศึกษาทางไกลในปีนี้ ที่จะพยายามลงให้ถึงนักศึกษากศน. ให้ได้ แต่ก็ไม่รู้ว่า จะได้แค่ไหน เพราะตัวเองสุขภาพก็เริ่มแย่มากขึ้น ตามอายุ

คำสั่งการปฏิบัติงานปีงบประมาณ 2554

ตามคำสั่งที่ 115/2553 ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของส่วนต่างๆ และงานต่างๆ ดังนี้ หัวหน้าส่วน มีหน้าที่ ประสานงานการทำงานเป็นทีม ร่วมวางแผน ปฏิบัติ ติดตาม พัฒนา และ รายงานการปฏิบัติงานของส่วน และตนเอง อย่างน้อยเดือนละครั้ง และเสนอสมุดบันทึกผลงานและคุณภาพงานความดีของข้าราชการครู รายงานภาคเรียนละ 1 ครั้ง และเป็นหัวหน้างาน (งานในส่วน 2 งาน) รองหัวหน้าส่วน มีหน้าที่ ช่วยหัวหน้าส่วนประสานงานการทำงานเป็นทีม ร่วมวางแผน ปฏิบัติ ติดตาม พัฒนา และ รายงานการปฏิบัติงานของส่วน และตนเอง อย่างน้อยเดือนละครั้งและเสนอสมุดบันทึกผลงานและคุณภาพงานความดีของข้าราชการครู รายงานภาคเรียนละ 1 ครั้ง และเป็นหัวหน้างาน (งานในส่วน 2 งาน) หัวหน้างาน มีหน้าที่ วางแผน ปฏิบัติ การทำงานเป็นทีม ติดตาม พัฒนาและรายงานการปฏิบัติงานอย่างน้อยเดือนละครั้ง สมุดบันทึกผลงานและคุณงามความดีของข้าราชการครู รายงานภาคเรียนละ 1 ครั้ง และเป็นหัวหน้างาน (งานในส่วน 2 งาน) ดังนั้นงานที่ รายงานการปฏิบัติงานของตนเอง อย่างน้อยเดือนละครั้ง รายงายผลงานและคุณงามความดี ในสมุดบันทึกผลงานและคุณงามความดีของข้าราชการครู ภาคเรียนละครั้ง รายงานผลการปฏิบัติงานของส่วน อย่างน้อยเดือนละครั้ง (หัวหน้าส่วนหรือรองหัวหน้าส่วน) ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบในฐานะ หัวหน้างาน

วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ปัญหา server

มาถึงที่ทำงานได้สักครูก็เริ่มงานประจำคือเปิดคอมพิวเตอร์ ตรวจสอบเว็บไซต์ต่างๆ ที่ดูแล โดยเฉพาะเว็บหลักของหน่วยงาน เห็นสิ่งผิดปกติแล้ว คือ Counter ถูกลบ เดินไปที่ห้องเก็บ Server พบสิ่งผิปกติ คือ เสียงพักลมดังลั่น ก็คิดว่า อากาศคงร้อน แอร์มีปัญหาแน่ๆ เข้าไปดูใกล้ๆ มีร้องผิดปกติเครื่องเดียว อีก 2 เครื่องปกติ จึงแก้ปัญหาเบื้องต้น โดยการ shutdown เครื่องที่เสียงดัง แล้วหาดูเครื่องที่มีอาการผิดปกติ ปรากฏว่า เข้าไปทำอะไรไมได้เลย เครื่องไม่ทำงาน ท้งเมาส์ และ แป้นพิมพ์ ก็เลยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าก่อนคือ ดึงปลั๊กไฟออก

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การศึกษาทางไกล จะเดินไปทางไหน (ตอนที่4)

เมื่อตอนที่แล้ว กล่าวถึงสาเหตุที่สำคัญสองประการที่ทำให้การศึกษาทางไกลเดินได้ช้าตอนนี้จะมาขยายความให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  • ประการ ที่ 1 คนทำไม่ได้ใช้ คนใช้ไมได้ทำ หมายถึง คนที่พัฒนาเรื่องการศึกษาทางไกลขึ้นมา คือหน่วยงานในส่วนกลาง หรือภาค เช่นตอนนี้ สถาบัน กศน. ภาค เป็นผู้พัฒนา แต่เมื่อทำแล้ว ก็ไม่ได้มาใช้ที่สถาบัน กศน. ภาคเท่าไร แต่ไปใช้กับจังหวัดหรืออำเภอ ขณะที่กลุ่ม ของผู้พัฒนามีผู้รู้เรื่องอยู่ไม่กี่คน ดังนั้น ทำไปก็ไม่ค่อยรู้ว่า เป็นอย่างไรบ้าง ได้ผลไหม ดีไหม เมื่อไปมองที่คนเอาไปใช้งาน คือจังหวัดหรือ อำเภอ ไม่ได้พัฒนาเรื่องนี้ขึ้นมา แต่ยังใช้วิธีการเดิมที่มีอยู่ ถ้าจะเอาไปใช้เหมือนกับว่าเป็นการเพิ่มภาระขึ้นมาหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะต้องมาศึกษา มาเรียนรู้ เพราะไม่ได้เป็นคนพัฒนาขึ้นมาเอง และประกอบกับมีงานมากด้วยก็เลยปล่อยไปก่อน
  • ประการที่ 2 สินค้าไม่น่าใช้ ไม่ใช่ของจำเป็น หมายถึง การศึกษาทางไกลหรือ e-Learning ที่พัฒนาขึ้นมานั้น ถ้าเปรียบ เหมือนสินค้า ก็ยังไม่น่าจับ น่าใช้ ยังไม่มีคุณภาพเท่าไร เช่น บทเรียนไม่ดึงดูดความสนใจ ใช้ยาก เมื่อเปรียบเทียบกับสื่อแบบเก่า คือหนังสือ เรียน ที่ใช้ง่ายกว่า พกติดตัวไปอ่านที่ไหนก็ได้ แต่ e-Learning ต้องใช้กับคอมพิวเตอร์ หายาก เตรียมการยาก ข้อสรุปจึงออกมาว่า ไม่ใช้ดี กว่า
  • จากเงื่อไขทั้งสอลประการดังกล่าว ทำให้ย้อนกลับมาทบทวนว่า ถึงแม้ข้อเท็จจริง หรือนโยบาย จะระบุให้นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช่ เพิ่มประสิทธิภาพการศึกษา และเป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นเรื่องดี และเหมาะสมกับสภาพในปัจจุบัน แต่ถ้ายังไม่สามารถก้าวข้ามอุปสรรคที่ สำคัญทั้งสองประการดังกล่าว ก็คงจะพัฒนาไปอย่างเชื่องช้า เหมือนเช่นทุกวันนี้ จึงต้องมาเริ่มคิดใหม่ ทำใหม่อีกครั้ง แต่ไม่ใช่เริ่มต้นไหม โดยคิดใหม่ ทำใหม่ ในสิ่งที่มีอยู่แล้ว คือมาต่อยอด จากพื้นฐาน ประสบการณ์ ที่ได้สร้างมา

คิดใหม่ ทำใหม่ ในปี 2554

  • 1 คนใช้มาทำเอง การเริ่มต้นในเรื่องนี้ จะต้องมาถามว่า ใครเป็นคนใช้ e-Learning ถ้าไปดูในหลักสูตร กศน. 51 ที่กล่าวถึงวิธีเรียน กศน. ที่มีได้หลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่ใช้มากที่สุดคือ รูปแบบพบกลุ่ม ส่วนรู้แบบทางไกล ไม่มีการใช้เลย ถ้าจะถามว่า ผู้ใช้คือใคร ก็ต้อง ตอบว่า มี 2 กลุ่มคือ นักศึกษา กศน. เป็นผู้ ใช้ในฐานะ ผู้เรียน ส่วนครู กศน. ใช้ในฐานะ ผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้
  • ถามต่อไปว่า นอกจากอำเภอแล้ว มีใช้ที่อื่นอีกหรือไม่ คำตอบก็คือ หน่วยงาน กศน. อื่นๆ ก็คงจะใช้ได้ เช่น สถาบัน กศน.ภาค ใช้ จัดการเรียนการสอน ตามหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัด ศูนย์ฝึกอาชีพฯ ก็น่าจะเป็นผู้ใช้อีกกลุ่มหนึ่ง
  • เมื่อเห็นกลุ่มผู้ใช้ชัดเจนขึ้นแล้ว ก็ต้องมาคิดต่อว่า จะทำอย่างไร ให้กลุ่มผู้ใช้เหล่านี้ มาเป็นผู้คิด ผู้พัฒนาระบบ e-Learning ด้วยตัวเขาเอง แต่จะคิด พัฒนา และปฏิบัติบนพื้นฐานอะไรนั้น เป็นรายละเอียดที่ต้องคิดต่อไป แต่ต้องเริ่มต้นด้วยความคิดที่ว่า การศึกษาทางไกล เป็นเรื่องที่ เขาคิด เขาทำ เขาเป็นผู้พัฒนา เข้าเป็นเจ้าของ และที่สำคัญเป็นงานในหน้าที่ของเขาเอง
  • 2 ทำสินค้าให้น่าใช้ ถูกใจลูกค้า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่มาก เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสามารถและทักษะเฉพาะบุคคล บวกกับ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่จะพัฒนาระบบ e-Learning ออกมาให้ดี และถูกใจผู้ใช้ คือ ทั้งฝ่ายจัด และฝ่ายเรียน ซึ่งมองที่องค์ประกอบ สามอย่างคือ องค์ประกอบที่หนึ่ง ระบบ e-Learning องค์ประกอบที่สอง กระบวนการเรียนการสอน หรือ กิจกรรมการเรียนรู้ องค์ประกอบที่สาม สื่อการเรียนเรียนรู้ หรือที่เราเรียกกันว่า บทเรียนออนไลน์

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ปฏิรูปการศึกษาไทย ได้แต่ปริมาณ

เมื่อวานนั่งดูข่าวโทรทัศน์ ซึ่งมีเรื่องวุ่นวายมากมายในประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องการเมืองในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นเดินที่มีเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับากรเมืองมากมาย เช่น
  • 14 ตุลาคม 16 เป็นวันที่นักศึกษาออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยจากรัฐบาลเผด็จการ จอมพลถนอม กิติขจร วันที่ 6 ตุลาคม 2519 วันที่รัฐบาลและทหาร รุมฆ่านักศึกษา ประชาชนมากมายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในสมัยรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมท 7 รวมทั้งเหตุการณ์อื่นๆ
  • เหตุการณ์ในปัจุบัน ที่การเมืองยังวุ่นวายจากการต่อต้านของกลุ่มต่างๆ ที่ใช้สีเสื้อเป็นสัญญลักษณ์ เช่น กลุ่มเสื้อเหลือง กลุ่มเสื้อสีแดง กลุ่มเสื้อสีน้ำเงิน กลุ่มเสื้อหลากสี (กลุ่มเดียวกับสีเหลือง) ทำให้ช่วงนี้ มีการจัดการเสวนา ในที่ต่างๆ โดยองค์กรต่างๆ มามายหลายที่ เกี่ยวกับบทเรียนที่ได้จากทางการเมืองของประเทศไทยที่ผ่านมา ว่า ทำไมจึงไม่เป็นประชาธิปไตยสักที มีแต่ชื่อว่าประชาธิปไตย แต่ยังเป็นเด็จการโดยทหารมาตลอด ถ้ารัฐบาลไหน ทหารเอาด้วยก็อยู่ได้ แต่ถ้าทหารไม่เอา ก็ถูกปฏิวัติ รัฐประหารมาตลอด จนกลายเป็นเรื่องชินชาของประชาชนไปแล้ว
  • สะดุดใจกับข่าวการเสวนากลุ่มหนึ่ง ที่จัดโดยคนต่างชาติ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานาน คือฝรั่งต่างชาติ ได้ออกมาเสวนาถึงเหตุการณ์ที่เกิดอยู่ทุกวันนี้ ว่าเพราะอะไร ซึ่งมีการกล่าวถึงเรื่องต่างๆอย่างกว้างขวาง แล้วก็มาลงที่การศึกษา เพราะการที่ประชาธิปไตยของไทยไม่ได้ไหนสักที ก็เพราะความล้มเหลวของระบบการศึกษาของประเทศไทย โดยมีใจความตอนหนึ่งที่พูดกันว่า ถึงแม้ประเทศไทยจะมีการปฏิรูปการศึกษา แต่ก็ได้แต่ปริมาณ ไม่มีคุณภาพ เช่น มีการขยายมหาวิทยาลัยราชภัฏเต็มประเทศ แต่ไม่มีใครมาควบคุมดูแล ด้านคุณภาพ ทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏถูกมองว่ามีมาตรฐานต่ำกว่ามหาวิทยลัยหลักๆ ที่มีมาก่อนหน้านี้ การศึกษาไทย ทุกระดับ จะต้องเปลี่ยนมาจัดการศึกษษให้คนได้คิด ไม่ใช่ท่องจำตำรา
  • ในข่าวบอกสั้นๆ จับใจความได้แค่นี้ จึงไม่รู้รายละเอียดทั้งหมด ว่า ในวงเสวนา มีการพูดรายละเอียดอย่างไรบ้าง จึงได้หยิบประเด็นนี้มาคิดต่อ และคิดว่า ที่ต่างชาติเขาวิจารณ์การเมืองไทย แล้วโยงมาที่สาเหตุสำคัญว่าอยู่ที่การศึกษา มันเป็นจริงหรือไม่ ว่า คุณภาพการศึกษาของเราแย่ จนมีผลทำให้การเมืองไทย ไม่ถึงประชาธิปไตยสักที ยังอยู่ภายใต้เผด็จการกลุ่มอำนาจทหารจนทุกวันนี้

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การศึกษาทางไกล จะเดินไปทางไหน (ตอนที่3)

ส่วนที่เกี่ยวข้องกับครู กิจกรรมที่สถาบัน กศน. ภาค ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน คือ การให้ความรู้กับครู กศน. จนครู กศน. งงไปหมดแล้ว ว่า ทำอย่างไร เพราะดูเหมือนว่า สถานีปลายทางของงาน กศน. อยู่ที่ครู กศน. ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร ก็ต้องลงไปถึงครู กศน. จึงดูเหมือนว่า เป็นบุคคลที่รู้เรื่องงาน กศน. มากที่สุด ดังนั้น จึงได้รับเสียงสะท้อนจากบุคลากรเหล่านี้ว่า ทำงานแทบจะไม่มีเวลาว่างอยู่แล้ว ดังนั้น จะเอาอะไรมากมายกับงานในหน้าที่คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นคำถามที่น่าสนใจไม่น้อยเลยนะครับ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ครู กศน. ทุกท่าน ก็ต้องมีการศึกษา มีการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง และด้วยเหตุผลที่ต้องทำงานไม่ค่อยมีเวลา ดังนั้น เทคโนโลยีทางการศึกษา จึงถูกนำเข้ามาเกี่ยวข้อง และนำมาใช้ในการพัฒนาครู ที่เราใช้ว่า การอบรมทางไกล หรือ e-Training ซึ่งสถาบัน กศน. ภาค ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 5 ปีแล้ว แต่เป็น 5 ปี ที่มีกาพัฒนาไปทีละน้อย และเป็นไปอย่างช้าๆ เมื่อเริ่มหันไปดูในโลกไซเบอร์ จะเห็นว่า การเรียนการสอนทางไกล หรือเรียกว่า e-Learning มีความก้าวหน้าไปอย่างมาก และขยายออกไปอย่างกว้างขวาง มีหน่วยงานต่างๆ จัดการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning กันอย่างมากมาย เรียกได้ว่า คนสมัยก่อน ที่อยากเรียนอยากรู้ ต้องอิจฉาคนสมัยนี้ เพราะแหล่งเรียนรู้วิ่งมาตามสายจนถึงบ้าน อยากรู้เรื่องอะไรก็มีให้รู้ทั้งหมด เมื่อสภาพการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างนี้แล้ว ก็มีคำถามว่า ในเมื่อเทคโนโลยีมีความพร้อมอย่างนี้แล้ว ยังจะรออะไรกันอยู่ ทำไมไม่รีบดำเนินการให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ในการพัฒนาบุคลากร ส่งความรู้ลงไปถึงครู เรียกว่าเอาอาหารมาป้อนถึงปากกันเลย แต่จริงๆมันไม่เป็นเช่นนั้น เพราะดูเหมือนว่า ยังมีสิ่งที่ติดขัดหลายประการ ที่ทำให้การพัฒนาเป็นไปค่อนข้างช้า จากการประมวลจากข้อมูลที่ได้รับมาทั้งทางตรง และทางอ้อม มีประเด็นหลักๆ ที่ต้องพิจารณาดังนี้ ประการ ที่ 1 คนทำไม่ได้ใช้ คนใช้ไมได้ทำ ประการที่ 2 สินค้าไม่น่าใช้ ไม่ใช่ของจำเป็น

วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การศึกษาทางไกล จะเดินไปทางไหน (ตอนที่2)

สภาพปัจจุบันที่พบคือ ประการแรกนักศึกษาส่วนหนึ่งไมได้มาพบกลุ่ม ซึ่งในจำนวนนี้ บางคนก็หายไปเฉยๆ ถึงเวลาสอบก็มาสอบ หรือไม่มาเลย บางคนก็ครูจัดให้เรียนด้วยตนเอง ประการต่อมา กระบวนการเรียนรู้หรือกระบวนการเรียนการสอน จะใช้รูปแบบการพบกลุ่มเป็นหลัก โดยวิธีการที่ใช้เป็นหลักคือ ให้ทำกิจกรรม และอ่านหนังสือแบบเรียน ความสนใจในการเรียนรู้ของนักศึกษา ขึ้นอยู่กับเป้าหมายในการเข้ามาเรียน ว่าเข้ามาเพื่ออะไร เช่น ส่วนหนึ่งเข้ามาเพราะต้องการศึกษาหาความรู้จริงๆ อีกส่วนหนึ่งเข้ามาเพื่อต้องการใบวุฒิบัตรเพื่อนำไปทำอะไรบางอย่าง บางคนเข้ามาเพราะคำชักชวนของครู และอีกมากมายหลายเหตุผล ทำให้การเข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างกันไปตามเป้าหมายการเข้าเรียน ซึ่งจะส่งผลต่อการเข้าทดสอบและผลการทดสอบปลายภาคเรียน เช่น จำนวนนักศึกษาที่ขาดสอบ คะแนนผลการทดสอบ ถ้าจะแยกนักศึกษาที่มีความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อย่างจริงจัง และนักศึกษาที่ไม่ค่อยได้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เช่น ภาระกิจการงานมาก ต้องไปทำงานกรุงเทพ หรืออื่นๆ จึงมีคำถามว่า มีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่นอกเหนือจากที่ทำอยู่ ที่สามารถจูงใจให้นักศึกษาที่ไม่ค่อยสนใจ เข้ามาสนใจมากขึ้น หรือนักศึกษาที่สนใจอยู้แล้วได้เรียนรู้มากขึ้น โดยพิจารณาจากองค์ประกอบหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ หรือกิจกรรมการเรียนการสอน สามองค์ประกอบคือ 1 องค์ประกอบด้านตัวผู้เรียน 2 องค์ประกอบด้านครู และ 3. องค์ประกอบด้านกิจกรรมการเรียนการสอน องค์ประกอบด้านผู้เรียน ได้ยกมาให้เห็นบ้างแล้ว องค์ประกอบด้านครู ซึ่งมีอยู่ 3 กลุ่มหลักๆ คือ ครู ศรช.(รวมถึงครู กศน. อื่นๆ) ครูประจำกลุ่ม และครูผู้สอนนักศึกษากลุ่มคูปองการศึกษา (จัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาของตนเอง) ครูทั้งสามกลุ่มนี้ อาจจะมีความรู้ความสามารถ และจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาต่างกัน องค์ประกอบด้านการเรียนการสอน นอกจาจะแตกต่างไปตามความรู้ความสามารถของครูแล้ว นักศึกษาบางกลุ่ม จะเป็นผู้กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยตนเอง เช่นนักศึกษาที่เรียนด้วยตนเอง จึงน่าจะมีคำถามว่า นักศึกษาที่มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไปนี้ จะมีผลการเรียน หรือที่เราเรียนว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวมทั้งผลกระทบอื่นๆ ตรงตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรหรือไม่ หรือถ้าใช้คำที่ใช้กันบ่อยก็คือ คุณภาพของนักศึกษา กศน. จะเป็นอย่างไร หรือจะเป็นอย่างที่บางท่านพูดว่า นักศึกษาเข้ามาเรียน ก็บุญแล้ว ที่กล่าวมาถึงค่อนข้างยาวนี้ ก็เพื่อจะเชื่อมโยงเข้าสู่ประเด็นที่ทิ้งท้ายไว้ในตอนที่ 1 ว่า เราจะมีอะไรเข้าไปช่วยอุกช่องว่างต่างๆ ที่กล่าวมาได้บ้าง เช่น 1 ช่องว่างอันเนื่องมากจากองค์ประกอบด้านนักศึกษา เช่น นักศึกษาที่ไม่มีเวลามาพบกลุ่ม นักศึกษาที่ไปทำงานกรุงเทพ ต้องเรียนด้วยตนเอง ซึ่งไม่ค่อยได้อ่านหนังสือ หรือนักศึกษาที่มีอุปสรรคต่างๆอีกร้อยแปดพันประการ 2 ช่องว่างอันเนื่องมาจากครูผู้สอน เช่น เป็นครูใหม่ ยังไม่ค่อยรู้เรื่องอะไร เป็นครูประจำกลุ่ม แต่ไม่รู้เรื่องในบางวิชาที่ไม่ถนัด หรือไม่ค่อยมีเวลาไปพบกลุ่ม หรือไม่รู้ว่าจะจัดกิจกรรมการพบกลุ่มอย่างไร จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการไม่เป็น จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโอนี่ ไม่เป็น หรืออื่นๆ อีกสารพัดเรื่อง 3 ช่องว่างอันเนื่องมากจากรูปแบบหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่อาจจะขาดบางอย่าง ทำให้ไม่สามารถจัดได้ตามที่ต้องการ เช่น สื่อการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสม เป็นต้น สิ่งต่างๆ ทั้งสามประการเหล่านี้ เราจะมาช่วยกันเติมเต็มอย่างไร ในส่วนที่สถาบัน กศน. ภาค เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องนั้น สามารถเข้าไปได้ในองค์ประกอบข้อที่สองและข้อที่สาม เป็นส่วนใหญ่ คือส่วนที่เกี่ยวข้องกับครู และกิจกรรมการเรียนรู้ ว่า มีแนวทางอย่างไรบ้าง

วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การศึกษาทางไกล จะเดินไปทางไหน (ตอนที่1)

ได้มีโอกาสพบกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษานอกระบบ ตามหลักสูตรใหม่ หรือหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 หลายท่าน หลายระดับ และหลายหน้าที่ ได้ตั้งคำถามว่า ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวิธีเรียน กศน. ได้จัดรูปแบบใดบ้าง
  • คนตอบจะงงนิดๆ จึงต้องขยายความว่า วิธีเรียน กศน. มีหลายรูปแบบเช่น พบกลุ่ม ชั้นเรียน ตนเอง ทางไกล ตอนนี้ เขาจะร้องอ๋อ แล้วบอกว่า ส่วนมากจะใช้รูปแบบการพบกลุ่ม จึงลองถามเข้าประเด็น ว่า ได้มีการนำเอารูปแบบทางไกลมาใช้หรือไม่ เข้าจะตอบด้วยความมั่นใจ ว่าใช้ เมื่อถามต่อไปว่า ทำอย่างไร ก็จะได้รับคำตอบว่า ให้ไปศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต ทำให้สงสัยมากขึ้นว่า ค้นคว้าอย่างไร ที่ไหน ก็ได้รับคำตอบว่า จริงๆแล้ว แทบจะไม่มีเลย ที่มีก็คือ ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จาก ศูนย์ กศน. อำเภอ หรือ กศน. ตำบล ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ และจะมีนักศึกษาบางคนเท่านั้น ที่สามารถ ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ และเมื่อถามความคิดเห็นต่อไปว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะให้นักศึกษา กศน. เรียนรู้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต คำตอบที่ได้รับเหมือนกันหมดคือ คงเป็นไปได้ยาก จากคำตอบที่ได้รับดังกล่าว ทำให้คนที่พยายามจะผลักดันเรื่อง วิธีเรียนทางไกล ในรูปแบบ e-Learning ถึงกับจิตใจห่อเหี่ยวหมดกำลังใจที่จะพัฒนาไปเลย
  • ถึงแม้จะหมดกำลังใจ ก็ลองพยายามถามใหม่ว่า เคยเข้ารับการอบรมทางไกลแบบ e-Training หรือไม่ ทุกท่านที่สนทนาด้วยตอบว่าเคย จึงถามต่อว่า ถ้าจะให้นักศึกษามาเรียนผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์แบบที่ครูเคยเรียน เป็นไปได้ไหม คำตอบก็คือ คงจะยาก นอกจากนักศึกษาทึ่เคยเรียนในระบบโรงเรียนและยังเป็นวัยรุ่น จากคำตอบจึงเริ่มรุกด้วยคำถามต่อไปว่า ถ้าจะให้ครูช่วยแนะนำวิธีการเรียนตามวิธีการที่ครูเคยเรียน จะได้ไหม จะได้รับคำตอบแบบไม่ค่อยมั่นใจว่า อาจจะได้สำหรับนักศึกษาบางคน แต่จะมีปัญหาว่า นักศึกษาไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงให้ข้อเสนอใหม่ว่า ถ้าเปิดเรียน ที่ ศูนย์ กศน. อำเภอ หรือ กศน. ตำบล ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ จะแก้ปัญหานักศึกษาไม่มีเครื่องคอม พิวเตอร์ได้หรือไม่ คำตอบก็คือ พอได้ แต่จะมีปัญหาที่อินเทอร์เน็ตช้า มาถึงตอนนี้ ชักท้อใจอีกแล้ว เพราะคำตอบก่อนหน้าว่าพอเป็นไปได้ แต่ปัญหามากมายจริงๆ จึงต้องถามต่อไปอีกว่า ถ้าไม่ต้องใช้อินเทอร์เน็ต แต่เรียนจากแผ่น CD-ROM จะเป็นไปได้ไหม คำตอบเริ่มดีขึ้นคือ น่าจะเป็นไปได้ แต่คงทำไม่ได้ทั้งหมด จึงถามว่า ประมาณเท่าไร สิบเปอร์เซ็นต์ ได้หรือไม่ ก็ได้รับคำตอบแบบแบ่งรับแบ่งสู้ว่า อาจจะได้ เริ่มตั้งคำถามเจาะลึกถึงบทเรียนว่า ถ้าเป็นแบบเรียนที่ใช้กับครู คือตัวหนังสือประกอบรูปภาพ นักศึกษาจะสนใจมาเรียนหรือไม่ จะได้รับคำตอบที่ได้ค่อนข้างมั่นใจว่า นักศึกษาคงไม่สนใจ เพราะดูจากหนังสือแบบเรียนที่มีนักศึกษายังไม่ค่อยสนใจอ่าน ถ้าอย่างนั้นก็เป็นอันจบกันสำหรับ e-Learning
  • แต่ก็ยังไม่ละความพยายาม ถามต่อไปอีกว่า การพบกลุ่มของครู ศรช. หรือครูประจำกลุ่มทุกวันนี้ ได้พบกลุ่มหรือสอนทุกวิชาหรือไม่ คำตอบก็เป็นดังคาดคือ ไม่ทุกวิชา เพราะบางวิชา ครูก็ไม่ถนัดเช่น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ก็ต้องให้ครูมาสอนเสริม หรือไม่ได้ทำอะไรเลย จึงย้อนถามกลับไปว่า แล้วเราจะแก้ปัญหาอย่างไร ซึ่งจะไม่ค่อยได้รับคำตอบนัก จึงเสนอแนวทางให้พิจารณาว่า ถ้าหากเราบันทึก วีดิโอ ของครูที่สอนเก่งๆ เช่น ครูที่สอนภาษาอังกฤษตามหลักสูตรของ กศน.เก่งๆ แล้วบันทึกใส่แผ่น CD แล้วเอาไปเปิดให้นักศึกษาเรียน จะช่วยได้หรือไม่ คำตอบที่ออกมาเป็นเสียงเดียวกันคือ ดีมาก และจะช่วยครูได้มาก คำตอบสุดท้ายนี้คือคำตอบที่เป็นแนวทางให้กลับมาคิดและพิจารณาว่า จะทำอย่างไร ภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ที่ได้รับคำตอบมาจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษานอกระบบ โดยเฉพาะการศึกษานอกระบบตามหลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

(คอยติดตามตอนที่ ๒)

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

กระบวนการเรียนรู้ ของนักศึกษา กศน.

ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้บริหาร กศน. ท่านหนึ่ง ได้ประเด็นที่น่าสนใจกลับมาคิดต่อมากมาย
  • ประเด็นแรก ได้ไปพบครู และนักศึกษา กศน. ที่กำลังทดสอบปลายภาคเรียน ก็เลยลองถามว่า มีปัญหาอะไรไหม ก็พบว่า ปัญหาการทดสอบเดิมๆ น้อยมาก แต่ก็มีปัญหาใหม่เกิดขึ้นมาแทน จะขอยกปัญหาเดิม และปัญหาใหม่ มาอยางละ 1 ปัญหา
  • ปัญหาเดิม ได้รับทราบว่า นักศึกษษจะบ่นว่า ข้อสอบยาก และวิชาที่ติดอันดับยากคือ ภาษาอังกฤษ กับคณิตศาสตร์ เรื่องนี้ ได้ถูกหยิบยกมาคุยกับท่าน ผอ. ท่านนี้ คำตอบของท่านน่าสนใจมาก ท่านก็บอกว่า ใช่ มันยากแน่ๆ เพราะเรื่องทีสอบ มันไม่ใช่วิถีชีวิตของนักศึกษา วิชาที่เรียนมันก็ไม่ได้เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน และที่สำคัญก็ยังแยกเป็นวิชาๆ อีก เช่น ไปเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ วิชาคณิตศาสต์ วิชาวิจัยอย่างง่าย วิชาคิดเป็น โดยอ่าน ท่อง จากตำราเรียน ใครจะอ่าน จะท่องได้หมด เพราะเป็นเรื่องไกลตัว พอมาสอบก็ทำไม่ได้ (ยังไม่รวมกลุ่มที่ไม่ค่อยได้อ่านตำรา) แต่พอเป็นวิชาสังคม นักศึกษาบอกว่า ไม่ยาก เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว
  • ท่าน ผอ. ท่านนี้ก็บอกว่า เราทำไมไม่เอาเรื่องใกล้ตัวมาใส่ไว้ในวิชาที่เรียน แล้วให้แต่ละวิชาต่างๆ สัมพันธ์กัน เช่น ก่อนจะเรียนวิชาอะไร ก็ดูรอบๆตัวก่อน แล้วไปดูรอบบ้าน รอบหมู่บ้าน แล้วหยิบเอาสิ่งเหล่านั้น มาเป็นเรื่องที่จะเรียน แล้วค่อยไปเปิดหลักสูตร ว่า มีอะไรที่เกี่ยวข้องหรือกำหนดไว่ในมาตรฐานการเรียนรู้ แล้วจึงกำหนดมาเป็นเนื้อหาที่จะเรียน คณิตศาสตร์ที่ยากก็จะกลายเป็นเรื่องง่าย เพราะเป็นครอตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
  • ปัญหาใหม่ คือ วิชาที่สอบมีมากมาย จนนักศึกษาเองก็ยังจำไม่ได้เลยว่ามีวิชาอะไรบ้าง (วิชาเลือก) เพาะเป็ยวิชาที่แปลกๆ จึงมีคำถามว่า แล้วใครเป็นคนคิดวิชาเหล่านี้ คำตอบที่น่าสนใจ คือ ไปหยิบเอามาจากหลักสูตรที่มีอยู้แล้วมาใช้ก่อน แล้วกำหนดให้เหมือนๆกัน เพราะสะดวกในการดำเนินการในเรื่องต่างๆ สรุปก็คือ คำนึ่งถึงความสะดวกเป็นเบื้อต้นก่อน

แล้วจะทำอย่างไรกันดี กับ การศึกษาขั้นพื้นฐานของ กศน. เพราะคนคิดไม่ได้ทำ คนทำไม่ค่อยได้คิด คนทำก็คือ ครู ศรช. ครู อาสา ครูประจำกลุ่ม

การทดสอบปลายภาคเรียนของนักศึกษา กศน.

ระหว่างวันที่ 18-19 กันยนยาน 2553 ได้มีโอกาสไปเยี่ยมสนามสอบปลายภาคเรียนของ กศน. ในจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงหนือ ได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ มากมาย ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างของ กศน. ทำให้ได้โยงความคิดกลับไปสู่ยุคกองการศึกษาผู้ใหญ่ ที่เราเริ่มรับราชการ มาสู่ยุค กรมการศึกษานอกโรงเรียน มาสูยุคของสำนักงาน กศน. แล้วก็คิดว่า กศน. กำลังจะเดินไปไหน หรือว่าความจริงก็ยังเดินวนเวียนกลับไปกลับมา
  • เมื่อสามสิบกว่าปีที่ผ่านมา ของการเริ่มตั้ง กศน. มีแนวคิดว่า สำนักงาน กศน. ต้องเล็ก แต่ ในพื้นที่ต้องใหญ่ แนวคิดการตั้งศูนย์ จังหวัดจึงเป็นอาคารชั้นเดียว เล็กๆ แต่ปัจจุบัน มีความใหญ่โตอย่างมาก ใช้งบประมาณสำหรับการบริหารศูนย์ จำนวนมากมาย และหน่วยงานก็ขยายไปมีทั้งในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และลงไปถึงตำบล รูปแบบการศึกษาที่ได้รับงบประมาณหลักคือ รูปแบบการศึกษาที่เหมือนกับในโรงเรียน หรือใกล้เคียงในโรงเรียน ส่วนตัวแก่นแท้ของ กศน. จะได้รับงบประมาณไม่มากเท่าไร
  • สภาพการทำงานในสำนักงานวุ่นวาย สับสน งานมากจนล้นมือ แต่เมื่อไปเดินในพื้นที่ หรือไปยืนมองในมุมมองของชาวบ้าน คำถามก็คือ มีผลงานมากเหมือนในสำนักงานหรือไม่ เดินไปนานแค่ไหน จึงจะพบประชาชนที่เป็นผลผลิตของ กศน. เปรียบเหมือน เราหว่านสิ่งขอลงไปสักอย่างหนึ่ง มีกระบวนการวุ่นวายมาก งานหนักมาก เมื่อหว่านไปแล้ว มีคนหนึ่งไปเดินตามหา สิ่งของที่หว่านออกไป แทบจะหาไม่พบเลย
  • มีคำถามในใจหลายประการ เช่น สัดส่วนของงบประมาณที่ได้รับ เราใช้ไปเพื่อเลี้ยงตัวเองให้อ้วนเท่าไร และไปถึงประชาชนจริงๆ เท่าไร ยิ่งพัฒนา กศน. ยิ่งโต หรือ ประชาชนยิ่งโต น่าจะมีคนศึกษาเรื่องนี้ดูนะ

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

e-Learning แบบ Offline

เป็นปีที่ 4 แล้ว ที่พัฒนาระบบการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า e-Learning ในรูปแบบของการอบรมทางไกล หรือ e-Training ตลอดเวลาที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง และมีปัญหาเข้ามาให้แก้ไขตลอดเวลาซึ่งปัญหาเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ก็ยังเข้ามาเกี่ยวข้องตลอดเวลา คือ ปัญหาอินเทอร์เน็ตช้า ซึ่งเข้ามากระทบกับกระบวนการเรียนรู้
  • เริ่มมีผู้เรียนเข้ามาถามว่า เป็นไปได้ไหมที่จะไปนั่งเรียนที่บ้าน ได้ไหม เพราะต้องเรียนหลังเลิกงาน และเรียนที่ทำงาน ไม่มีอินเทอร์เน็ตที่บ้าน ทำให้กลับบ้านค่ำ เราก็ตอบทันทีว่า ไม่ได้ เพราะไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ แนวความคิดนี้ ก็เลยเลิกกันไป
  • ตอนนี้มาคิดใหม่ว่า คำถามนี้ดีมาก กระตุ้นให้คิดหาแนวทาง พัฒนา และใช้เวลามากว่าสองปีแล้ว มาถึงตอนนี้ จึงเริ่มคิดว่า มีความเป็นไปได้ ที่จะเรียนผ่านระบบ e-Learning แบบ Offline โดยมีการบันทึกข้อมูลไว้ด้วย เรียนสร็จแล้ว ก็ส่งข้อมูลให้ครูประเมินได้

แนวคิดนี้มีความเป็นจริงมากขึ้นหลังจากได้ทดลองพัฒนาระบบ Offline ขึ้นมาใช้

วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก

6-7 สิงหาคม 2553 เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สปป.ลาว ปี 2553 เป็นปีที่คณะทำงาน ICT ของสถาบัน กศน. ภาค ทั้ง 5 ภาค ปฎิบัติงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดการประชุมร่วมกัน ตั้งแต่ครั้งแรก ที่ภาคเหนือ จังหวัดลำปาง ครั้งที่สอง จังหวัดราชบุรี ครั้งที่สาม จังหวัดระยอง ครั้งที่สี่ จังหวัดสงขลา และครั้งที่ห้า ครั้งสุดท้ายของปี ที่จังหวัดอุบลราชธานี และครั้งสุดท้ายนี่เอง ที่มีโปรแกรมว่า ไหนๆ ก็มาอุบลแล้ว หลังประชุมเสร็จ น่าจะเดินทางไปเที่ยวประเทศลาวกันสักหน่อย ด้วยเหตุนี้เอง โปรแกรมการประชุมทีลำปาง จึงมีกิจกรรมต่อเนื่องจากการประชุม คือ เข้าไปเที่ยวประเทศลาว แล้ววันประชุมก็มาถึง ปากฏว่า สมาชิกบางท่านไม่สามารถมาร่วมประชุมได้ บางท่านติดภารกิจ ทำให้มีสมาชิกที่จะเข้าไปเที่ยวประเทศลาวเพียง 4 ท่านที่ยืนยันเจตนาเดิม ที่จะเดินทางเข้าไปเที่ยวประเทศลาว สมทบกับคณะจากอุบล อีก 3 ท่าน รวมเป็น 7 ท่าน ดังนั้น การเดินทางครั้งนี้ จึงเป็นคณะเล็กๆ กระทัดรัด เมื่อรวมกับคนขับรถ ไกด์ไทย และไกด์ลาว จึงมีคณะ 10 คน พอดี ถือว่า พอดีคันรถ และมีความคล่องตัวในการเดินทางอย่างมาก คณะที่เดินทางจึงประกอบด้วย คณะจากราชบุรี 3 คน คือ อาจารย์ทองจุล ขันขาว อาจารย์ฐิติ บุญยศ อาจารย์นฤมล จากสงขลา 1 คน คือ อาจารย์จริยา เวียสุวรรณ จากอุบล 3 คน คือ อาจารย์กีรติ กุลบุตร และอีก 1 ครอบครัวคือ ศรีเชาวน์ และ ละมัย วิหคโต ส่วนไกด์ไทยชื่อ นิคม ไกด์ลาว ชื่ออะไรจำไม่ได้ เรียกแต่ชื่อเล่นว่า น้องตีบ ส่วนโชเฟอร์ จำชื่อไม่ได้เช่นกัน เช้าวันเดินทาง นัดหมายกันว่าเริ่มกลุ่มแรก คือคณะจากโรงแรมที่พัก ศูนย์วัฒนธรรม เวลา 6 โมงเช้า ต่อจากนั้น ก็ไปส่งคณะจากภาคตะวันออก ที่สถานีขนส่งอุบล (เพราะไมได้เดินทางไปด้วย) แล้วมารับเราที่บ้าน ซึ่งเวลาก็ล่วงเลยไปจนประมาณ 7 โมงเช้า จึงเริ่มถามกันว่า กินข้าวเช้ากันแล้วหรือยัง คำตอบ ก็คือยัง เพราะคณะที่พักโรงแรม ออกมาก่อนเวลาอาหารเช้า จึงตกลงกันว่า จัดการเรื่องอาหารเช้าสำหรับทุกคนเสียก่อน ถามไกด์นิคม ว่า ร้านอาหารเช้าที่ไหน น่าสนใจ คำตอบก็คือ ร้านสามชัย โดยแนะนำว่า น่าจะเป็นร้านสามชัย สาขาหน้าจวนผู้ว่า เพราะเป็นสาขาเปิดใหม่ คนไม่แน่นเหมือนสาขาหน้าศาล เมื่อเป็นที่ตกลงกันแล้ว ก็มุ่งหน้าสู่ร้านสามชัย โดยแวะที่ทำงาน เพื่อทำภารกิจสำคัญก่อน คือ เซ็นต์ชื่อปฏิบัติงาน ต่อจากนั้น ก็เป็นเรื่องของการเดินทาง อาหารเช้า ที่ร้านสามชัย สาขาจวนผู้ว่า เป็นสาขาที่ 5 บรรยากาศไม่พลุกผล่านเท่าไร ต่างกับสาขาหน้าศาล ที่ร้านเล็ก และคนมาก อาหารเช้านี้ ก็ตามอัธยาศัยตามใจชอบแต่ละคน บนโต๊ะจึงมีอาหารหลากหลาย ทั้งไข่กระทะ ก๋วยจั๊บ ต้นเลือดหมู ก๋วยเตี๋ยว ส่วน พขร. และ ไกด์ แยกไปรับประทานอีกโต๊ะหนึ่ง ใช้เวลาไม่นาน ก็อิ่มหนำสำราญ พร้อมที่จะเดินทาง การเดินทางอย่างเป็นทางการเริ่มต้น โดยยึดเอาหน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นจุดเริ่มต้นการเดินทาง บรรยากาศแม่น้ำมูลยามเช้า มองจากสะพานข้ามแม่น้ำมูลบริเวณหาดวัดใต้ ท้องฝ้าฉ่ำฝน บดบังแสงอาทิตย์ยามเช้า ทำให้นักท่องเที่ยวในรถปรารภกันว่า คงได้เที่ยวน้ำตกกันตลอดทางแน่ แต่เป็นน้ำฝนตก เส้นทางจากอำเภอวารินชำราบ ไปด่านช่องเม็ก กำลังก่อสร้างเป็นช่วงๆ ปรับจากถนน 2 เลนซ์ เป็น 4 เลนซ์ ดังนั้น การเดินทางจึงค่อนข้างจะไม่ราบเรียบเป็นบางช่วง อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนสิรินธร ปริมาณน้ำเริ่มมากขึ้น เนื่องจากต้นฤดูฝน ด่านช่องเม็ก ถ่ายภาพร่วมกัน ก่อนเดินทางผ่านด่านออกจากประเทศไทย เข้าสู่ประเทศลาว ระหว่างที่รอการทำเรื่องราวผ่านแดนจากไกด์ ได้มีโอกาสเดินชมสินค้าใน ร้านค้าปลอดภาษี (Duty Free) ที่ด่านช่องเม็ก ชื่อร้านดาวเรือง (Dao Heuang) เจ้าของร้านเป็นชาวเวียตนาม มาทำธุรกิจด้านศูนย์การค้าใหญ่โตในลาว มีร้านค้าปลอดภาษีทุกด่าน รวมทั้งในเมืองปากเซ สิ้นค้าในร้านค้า ส่วนมากเป็นเหล้า เบียร์ บุหรี่ เข้าไปเดินชมนิดหน่อย ก็ออกมาคอยที่หน้าร้าน ระหว่างนี้ ก็ได้รวบรวมเงินค่าเดินทางให้กับไกด์ คนละ 4,400 บาท รวมเป็นเงิน 30,800 บาท ค่าใช้จ่ายลำดับแรกคือ ค่าใช้จ่ายสำหรับไกด์ชาวลาว ซึ่งตอนนี้กำลังไปทำเรื่องผ่านแดน แต่เราก็ไม่ได้ถามว่า ต้องจ่ายค่าไกด์เท่าไร เพราะคิดว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ที่ไม่ควรถาม นั่งรอกันไม่นาน เรื่องผ่านแดนก็เสร็จเรียบร้อย พร้อมที่จะขึ้นรถ ได้เห็นหน้าไกด์ลาวเป็นครั้งแรก เป็นเด็กวัยรุ่น ตัวเตี้ยๆ รูปร่างค่อนข้างท้วม ผิวคล้ำ แต่ไม่ถึงกับดำ นุ่งผ้าซิ่นแบบข้าราชการลาว เสื้อแขนยาวสีขาว ระหว่างเดินทางไกด์จะนั่งด้านหน้า และเริ่มแนะนำตัว ซึ่งเราก็จำชื่อไม่ได้แล้ว จำได้แต่ชื่อเล่นว่า ตีบ ซึ่งต่อมาเราก็เรียกกันติดปากว่า นางตีบบ้าง ไกด์ตีบบ้าง น้องตีบบ้าง เจ้าตัวบอกว่าชื่อเล่นนี้เป็นตามเอกลักษณ์ของตัวเขาเองที่เป็นคนตาตีบ (ตาหยี) อาจจะเป็นเพราะเป็นคนท้วม เมื่อยิ้มจึงแทบจะไม่เห็นตา เขาจึงเรียกกันว่า ตีบ และเอกลักษณ์ที่สำคัญคือ ไม่มีดั้ง (ดังแหมบ) ตามลักษณะของคนลาว (ดูจากภาพประกอบ) จากการแนะนำตัวทำให้ทราบว่า ไกด์ตีบ จบการศึกษาระดับอนุปริญญา ด้านการท่องเที่ยว และได้รับใบอนุญาตการเป็นไกด์ จากสำนักงานการท่องเที่ยว เป็นไกด์อิสระ เป็นคนปากเซ วันนี้ก็ต้องเดินทางมาจากปากเซ เพื่อมารับคณะของเรา เพื่อเข้าไปเที่ยวประเทศลาว ได้เรียนรู้อีกอย่างหนึ่งว่า อัตราการแลกเปลี่ยนเงิน 1 บาท แลกเงินลาวได้ประมาณ 230-250 กีบ ดังนั้น ถึงแม้เงินจะถูก แต่ค่าครองชีพแพงกว่าเมืองไทย เช่น ก๋วยเตี๋ยวชามละประมาณ 40 บาท ข้าวของตามร้านจะแพงกว่าเมืองไทย แต่เงินเดือนจะต่ำมาก แต่ที่เขาอยู่กันได้ เพราะ ไม่ได้ซื้อกินกันเท่าไร ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เรื่องที่พวกเราเห็นแล้วตลกที่ด่านวังเตา หรือด่านของลาวที่ติดกับชายแดนช่องเม็กของไทย เมื่อรถจะผ่านด่าน จะมีคนถือสายยางมีหัวฉีดพ่นน้ำที่ล้อรถ เขาบอกว่าเป็นนน้ำยฆ่าเชื้อโรค และรถที่ผ่านจะต้องเสียเงินค่าฉีกน้ำยาฆ่าเชื้อโรคนี้ด้วย การฉีดก็ทำแบบลวกๆ ไม่เปียกทั่วทุกส่วนของล้อ บางคนยังพูดว่า น้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือ น้ำเปล่าๆ ก็ไม่รู้ แต่ฝั่งไทยไม่มีการฉีดน้ำยาดังกล่าว ตลอดการเดินทาง ไกด์ ก็จะมีเรื่องต่างๆ มาเล่าให้คณะท่องเที่ยวฟังตลอดเวลา เป็นเกล็ดความรู้เกี่ยวกับเมืองลาว และโปรแกรมการท่องเทียว รวมทั้งเรื่องขำๆ คลายเครียดตลอดทาง เป็นที่ประทับใจของคณะเราอย่างมาก ภูระโรงเป็นภูเขา ที่ตั้งตระหง่านอยู่หลังเมืองปากเซ ซึ่งด้านหน้าเมือง หันไปทางแม่น้ำโขง หลังเมืองคือภูมะโรง ภูนางนอน เป็นภูเขารูปร่างเหมือนผู้หญิงนอน และมีตำนานกล่าวถึงที่มาของภูนางนอนนี้ ซึ่งน้องตีบเล่าให้ฟังว่า ทำไมจึงเรียกภูนางนอน ต้องติดตามเอาเองในตอนหลังๆ ก่อนเข้าสู่ตัวเมืองปากเซ จะต้องข้ามสะพานมิตรภาพลาว – ญี่ปุ่น มีความยาว 1,380 เมตร และมีด่านเก็บเงิน สำหรับรถที่ผ่านเข้าออกทุกคัน และสภาพเช่นนี้ จะพบได้ตลอดการเดินทาง และการเก็บเงินดูเหมือนไม่ค่อยเป็นระบบเท่าไร มีคนยืน 2 คน เงินที่เก็บได้ก็เอาสุมกันไว้ในภาชนะต่างกัน บางที่เห็นเป็นกระเป๋า บางแห่งเป็นกล่อง โดยเงินกองสุมกันเป็นจำนวนมาก ไกด์บอกว่าที่มีการเก็บเงินกันยุบยิบก็เพราะรัฐบาลมีนโยบายว่า เมืองใดมมีรายได้จากการท่องเทียวมาก ก็มีโอกาสที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนงบประมาณด้านการท่องเที่ยวเข้ามามาก สะพานแห่งนี้เป็นที่เชิดหน้าชูตาอย่างมาก เป็นสพานที่มีความยาวมาก ทอดข้ามแม่น้ำโขงทีเมืองปากเซ ตอนช่วงกลางสะพาน เป็นสะพานแขวนที่ทันสมัย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากญี่ปุ่น ทัศนียภาพเมืองปากเซ มองจากสะพานข้ามแม่น้ำโขง มีคำถามว่า ทำไมจึงเรียกว่าเมืองปากเซ และทำไมเมืองนี้ จึงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ได้คำตอบว่า ที่เรียกปากเซ เพราะมีแม่น้ำเซโดน ไหลมาบรรจบแม่น้ำโขงที่เมืองนี้ เมืองปากเซจึงเป็นเมืองของปากแม่น้ำที่ไหลมาบรรจบแม่น้ำโขง และเนื่องจากเป็นเมืองที่ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานีของประเทศไทย จึงถือว่าเป็นเมืองหน้าด่าน ของการค้าขาย คล้ายๆกับเมืองหาดใหญ่ของไทย จึงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะเศรษฐกิจดี มีนักท่องเที่ยวมาก มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติมาก เรื่องแรกที่เรียกเสียงฮาจากคณะ คือไกด์ตีบเล่าถึงการจราจรในเมืองลาวว่า ไม่เคยมีรถชนกันเลย พวกเราก็คิดตาม และก็เห็นด้วย เพราะเมืองลาวรถไม่มาก และคิดว่า เพราะขับชิดขวาหรือเปล่า รถจึงไม่ชนกัน สักครู ไกด์ ก็เฉลยว่า ที่เมืองลาว เขาจะเรียกว่า รถตำกัน ดังนั้น จึงมีแต่รถตำกัน ไม่มีรถชนกัน นอกจากนั้นยังเล่าว่า การดูฐานะของคนลาวให้ดูที่บ้าน คนที่มีบ้านปูน จะมีฐานะดีกว่าบ้านไม้ คนที่มีรถ จะมีฐานะดีกว่าคนไม่มีรถ และเล่าว่า รถมอเตอร์ไซด์ที่เมืองลาวแพงมาก แต่ถ้าเป็นรถเลียนแบบจากจีน ราคาจะถูกว่ารถจากเมืองไทยครึ่งหนึ่ง แต่ถ้ารถเลียนแบบ ชนกับรถจากเมืองไทย จะพังแตกกระจาย เพราะคุณภาพไม่ดี และสังเกตว่า ไม่ค่อยเห็นรถยี่ห้อดังๆ แบบเมืองไทย เช่น โตโยต้า อีซูสุ รถที่นิยมใช้คือยี่ห้อฮุนได จากเกาหลี หลี่ผี คอนพะเพ็ง เมื่อเข้าสู่เมืองปากเซแล้ว การเดินทางไปยังเป้าหมายปลายทางเริ่มต้นทันที ไปตามทางหลวงหมายเลข 13 จากปากเซ สู่น้ำตกหลี่ผี คอนพะเพ็ง ลองไปดูแผนที่กันสักนิด ออกเดินทางจากอุบลผ่านทางช่องเม็ก ที่อำเภอสิรินธร ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร มุ่งตรงสู่เมืองปากเซ ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร ต่อจากปากเซ ไปคอนพะเพ็ง ประมาณ 165 กิโลเมตร ดังนั้นจากอุบลไปถึงคอนพะเพ็งประมาณ 300 กิโลเมตร สังเกตจากแผนที่ จะเห็นว่า ระยะทางจากชานแดนอำเภอน้ำยืนของอุบล ไปคอมพะเพ็ง ไม่ไกลเท่าไรนัก แต่ส่วนมากเป็นป่าทั้งหมด จากปากเซ เดินทางตามถนนหมายเลข 13 โดยไปพักที่จุดพักรถระหว่างทาง ก่อนที่จะแวะพักอีกครั้งเพื่อกินข้าวกลางวัน ดังนั้นตลอดเวลาค่อนวัน จึงใช้เวลาส่วนมากอยู่บนรถทั้งไปและกลับ ซึ่งตลอดเส้นทางที่ถนนไม่กว้างนัก นานๆ จะเห็นรถสวนมาสักคัน บางช่วงก็ขับรถแซงรถโดยสาร ซึ่งเป็นรถโดยสารสองแถว มีคนนั่งกันเต็ม รวมทั้งบรรทุกของเต็มหลังคา และสังเกตว่า บนรถโดบสารมักจะมีฝรั่งนั่งอยู่ด้วยเกือบทุกคัน เสียงแจ้วๆ ของน้องตีบ ไกด์ประจำคณะ ที่เล่าเรื่องราวต่างๆ มาเป็นระยะๆ ส่วนคณะนักท่องเที่ยว ก็ชมบรรยากาศสองข้างทาง ที่ขัดความรู้สึกอย่างหนึ่งคือ ไม่ค่อยคุ้นเคยกับการขับรถชิดขวา รู้สึกเหมือกับว่า รถที่สวนมาวิ่งผิดช่องทาง จะมาชนเรา และที่สังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ รถมอเตอร์ไซต์ จะไม่ขับชิดขอบทาง จะขี่กลางช่องทาง ก็ได้รับคำเฉลยจากน้องตีบว่า ที่เมืองลาว ถ้าขับรถชนมอเตอร์ไซด์ รถใหญ่จะเป็นฝ่ายผิด ดังนั้นเขาจึงไม่กลัวรถใหญ่ และมีเรื่องเล่าคลายเครียดว่า แม่หญิงลาว เมื่อได้ยินเสียงแตรรถที่วิ่งตามหลัง จะไม่หลบ แต่จะหันกลับมายิ้มให้คนขับรถ (จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้) เพราะเขาบอกว่า คนที่มีรถ ถือว่าเป็นคนที่มีฐานะดี ในเมืองลาว แล้วมีเรื่องเล่าต่อไปว่า ถ้ารถชนสัตว์เลี้ยงตาย เจ้าของสัตว์เลี้ยงจะเป็นฝ่ายผิด ดังนั้น เมื่อชนแล้ว มักจะไม่มีเจ้าของมาแสดงตัวว่าเป็นเจ้าของ เพราะไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อมรถ ถ้ามีการชนเกิดขึ้น ก็สรุปว่า มีกับแกล้มแล้ว ไปหาเหล้าเอาข้างหน้า สัตว์เลี้ยงที่มักจะเดินข้ามถนนให้ชน ส่วนมาก เป็นแบ (แพะ) หรือสัตว์เลี้ยงอื่นๆ เช่น หมู หรือ วัว ควาย จุดจอดรถระหว่างทาง บริการอย่างหนึ่งที่ทำรายได้ดีพอสมควร คือห้องน้ำ ค่าบริการคนละ 1000 กีบ หรือ เขาคิดเงินไทย 5 บาท นั่งรถจนเมื่อยพอสมควร ก็ถึงจุดจอดรถ ไม่เหมือนบ้านเราที่จะมีปั๊มน้ำมัน และหมู่บ้านตลอดเส้นทาง แต่เส้นทางที่เราเดินทาง หายากมาก จุดนี้ จึงเหมือนจุดจอดรถที่รถโดยสาร หรือรถนักท่องเที่ยวแวะจอด จุดประสงค์หลักคือ เข้าห้องน้ำสำหรับสุภาพสตรี สำหรับสุภาพบุรุษแวะที่ไหนก็ได้ตลอดทาง เพราะสองข้างทางมีแต่ป่า สลับกับท้องนาเป็นระยะๆ ดังนั้น จุดจอดรถ จึงมีห้องน้ำสร้างไว้เป็นแถว แต่เป็นห้องน้ำสร้างง่ายๆ ไม่เหมือนตามปั๊มน้ำมันบ้านเรา และที่สำคัญ คือ ค่าใช้บริการห้องน้ำไม่ใช่ถูกๆ ประมาณ 1000-1500 กีบ มีคนรอเก็บสตางค์หน้าห้องน้ำ ถือว่าทำรายได้ดีกว่าขายของกินข้างทางเสียอีก เนื้อเก้งแดดเดียวมีให้เห็นทั่วไป ที่จุดพักรถแห่งนี้ แต่ไม่ยืนยันว่าเป็นเนื้อเก้งหรือเปล่า เมื่อจอดรถ ก็จะเห็นร้านขายของเรียงรายสองข้างทาง มีของกินต่างๆ รวมทั้งน้ำดื่มแช่ตู้เย็น สังเกตว่า เป็นของที่มาจากเมืองไทยเกือบทั้งนั้น เช่นขนมขบเคี้ยวใส่เป็นซองๆ ซึ่งเดาเอาว่าราคาต้องแพงกว่าเมืองไทยแน่ๆ แต่ก็ไม่ได้ถามราคา สินค้าที่ขึ้นชื่อที่นี่คือ เก้งแดดเดียว แขวนตากกันไว้เกือบทุกร้าน โดยหั่นเป็นชิ้นยาวๆ แล้วใช้ตอกไม้ไผ่ ร้อยเป็นพวง พวงละ 2-3 ชิ้น แต่ขายตอกละไร จำไม่ได้แล้ว ไปสังเกตดูใกล้ๆ ที่เขากำลังหมักและกำลังร้อยด้วยตอกเพื่อแขวนตากแดด ก็ไม่ยืนยันว่าเป็นเนื้อเก้งหรือไม่ เพราะดูแล้วก็ไม่ต่างกับเนื้อหมู แต่คนขายก็ยืนยันว่าเป็นเนื้อเก้ง เนื้อเก้งแดดเดียวร้อยตอก แขวนตากแดดเป็นแถว มีทั้งตากใหม่ๆ และที่แห้งจนนำไปทอดกินได้ มีราวตากเนื้อแขวนให้เห็นทั่วไป เพื่อบรืการขานให้ผู้เดินทางผ่านไปมา นอกจากเนื้อเก้งที่ขึ้นชื่อแล้ว ก็ยังมีของขายอื่นๆอีก ที่เดินเร่เขามาบริการนักท่องเทียว เช่น ข้าวเหนียว ไก่ย่าง และสัตว์หายากต่างๆ ที่ไม่ค่อยเห็นในบ้านเรา ตาสังเกตว่า มีขายไม่มากนัก ไม่เหมือนบ้านเรา ที่พอรถจอด คนขายวิ่งกรูกันเข้ามาเต็มไปหมด จนไม่ปิ้งไก่จะทิ่มตาคนซื้อ แสดงว่า ธุรกิจการขายของข้างทางไม่ค่อยได้รับการอุดหนุนจากนักเดินทางเท่าไร ไก่ย่าง ข้ามเหนียว ก็พอมีขายบ้างที่จุดจอดรถ แต่ไม่มากเหมือบ้านเรา ตัวแมงจิโป่ม (คล้ายๆจิ้งหรีด) ตัวอ้วนๆ เสียบไม้ขายบริการนักท่องเที่ยวและผู้ที่สัญจรผ่านไปมา แมลงชนิดนี้ ต้องขุดขึ้นมาจากรูใต้ดิน ขณะที่แวะพัก ไกด์ก็บริการน้ำดื่มที่เตรียมมาในรถ ทำให้ตัดรายได้ร้านค้าแถวนั้นไปพอสมควร แต่ก็ถือว่าเป็นบริการลูกค้าที่น่าประทับใจเป็นอย่างมากของบริษัท พักยืดเส้นยืดสายกันพอหายเมื่อยแล้ว ก็นั่งขึ้นรถ เดินทางต่อตามถนนหมายเลข 13 เพื่อมุ่งสู่น้ำตกหลี่ผี ได้ยินเสียงไกด์โทรศัพท์คุยกับร้านอาหารว่าเดินทางถึงไหนแล้ว เพื่อให้ร้านอาหารเตรียมอาหารสำหรับคณะเราได้ถูกต้อง เพราะตอนนี้เวลาใกล้เที่ยงแล้ว ขับรถมาอีกไม่นาน ก็แวะจอดรถที่ร้านอาหารซ้ายมือ ซึ่งตั้งอยู่โดดเดี่ยวข้างทาง ใกล้ๆกับปั๊มน้ำมัน เป็นป้ายเขียนไว้ด้วยภาษาลาว กับภาษาอังกฤษ ว่า ร้านอาหารแม่บุนเฮือง (ภาษาไทยคือร้านอาหารแม่บุญเรือน) อาหารกลางวันมื้อแรก ของการเดินทาง ชื่อร้านแม่บุนเฮือน (แม่บุญเรือน) อยู่ระหว่างเส้นทางจากปากเซไปน้ำตกหลี่ผี มีสะพานไม้เล็กๆ เดินข้ามร่องน้ำเข้าร้านอาหาร จากรูปภาพ จะเห็นถนนด้านหน้าร้านชัดเจน คือถนนหมายเลข 13 ซึ่งเป็นถนนสายหลักของลาวจากลาวเหนือถึงลาวใต้ อ่างล้างมือ ก็เป็นอ่างจริงๆ วางเตรียมไว้ สำหรับนักท่องเที่ยวดูลักษณะแล้ว ไม่ได้วางไว้ประจำ แต่จะวางเมื่อมีนักท่องจองและแวะเข้ามารับประทานอาหาร ร้านอาหารแห่งนี้ บริการนักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่านมาเท่านั้น และต้องสั่งล่วงหน้ามาด้วย ไม่เช่นนั้นไม่ได้กิน สังเกตว่า บริการเฉพาะโต๊ะเราโต๊ะเดียวเท่านั้น ไม่มีคนอื่นเลย มีไกด์ คือน้องตีบ มาบริการ ส่วน พขร. น้องคม และน้องตีบ จะแยกไปรับประทานอีกโต๊ะหนึ่งต่างหาก อาหารอร่อยมาก โดยเฉพาะต้มยำปลาเคิง ปลาเนื้ออ่อนทอดกรอบ นอกจากนั้นยังมีอาหารอื่นๆ สมทบอีกหลายอย่าง จำไมได้ว่ามีอะไรบ้าง และตบท้ายด้วยผลไม่ คือ มะขามหวาน คณะที่ไปด้วยกัน กล่างเป็นเสียงเดียวว่า อาหารอร่อยมาก โดยเฉพาะต้มยำ ซึ่งเนื้อปลาอร่อย ส้มตำก็ไม่เผ็ด และปลาร้ากลิ่นไม่แรง มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือ ไกด์จะมาบอกว่า อาหารอะไรเติมได้ อะไรเติมไม่ได้ เช่นครั้งนี้บอกว่า ต้มยำปลา เติมได้ แต่ทอดปลา เติมไมได้ แต่อาหารที่เตรียมมาก็เหลือเฝือ เพราะแต่ละคนกินไม่มากเท่าไรเนื่องจาก เป็นผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ ป้ายทะเบียน สีเหลือง รถส่วนบุคคล สีขาว รถรับจ้าง และสีอื่นๆ อีกหลายสี จำไม่ได้ เช่น สีแดง สีฟ้า เป็นต้น กินข้าวเสร็จแล้วจึงมีเวลาเดินสำรวจบริเวณรอบๆ รวมทั้งห้องน้ำ ที่สร้างไว้ไกลร้านอาหารมาก แต่สภาพสะอาดมาก มาดูป้ายชื่อร้าน ที่เป็นภาษาลาว มาช่วยกันอ่านว่าชื่อร้านอะไร พอดีมีรถผ่านมา จึงบันทึกภาพไว้ เป็นรถบันทุกยี่ห้อฮุนได ซึ่งต่อไปจะเห็นทั่วไปในประเทศลาว ร้านแม่บุนเฮือน จะอยู่ใกล้ปั๊มน้ำมัน ซึ่งดูแล้วไม่ใหญ่โตอะไร เหมือนปั๊มขนาดเล็กตามต่างอำเภอในบ้านเรา เมื่อกินข้าวกันเรียบร้อยแล้ว ก็ออกเดินทางต่อ ไกด์ตีบ ก็เริ่มงานเล่าเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวที่จะไป โดยบอกว่า จะพาไปย่อยอาหาร ซึ่งเราก็ไม่ค่อยเข้าใจ แต่ไปถึงบางอ้อเอาทีหลัง การเดินทางช่วงต่อไปจะแวะไปที่ นากะแซง ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำโขง จะจอดรถที่นั่น แล้วคณะเราต้องข้ามเรือไปขึ้นที่ดอนเดด ต่อจากนั้นนั่งรถไปน้ำตกหลี่ผี ออกเดินทางจากร้านอาหารแม่บุนเฮือนได้สักครู ก็เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางเล็ก ไปบ้านนากะแซง แต่ได้ยินเขาออกเสียงเป็นนากะซอง (Nakasang) เป็นตลาดเล็กๆ แต่ขายของไม่เล็กเลย เห็นมีร้านหนึ่งมีรถมอร์เตอร์ไซต์จอดขายเป็นแถว เดาเอาว่า คงเป็นตลาดขายสินค้าสำหรับประชาชนที่อยู่ตามดอน (เกาะ) ต่างๆ ตลาดนากะซอง อยู่ติดแม่น้ำโขง และเป็นท่านเรือที่จะข้ามไปฝั่งดอนเดด ซึ่งเป็นเส้นทางที่จะต้องไปนั่งรถ 5 แถว เพื่อไปเที่ยวชมน้ำตกหลี่ผี ซึ่งเข้าใจว่าดอนเดด น่าจะเป็นเกาะหนึ่งของแม่นำโขง ที่บริเวณนี้คงแยกกระจายไหลบ่าเป็นหลายสาย และดอนเดดนี้ น่าจะเป็นดอนที่เดินทางไปสู่หลี่ได้ง่ายที่สุด ตลาดนากะซองสภาพเหมือนตลาดเก่าหรือตลาดร้อยปีบ้านเรา แต่ละร้านมีข้าวของเครื่องใช้มากมาย ดูเอาจากภาพก็แล้วกัน ของบางอย่างมาวางเกลื่อนบนถนนหน้าร้าน ซึ่งเป็นถนนดินลูกรัง ร้านในภาพมีทั้งครก เตา หวดนึ่งข้าว และที่เห็นเป็นลังสีเหลือคือ ลังใส่เบียร์ลาว สรุปว่า ต้องการอะไร มีบริการทุกอย่าง ไกด์คม กับไกด์ตีบ เดินไปที่ท่าเรือ ติดต่อเรือบริการข้ามแม่น้ำโขง ซึ่งคณะเราไม่รู้ว่าราคาเท่าไร มีป้ายเขียนบอกไว้ว่าสถานที่ขายบัตรโดยสารข้ามเรือ (บ่อนขายปี้เรือ) ไปดอนเดด และดอนคอน ป้ายบอกที่ขายตั๋วเรือข้ามไปดอนเดด (บ่อนขายปี้เฮือ) มีราคาค่าโดยสารเรือแสดงไว้ชัดเจน (ตาตะรางราคาบริการแขกและคนโดยสาร) ไปดอนเดด 1-2 คน 30,000 กีบ หรือคนละ 15.000 กีบ ถ้าไปดอนคอน คนละ 20,000 กีบ ก่อนออกเดินทางต้องสวมชูชีพ เพื่อป้องกันอันตราย การเดินทางโดยเรือเริ่มขึ้น เมื่อคนขับเรือเอาเรือเข้ามาเทียบ คณะเราทะยอยกันลงเรือหางยาว นั่งกันคนละแถว พร้อมทั้งสวมชูชีพ เรือลำใหญ่พอควร หลังคากันแดด เหมือกับเรือที่เราเห็นทั่วๆไป แถวๆริมแม่น้ำโขงที่บ้านเรา เมื่อแล่นข้ามแม่น้ำโขง (ต้องเรียกว่าวิ่งไประหว่างเกาะแก่งต่างๆของแม่น้ำโขงจึงจะถูก) เห็นแม้น้ำโขงบางส่วนกว้างเวิ้งว้าง และบางส่วนมีเกาะแก่งอยู่เต็มไปหมด แต่ช่วงนี้เป็นฤดูน้ำหลาก เกาะเล็กๆ จะถูกน้ำท่วมเห็นแต่ยอดไม้ เมื่อออกจากท่าเรือมองไปทางขวามือ เห็นลำน้ำโขงเวิ้งว้าง แต่มองไปทางซ้าย เต็มไปด้วยเกาะแก่งหรือดอน กลางแม่น้ำโขง ให้ดูแผนที่ประกอบ ที่เขาเรียกว่า สี่พันดอน คือมีดอน หรือเกาะกลางแม่น้ำโขงมากมาย แต่ไม่ได้นับว่ามี 4000 เกาะหรือไม่ สภาพตอนนี้เป็นหน้าน้ำหลาก เกาะต่างๆ ถูกน้ำท่วม แต่นั่งเรื่อผ่านไป ก็เห็นเกาะแก่งมากมาย ตลอดเส้นทางสั้นๆ แม้น้ำโขงอันกว้างขวางนี้ จะไหลไปที่น้ำตกหลี่ผี ซึ่งเป็นโขดหินขวางกลางแม่น้ำโขง ระหว่างนั่งเรือ ได้สังเกตทิวทัศน์ของริมฝั่งแม่น้ำ หรือเกาะกลางแม่น้ำ บางครั้งก็เห็นชาวบ้านจับปลา ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านแต่ก็ไม่มากนัก เรือโดยสารลัดเลาะไปตามเกาะต่างๆ แล้วไปข้ามช่วงแม้น้ำโขงที่กว้างอีกช่วงหนึ่ง ก่อนที่จะถึงท่าเรือดอนเดด ซึ่งเป็นอีกเกาะหนึ่งกลางแม่น้ำโขง และเป็นเกาะที่ติดกับดอนคอน และดอนสันลาด (ไม่รู้ว่าออกเสียกถูกหรือเปล่า) ดูภาพจริงประกอบแผนที่บริเวณสีพันดอน หรือมีเกาะมากมายในแม่น้ำโขง จากแผนที่เห็นชัดเจนว่า มีเกาะใหญ่น้อย มากมาย บางเกาะขนาดเท่ากับอำเภอ บางเกาะ ก็เป็นเกาะเล็กๆ มากมาย และเป็นบริเวณที่อยู่ติดกับชายแดนประเทศกัมพูชา ซึ่งยังเป็นป่าสมบูรณ์ จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมแม่น้ำโขงบริเวณนี้ จึงกว้างใหญ่ไพศาล และมีน้ำมากมาย ไกด์ตีบ พูดเล่นว่า ถ้าอยากเดินทางไปเขมร โดยไม่ต้องเสียค่าเดินทาง ไม่ต้องทำเรื่องผ่านแดน คือให้กระโดดน้ำตกหลี่ผี น้ำจะพาไหลเข้าไปในเขมรเอง (คงลอยไปแต่ร่าง) เรือโดยสารจะแล่นลัดเลาะไปตามดอนต่างๆ ท่านกลางกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวน่ากลัว และน้ำเป็นสีขุ่น แดงของฤดูน้ำหลาก รีสอร์ท ที่ตั้งเรียงรายริมแม่น้ำโขงบริเวณดอนเดด ถึงแล้ว ท่าเรือบ้านดอนเดด พร้อมทั้งเห็นรถห้าแถว จอดคอยบริการนักท่องเทียว แต่เสาโครงสร้างที่ยื่นมาในแม่น้ำ ไม่รู้ว่าเป็นอะไร แต่เดาเอาว่า เป็นเสาเพื่อสร้างสะพานใช้ในการขนถ่ายสินค้าทางเรือ เพราะจับความจากไกด์เล่าให้ฟัง เหมือนกับว่า ฝรั่งเศษ พยายามที่จะใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นทางเดินเรือขนส่งสินค้า แต่ติดโขดหินบริเวณนี้ จึงสร้างทางรถไฟเพื่อขนส่งสินค้า เชื่อมต่อระหว่างด้านใต้ของดอน ขึ้นมาด้านเหนือ ซึ่งยังปรากฏเส้นทางรถไฟอยู่จนถึงปัจจุบัน ดูกันชัดๆ อีกครั้ง รถ 5 แถว เป็นรถบรรทุกยี่ห้อฮุนได ที่นิยมในลาว นำมาปรับกระบะด้านหลัง ใส่ที่นั่งเข้าไป 5 แถว แต่ละแถวนั่งได้ประมาณ 4 คน เมื่อเรือหางยาวเทียบท่าดอนเดด มีคนบนฝั่งช่วยกันจับเรือให้เราลงจากเรือได้สะดวก เพราะตลิ่งค่อนข้างสูง จำได้มีเด็กคนหนึ่งให้บริการดีมาก ไกด์บอกว่า ขากลับมาจึงจะทิปให้ เมื่อพร้อมกันบนฝั่ง ก็เริ่มสำรวจภูมิประเทศโดยรอบ เห็นป้ายชื่อหมู่บ้าน จึงถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกันทันที โดยผลัดกันเป็นตากล้อง ดังนั้น มักจะเห็นคณะเราในภาค 6 คนเสมอ เพราะอีกคนหนึ่งจะเป็นตากล้อง มองไปรอบๆ เห็นป้ายชื่อโรงเรียนชื่อ โรงเรียนประถมสมบูนบ้านดอดเดดรั้วโรงเรียนเป็นเสาไม้ซุ้มประตูทางเข้า มีป้ายชื่อโรงเรียน ภายในรั้วมีอาคารเรียนหลังเล็ก มีประตู 3 ช่อง แต่ไม่สามารถมองเห็นภายในอาคาร ดูสภาพแล้ว แตกต่างอย่างมากกับโรงเรียนประถมบ้านเรา ดูภาพประกอบเอาเองก็แล้วกัน เมื่อพร้อมกันแล้ว ก็ขึ้นรถห้าแถวที่เราสงสัยกันมานาน ตั้งแต่ไกด์บอกว่าเมื่อข้ามเรือแล้วจะไปต่อรถห้าแถว ก็นึกภาพรกสองแถวบ้านเรา แล้วก็สงสัยว่า ใส่ที่นั่งห้าแถว ทำอย่างไร เมื่อเห็นก็ถึงบางอ้อ จึงต้องถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ความจริงก็คือ รถบันทุกเล็ก ยี่ห้อฮุนได ที่กระบะหลัง ถอดออก ให้เหลือแต่พื้น ใส่เก้าอี้เข้าไปห้าแถว ตั้งเสา ทำหลังคา รถเริ่มออกเดนทางไปตามถนนแคบๆ เป็นหลุมเป็นบ่อ นึกถึงคำพูดของน้องตีบได้ทันทีที่บอกว่า จะพาไปย่อยอาหาร เพราะรถวิ่งตกหลุม ตกร่อง เขาบอกว่า วิ่งไปตามเส้นทางรถไฟเก่า ดังนั้น พื้นถนนจึงค่อนข้างแข็ง เมื่อฝนตก รถวิ่งผ่านบ่อยๆ ก็เริ่มเป็นหลุ่ม และลึกขึ้น ไม่มีการซ่อมแซม รถวิ่งตกหลุ่มซ้ายที ขวาที โยกไป โยกมาไปตลอดทาง เมื่อสุดเส้นทางดอนเดด จะมีสะพานเล็กๆ ข้ามไปดอนคอน ซึ่งเป็นสะพานสำหรับรถไฟข้าง จึงเล็กมาก สร้างในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ไม่มีรางรถไฟแล้ว มองลงไปในแม่น้ำ มีรีสอร์ทปลูกเรียงรายตลอดริมฝั่ง มีร้านอาหาร ที่ลูกค้าส่วนมากเป็นฝรั่งนั่งกิน ดื่มกันอยู่ แล้วก็ตามธรรมเนียม คือ มีด่านเก็บเงินค่าผ่านทาง โดยไกด์คม โดดลงจากรถห้าแถว ลงไปจ่ายเงิน แต่ไม่เห็นกลับขึ้นมาบนรถ แต่เมื่อรถวิ่งไปได้สักครู่ จึงเห็นไกด์ มายืนดักรอข้างหน้า ตลอดการเดินทาง จะเห็นฝรั่งขี่รถจักรยาน สวนมา หรือรอให้เราแซงผ่านไปตลอดระยะทาง บางครั้ง ก็เห็นฝรั่งเดินอยู่บนเส้นทาง ทำให้นึกว่า ฝรั่งเขาจะเที่ยวแบบธรรมชาติจริงๆ แต่คนไทยเทียวแบบสบายๆ แต่ความเป็นจริงแล้ว คนไทยที่มาเทียว ไม่ค่อยมีเวลามากนัก จึงต้องนั่งรถ แล้วไปเที่ยวให้ได้มากแห่งที่สุด เพราะใช้เวลาเข้ามาเที่ยวสั้น แต่ฝรั่งจะมานอนพักที่ รีสอร์ท และมีเวลาชื่นชทธรรมชาติค่อนข้างยาวนานกว่า รถ 5 แถว วิ่งลัดและไปตามเส้นทางแคบๆ ที่เต็มไปด้วยหลุม บ่อ โดยมีไกด์ (น้องตีบ) นั่งเล่าเรื่องราวต่างๆ และบรรยากาศไปตลอดทาง แต่พวกเราถ่ายรูปกันไมได้เลย เพราะแค่นั่งทรงตัวให้ได้ ก็ยากแล้ว รถเหวี่ยงไป เหวี่ยงมาตลอดเวลา สองมือต้องจับราวไว้อย่างเหนียวแน่น เส้นทางที่รถวิ่ง เหมือนวิ่งบนคันนากว้าง หรือเหมือนทางเกวียน ทางแคบมาก รถไม่สามารถหลีกกันได้ ถ้าสวนกัน อีกคันหนึ่งต้องหลบ แต่เขารู้กันดีว่า จะหลบอย่างไร ตรงไหน รถวิ่งผ่านกลางหมู่บ้าน สะดุดตากับวัดที่สิ่งก่อสร้างสีสันสะดุดตา จนต้องบันทึกภาพเก็บไว้หลายภาพ รวมทั้งสภาพบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นไปตามที่ไกด์บอก คือ เสาบ้านแต่ละหลัง จะไม่ฝังลงดิน แต่จะวางอยู่บนเสาตอหม้อ ซึ่งบางบ้านก็ทำจากไม้ แต่บางบ้านก็เป็นเสาปูน ไกด์เล่าติดตลกว่า จะได้ไม่มีปัญหาถ้าคู่แต่งงานต้องการหย่าร้างกัน แบ่งสมบัติ โดยฝ่ายหนึ่งเอาที่ดิน อีกฝ่ายหนึ่งเอาบ้าน ฝ่ายที่เอาบ้าน ก็ยกบ้านไปทั้งหลังโดยไม่ต้องรื้อ (ไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า แต่ก็อาจจะมีความจริงปนอยู่บ้างในเรื่องการย้ายบ้านที่ทำได้ง่าย) แต่วัตถุประสงค์อีกอย่างคงเป็นเรื่องป้องกับปลวก ที่จะทำลายเสาบบ้าน เส้นทางที่รถห้าแถววิ่งจะเป็นเส้นทางรถไฟเก่า จึงเป็นทางแคบๆ เลิกใช้หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ยังมีซากหัวรถจักรสมัยเก่าวางอยู่ให้เห็น ไกด์บอกว่า รางรถไฟ เขางัดไปขายหมดแล้ว หัวรถจักร ก็เหลือเฉพาะที่ถอดเอาไปไม่ได้ เหลือไว้เป็นอนุสรณ์ และตอนนี้ เห็นกำลังมีการส่องกล้องสร้างทาง ซึ่งคิดว่า คงจะมีการปรับปรุงเส้นทางเร็วๆ นี้ ถึงแล้ว ทางเข้าน้ำตกหลี่ผี เป็นลานจอดรถกว้าง ต้องเดินเข้าไปที่น้ำตก โดยข้ามสะพานไม่แคบๆ มีลำน้ำเล็กๆ ไหลผ่าน คณะเราหยุดพักถ่ายรูปกันครูหนึ่ง เพราะเห็นควายสามตัวนอนแช่น้ำเล่นอยู่ สงสัยไหมว่า ทำไมควายสามตัวจึงเป็นที่สนใจของพวกเรา ดูรูปเอาเอง ถ่ายรูปควายเสร็จ ก็เดินเท้ากันต่อ ระยะทางจากที่จอดรถ ถึงน้ำตก ประมาณ 200 เมตร ต้องเดินลอดซุ้มกอไผ่ ซึ่งคงเป็นฝีมือของชาวบ้าน ที่ดัดแปลงจากกอไผ่ธรรมดากลายเป็นซุ้มตลอดทางเดินในช่วงนี้ และแล้วก็ถึงน้ำตกลี่ผี ความยิ่งใหญ่ของน้ำตกหลี่ผีไม่ถ่ายทอดออกมาทางภาพได้ ต้องสัมผัสด้วยสายตามของเราเอง เมื่อได้เห็นแล้ว ทำให้ความเหนื่อยากลำบากมาตั้งแต่เช้าหายไปจนสิ้น เสียงน้ำตกดังสนั่น น้ำตกสีแดงขุ่น ไหลมาจากทิศทางต่างๆ มาลงช่องถูเขาที่ลึกลงไปเบื้องล่าง ระหว่างโขดหิน เป็นภาพของพลังน้ำอันยิ่งใหญ่ พลังของธรรมชาติที่น่าตื่นเต้น ด้วยความตื่นตาตื่นใจ กับน้ำตก จนลืมบันทึกภาพของตัวเราเองหรือคนอื่นๆ มีแต่ภาพน้ำตกในมุมต่างๆ เต็มไปหมด แต่ไม่ถูกใจ เพราะไม่รู้ว่าจะวางมุมภาพอย่างไร เนื่องจากยืนดูบนฝั่ง และน้ำตกใหญ่มากขวางลำน้ำโขง ไหลมาจากทิศทางต่างๆ ภาพด้านบนนั้น เกิดจากจากถ่ายภาพจำนวน 3 ภาพ มาต่อกัน ภาพถ่ายดาวเทียมเห็นตำแหน่งที่ตั้งของน้ำตกหลี่ผี ซึ่งข้ามจากฝั่งบ้านนากาซอง มาที่ดอนเดด ข้ามน้ำตามสะพานรถไฟมาที่ดอนคอน เข้าสู่น้ำตกหลี่ผี ซึ่งภาษาอังกฤษ เขียนว่า Tat Somphamit ภาษาลาวเขียนว่า น้ำตกตาดสัมพะมิด (ทางขวาสุดของภาพจะมีดอนพะเพ็ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของน้ำตกคอนพะเพ็ง) หลังจาก ชื่นชมน้ำตกแล้ว เดินมาดูสินค้าของที่ระลึกที่วางขายอยู่มากมาย ส่วนมากก็จะเป็นเสื้อผ้า คณะของเราเดินชมกันใช้เวลาพอสมควร จึงเดินกลับมาที่จอดรถห้าแถว ซึ่งไกด์เตรียมผ้าเย็น และนำเย็นไว้คอยบริการคณะเราอยู่แล้ว กลับจากน้ำตกหลีผีตามเส้นทางเดิม ด้วยรถห้าแถว นั่งกันหัวสั่นหัวคลอนเหมือนเดิม จนมาถึงท่าเรือดอนเดด ก็นั่งเรือกลับ และมีรายการพิเศษบนเรือ โดยมีเด็กน้อย 2 คน มาร้องเพลงให้ฟังตลอดทาง แตเรานั่งข้างหลังไม่รู้หมือนกันว่าร้องเพลงอะไร เพราะเครื่องยนนต์ของเรือดังมาก ร้องไปหลายเพลง เพราะระยะทางค่อนข้างไกล และเรือวิ่งทวนน้ำ จึงใช้เวลามากกว่าขามา เมื่อมาถึงท่าเรือ พบนั่งท่องเทียวอีกกลุ่มหนึ่งกำลังเตรียมลงเรือเพื่อไปเที่ยวหลี่ผี ที่เราไปมาแล้ว น้ำตกคอนพะเพ็ง เดินทางออกจากตลาดนากะซอง มาสมทบกับถนนใหญ่ แล้วเลี้ยวขวามุ่งสู่น้ำตกคอนพะเพ็ง ซึ่งอยู่ห่างจากชายแดนเขมรไม่มากนัก เดินทางมาอีกนิดเดียวก็มีเส้นทางแยกเข้าสู่น้ำตกคอนพะเพ็ง รถตู้สามารถวิ่งเข้าถึงน้ำตก แต่ก่อนถึง ต้องเสียเงินค่าเข้าน้ำตก และต้องเสียเงินค่าจอดรถ จึงสามารถเข้าชมได้ โดยรถพาไปส่งถึงศาลาที่ชมน้ำตก ซึ่งมีนักท่องเที่ยวอยู่เต็ม คำเตือน ระวังช่างภาพ ก่อนมาถึง น้องตีบ ไกด์ลาว ได้แนะนำคณะเราว่า จะมีช่างภาพคอยถ่ายภาพคนที่มาเทียวต้องระวังให้ดี ถ้าต้องการภาพ ต้องตกลงราคากันให้เรียบร้อยเสียก่อน ไม่เช่นนั้นจะมีปัญหา ได้เห็นความยิ่งใหญ่ของน้ำตกคอนพะเพ็งอีกครั้ง แต่ไม่ค่อยสะดวก เพราะบนศาลา มีคนเต็มไปหมด และกลุ่มช่างภาพ ที่คอยมาถ่ายภาพพวกเราตลอด ต้องรอให้คณะทัวร์ออกไปหมดแล้ว สักพักคนเริ่มน้อย จึงมีโอกาสชมน้ำตกอย่างเต็มตาอีกครั้ง 7 คน 7 action ที่น้ำตกคอนนพะเพ็ง ภาพคณะเราเกือบครบทุกคน ขาดแต่คนขับรถ (ภาพอาจารย์กีตาร์ ขวามือสุด ตัดต่อมาเพิ่ม) สายนำสีแดงไหลลงมาตามโขดหินเสียงดังสนั่น ต่างจากหลี่ผี ที่ผ่านมา น้ำตกแห่งนี้ มีขนาดค่อนข้างกว้าง มองเห็นได้ชัดเจนจากศาลาที่เป็นจุดชมวิว ตำนานต้น มะนีโคด ที่ดอนพะเพ็ง หรือภาษาไทยเขียนว่า มณีโคตร ที่น้ำตกคอนพะเพ็ง จะมีรูปต้นไม้ชนิดหนึ่งวางขายนักท่องเที่ยว เขียนชื่อติดไว้ว่า ต้นมะนีโคด ซึ่งเรื่องราวของต้นไม้ชนิดนี้ ผ่านคำบอกเล่าของไกด์น้องตีบมาแล้วระหว่างที่นั่งรถ มีเรื่องมากมายเกี่ยวกับต้นไม่ชนิดนี้ เช่น เรื่องแรก เล่าว่า ต้นมะนีโคด มีกิ่งสามกิ่ง ชี้ไปทางลาว กัมพูชา และไทย ให้สังเกตว่า กิ่งไหนงอกงาม ก็แสดงว่าประเทศนั้นเจริญรุ่งเรื่อง เรื่องที่สอง เล่าว่า ต้นมะนีโคด ร้อยปีจะออกผลครั้งหนึ่ง ผลของกิ่งที่ชี้ไปทางเหนือ ถ้าใครกินจะกลายเป็นนกยาง กิ่งทางใต้ ถ้าใครกินจะกลายเป็นลิง ส่วนกิ่งตะวันออก ใครกินจะเป็นคนหนุ่มสาว มีพละกำลัง เมื่อเล่าจบ น้องตีบก็หยอดท้ายว่า ถ้าใครกินจะเป็นหนุ่มภายในวันเดียว แล้วก็เงียบให้เราคิด แล้วจึงเฉลยว่า วันต่อไปก็ตายกลายเป็นศพแล้ว เพราะแค่ข้ามน้ำตกไปที่ต้นไม้ ก็ตกน้ำตายแล้ว เรื่องที่สามเป็นเรื่องที่เล่าลือกันว่า แต่ก่อนนั้น น้ำตกกระทบแก่งหินมีเสียงไพเราะ แต่ภายหลังเมื่อฝรั่งเศษพยายามที่จะตัดต้นมะนีโคด ทำให้กิ่งหักไปกระทบหินแล้วเสียงที่เคยได้ยิน ก็หายไป ไม่มีใครได้ยินอีก เล่ามาพอสมควร ก็ดูรูปเอาเองว่าต้นมะนีโคด มีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ภาพต้นมะนีโคด หรือภาษาไทยเขียนว่า มณีโคตร จากอินเทอร์เน็ต ถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ที่ป้ายชื่อน้ำตก ชมน้ำตกแล้ว ก็ตามด้วย ชมสินค้าของที่ระลึก ที่ตั้งเรียงรายเต็มไปหมด ดูเหมือนว่า แต่ละคนจะเหนื่อย และเพลียไปตามๆ กัน แต่ใจยังสู้ ยิ่งได้ผ้าเย็น และน้ำเย็นๆ บริการจากไกด์คม และ ไกด์ตีบ ก็เรียกความสดชื่นกลับคืนมา และพร้อมที่จะเดินทางต่อ แต่การเดินทางวันนี้ จบลงแล้ว เพราะต้องเดินทางกลับปากเซอีกระยะทางยาวไกลมาก ช่วงที่นั่งรถกลับ ด้วยความเพลียบางคนก็หลับ แต่บากคนก็ยังตาสว่างกับการบริการภาพยนต์บนรถ จำไม่ได้ว่าเรื่องอะไร ลงท้ายด้วย Titan จนกระทั่งเกือบถึงเมืองปากเซ จึงแวะเที่ยวชมตลาดสดยามเย็น ซึ่งไกด์บอกว่า จะได้เห็นสัตว์ป่าที่ถูกจับมาวางขายอย่างมาก เสียดายที่ไม่สามารถบันทึกภาพมาได้ เพราะเพียงแต่ขยับจะเอากล้องออกมาถ่ายเท่านั้น แม่ค้าก็ร้องห้ามไม่ให้ถ่ายรูป เท่าที่พบสัตว์ป่าที่วางขายอยู่เช่น ตะกวด ค่าง และอีกหลายอย่าง ที่ไม่รู้ว่าตัวอะไร เดินรอบตลาด 1 รอบ จึงกลับมาขึ้นรถ เพื่อเดินทางต่อ เป้าหมายปลายทางคือ โรงแรมเอราวัน รีเวอร์ไซด์ ซึ่งคณะเรามาถึงโรงแรม เกือบ 6 โมง ขอเข้าที่พักก่อน และนัดหมายพร้อมกันเวลา หกโมงครึ่ง โดยเราได้พักกันที่ชั้น 5 แต่เสียดายที่อยู่ทางฝั่งภูเขา ไม่ใช่ฝั่งแม่น้ำโขง จากห้องพัก มองออกไปจะเห็นภูมะโรง และทิวทัศน์เมืองปากเซ ชัดเจน โดยเฉพาะที่อยู่หน้าโรงแรมคือ สมหวัง บาร์รำวง เข้าห้องพักห้อง 518 วางข้าวของเสร็จ ก็เดินลงมาที่หน้าโรงแรม เพื่อเก็บภาพบรรยากาศยามเย็น ริมแม่น้ำโขงหน้าโรงแรม ภาพสะพานมิตรภาพ ลาว-ญี่ปุ่น ถ่ายจากหน้าโรงแรมเอราวันเมืองปากเซ ในยามเย็นประมาณ 6 โมงเย็น พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว เหลือแต่แสงสีทองจับท้องฟ้า ปิดท้ายการเดินทางวันนี้ ด้วยอาหารค่ำที่รสแซบอีกครั้ง ที่ร้านอาหารกลางเมืองปากเซ ก่อนที่จะถึงร้านอาหาร ได้ขับรถชมรอบเมือง ไปตามถนนต่างๆ จำไม่ได้เหมือนกันว่าไปที่ไหนบ้าง จำได้จุดเดียว คือบริเวรร้านอาหารริมแม่น้ำโขง ซึ่งเขารียกว่าบริเวณแคมของ มีร้านอาหารเรียงราย ตลอดสองข้างทาง ถ้าเปรียบบ้านเรา ก็คือร้านข้าวต้มข้างถนนนั่นเอง แต่บรรยากาศดีมาก มีลมเย็นๆ พัดมาจากแม่น้ำโขง ประมาณทุ่มครึ่งก็ถึงร้านอาหารที่สั่งจองเอาไว้ จะเรียกว่าร้านอาหารก็ไม่ค่อยถูก เพราะมีคณะเรา ไปนั่งคณะเดียว เขาทำอาหารคอยไว้แล้ว มีที่นั่ง 7 ที่กับอีกโต๊ะหนึ่งสำหรับคณะไกด์ 3 ที่ อาหารที่ขึ้นชื่อของร้านนี้คือ ขาหมู อาหารอร่อยมากเช่นเคย โดยเฉพาะขาหมู นอกจานั้น ที่ขาดไมได้คือ ปลาทอด แจ่วผักต้ม ซึ่งเน้นที่ฟักแม้ว ผัดยอดฟักแม้ว ยำหัวปลี ต้มจืดที่น้ำซุปอร่อยมา จึงเป็นอีก 1 มื้อที่กินจนอิ่มหนำสำราญ ทุกคนชมว่าอาหารอร่อยมาก เมื่ออิ่มหนำสำราญแล้ว ก็กลับโรงแรม โดยแวะร้านขายยา เพราะอาจารย์กีต้าท้องเสีย เราก็เลยถือโอกาสซื้ออีโน มาช่วยย่อยด้วย ถึงโรงแรมล้มตัวนอนหลับไปเมื่อไรไม่รู้ตัว มาตื่นอีกทีประมาณ 4 ทุ่ม เพื่ออาบน้ำอาบท่า แล้วนอนต่อ วันที่สอง น้ำตกตาดเยือง น้ำตกผาส่วม นอนหลับสบายตลอดคืน ราวๆ 6 โมงเช้า ทางโรงแรมตั้งเวลาปลุกอัตโนมัติ จึงเตรียมตัว เพื่อการท่องเที่ยวในวันที่สอง โดยมีโปรแกรมการท่องเที่ยววันนี้ 4 แห่ง คือ ตลาดดาวเรือง น้ำตกตาดฟาน ไร่ชา น้ำตกผาส่วม แล้วเดินทางกลับอุบล เมื่อพร้อมแล้วเดินมาชมบรรยากาศริมแม่น้ำโขงหน้าโรงแรม ท่ามกลางอากาศเย็นสบาย ท้องฟ้าฉ่ำฝน ถ่ายรูปหน้าโรงแรมได้เล็กน้อย ฝนก็เริ่มตกเป็นฝอย จึงเข้าโรงแรม ซึ่งอาหารเช้าพร้อมแล้ว เป็นอาหารเหมือนโรงแรมชั้นดีทั่วๆไป แต่แขกค่อนข้างมาก เต็มห้องอาหารของโรงแรม ซึ่งแขกส่วนมากเป็นคนไทยที่คณะทัวร์พามาเที่ยวลาว ตลาดดาวเรือง สถานที่ท่องเที่ยวแห่งแรกคือตลาดดาวเรือง เป็นตลาดรวมสินค้าทุกอย่างมาจำหน่าย ถ้านึกถึงบ้านเราฝรั่งมาเทียวก็มักจะพาไปตลาดจตุจักร แต่ตลาดดาวเรือง ไม่ใหญ่เท่าตลาดจตุจักร ถ้าเทียวที่อุบล ก็คล้ายไตลาดเจริญศรี หรือตลาดนิกร ที่หน้าบิกซี ด้านหน้าทางเข้าตลาดดาวเรือง เป็นธุรกิจใหญ่ของชาวเวียตนามที่ชื่อ ดาวเฮือง ทำธุรกิจเกี่ยวกับ Duty Free และศูนย์การค้าของลาว รวมทั้งอื่นๆอีกหลายอย่าง สินค้าที่ตลาดนี้ ส่วนมาเป็นสินค้าจากไทย จีน และจากเวียตนาม แต่ถ้าเป็นของลาวที่ขึ้นชื่อก็เป็นพวกทอง หรือเงิน สิ้นค้าจีน ก็เป็นพวกเครื่องไฟฟ้า พวกของปลอมทำเลียนแบบ ซึ่งไกด์บอกว่า ซื้อของต้องระวังให้ดี โดยเฉพาะการต่อรองราคา ให้ต่อได้ 50-70% และต้องยอมรับว่า เป็นสินค้าคุณภาพต่ำ โดยพูดตลกว่า สินค้าพวกนี้รักเมืองลาว ไม่อยากจากเมืองลาว เช่น นาฬิกา ตอนอยู่เมืองลาวก็เดินได้ดี แต่พอข้ามไปฝั่งไทยบางทีเข็มหลุดทันที เพราะนาฬิกาไม่อยากออจากเมืองลาว คณะของเราเดินหายเข้าไปในตลาดแยกย้ายกันไป shopping กันตามอัธยาศัย เมื่อได้เวลาออกมารวมกัน ปรากฏว่า แต่ละคนก็ได้ของติดไม้ติดมือกันออกมาพอสมควร จ่ายเงินกันไปคนละหลายหมื่นกีบ บางท่านก็เป็นแสนกีบ น้ำตกตาดเยือง สถานที่ท่องเทียวแห่งที่สองของวันนี้ คือ น้ำตกตาดฟาน อยู่ที่เมืองปากซอง ห่างจากปากเซประมาณ 30 กว่ากิโล แต่ไกด์บอกว่า ท่าทางไม่ค่อยดี เพราะฝนน่าจะตก เขาเตรียมเสื้อกันฝนมาเผื่อด้วย ก่อนเดินทาง แวะเติมน้ำมันรถที่ปั้ม Shell ซึ่งน้องตีบบอกว่า ลาวเขาเรียกปั๊มหอยใหญ่ ส่วนน้ำมันที่ขาย มีน้ำมันเบนซิล กับ ดีเซลเป็นหลัก แต่เรียกชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศษ ซึ่งเราก็จำไม่ได้แล้ว แต่ที่สำคัญคือที่ปั๊มหอยใหญ่นี้ เข้าห้องน้ำไม่เสียเงิน ที่ตลาดดาวเรืองต้องจ่ายค่าเข้าห้องน้ำถึง 2,000 กีบ คณะของเราเกือบทั้งหมดเดินไปเข้าห้องน้ำ รวมทั้งเราเองด้วยแต่จริงๆ ต้องการไปดูสภาพห้องน้ำมากกว่า เพื่อเปรียบเทียบกับห้องน้ำของปั๊ม ปตท. ที่บ้านเรา เมื่อเห็นแล้ว ก็ต้องบอกว่า เปรียบเทียบกันไม่ได้ แต่ก็มีสภาพเหมือนกับห้องน้ำปั๊มอื่นๆทั่วๆไปในบ้านเรา ที่ไม่หรูหรานัก แต่ความสะอาดถือว่าใช้ได้ ออกจากห้องน้ำ ก็มาเดินดูบริเวณรอบๆปั๊มน้ำมัน เป็นร้านขายของชำ และร้านค้าอื่นๆ 2-3 ร้าน ไม่ใหญ่โตนัก ที่แปลกตานิดคือ มีร้านหนึ่งแขวนถุงพลาสติกใส้น้ำใส มีลูกปลาอยู่ในถุง เข้าไปถามดู จึงได้ความว่า ขายลูกปลาเพื่อเอาไปเลี้ยง ทำให้แปลกใจเหมือนกัน เพราะประเทศลาวมีปลาธรรมชาติมากมาย ไม่ขาดแคลนเหมือนบ้านเรา แต่ทำไมจึงมีคนเลี้ยงปลา เมื่อเติมน้ำมันเสร็จ การเดินทางเริ่มขึ้น สังเกตว่ารถวิ่งรถไต่ขึ้นเขาตลอด ฝนตกปรอยๆ ไม่หนักนัก และตกเป็นช่วงๆ บรรยากาศเริ่มมีหมอกจางๆ แล้วค่อยๆหนาขึ้น ความจริงถ้าเรามองด้านล่าง ก็เห็นเป็นเมฆที่ปกคลุมยอดเขา แต่เมื่อเรามาบนเขา ก็เหมือนเป็นหมอก ขับรถต้องเปิดไฟเพราะทัศนวิสัยไม่ดี ไกด์ตีบเล่าว่า อาชีพหลักของปากซอง ปัจจุบัน คือทำไร่กาแฟ ซึ่งเป็นกาแฟคุณภาพดี ปัจุบันจะเป็นพันธ์ต้นเล็กซึ่งแทนพันธ์ต้นใหญ่แต่เดิม (จำชื่อพันธ์ไม่ได้แล้ว) ชาวไร่จึงมีฐานะดี มีพ่อค้ามาซื้อกาแฟถึงไร่ หมดฤดูเก็บเกี่ยวแต่ละปี ชาวไร่กาแฟ ต้องเอาเงินใส่กระสอบ ไปฝากธนาคาร ปัจจุบันกาแฟของลาว จึงเป็นที่นิยมกันมาก ใกล้ถึงน้ำตกตาดฟาน ไกด์บอกว่า เข้าไปไม่ได้ เพราะฝนตก ประกอบกับมองไม่เห็นน้ำตก เพราะหมอกบังหมด จึงขอเปลี่ยนไปน้ำตกตาดเยืองแทน แต่ทางเข้าก็ลำบากเช่นกัน ต้องเปลี่ยนเป็นรถของชาวบ้านแถวนั้น เพราะรถตู้เข้าไมได้ โดยน้ำตกนี้ จะเลยน้ำตกตาดฟานไปเล็กน้อย แต่เป็นลำธารน้ำตกสายเดียวกับตาดฟาน (ฟาน เป็นชื่อสัตว์ป่าชนิดหนึ่งบ้านเราเรียกว่าเลียงผา) เมื่อถึงที่หมาย ปากทางเข้า มีรถจอดคอยอยู่หลายคัน เป็นรถห้าประตูยี่ห้อฮุนได ก่อนลงจากรถ ไกด์ เอาเสื้อกันฝนมาแจกคนละตัว เพราะฝนตกปรอยๆ คณะเรา เริ่มใส่เสื้อกันฝน เอาอุปกรณ์ที่จำเป็นติดตัวไปด้วย โดยเฉพาะกล้องถ่ายรูป เริ่มสังเกตเห็นรถที่จะพาเข้าไปที่น้ำตก ล้อรถมีโซ่พันเอาไว้เหมือนกับรถที่พาขึ้นดอยทางเหนือของไทย ก็พอเดาสภาพได้ดีว่า เส้นทางไปน้ำตกเป็นอย่างไร การเดินทางเริ่มขึ้นไปตามเส้นทางที่เป็นถนนลูกรังสีแดง แต่เปียก ลื่น ด้วยแส้นทางที่วิบากพอควร ที่อันตรายก็คือช่วงทีข้ามลำธารน้ำ ซึ่งค้อนข้างลึกและชัน ประกอบกับฝนตกถนนลื่น ซึ่งเป็นสาเหตที่ต้องใช้โซ่พันล้อรถ แต่ก็ผ่านไปด้วยดี ถึงแล้วทางเข้าน้ำตกตาดเยือง ทางเข้าน้ำตก มีร้านค้าตั้งเรียงราย ขายของที่ระลึก คณะของเรา ไปถึงเป็นคณะแรกๆ เพราะยังไม่ค่อยเห็นคนมาเที่ยวกันเท่าไร ร้านค้ายังเงียบเหงา บางร้านเพิ่งเปิด แต่หมายตาไว้ร้านหนึ่งแล้ว ขายกาแฟมีถุงชงกาแฟแบบกาแฟโบราณ แต่ขอเดินผ่านไปก่อน ขากลับจึงจะแวะ ท่ามกลางฝนตกเป็นละออง ไม่มากนัก คณะเราเดินตามไกด์ ไปยังน้ำตก เป็นเส้นทางที่เดินสะดวก เพราะพื้นเป็นหิน แต่ต้องระวัง เพราะค่อนข้างลื่น ไกด์ตีบ พาแวะไปที่ด้านบนของน้ำตก เป็นบริเวณที่น้ำตกจะไหลลงจากหน้าผา น้ำไหลค่อนข้างแรง แต่ยังไม่ได้เดินแวะลงไป เดินต่อลงไปด้านล่างของน้ำตก ซึ่งต้องไต่เขาลงไปลึกมาก เส้นทางที่ไต่ลงไป ไม่ค่อยดีนัก เฉอะแฉะ มีราวไม้ช่วยยึดเกาะเพื่อก้าวไปตามขั้นบันไดที่เป็นก้อนหินเมื่อเปียกน้ำจึงลื่น ต้องค่อยๆไต้ลงไปและจับลาวไม้ไม่ให้เสียหลัก แต่ราวไม้ก็ลื่น เพราะเปียกฝน จึงต้องไต่ลงไปด้วยความระมัดระวัง มีนักท่องเที่ยวชาวไทย เดินสวนขึ้นมาเป็นช่วงๆ เมื่อสวนกันฝ่ายหนึ่งจะต้องหลบเข้าข้างทาง แต่คนที่สวนขึ้นมาก ก็บอกว่า น้ำตกสวยมาก และแล้วก็ถึงเสียทีน้ำตก ไม่รู้จะบรรยายถึงความยิ่งใหญ่ได้อย่างไร น้ำตกลงมาจากยอดหน้าผาที่สูงประมาณ 100 เมตร ละอองน้ำกระจายทั่ว ถึงฝนไม่ตก ก็ต้องใส่เสื้อกันฝนเพื่อป้องกันละอองน้ำ ต้องไต่เขาไปยืนที่ยอดเนินตรงข้ามน้ำตก ซึ่งลมและละอองน้ำแรงมาก แต่ไม่สามารถบันทึกภาพได้ ต้องใช้กล้องกันน้ำจึงจะใช้ได้ ดังนั้นจึงต้องบันทึกภาพบริเวณข้างๆ น้ำตกเท่านั้น ถ้าต้องการประจันหน้ากับน้ำตก ต้องได้เข้าไปขึ้นเนินเล็กๆ ที่อยู่ตรงข้ามน้ำตก ซึ่งลมแรงมาก และละอองน้ำจากน้ำตกสาดเข้าใส่ตัวเต็มๆ จนเปียกหมด แต่ละคนขึ้นไปยืนโต้กระแสละอองน้ำได้ไม่นานก็ต้องลงมา เป็นบรรยากาศที่เยี่ยมมาก และคิดว่า ถ้ามีโอกาส จะต้องกลับมาอีก ใช้เวลาพอสมควรกับการบันทึกภาพคนเริ่มมามากขึ้น มาฝรั่งคณะหนึ่งเริ่มมาสมทบ ทำให้พื้นที่ศาลาเล็กๆ ที่ยืนดูน้ำตกเริ่มคับคั่งไปด้วยผู้คน และกำลังมีนักท่องเที่ยวชุดหลังๆ ทะยอยตามมา คณะของเราจึงเริ่มเดินทางกลับ เดินทางออกจากน้ำตกจะตื่นเต้นมากกว่า ตอนไป เพราะเริ่มนีนักท่องเที่ยวมามากขึ้น ส่วนมากเป็นคนไทย มีฝรั่งเล็กน้อย สังเกตว่า คนไทยจะนั่งรถจากปากทางเข้าไปน้ำตก แต่ฝรั่งจะเดินเข้าไป ตอนลงไปดูน้ำตก ก็ไม่ค่อยเท่าไร แต่ขากลับเดินขึ้นเขา อาการของคนแก่ก็เริ่มปรากฏให้เห็น ต้องหยุดพักเป็นช่วงๆ รู้สึกว่า หายใจไม่ทัน บางท่านหน้าซีดอย่างเห็นได้ชัด ที่สำคัญ ขาเริ่มสั่น กว่าจะเดินขึ้นมาถึงด้านบนทุกลักทุเลเหมือนกัน ต้องขอบคุณไกด์ทั้งสองท่าน ที่คอยดูแลคณะเราอย่างดี เขาคงมีประสบการณ์ในเรื่องนี้ จึงคอยเดินประกบพวกเรา โดยเฉพาะคนที่อาการไม่ค่อยดี ไกด์จะคอยช่วยเหลือ เดินกลับขึ้นมาด้านบน นั่งพักสักครู จึงค่อยๆ เดินย้อนกลับที่ร้านค้า ซึ่งรถจอดคอยอยู่ ระหว่างเดินทางกลับ จะมีนักท่องเที่ยวเดินสวนทางมาเป็นกลุ่มๆ จนมาถึงที่จอดรถ ปรากฏว่า มีนักท่องเที่ยวหลายกลุ่มรออยู่ บางกลุ่มก็เพิ่งนั่งรถเข้ามา ยืนอยู่ตามร้านค้าต่างๆ เพื่อหลบฝน มีบางคณะ นั่งรถเข้ามา แต่ไม่ลงจากรถ นั่งรถกลับไปเลยก็มี เราได้แต่เสียดายแทนเขา ที่ไม่ได้เห็นความสวยงามของน้ำตก แต่ก็เห็นบางคน แต่งตัวมาอย่างดี โดยเฉพาะทำผมมาอย่างดี ก็ได้แต่นึกว่า ถ้าเดินลงไปน้ำตก ไม่รู้ว่า กลับขึ้นมาสภาพจะเป็นอย่างไร เดินทางออกจากน้ำตกจะตื่นเต้นมากกว่า ตอนไป เพราะเริ่มนีนักท่องเที่ยวมามากขึ้น ส่วนมากเป็นคนไทย มีฝรั่งเล็กน้อย สังเกตว่า คนไทยจะนั่งรถจากปากทางเข้าไปน้ำตก แต่ฝรั่งจะเดินเข้าไป เมื่อมีคนมาก รถที่พาเข้าน้ำตกก็เริ่มไม่พอ รถที่เราเหมาเข้าไป ต้องวิ่งไปรับคนที่ปากทางเราจึงต้องยืนคอยกันนานไม่รู้จะทำอะไร เพราะฝนตก เดินดูสินค้าในร้านที่หลบฝนอยู่ ก็ไม่มีสินค้าอะไรน่าสนใจ ในที่สุด ไกด์ก็ติดสินใจ เหมารถอีกคันหนึ่งออกไป เป็นรถบรรทุก 6 ล้อ กระบะหลังเอาเก้าอี้พลาสติกมาตั้งให้นั่ง เอาเชือกฟางผูกยึดกันไว้กับกระบะรถ หลังคารถใช้พลาสติกคลุมไว้ แต่หลังคาก็รั่ว ดีแต่ว่ามีเสื้อกันฝน ออกมาถึงถนนที่ข้ามลำธาร มีรถสองแถวเล็กจอดอยู่คันหนึ่ง ข้ามไปไม่ได้ คนขับรถของลาวแต่ละคันไปช่วยกันขับรถและเข็นรถสองแถว ให้ข้ามผ่านไป จึงมีรถมาจอดคอยข้าม 2-3 คัน แต่ละคันเริ่มเอาโซ่มาพันที่ล้อ คณะเราตัดสินใจ ลงจากรถแล้วเดินข้ามไปรอฝั่งตรงข้าม มีเพียงอาจารย์ฐิติกับกีร์ต้า นั่งไปบนรถ ซึ่งขับข้ามมาด้วยอาการปัดไปปัดมา แต่ก็ข้ามไปได้ทุกคัน ถึงที่หมายปากทางเข้าน้ำตกตาดเยือง ด้วยความปลอดภัย ถึงแม้จะเป็นการเที่ยวน้ำตกอย่างทุลักทุเล แต่ก็พูดตรงกันว่า ประทับใจอย่างมาก เหตุการณ์แบบนี้ จะอยู่ในความทรงจำไปนาน ถ้าไปเที่ยวแบบธรรมดา ต่อไปอาจจะจำไม่ได้ ว่าเดินทางอย่างไร แต่ครั้งนี้ เป็นการเดินางที่ต้องจดจำว่า ได้พบอะไรบ้าง นอกจากความประทับใจกับน้ำตกแล้ว ยังประทับใจกับการดูแลอย่างดีของไกด์ ความเอื้ออาทรของคนขับรถ ที่แต่ละคัน จะไปช่วยกัน นักท่องเทียวฝรั่ง ที่ต่างจากคนไทย ที่ส่วนมากเข้าจะไปแบบธรรมชาติ และไม่ค่อยไปเป็นหมู่คณะใหญ่ๆ ที่สำคัญคือ ความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ที่ไม่ค่อยพบเห็นแล้วในเมืองไทย ที่คิดว่า ประเทศลาวคงจะรักษาเอาไว้อย่าให้ถูกทำลายเหมือนบ้านเรา ไร่ชา ไร่ชาคุณภาพเยียมแห่งหนึ่งของปากซอง ที่เราแวะเยียมชม เจ้าของไรแห่งนี้ เป็นคนเวียตนาม เคยทำไร่ชากับชาวฝรั่งเศษมาเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ปัจจุบันทำไร่ชาของตนเอง ได้รับการต้อนรับด้วย น้ำชากลิ่นชากลิ่นหอมหวล ชาที่ให้เราชิม เป็นชาเขียว และชาอู่หลง เมือชิมเส็จแล้ว ก็ไปเดินชมไร่ชา เป็นครั้งแรกที่เห็นยอดชาเขียวแบบใกล้ๆ เขาจะเก็บเฉพาะใบชาที่อยู่ที่ยอดสามใบเท่านั้น โดยสิบหาวัน จะเก็บยอดชา 1 ครั้ง ไร่ชาแห่งนี้อยู่บนเนินเขา ขนาดไม่กว้างนัก การเก็บใบชา จะเก็บเฉพาะยอกอ่อนเพียง 3 ใบ 15 วันเก็บครั้งหนึ่ง เมื่อเก็บแล้ว ก็มาเข้ากระบวนการทำเป็นใบชา ซึ่งไมได้ถามรายละเอียดว่าทำอย่างไร เห็นแต่เพียงอุปกรณ์วางเรียงรายอยู่บริเวณบ้าน บรรยากาศตอนนี้เย็นสบาย มีเมฆขาวๆ ลอยปกคลุม ฝนหยุดตกแล้ว จึงเที่ยวชมไร่ชาได้อย่างใกล้ชิด ไกด์ทำหน้าที่อย่างดี ในการอธิบายเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับใบชา ได้เห็นยอดชา ดอกชา และผลชาอย่างใกล้ชิด ดอกชา และผลชา เดินชมไร่ชา โดยไกด์น้องตีบ เป็นผู้นำชม ท่ามกลางบรรยากาศสดชื่น เห็นเมฆหมอกปกคลุมอยู่ไกลๆ ตามสภาพภูมิประเทศบนที่สูงในฤดูฝน แต่ก็โชคดีที่ฝนไม่ตกในตอนนี้ ทำให้ได้ชมไร่ชาอย่างใกล้ชิด ถ่ายภาพร่วมกับเจ้าของไร่ชา ชมไร่ชาแล้ว ก็กลับมาชมผลิตภัณฑ์ของไร่ชาอีกครั้ง ได้มีโอกาสสนทนากับคุณป้าเจ้าของไร่ชา ซึ่งเป็นญาติกับคุณประวิทย์ ผู้จัดทัวร์นำเที่ยวในครั้งนี้ และได้เปรียบเทียบรสชาดของชาอีกครั้งว่า ชาแต่ละอย่างต่างกันอย่างไร แล้วรายการซื้อก็เริ่มขึ้น คนละถุงสองถุง ทั้งชาจากไร่และสินค้าอื่นๆ เช่น กาแฟดาว (dao coffee) ซึ่งมีทั้งรสเข้ม ปานกลาง และอ่อน เป็นแบบ 3 in 1 แต่ที่อยากซื้อคือ กาแฟเม็ด แต่เอากลับมาแล้วไม่รู้จะชงอย่างไร เพราะไม่มีเครื่องชงกาแฟ อุปกรณ์ทำใบชา ไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นอุปกรณ์ทำอะไรบ้าง น้ำตกผาส่วม ผาส่วมห่างจากเมืองปากเซไม่มากนัก ประมาณ 30 กิโลเมตร การเดินทางครั้งนี้ จะไปกินข้าวกลางวันที่น้ำตกแห่งนี้ ซึ่งมีร้านอาหารเพียงร้านเดียว คือร้านของคุณวิมล บำรุงกิจ (ชาวจังหวัดนครปฐม) ซึ่งได้รับสัมปทาน ในน้ำตก และบริเวณน้ำตกเนื้อที่ประมาณ 1300 ไร่ น้ำตกผาส่วม (สำเนียงลาวจะออกเสียงเป็นผาส่วม แต่ภาษาไทยเขียนเป็นผาส้วม) คำว่าส้วมเป็นภาษาลาวแปลว่าห้องนอน หรือห้องหอของคู่แต่งงาน น้ำตกแห่งนี้ จะมีรูปร่างคล้ายๆ ห้องนอน ซึ่งเราเองก็ดูไม่ออกว่า เหมือนห้องนอนตตรงไหน แต่ก็เดาเอาว่า บริเวณสองข้างของน้ำตกเป็นผาหินลักษณะคล้ายๆผนังห้อง ก่อนเข้าน้ำตก จะผ่านประตูทางเข้าเขียนว่า อุทยานบาเจียง น้ำตกผาส่วม และเสียเงินค่าเข้าชมเช่นเคย สองข้างทางปลูกต้นปาล์มเป็นแถว ถนนลาดยางจนถึงน้ำตก ซึ่งมีร้านอาหาร ตั้งอยูใกล้น้ำตกเป็นบรรยากาศอาหารกลางวันท่ามกลางน้ำตก และอากาศที่สดชื่น ไม่ต้องอาศัยแอร์ แต่เป็นแอร์ธรรมชาติที่เย็นสบาย บรรยากาศที่ร้านอาหารดีมาก และคงเล่าได้ไม่หมดถึงความประทับใจ ต้องเห็นด้วยตาจึงจะเก็บความประทับใจได้หมด คณะเราไปถึงเกือบบ่ายโมง แขกเต็มร้าน แต่เริ่มรับประทานกันอิ่มแล้ว และทะยอยออกจากร้าน ดังนั้นคระเรา จึงเป็นคณะสุดท้ายที่ออกจากร้าน จึงโชคดี ที่เห็ยบรรยากาศทั้งหมดชัดเจน และได้คุยกับเจ้าของร้าน โดยเฉพาะคุณ .... ซึ่งเป็นคนลาว ภรรยาคุณวิมล ถ่ายภาพร่วมกับคุณวิมลและภรรยา เจ้าของร้าน และผูได้รับสัมปทาน ในอุทยานบาเจียง นั่งรับประทานอาหารบนพื้นที่ลองด้วยเสื่อหวาย แต่สามารถนั่งห้อยขาลงใต้โต๊ะ โดยไม้ที่ใช้ปูพื้นในร้านอาหารทั้งหมด เป็นไม้แผ่นใหญ่ๆ ทั้งหมด บรรยากาศของร้าน โปร่งสบายโดยออกแบบให้เหมือนธรรมชาติมากที่สุด และรับประทานอาหารอย่างสบาย คุณวิมล เจ้าของร้าน นั่งดูแลลูกค้าอยู่ที่นั่งประจำ (เพราะสายตามองไม่ค่อยเห็นเนื่องจากโรคมาลาเรีย) ลูกค้าจะเข้าไปถ่ายรูป หรือซื้อหนังสือที่คุณวิมลเขียนพร้อมทั้งขอลายเซ็นต์ไว้ในหนังสือ) อาหารมื้อนี้ เป็น ปลาทอด ลาบใส่มาในถ้วยที่ทำจากกระหล่ำปลี ต้มไก่บ้าน(เนื้อไก่สีเหลืองๆ) ผักติ้มจิ้มแจ่ว เนื้อทอด (ไม่รู้ว่าเนื้อเก้งหรือเปล่า) ตบท้ายด้วยของหวานคือหมากจองในน้ำหวานเย็นชื่นใจ ดูเหมือนว่า อาหารจะถูกปากไปเสียทุกอย่าง อาจจะเพราะปัจจัยหลายอย่าง รสชาดอาหารที่อร่อย บรรยากาศดี และเลยเวลาอาหารมาแล้ว จึงหิวกันกันเต็มที่ หลังจากอาหารกลางวันผ่านไป ก็ถึงเวลาเที่ยวชมธรรมชาติของน้ำตกผาส่วม และพิพิธภัณฑ์ชนเผ่า หรือหมู่บ้านชนเผ่าจำลอง แต่ก่อนที่จะเดินไปชมธรรมชาติ ก็อดไมได้ที่จะแวะชมสิ่งที่มนุษย์สร้างเสียก่อน สิ่งแรกคือ แวะไปเข้าห้องน้ำ ซึ่งทำให้กลมกลืนกับธรรมชาติอย่างมาก แต่ไม่ใช้ห้องน้ำแบบที่เรายิงกระต่ายกันข้างทาง ห้องนำที่นี่ดูโล่งๆสักนิด สำหรับห้องน้ำผู้ชาย ส่วนห้องน้ำหญิงไม่ทราบ เพราะไมได้เข้าไป ที่แปลกใจคือ เมื่อกดน้ำจากชักโครก น้ำเป็นสีแดง ก็ไม่แน่ใจว่า เขาใส่อะไรลงไปในน้ำ หรือความจริงแล้วเป็นน้ำจากธรรมชาติ เพราะตอนนี้เป็นหน้าฝน น้ำจากน้ำตก เป็นสีขุ่นแดง สองข้างทางเดินสั้นๆ มีต้นพรรณไม้ต่างๆ ปลูกเอาไว้กลมกลืนกับของเดิม เดินผ่านต้นไม่ยืนต้นตายต้นหนึ่ง โดยปกติเราก็จะตัดทิ้ง แต่เข้าเก็บไว้ แต่ทำให้ดูสวยงามได้ด้วยการปล่อยให้มีไม้เลื้อยพันไว้ดูกลมกลืนกับธรรมชาติรอบข้าง บนทางเดิน ได้ตัดท่อนไม้เป็นลักษณะเหมือนเขียงมาวางรองเอาไว้เพื่อเป็นทางเดิน (สภาพเช่นนี้ทำให้นึกถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม่เมืองลาว จนหลายคนคิดว่า คุณวิมลคงจะตัดไม้ใหญ่ๆ มาซอยเป็นทางเดิน ความจริงไม่ใช่ อ่านจากหนังสือ บอกไว้ว่า ไม้เหล่านี้ ไปเหมามาจากเศษตอไม้ที่เขาทิ้งที่โรงเลื่อยของเมืองลาว) เดินจากบริเวณที่รับประทานอาหารไปนิดเดียว ก็ถึงน้ำตกผาส่วม ถ้าดูจากรูปร่าง ก็ต้องบอกว่า เหมือนน้ำตกไนแองการา ที่ย่อส่วนลงมาสักร้อยเท่าเพราะเป็นลักษณะที่เกิดจากความต่างระดับของธารน้ำ ที่เป็นร่องลึกในซอกหิน ดังนั้น บริเวณที่เรายืนถ่ายภาพจึงเปรียบเหมือนกับยืนในฝั่งประเทศแคนาดา ส่วนฝั่งตรงข้ามเป็นฝั่งประเทศอเมริกา เมื่อเดินมาถึง มีคณะนักท่องเที่ยวยืนถ่ายภาพอยู่จำนวนมาก แต่ก็ดีที่คณะเราเป็นคณะสุดท้ายแล้ว ยืนรอนิดเดียว บริเวณจุดชมวิวน้ำตกก็โล่ง พื้นที่ตรงนี้จึงเป็นพื้นที่ส่วนตัวสำหรับคณะเรา ที่จะถ่ายภาพได้อย่างสะดวกสบาย แต่วุ่นวายนิด เพราะเวลาไปยืนถ่ายภาพ ไม่รู้ว่า จะหันหน้าไปที่กล้องคนไหน ทุกคนที่มีกล้อง จะช่วยกันถ่ายภาพเอาไว้ บริเวณที่ทุกคนที่มาจะต้องมายืนถ่ายรูปตรงนี้ อยู่ตรงข้ามน้ำตกผาส่วม มองเห็นน้ำตกอย่างชัดเจน พร้อมทั้งป้ายชื่อน้ำตกเขียนเป็นภาษาลาว คณะเราทุกคนก็มายืนถ่ายภาพกันตรงนี้เพื่อเก็บไว้ในความทรงจำ จุดหมายต่อไปจากน้ำตกก็คือ หมู่บ้านชนเผ่า ซึ่งจะต้องเดินข้ามธานน้ำตก โดยใช้สะพานแขวน อาจารย์ฐิติ บอกให้คณะเราเดินไปก่อน แล้วไปยืนบนสะพานแขวน ส่วนอาจารย์ฐิติ เป็นผู้บันทึกภาพของคณะเราบนสะพานแขวนอยู่ที่หน้าน้ำตก ข้ามไปหมู่บ้านชนเผ่า จะต้องเดินข้ามสะพานแขวน เมื่อเดินข้ามจะโยตัวไป เป็นอีกจุดหนึ่ง ที่ต้องบันทึกภาพไว้ในความทรงจำ และจากสะพานแขวนนี้ ก็สามารถมองเห็นน้ำตกได้ภาพที่สวยงามประทับใจมาก ภาพนี้ถ่ายจากสะพานคอนกรีตสำหรับรถข้าม มองมาเห็นสะพานแขวน และน้ำตกผาส่วม เขาบอกว่า แต่เดิม จะมีน้ำตกเฉพาะตรงกลางเท่านั้น แต่คุณวิมล ได้พยายามเปลี่ยนทิศทางน้ำ จนมีน้ำตกบริเวณด้านข้างๆ ที่สวยงามอย่างปัจจุบัน ช้างชุดนี้ ปั้นโดยช่างที่จบจากเพาะช่าง เพื่อระลึกถึงช้างที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาพื้นที่จนสวยงามเหมือนทึกวันนี้ เมื่อข้ามสะพานแขวนไปแล้ว ก็พบกับพื้นที่ที่มีการตกแต่งเอาไว้อย่างสวยงามแต่เป็นธรรมชาติ จุดที่สะดุดตา คือ พบโขลงช้างโขลงหนึ่งเหมือนจริงมาก จนต้องเก็บภาพเป็นที่ระลึก แต่เมื่อถ่ายภาพเสร็จ จึงเห็นข้อความบอกว่า ห้ามนั่งบนช้าง แต่จะทำอย่างไรได้ นั่งไปแล้ว ก็เลยต้องแก้ตัวว่า อ่านภาษาลาวไม่ออก เดินจากโชลงช้างไปนิดหนึ่ง ก็ถึงลานจอดรถ มีรถนักท่องเที่ยวจอดอยู่จำนวนมาก เพื่อเข้าชนหมู่บ้านชนเผ่า หรือหมู่บ้านที่เอาชาวเผ่าต่างๆ ของประเทศลาว มาอยู่รวมกัน เพื่อให้นักท่องเที่ยวเห็นประเพณี วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของแต่ละเผ่า โดยไม่ต้องเดินทางไปที่เผ่านนั้นๆ เพราะในหมู่บ้านนี้ เป็นการนำชนเผ่าต่างๆ มาให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกันถึงที่ ปากทางเข้าสู่ชนเผ่า จะมีบ้านต้นไม้แปลกตาม มีนักท่องเที่ยวมุงถ่ายรูปกันอยู่ ขระเราจึงเดินผ่านไปตามเส้นทางเดินเข้าหมู่บ้านชนเอาประมาณ 100 เมตร ก็ถึงบ้านชนเผ่าบ้านแรก แล้วคณะเราก็ติดอยู่ที่บ้านนี้นานมาก ไม่ใช่สนใจประเพณี วัฒนธรรมอะไร แต่สนใจผ้าที่วางขายอยู่ เพราะฝีมือสวยมาก ราคาไม่แพง และได้เป็นวิธีการทอผ้าของเขาด้วย ซึ่งไกด์ตีบบอกว่า เป็นกี่เอว ให้ดูภาพเอาเองว่า กว่าจะทอเสร็จแต่ละผืน มันจะเมื่อยแค่ไหน และสังเกตให้ดี จะเห็นว่า ผ้าที่ทอ จะสีฉุกฉาดมาก เขาบอกว่า สมัยก่อนจะให้สีธรรมชาต แต่สมัยนี้ ใช้สีวิทยาศาสตร์ที่ซื้อมาจากปากเซ เลือกผ้าลายสวยๆ สอบถามราคา ต่อรองราคา แล้วก็จ่ายเงิน แต่ทุกคนไม่ค่อต่อราคากันเท่าไร เพราะเห็นแล้วว่า กว่าจะทอแต่ละผืนลำบากน่าดู แต่ก็ไม่รู้ว่า ผ้านี้ เขาทอที่บ้านนี้ หรือส่งมาจากที่อื่น แล้วเอามาวางขายนักท่องเที่ยว กี่เอว เป็นอุปกรณ์ทอผ้าของชนเอานี้ เวลาทอผ้า จะผูกกี่ทอผ้าไว้กับเอว แล้วทอผ้าเป็นผืน ด้วยการสอดด้ายทีละเส้น กว่าจะได้ผ้าแต่ละผืนใช้เวลานานหลายวัน ลักษณะบ้านของแต่ละชนเผ่าที่อยู่ในหมู่บ้านชนเผ่า บ้านบางหลัง ไปย้ายบ้านจริงๆ เขามาสร้างในบริเวณนี้ อาจารย์ฐิติ ถ่ายภาพกับพ่อเฒ่านักดนตรีชาวเผ่าโอย เด็กน้อยน่ารัก เผ่าตาลัก นั่งเป็นนางแบบ ให้นักท่องเที่ยวถ่ายภาพ หน้าตาน่ารักมาก เป็นขวัญใจของนักท่องเที่ยว ทุกคณะที่ผ่านมา ต้องแวะถ่ายรูปด้วย ดูเหมือนว่า รายได้จะดีกว่าขายผ้าพื้นเมืองนะ ถ่ายภาพกับเด็กชาวเผ่า..... เผ่านี้มีประเพณีแปลกคือ ที่ครัว จะมีป่อง (ช่อง) ให้ผู้บ่าว หรือหนุ่ม มาจก(ล้วง)ผู้สาว ผ่านทางช่องนี้ เมื่อเป็นที่พออกพอใจกัน ก็จะขึ้นไปอยู่ด้วยกันบนบ้านต้นไม้ทั้งคืน ถูกเนื้อต้องตัวกันได้ แต่ห้ามล่วงเกิน เพราะถ้ามีการเกินเลยกัน จะผิดผี ซึ่งจะมีผลทำให้ญาติพี่น้องป่วย ซึ่งฝ่ายชายจะต้องมาเสียผี รับฝ่ายหญิงเป็นภรรยา โดยค่าเสียผี และสินสอด จะเรียกเป็นสัตว์เลี้ยง เช่นหมู หรือวัว ป่อง (ช่อง) ที่ใช้จกสาว เป็นช่องเล็กๆ พอมือล้วงเข้าไปได้ โดยที่พื้นดินจะมีครกไว้สำหรับยืนเพื่อให้เอื้อมมือถึงช่องได้ และมีเรื่องเล่าอีกว่า แม่จะสอนลูกสาวว่า การเลือกคู่ครองนั้น ให้คลำที่มือของหนุ่มที่ล้วงเข้ามาทางช่อง ถ้ามือสากๆ แสดงว่าเป็นคนขยันทำมาหากิน ให้เลือกเป็นคู่ครอง ถ่ายภาพกับเด็กชาวเผ่าแงะ ที่ด้านขวาของภาพ จะเห็นบันได ที่ทำด้วยท่อนไม้ ซึ่งทำขึ้นใหม่ บันไดเก่า เก็บไว้บูชาบนบ้าน เพราะเป็นบันใดที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เสด็จเหยียบขึ้นไปบนบ้าน คณะเราจึงตามขึ้นไปดูบนบ้าน ซึ่งภายในโล่งถึงกันหมด ไม่มีห้องหับอะไร มุมบ้านด้านหนึ่งคือครัวที่ประกอบอาหาร นักดนตรีเผ่ากะตู กำลังแกะเครื่องดนตรี ประตูทางเข้าหมู่บ้านชนเผ่า เดินทางกลับประเทศไทย ออกจากอุทยานบาเจียง ซึ่งเป็นจุดสุดท้ายของการท่องเที่ยวครั้งนี้ กลับเข้ามาเมือง ปากเซ ข้ามสะพานมิตรภาพลาว-ญี่ปุ่น สู่ด่านวังเตา ชายแดนไทยลาวซึ่งใช้เวลาไม่นานนัก จอดรถเพื่อทำเรื่องออกจากลาว เข้าประเทศไทย ขณะที่รอทำเอกสารผ่านแดน มีโอกาสเข้าซื้อของใน Duty Free อีกครั้ง แต่ไม่มีใครสนใจซื้อของอะไร จึงรอจนทำเอกสารเสร็จ จึงร่ำลา ไกด์แม่หญิงลาว น้องตีบ แล้วเดินข้ามแดนผ่านด่านศุลกากรเข้าแขตแดนไทยที่ช่องเม็ก เดินทางเข้าสู่จังหวัดอุบลราชธานี้ ด้วยระยะทาง ประมาณ 90 กิโลเมตร ถึงอุบลเวลาประมาณ 6 โมงเย็น

เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก

6-7 สิงหาคม 2553 เมืองปากเซ แขวงจำปาสัก สปป.ลาว ปี 2553 เป็นปีที่คณะทำงาน ICT ของสถาบัน กศน. ภาค ทั้ง 5 ภาค ปฎิบัติงานร่วมกันอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดการประชุมร่วมกัน ตั้งแต่ครั้งแรก ที่ภาคเหนือ จังหวัดลำปาง ครั้งที่สอง จังหวัดราชบุรี ครั้งที่สาม จังหวัดระยอง ครั้งที่สี่ จังหวัดสงขลา และครั้งที่ห้า ครั้งสุดท้ายของปี ที่จังหวัดอุบลราชธานี และครั้งสุดท้ายนี่เอง ที่มีโปรแกรมว่า ไหนๆ ก็มาอุบลแล้ว หลังประชุมเสร็จ น่าจะเดินทางไปเที่ยวประเทศลาวกันสักหน่อย ด้วยเหตุนี้เอง โปรแกรมการประชุมทีลำปาง จึงมีกิจกรรมต่อเนื่องจากการประชุม คือ เข้าไปเที่ยวประเทศลาว แล้ววันประชุมก็มาถึง ปากฏว่า สมาชิกบางท่านไม่สามารถมาร่วมประชุมได้ บางท่านติดภารกิจ ทำให้มีสมาชิกที่จะเข้าไปเที่ยวประเทศลาวเพียง 4 ท่านที่ยืนยันเจตนาเดิม ที่จะเดินทางเข้าไปเที่ยวประเทศลาว สมทบกับคณะจากอุบล อีก 3 ท่าน รวมเป็น 7 ท่าน ดังนั้น การเดินทางครั้งนี้ จึงเป็นคณะเล็กๆ กระทัดรัด เมื่อรวมกับคนขับรถ ไกด์ไทย และไกด์ลาว จึงมีคณะ 10 คน พอดี ถือว่า พอดีคันรถ และมีความคล่องตัวในการเดินทางอย่างมาก คณะที่เดินทางจึงประกอบด้วย คณะจากราชบุรี 3 คน คือ อาจารย์ทองจุล ขันขาว อาจารย์ฐิติ บุญยศ อาจารย์นฤมล จากสงขลา 1 คน คือ อาจารย์จริยา เวียสุวรรณ จากอุบล 3 คน คือ อาจารย์กีรติ กุลบุตร และอีก 1 ครอบครัวคือ ศรีเชาวน์ และ ละมัย วิหคโต ส่วนไกด์ไทยชื่อ นิคม ไกด์ลาว ชื่ออะไรจำไม่ได้ เรียกแต่ชื่อเล่นว่า น้องตีบ ส่วนโชเฟอร์ จำชื่อไม่ได้เช่นกัน เช้าวันเดินทาง นัดหมายกันว่าเริ่มกลุ่มแรก คือคณะจากโรงแรมที่พัก ศูนย์วัฒนธรรม เวลา 6 โมงเช้า ต่อจากนั้น ก็ไปส่งคณะจากภาคตะวันออก ที่สถานีขนส่งอุบล (เพราะไมได้เดินทางไปด้วย) แล้วมารับเราที่บ้าน ซึ่งเวลาก็ล่วงเลยไปจนประมาณ 7 โมงเช้า จึงเริ่มถามกันว่า กินข้าวเช้ากันแล้วหรือยัง คำตอบ ก็คือยัง เพราะคณะที่พักโรงแรม ออกมาก่อนเวลาอาหารเช้า จึงตกลงกันว่า จัดการเรื่องอาหารเช้าสำหรับทุกคนเสียก่อน ถามไกด์นิคม ว่า ร้านอาหารเช้าที่ไหน น่าสนใจ คำตอบก็คือ ร้านสามชัย โดยแนะนำว่า น่าจะเป็นร้านสามชัย สาขาหน้าจวนผู้ว่า เพราะเป็นสาขาเปิดใหม่ คนไม่แน่นเหมือนสาขาหน้าศาล เมื่อเป็นที่ตกลงกันแล้ว ก็มุ่งหน้าสู่ร้านสามชัย โดยแวะที่ทำงาน เพื่อทำภารกิจสำคัญก่อน คือ เซ็นต์ชื่อปฏิบัติงาน ต่อจากนั้น ก็เป็นเรื่องของการเดินทาง อาหารเช้า ที่ร้านสามชัย สาขาจวนผู้ว่า เป็นสาขาที่ 5 บรรยากาศไม่พลุกผล่านเท่าไร ต่างกับสาขาหน้าศาล ที่ร้านเล็ก และคนมาก อาหารเช้านี้ ก็ตามอัธยาศัยตามใจชอบแต่ละคน บนโต๊ะจึงมีอาหารหลากหลาย ทั้งไข่กระทะ ก๋วยจั๊บ ต้นเลือดหมู ก๋วยเตี๋ยว ส่วน พขร. และ ไกด์ แยกไปรับประทานอีกโต๊ะหนึ่ง ใช้เวลาไม่นาน ก็อิ่มหนำสำราญ พร้อมที่จะเดินทาง การเดินทางอย่างเป็นทางการเริ่มต้น โดยยึดเอาหน้าจวนผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี เป็นจุดเริ่มต้นการเดินทาง บรรยากาศแม่น้ำมูลยามเช้า มองจากสะพานข้ามแม่น้ำมูลบริเวณหาดวัดใต้ ท้องฝ้าฉ่ำฝน บดบังแสงอาทิตย์ยามเช้า ทำให้นักท่องเที่ยวในรถปรารภกันว่า คงได้เที่ยวน้ำตกกันตลอดทางแน่ แต่เป็นน้ำฝนตก เส้นทางจากอำเภอวารินชำราบ ไปด่านช่องเม็ก กำลังก่อสร้างเป็นช่วงๆ ปรับจากถนน 2 เลนซ์ เป็น 4 เลนซ์ ดังนั้น การเดินทางจึงค่อนข้างจะไม่ราบเรียบเป็นบางช่วง อ่างเก็บน้ำเหนือเขื่อนสิรินธร ปริมาณน้ำเริ่มมากขึ้น เนื่องจากต้นฤดูฝน ด่านช่องเม็ก ถ่ายภาพร่วมกัน ก่อนเดินทางผ่านด่านออกจากประเทศไทย เข้าสู่ประเทศลาว ระหว่างที่รอการทำเรื่องราวผ่านแดนจากไกด์ ได้มีโอกาสเดินชมสินค้าใน ร้านค้าปลอดภาษี (Duty Free) ที่ด่านช่องเม็ก ชื่อร้านดาวเรือง (Dao Heuang) เจ้าของร้านเป็นชาวเวียตนาม มาทำธุรกิจด้านศูนย์การค้าใหญ่โตในลาว มีร้านค้าปลอดภาษีทุกด่าน รวมทั้งในเมืองปากเซ สิ้นค้าในร้านค้า ส่วนมากเป็นเหล้า เบียร์ บุหรี่ เข้าไปเดินชมนิดหน่อย ก็ออกมาคอยที่หน้าร้าน ระหว่างนี้ ก็ได้รวบรวมเงินค่าเดินทางให้กับไกด์ คนละ 4,400 บาท รวมเป็นเงิน 30,800 บาท ค่าใช้จ่ายลำดับแรกคือ ค่าใช้จ่ายสำหรับไกด์ชาวลาว ซึ่งตอนนี้กำลังไปทำเรื่องผ่านแดน แต่เราก็ไม่ได้ถามว่า ต้องจ่ายค่าไกด์เท่าไร เพราะคิดว่าเป็นเรื่องส่วนตัว ที่ไม่ควรถาม นั่งรอกันไม่นาน เรื่องผ่านแดนก็เสร็จเรียบร้อย พร้อมที่จะขึ้นรถ ได้เห็นหน้าไกด์ลาวเป็นครั้งแรก เป็นเด็กวัยรุ่น ตัวเตี้ยๆ รูปร่างค่อนข้างท้วม ผิวคล้ำ แต่ไม่ถึงกับดำ นุ่งผ้าซิ่นแบบข้าราชการลาว เสื้อแขนยาวสีขาว ระหว่างเดินทางไกด์จะนั่งด้านหน้า และเริ่มแนะนำตัว ซึ่งเราก็จำชื่อไม่ได้แล้ว จำได้แต่ชื่อเล่นว่า ตีบ ซึ่งต่อมาเราก็เรียกกันติดปากว่า นางตีบบ้าง ไกด์ตีบบ้าง น้องตีบบ้าง เจ้าตัวบอกว่าชื่อเล่นนี้เป็นตามเอกลักษณ์ของตัวเขาเองที่เป็นคนตาตีบ (ตาหยี) อาจจะเป็นเพราะเป็นคนท้วม เมื่อยิ้มจึงแทบจะไม่เห็นตา เขาจึงเรียกกันว่า ตีบ และเอกลักษณ์ที่สำคัญคือ ไม่มีดั้ง (ดังแหมบ) ตามลักษณะของคนลาว (ดูจากภาพประกอบ) จากการแนะนำตัวทำให้ทราบว่า ไกด์ตีบ จบการศึกษาระดับอนุปริญญา ด้านการท่องเที่ยว และได้รับใบอนุญาตการเป็นไกด์ จากสำนักงานการท่องเที่ยว เป็นไกด์อิสระ เป็นคนปากเซ วันนี้ก็ต้องเดินทางมาจากปากเซ เพื่อมารับคณะของเรา เพื่อเข้าไปเที่ยวประเทศลาว ได้เรียนรู้อีกอย่างหนึ่งว่า อัตราการแลกเปลี่ยนเงิน 1 บาท แลกเงินลาวได้ประมาณ 230-250 กีบ ดังนั้น ถึงแม้เงินจะถูก แต่ค่าครองชีพแพงกว่าเมืองไทย เช่น ก๋วยเตี๋ยวชามละประมาณ 40 บาท ข้าวของตามร้านจะแพงกว่าเมืองไทย แต่เงินเดือนจะต่ำมาก แต่ที่เขาอยู่กันได้ เพราะ ไม่ได้ซื้อกินกันเท่าไร ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว เรื่องที่พวกเราเห็นแล้วตลกที่ด่านวังเตา หรือด่านของลาวที่ติดกับชายแดนช่องเม็กของไทย เมื่อรถจะผ่านด่าน จะมีคนถือสายยางมีหัวฉีดพ่นน้ำที่ล้อรถ เขาบอกว่าเป็นนน้ำยฆ่าเชื้อโรค และรถที่ผ่านจะต้องเสียเงินค่าฉีกน้ำยาฆ่าเชื้อโรคนี้ด้วย การฉีดก็ทำแบบลวกๆ ไม่เปียกทั่วทุกส่วนของล้อ บางคนยังพูดว่า น้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือ น้ำเปล่าๆ ก็ไม่รู้ แต่ฝั่งไทยไม่มีการฉีดน้ำยาดังกล่าว ตลอดการเดินทาง ไกด์ ก็จะมีเรื่องต่างๆ มาเล่าให้คณะท่องเที่ยวฟังตลอดเวลา เป็นเกล็ดความรู้เกี่ยวกับเมืองลาว และโปรแกรมการท่องเทียว รวมทั้งเรื่องขำๆ คลายเครียดตลอดทาง เป็นที่ประทับใจของคณะเราอย่างมาก ภูระโรงเป็นภูเขา ที่ตั้งตระหง่านอยู่หลังเมืองปากเซ ซึ่งด้านหน้าเมือง หันไปทางแม่น้ำโขง หลังเมืองคือภูมะโรง ภูนางนอน เป็นภูเขารูปร่างเหมือนผู้หญิงนอน และมีตำนานกล่าวถึงที่มาของภูนางนอนนี้ ซึ่งน้องตีบเล่าให้ฟังว่า ทำไมจึงเรียกภูนางนอน ต้องติดตามเอาเองในตอนหลังๆ ก่อนเข้าสู่ตัวเมืองปากเซ จะต้องข้ามสะพานมิตรภาพลาว – ญี่ปุ่น มีความยาว 1,380 เมตร และมีด่านเก็บเงิน สำหรับรถที่ผ่านเข้าออกทุกคัน และสภาพเช่นนี้ จะพบได้ตลอดการเดินทาง และการเก็บเงินดูเหมือนไม่ค่อยเป็นระบบเท่าไร มีคนยืน 2 คน เงินที่เก็บได้ก็เอาสุมกันไว้ในภาชนะต่างกัน บางที่เห็นเป็นกระเป๋า บางแห่งเป็นกล่อง โดยเงินกองสุมกันเป็นจำนวนมาก ไกด์บอกว่าที่มีการเก็บเงินกันยุบยิบก็เพราะรัฐบาลมีนโยบายว่า เมืองใดมมีรายได้จากการท่องเทียวมาก ก็มีโอกาสที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนงบประมาณด้านการท่องเที่ยวเข้ามามาก สะพานแห่งนี้เป็นที่เชิดหน้าชูตาอย่างมาก เป็นสพานที่มีความยาวมาก ทอดข้ามแม่น้ำโขงทีเมืองปากเซ ตอนช่วงกลางสะพาน เป็นสะพานแขวนที่ทันสมัย ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากญี่ปุ่น ทัศนียภาพเมืองปากเซ มองจากสะพานข้ามแม่น้ำโขง มีคำถามว่า ทำไมจึงเรียกว่าเมืองปากเซ และทำไมเมืองนี้ จึงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ได้คำตอบว่า ที่เรียกปากเซ เพราะมีแม่น้ำเซโดน ไหลมาบรรจบแม่น้ำโขงที่เมืองนี้ เมืองปากเซจึงเป็นเมืองของปากแม่น้ำที่ไหลมาบรรจบแม่น้ำโขง และเนื่องจากเป็นเมืองที่ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานีของประเทศไทย จึงถือว่าเป็นเมืองหน้าด่าน ของการค้าขาย คล้ายๆกับเมืองหาดใหญ่ของไทย จึงเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เพราะเศรษฐกิจดี มีนักท่องเที่ยวมาก มีแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติมาก เรื่องแรกที่เรียกเสียงฮาจากคณะ คือไกด์ตีบเล่าถึงการจราจรในเมืองลาวว่า ไม่เคยมีรถชนกันเลย พวกเราก็คิดตาม และก็เห็นด้วย เพราะเมืองลาวรถไม่มาก และคิดว่า เพราะขับชิดขวาหรือเปล่า รถจึงไม่ชนกัน สักครู ไกด์ ก็เฉลยว่า ที่เมืองลาว เขาจะเรียกว่า รถตำกัน ดังนั้น จึงมีแต่รถตำกัน ไม่มีรถชนกัน นอกจากนั้นยังเล่าว่า การดูฐานะของคนลาวให้ดูที่บ้าน คนที่มีบ้านปูน จะมีฐานะดีกว่าบ้านไม้ คนที่มีรถ จะมีฐานะดีกว่าคนไม่มีรถ และเล่าว่า รถมอเตอร์ไซด์ที่เมืองลาวแพงมาก แต่ถ้าเป็นรถเลียนแบบจากจีน ราคาจะถูกว่ารถจากเมืองไทยครึ่งหนึ่ง แต่ถ้ารถเลียนแบบ ชนกับรถจากเมืองไทย จะพังแตกกระจาย เพราะคุณภาพไม่ดี และสังเกตว่า ไม่ค่อยเห็นรถยี่ห้อดังๆ แบบเมืองไทย เช่น โตโยต้า อีซูสุ รถที่นิยมใช้คือยี่ห้อฮุนได จากเกาหลี หลี่ผี คอนพะเพ็ง เมื่อเข้าสู่เมืองปากเซแล้ว การเดินทางไปยังเป้าหมายปลายทางเริ่มต้นทันที ไปตามทางหลวงหมายเลข 13 จากปากเซ สู่น้ำตกหลี่ผี คอนพะเพ็ง ลองไปดูแผนที่กันสักนิด ออกเดินทางจากอุบลผ่านทางช่องเม็ก ที่อำเภอสิรินธร ระยะทางประมาณ 90 กิโลเมตร มุ่งตรงสู่เมืองปากเซ ระยะทางประมาณ 40 กิโลเมตร ต่อจากปากเซ ไปคอนพะเพ็ง ประมาณ 165 กิโลเมตร ดังนั้นจากอุบลไปถึงคอนพะเพ็งประมาณ 300 กิโลเมตร สังเกตจากแผนที่ จะเห็นว่า ระยะทางจากชานแดนอำเภอน้ำยืนของอุบล ไปคอมพะเพ็ง ไม่ไกลเท่าไรนัก แต่ส่วนมากเป็นป่าทั้งหมด จากปากเซ เดินทางตามถนนหมายเลข 13 โดยไปพักที่จุดพักรถระหว่างทาง ก่อนที่จะแวะพักอีกครั้งเพื่อกินข้าวกลางวัน ดังนั้นตลอดเวลาค่อนวัน จึงใช้เวลาส่วนมากอยู่บนรถทั้งไปและกลับ ซึ่งตลอดเส้นทางที่ถนนไม่กว้างนัก นานๆ จะเห็นรถสวนมาสักคัน บางช่วงก็ขับรถแซงรถโดยสาร ซึ่งเป็นรถโดยสารสองแถว มีคนนั่งกันเต็ม รวมทั้งบรรทุกของเต็มหลังคา และสังเกตว่า บนรถโดบสารมักจะมีฝรั่งนั่งอยู่ด้วยเกือบทุกคัน เสียงแจ้วๆ ของน้องตีบ ไกด์ประจำคณะ ที่เล่าเรื่องราวต่างๆ มาเป็นระยะๆ ส่วนคณะนักท่องเที่ยว ก็ชมบรรยากาศสองข้างทาง ที่ขัดความรู้สึกอย่างหนึ่งคือ ไม่ค่อยคุ้นเคยกับการขับรถชิดขวา รู้สึกเหมือกับว่า รถที่สวนมาวิ่งผิดช่องทาง จะมาชนเรา และที่สังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ รถมอเตอร์ไซต์ จะไม่ขับชิดขอบทาง จะขี่กลางช่องทาง ก็ได้รับคำเฉลยจากน้องตีบว่า ที่เมืองลาว ถ้าขับรถชนมอเตอร์ไซด์ รถใหญ่จะเป็นฝ่ายผิด ดังนั้นเขาจึงไม่กลัวรถใหญ่ และมีเรื่องเล่าคลายเครียดว่า แม่หญิงลาว เมื่อได้ยินเสียงแตรรถที่วิ่งตามหลัง จะไม่หลบ แต่จะหันกลับมายิ้มให้คนขับรถ (จริงหรือเปล่าก็ไม่รู้) เพราะเขาบอกว่า คนที่มีรถ ถือว่าเป็นคนที่มีฐานะดี ในเมืองลาว แล้วมีเรื่องเล่าต่อไปว่า ถ้ารถชนสัตว์เลี้ยงตาย เจ้าของสัตว์เลี้ยงจะเป็นฝ่ายผิด ดังนั้น เมื่อชนแล้ว มักจะไม่มีเจ้าของมาแสดงตัวว่าเป็นเจ้าของ เพราะไม่มีเงินจ่ายค่าซ่อมรถ ถ้ามีการชนเกิดขึ้น ก็สรุปว่า มีกับแกล้มแล้ว ไปหาเหล้าเอาข้างหน้า สัตว์เลี้ยงที่มักจะเดินข้ามถนนให้ชน ส่วนมาก เป็นแบ (แพะ) หรือสัตว์เลี้ยงอื่นๆ เช่น หมู หรือ วัว ควาย จุดจอดรถระหว่างทาง บริการอย่างหนึ่งที่ทำรายได้ดีพอสมควร คือห้องน้ำ ค่าบริการคนละ 1000 กีบ หรือ เขาคิดเงินไทย 5 บาท นั่งรถจนเมื่อยพอสมควร ก็ถึงจุดจอดรถ ไม่เหมือนบ้านเราที่จะมีปั๊มน้ำมัน และหมู่บ้านตลอดเส้นทาง แต่เส้นทางที่เราเดินทาง หายากมาก จุดนี้ จึงเหมือนจุดจอดรถที่รถโดยสาร หรือรถนักท่องเที่ยวแวะจอด จุดประสงค์หลักคือ เข้าห้องน้ำสำหรับสุภาพสตรี สำหรับสุภาพบุรุษแวะที่ไหนก็ได้ตลอดทาง เพราะสองข้างทางมีแต่ป่า สลับกับท้องนาเป็นระยะๆ ดังนั้น จุดจอดรถ จึงมีห้องน้ำสร้างไว้เป็นแถว แต่เป็นห้องน้ำสร้างง่ายๆ ไม่เหมือนตามปั๊มน้ำมันบ้านเรา และที่สำคัญ คือ ค่าใช้บริการห้องน้ำไม่ใช่ถูกๆ ประมาณ 1000-1500 กีบ มีคนรอเก็บสตางค์หน้าห้องน้ำ ถือว่าทำรายได้ดีกว่าขายของกินข้างทางเสียอีก เนื้อเก้งแดดเดียวมีให้เห็นทั่วไป ที่จุดพักรถแห่งนี้ แต่ไม่ยืนยันว่าเป็นเนื้อเก้งหรือเปล่า เมื่อจอดรถ ก็จะเห็นร้านขายของเรียงรายสองข้างทาง มีของกินต่างๆ รวมทั้งน้ำดื่มแช่ตู้เย็น สังเกตว่า เป็นของที่มาจากเมืองไทยเกือบทั้งนั้น เช่นขนมขบเคี้ยวใส่เป็นซองๆ ซึ่งเดาเอาว่าราคาต้องแพงกว่าเมืองไทยแน่ๆ แต่ก็ไม่ได้ถามราคา สินค้าที่ขึ้นชื่อที่นี่คือ เก้งแดดเดียว แขวนตากกันไว้เกือบทุกร้าน โดยหั่นเป็นชิ้นยาวๆ แล้วใช้ตอกไม้ไผ่ ร้อยเป็นพวง พวงละ 2-3 ชิ้น แต่ขายตอกละไร จำไม่ได้แล้ว ไปสังเกตดูใกล้ๆ ที่เขากำลังหมักและกำลังร้อยด้วยตอกเพื่อแขวนตากแดด ก็ไม่ยืนยันว่าเป็นเนื้อเก้งหรือไม่ เพราะดูแล้วก็ไม่ต่างกับเนื้อหมู แต่คนขายก็ยืนยันว่าเป็นเนื้อเก้ง เนื้อเก้งแดดเดียวร้อยตอก แขวนตากแดดเป็นแถว มีทั้งตากใหม่ๆ และที่แห้งจนนำไปทอดกินได้ มีราวตากเนื้อแขวนให้เห็นทั่วไป เพื่อบรืการขานให้ผู้เดินทางผ่านไปมา นอกจากเนื้อเก้งที่ขึ้นชื่อแล้ว ก็ยังมีของขายอื่นๆอีก ที่เดินเร่เขามาบริการนักท่องเทียว เช่น ข้าวเหนียว ไก่ย่าง และสัตว์หายากต่างๆ ที่ไม่ค่อยเห็นในบ้านเรา ตาสังเกตว่า มีขายไม่มากนัก ไม่เหมือนบ้านเรา ที่พอรถจอด คนขายวิ่งกรูกันเข้ามาเต็มไปหมด จนไม่ปิ้งไก่จะทิ่มตาคนซื้อ แสดงว่า ธุรกิจการขายของข้างทางไม่ค่อยได้รับการอุดหนุนจากนักเดินทางเท่าไร ไก่ย่าง ข้ามเหนียว ก็พอมีขายบ้างที่จุดจอดรถ แต่ไม่มากเหมือบ้านเรา ตัวแมงจิโป่ม (คล้ายๆจิ้งหรีด) ตัวอ้วนๆ เสียบไม้ขายบริการนักท่องเที่ยวและผู้ที่สัญจรผ่านไปมา แมลงชนิดนี้ ต้องขุดขึ้นมาจากรูใต้ดิน ขณะที่แวะพัก ไกด์ก็บริการน้ำดื่มที่เตรียมมาในรถ ทำให้ตัดรายได้ร้านค้าแถวนั้นไปพอสมควร แต่ก็ถือว่าเป็นบริการลูกค้าที่น่าประทับใจเป็นอย่างมากของบริษัท พักยืดเส้นยืดสายกันพอหายเมื่อยแล้ว ก็นั่งขึ้นรถ เดินทางต่อตามถนนหมายเลข 13 เพื่อมุ่งสู่น้ำตกหลี่ผี ได้ยินเสียงไกด์โทรศัพท์คุยกับร้านอาหารว่าเดินทางถึงไหนแล้ว เพื่อให้ร้านอาหารเตรียมอาหารสำหรับคณะเราได้ถูกต้อง เพราะตอนนี้เวลาใกล้เที่ยงแล้ว ขับรถมาอีกไม่นาน ก็แวะจอดรถที่ร้านอาหารซ้ายมือ ซึ่งตั้งอยู่โดดเดี่ยวข้างทาง ใกล้ๆกับปั๊มน้ำมัน เป็นป้ายเขียนไว้ด้วยภาษาลาว กับภาษาอังกฤษ ว่า ร้านอาหารแม่บุนเฮือง (ภาษาไทยคือร้านอาหารแม่บุญเรือน) อาหารกลางวันมื้อแรก ของการเดินทาง ชื่อร้านแม่บุนเฮือน (แม่บุญเรือน) อยู่ระหว่างเส้นทางจากปากเซไปน้ำตกหลี่ผี มีสะพานไม้เล็กๆ เดินข้ามร่องน้ำเข้าร้านอาหาร จากรูปภาพ จะเห็นถนนด้านหน้าร้านชัดเจน คือถนนหมายเลข 13 ซึ่งเป็นถนนสายหลักของลาวจากลาวเหนือถึงลาวใต้ อ่างล้างมือ ก็เป็นอ่างจริงๆ วางเตรียมไว้ สำหรับนักท่องเที่ยวดูลักษณะแล้ว ไม่ได้วางไว้ประจำ แต่จะวางเมื่อมีนักท่องจองและแวะเข้ามารับประทานอาหาร ร้านอาหารแห่งนี้ บริการนักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่านมาเท่านั้น และต้องสั่งล่วงหน้ามาด้วย ไม่เช่นนั้นไม่ได้กิน สังเกตว่า บริการเฉพาะโต๊ะเราโต๊ะเดียวเท่านั้น ไม่มีคนอื่นเลย มีไกด์ คือน้องตีบ มาบริการ ส่วน พขร. น้องคม และน้องตีบ จะแยกไปรับประทานอีกโต๊ะหนึ่งต่างหาก อาหารอร่อยมาก โดยเฉพาะต้มยำปลาเคิง ปลาเนื้ออ่อนทอดกรอบ นอกจากนั้นยังมีอาหารอื่นๆ สมทบอีกหลายอย่าง จำไมได้ว่ามีอะไรบ้าง และตบท้ายด้วยผลไม่ คือ มะขามหวาน คณะที่ไปด้วยกัน กล่างเป็นเสียงเดียวว่า อาหารอร่อยมาก โดยเฉพาะต้มยำ ซึ่งเนื้อปลาอร่อย ส้มตำก็ไม่เผ็ด และปลาร้ากลิ่นไม่แรง มีข้อสังเกตอย่างหนึ่งคือ ไกด์จะมาบอกว่า อาหารอะไรเติมได้ อะไรเติมไม่ได้ เช่นครั้งนี้บอกว่า ต้มยำปลา เติมได้ แต่ทอดปลา เติมไมได้ แต่อาหารที่เตรียมมาก็เหลือเฝือ เพราะแต่ละคนกินไม่มากเท่าไรเนื่องจาก เป็นผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ ป้ายทะเบียน สีเหลือง รถส่วนบุคคล สีขาว รถรับจ้าง และสีอื่นๆ อีกหลายสี จำไม่ได้ เช่น สีแดง สีฟ้า เป็นต้น กินข้าวเสร็จแล้วจึงมีเวลาเดินสำรวจบริเวณรอบๆ รวมทั้งห้องน้ำ ที่สร้างไว้ไกลร้านอาหารมาก แต่สภาพสะอาดมาก มาดูป้ายชื่อร้าน ที่เป็นภาษาลาว มาช่วยกันอ่านว่าชื่อร้านอะไร พอดีมีรถผ่านมา จึงบันทึกภาพไว้ เป็นรถบันทุกยี่ห้อฮุนได ซึ่งต่อไปจะเห็นทั่วไปในประเทศลาว ร้านแม่บุนเฮือน จะอยู่ใกล้ปั๊มน้ำมัน ซึ่งดูแล้วไม่ใหญ่โตอะไร เหมือนปั๊มขนาดเล็กตามต่างอำเภอในบ้านเรา เมื่อกินข้าวกันเรียบร้อยแล้ว ก็ออกเดินทางต่อ ไกด์ตีบ ก็เริ่มงานเล่าเรื่องสถานที่ท่องเที่ยวที่จะไป โดยบอกว่า จะพาไปย่อยอาหาร ซึ่งเราก็ไม่ค่อยเข้าใจ แต่ไปถึงบางอ้อเอาทีหลัง การเดินทางช่วงต่อไปจะแวะไปที่ นากะแซง ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำโขง จะจอดรถที่นั่น แล้วคณะเราต้องข้ามเรือไปขึ้นที่ดอนเดด ต่อจากนั้นนั่งรถไปน้ำตกหลี่ผี ออกเดินทางจากร้านอาหารแม่บุนเฮือนได้สักครู ก็เลี้ยวขวาเข้าเส้นทางเล็ก ไปบ้านนากะแซง แต่ได้ยินเขาออกเสียงเป็นนากะซอง (Nakasang) เป็นตลาดเล็กๆ แต่ขายของไม่เล็กเลย เห็นมีร้านหนึ่งมีรถมอร์เตอร์ไซต์จอดขายเป็นแถว เดาเอาว่า คงเป็นตลาดขายสินค้าสำหรับประชาชนที่อยู่ตามดอน (เกาะ) ต่างๆ ตลาดนากะซอง อยู่ติดแม่น้ำโขง และเป็นท่านเรือที่จะข้ามไปฝั่งดอนเดด ซึ่งเป็นเส้นทางที่จะต้องไปนั่งรถ 5 แถว เพื่อไปเที่ยวชมน้ำตกหลี่ผี ซึ่งเข้าใจว่าดอนเดด น่าจะเป็นเกาะหนึ่งของแม่นำโขง ที่บริเวณนี้คงแยกกระจายไหลบ่าเป็นหลายสาย และดอนเดดนี้ น่าจะเป็นดอนที่เดินทางไปสู่หลี่ได้ง่ายที่สุด ตลาดนากะซองสภาพเหมือนตลาดเก่าหรือตลาดร้อยปีบ้านเรา แต่ละร้านมีข้าวของเครื่องใช้มากมาย ดูเอาจากภาพก็แล้วกัน ของบางอย่างมาวางเกลื่อนบนถนนหน้าร้าน ซึ่งเป็นถนนดินลูกรัง ร้านในภาพมีทั้งครก เตา หวดนึ่งข้าว และที่เห็นเป็นลังสีเหลือคือ ลังใส่เบียร์ลาว สรุปว่า ต้องการอะไร มีบริการทุกอย่าง ไกด์คม กับไกด์ตีบ เดินไปที่ท่าเรือ ติดต่อเรือบริการข้ามแม่น้ำโขง ซึ่งคณะเราไม่รู้ว่าราคาเท่าไร มีป้ายเขียนบอกไว้ว่าสถานที่ขายบัตรโดยสารข้ามเรือ (บ่อนขายปี้เรือ) ไปดอนเดด และดอนคอน ป้ายบอกที่ขายตั๋วเรือข้ามไปดอนเดด (บ่อนขายปี้เฮือ) มีราคาค่าโดยสารเรือแสดงไว้ชัดเจน (ตาตะรางราคาบริการแขกและคนโดยสาร) ไปดอนเดด 1-2 คน 30,000 กีบ หรือคนละ 15.000 กีบ ถ้าไปดอนคอน คนละ 20,000 กีบ ก่อนออกเดินทางต้องสวมชูชีพ เพื่อป้องกันอันตราย การเดินทางโดยเรือเริ่มขึ้น เมื่อคนขับเรือเอาเรือเข้ามาเทียบ คณะเราทะยอยกันลงเรือหางยาว นั่งกันคนละแถว พร้อมทั้งสวมชูชีพ เรือลำใหญ่พอควร หลังคากันแดด เหมือกับเรือที่เราเห็นทั่วๆไป แถวๆริมแม่น้ำโขงที่บ้านเรา เมื่อแล่นข้ามแม่น้ำโขง (ต้องเรียกว่าวิ่งไประหว่างเกาะแก่งต่างๆของแม่น้ำโขงจึงจะถูก) เห็นแม้น้ำโขงบางส่วนกว้างเวิ้งว้าง และบางส่วนมีเกาะแก่งอยู่เต็มไปหมด แต่ช่วงนี้เป็นฤดูน้ำหลาก เกาะเล็กๆ จะถูกน้ำท่วมเห็นแต่ยอดไม้ เมื่อออกจากท่าเรือมองไปทางขวามือ เห็นลำน้ำโขงเวิ้งว้าง แต่มองไปทางซ้าย เต็มไปด้วยเกาะแก่งหรือดอน กลางแม่น้ำโขง ให้ดูแผนที่ประกอบ ที่เขาเรียกว่า สี่พันดอน คือมีดอน หรือเกาะกลางแม่น้ำโขงมากมาย แต่ไม่ได้นับว่ามี 4000 เกาะหรือไม่ สภาพตอนนี้เป็นหน้าน้ำหลาก เกาะต่างๆ ถูกน้ำท่วม แต่นั่งเรื่อผ่านไป ก็เห็นเกาะแก่งมากมาย ตลอดเส้นทางสั้นๆ แม้น้ำโขงอันกว้างขวางนี้ จะไหลไปที่น้ำตกหลี่ผี ซึ่งเป็นโขดหินขวางกลางแม่น้ำโขง ระหว่างนั่งเรือ ได้สังเกตทิวทัศน์ของริมฝั่งแม่น้ำ หรือเกาะกลางแม่น้ำ บางครั้งก็เห็นชาวบ้านจับปลา ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของชาวบ้านแต่ก็ไม่มากนัก เรือโดยสารลัดเลาะไปตามเกาะต่างๆ แล้วไปข้ามช่วงแม้น้ำโขงที่กว้างอีกช่วงหนึ่ง ก่อนที่จะถึงท่าเรือดอนเดด ซึ่งเป็นอีกเกาะหนึ่งกลางแม่น้ำโขง และเป็นเกาะที่ติดกับดอนคอน และดอนสันลาด (ไม่รู้ว่าออกเสียกถูกหรือเปล่า) ดูภาพจริงประกอบแผนที่บริเวณสีพันดอน หรือมีเกาะมากมายในแม่น้ำโขง จากแผนที่เห็นชัดเจนว่า มีเกาะใหญ่น้อย มากมาย บางเกาะขนาดเท่ากับอำเภอ บางเกาะ ก็เป็นเกาะเล็กๆ มากมาย และเป็นบริเวณที่อยู่ติดกับชายแดนประเทศกัมพูชา ซึ่งยังเป็นป่าสมบูรณ์ จึงไม่น่าแปลกใจว่า ทำไมแม่น้ำโขงบริเวณนี้ จึงกว้างใหญ่ไพศาล และมีน้ำมากมาย ไกด์ตีบ พูดเล่นว่า ถ้าอยากเดินทางไปเขมร โดยไม่ต้องเสียค่าเดินทาง ไม่ต้องทำเรื่องผ่านแดน คือให้กระโดดน้ำตกหลี่ผี น้ำจะพาไหลเข้าไปในเขมรเอง (คงลอยไปแต่ร่าง) เรือโดยสารจะแล่นลัดเลาะไปตามดอนต่างๆ ท่านกลางกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยวน่ากลัว และน้ำเป็นสีขุ่น แดงของฤดูน้ำหลาก รีสอร์ท ที่ตั้งเรียงรายริมแม่น้ำโขงบริเวณดอนเดด ถึงแล้ว ท่าเรือบ้านดอนเดด พร้อมทั้งเห็นรถห้าแถว จอดคอยบริการนักท่องเทียว แต่เสาโครงสร้างที่ยื่นมาในแม่น้ำ ไม่รู้ว่าเป็นอะไร แต่เดาเอาว่า เป็นเสาเพื่อสร้างสะพานใช้ในการขนถ่ายสินค้าทางเรือ เพราะจับความจากไกด์เล่าให้ฟัง เหมือนกับว่า ฝรั่งเศษ พยายามที่จะใช้แม่น้ำโขงเป็นเส้นทางเดินเรือขนส่งสินค้า แต่ติดโขดหินบริเวณนี้ จึงสร้างทางรถไฟเพื่อขนส่งสินค้า เชื่อมต่อระหว่างด้านใต้ของดอน ขึ้นมาด้านเหนือ ซึ่งยังปรากฏเส้นทางรถไฟอยู่จนถึงปัจจุบัน ดูกันชัดๆ อีกครั้ง รถ 5 แถว เป็นรถบรรทุกยี่ห้อฮุนได ที่นิยมในลาว นำมาปรับกระบะด้านหลัง ใส่ที่นั่งเข้าไป 5 แถว แต่ละแถวนั่งได้ประมาณ 4 คน เมื่อเรือหางยาวเทียบท่าดอนเดด มีคนบนฝั่งช่วยกันจับเรือให้เราลงจากเรือได้สะดวก เพราะตลิ่งค่อนข้างสูง จำได้มีเด็กคนหนึ่งให้บริการดีมาก ไกด์บอกว่า ขากลับมาจึงจะทิปให้ เมื่อพร้อมกันบนฝั่ง ก็เริ่มสำรวจภูมิประเทศโดยรอบ เห็นป้ายชื่อหมู่บ้าน จึงถ่ายรูปเป็นที่ระลึกกันทันที โดยผลัดกันเป็นตากล้อง ดังนั้น มักจะเห็นคณะเราในภาค 6 คนเสมอ เพราะอีกคนหนึ่งจะเป็นตากล้อง มองไปรอบๆ เห็นป้ายชื่อโรงเรียนชื่อ โรงเรียนประถมสมบูนบ้านดอดเดดรั้วโรงเรียนเป็นเสาไม้ซุ้มประตูทางเข้า มีป้ายชื่อโรงเรียน ภายในรั้วมีอาคารเรียนหลังเล็ก มีประตู 3 ช่อง แต่ไม่สามารถมองเห็นภายในอาคาร ดูสภาพแล้ว แตกต่างอย่างมากกับโรงเรียนประถมบ้านเรา ดูภาพประกอบเอาเองก็แล้วกัน เมื่อพร้อมกันแล้ว ก็ขึ้นรถห้าแถวที่เราสงสัยกันมานาน ตั้งแต่ไกด์บอกว่าเมื่อข้ามเรือแล้วจะไปต่อรถห้าแถว ก็นึกภาพรกสองแถวบ้านเรา แล้วก็สงสัยว่า ใส่ที่นั่งห้าแถว ทำอย่างไร เมื่อเห็นก็ถึงบางอ้อ จึงต้องถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ความจริงก็คือ รถบันทุกเล็ก ยี่ห้อฮุนได ที่กระบะหลัง ถอดออก ให้เหลือแต่พื้น ใส่เก้าอี้เข้าไปห้าแถว ตั้งเสา ทำหลังคา รถเริ่มออกเดนทางไปตามถนนแคบๆ เป็นหลุมเป็นบ่อ นึกถึงคำพูดของน้องตีบได้ทันทีที่บอกว่า จะพาไปย่อยอาหาร เพราะรถวิ่งตกหลุม ตกร่อง เขาบอกว่า วิ่งไปตามเส้นทางรถไฟเก่า ดังนั้น พื้นถนนจึงค่อนข้างแข็ง เมื่อฝนตก รถวิ่งผ่านบ่อยๆ ก็เริ่มเป็นหลุ่ม และลึกขึ้น ไม่มีการซ่อมแซม รถวิ่งตกหลุ่มซ้ายที ขวาที โยกไป โยกมาไปตลอดทาง เมื่อสุดเส้นทางดอนเดด จะมีสะพานเล็กๆ ข้ามไปดอนคอน ซึ่งเป็นสะพานสำหรับรถไฟข้าง จึงเล็กมาก สร้างในสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง แต่ไม่มีรางรถไฟแล้ว มองลงไปในแม่น้ำ มีรีสอร์ทปลูกเรียงรายตลอดริมฝั่ง มีร้านอาหาร ที่ลูกค้าส่วนมากเป็นฝรั่งนั่งกิน ดื่มกันอยู่ แล้วก็ตามธรรมเนียม คือ มีด่านเก็บเงินค่าผ่านทาง โดยไกด์คม โดดลงจากรถห้าแถว ลงไปจ่ายเงิน แต่ไม่เห็นกลับขึ้นมาบนรถ แต่เมื่อรถวิ่งไปได้สักครู่ จึงเห็นไกด์ มายืนดักรอข้างหน้า ตลอดการเดินทาง จะเห็นฝรั่งขี่รถจักรยาน สวนมา หรือรอให้เราแซงผ่านไปตลอดระยะทาง บางครั้ง ก็เห็นฝรั่งเดินอยู่บนเส้นทาง ทำให้นึกว่า ฝรั่งเขาจะเที่ยวแบบธรรมชาติจริงๆ แต่คนไทยเทียวแบบสบายๆ แต่ความเป็นจริงแล้ว คนไทยที่มาเทียว ไม่ค่อยมีเวลามากนัก จึงต้องนั่งรถ แล้วไปเที่ยวให้ได้มากแห่งที่สุด เพราะใช้เวลาเข้ามาเที่ยวสั้น แต่ฝรั่งจะมานอนพักที่ รีสอร์ท และมีเวลาชื่นชทธรรมชาติค่อนข้างยาวนานกว่า รถ 5 แถว วิ่งลัดและไปตามเส้นทางแคบๆ ที่เต็มไปด้วยหลุม บ่อ โดยมีไกด์ (น้องตีบ) นั่งเล่าเรื่องราวต่างๆ และบรรยากาศไปตลอดทาง แต่พวกเราถ่ายรูปกันไมได้เลย เพราะแค่นั่งทรงตัวให้ได้ ก็ยากแล้ว รถเหวี่ยงไป เหวี่ยงมาตลอดเวลา สองมือต้องจับราวไว้อย่างเหนียวแน่น เส้นทางที่รถวิ่ง เหมือนวิ่งบนคันนากว้าง หรือเหมือนทางเกวียน ทางแคบมาก รถไม่สามารถหลีกกันได้ ถ้าสวนกัน อีกคันหนึ่งต้องหลบ แต่เขารู้กันดีว่า จะหลบอย่างไร ตรงไหน รถวิ่งผ่านกลางหมู่บ้าน สะดุดตากับวัดที่สิ่งก่อสร้างสีสันสะดุดตา จนต้องบันทึกภาพเก็บไว้หลายภาพ รวมทั้งสภาพบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ซึ่งเป็นไปตามที่ไกด์บอก คือ เสาบ้านแต่ละหลัง จะไม่ฝังลงดิน แต่จะวางอยู่บนเสาตอหม้อ ซึ่งบางบ้านก็ทำจากไม้ แต่บางบ้านก็เป็นเสาปูน ไกด์เล่าติดตลกว่า จะได้ไม่มีปัญหาถ้าคู่แต่งงานต้องการหย่าร้างกัน แบ่งสมบัติ โดยฝ่ายหนึ่งเอาที่ดิน อีกฝ่ายหนึ่งเอาบ้าน ฝ่ายที่เอาบ้าน ก็ยกบ้านไปทั้งหลังโดยไม่ต้องรื้อ (ไม่รู้ว่าจริงหรือเปล่า แต่ก็อาจจะมีความจริงปนอยู่บ้างในเรื่องการย้ายบ้านที่ทำได้ง่าย) แต่วัตถุประสงค์อีกอย่างคงเป็นเรื่องป้องกับปลวก ที่จะทำลายเสาบบ้าน เส้นทางที่รถห้าแถววิ่งจะเป็นเส้นทางรถไฟเก่า จึงเป็นทางแคบๆ เลิกใช้หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ยังมีซากหัวรถจักรสมัยเก่าวางอยู่ให้เห็น ไกด์บอกว่า รางรถไฟ เขางัดไปขายหมดแล้ว หัวรถจักร ก็เหลือเฉพาะที่ถอดเอาไปไม่ได้ เหลือไว้เป็นอนุสรณ์ และตอนนี้ เห็นกำลังมีการส่องกล้องสร้างทาง ซึ่งคิดว่า คงจะมีการปรับปรุงเส้นทางเร็วๆ นี้ ถึงแล้ว ทางเข้าน้ำตกหลี่ผี เป็นลานจอดรถกว้าง ต้องเดินเข้าไปที่น้ำตก โดยข้ามสะพานไม่แคบๆ มีลำน้ำเล็กๆ ไหลผ่าน คณะเราหยุดพักถ่ายรูปกันครูหนึ่ง เพราะเห็นควายสามตัวนอนแช่น้ำเล่นอยู่ สงสัยไหมว่า ทำไมควายสามตัวจึงเป็นที่สนใจของพวกเรา ดูรูปเอาเอง ถ่ายรูปควายเสร็จ ก็เดินเท้ากันต่อ ระยะทางจากที่จอดรถ ถึงน้ำตก ประมาณ 200 เมตร ต้องเดินลอดซุ้มกอไผ่ ซึ่งคงเป็นฝีมือของชาวบ้าน ที่ดัดแปลงจากกอไผ่ธรรมดากลายเป็นซุ้มตลอดทางเดินในช่วงนี้ และแล้วก็ถึงน้ำตกลี่ผี ความยิ่งใหญ่ของน้ำตกหลี่ผีไม่ถ่ายทอดออกมาทางภาพได้ ต้องสัมผัสด้วยสายตามของเราเอง เมื่อได้เห็นแล้ว ทำให้ความเหนื่อยากลำบากมาตั้งแต่เช้าหายไปจนสิ้น เสียงน้ำตกดังสนั่น น้ำตกสีแดงขุ่น ไหลมาจากทิศทางต่างๆ มาลงช่องถูเขาที่ลึกลงไปเบื้องล่าง ระหว่างโขดหิน เป็นภาพของพลังน้ำอันยิ่งใหญ่ พลังของธรรมชาติที่น่าตื่นเต้น ด้วยความตื่นตาตื่นใจ กับน้ำตก จนลืมบันทึกภาพของตัวเราเองหรือคนอื่นๆ มีแต่ภาพน้ำตกในมุมต่างๆ เต็มไปหมด แต่ไม่ถูกใจ เพราะไม่รู้ว่าจะวางมุมภาพอย่างไร เนื่องจากยืนดูบนฝั่ง และน้ำตกใหญ่มากขวางลำน้ำโขง ไหลมาจากทิศทางต่างๆ ภาพด้านบนนั้น เกิดจากจากถ่ายภาพจำนวน 3 ภาพ มาต่อกัน ภาพถ่ายดาวเทียมเห็นตำแหน่งที่ตั้งของน้ำตกหลี่ผี ซึ่งข้ามจากฝั่งบ้านนากาซอง มาที่ดอนเดด ข้ามน้ำตามสะพานรถไฟมาที่ดอนคอน เข้าสู่น้ำตกหลี่ผี ซึ่งภาษาอังกฤษ เขียนว่า Tat Somphamit ภาษาลาวเขียนว่า น้ำตกตาดสัมพะมิด (ทางขวาสุดของภาพจะมีดอนพะเพ็ง ซึ่งเป็นที่ตั้งของน้ำตกคอนพะเพ็ง) หลังจาก ชื่นชมน้ำตกแล้ว เดินมาดูสินค้าของที่ระลึกที่วางขายอยู่มากมาย ส่วนมากก็จะเป็นเสื้อผ้า คณะของเราเดินชมกันใช้เวลาพอสมควร จึงเดินกลับมาที่จอดรถห้าแถว ซึ่งไกด์เตรียมผ้าเย็น และนำเย็นไว้คอยบริการคณะเราอยู่แล้ว กลับจากน้ำตกหลีผีตามเส้นทางเดิม ด้วยรถห้าแถว นั่งกันหัวสั่นหัวคลอนเหมือนเดิม จนมาถึงท่าเรือดอนเดด ก็นั่งเรือกลับ และมีรายการพิเศษบนเรือ โดยมีเด็กน้อย 2 คน มาร้องเพลงให้ฟังตลอดทาง แตเรานั่งข้างหลังไม่รู้หมือนกันว่าร้องเพลงอะไร เพราะเครื่องยนนต์ของเรือดังมาก ร้องไปหลายเพลง เพราะระยะทางค่อนข้างไกล และเรือวิ่งทวนน้ำ จึงใช้เวลามากกว่าขามา เมื่อมาถึงท่าเรือ พบนั่งท่องเทียวอีกกลุ่มหนึ่งกำลังเตรียมลงเรือเพื่อไปเที่ยวหลี่ผี ที่เราไปมาแล้ว น้ำตกคอนพะเพ็ง เดินทางออกจากตลาดนากะซอง มาสมทบกับถนนใหญ่ แล้วเลี้ยวขวามุ่งสู่น้ำตกคอนพะเพ็ง ซึ่งอยู่ห่างจากชายแดนเขมรไม่มากนัก เดินทางมาอีกนิดเดียวก็มีเส้นทางแยกเข้าสู่น้ำตกคอนพะเพ็ง รถตู้สามารถวิ่งเข้าถึงน้ำตก แต่ก่อนถึง ต้องเสียเงินค่าเข้าน้ำตก และต้องเสียเงินค่าจอดรถ จึงสามารถเข้าชมได้ โดยรถพาไปส่งถึงศาลาที่ชมน้ำตก ซึ่งมีนักท่องเที่ยวอยู่เต็ม คำเตือน ระวังช่างภาพ ก่อนมาถึง น้องตีบ ไกด์ลาว ได้แนะนำคณะเราว่า จะมีช่างภาพคอยถ่ายภาพคนที่มาเทียวต้องระวังให้ดี ถ้าต้องการภาพ ต้องตกลงราคากันให้เรียบร้อยเสียก่อน ไม่เช่นนั้นจะมีปัญหา ได้เห็นความยิ่งใหญ่ของน้ำตกคอนพะเพ็งอีกครั้ง แต่ไม่ค่อยสะดวก เพราะบนศาลา มีคนเต็มไปหมด และกลุ่มช่างภาพ ที่คอยมาถ่ายภาพพวกเราตลอด ต้องรอให้คณะทัวร์ออกไปหมดแล้ว สักพักคนเริ่มน้อย จึงมีโอกาสชมน้ำตกอย่างเต็มตาอีกครั้ง 7 คน 7 action ที่น้ำตกคอนนพะเพ็ง ภาพคณะเราเกือบครบทุกคน ขาดแต่คนขับรถ (ภาพอาจารย์กีตาร์ ขวามือสุด ตัดต่อมาเพิ่ม) สายนำสีแดงไหลลงมาตามโขดหินเสียงดังสนั่น ต่างจากหลี่ผี ที่ผ่านมา น้ำตกแห่งนี้ มีขนาดค่อนข้างกว้าง มองเห็นได้ชัดเจนจากศาลาที่เป็นจุดชมวิว ตำนานต้น มะนีโคด ที่ดอนพะเพ็ง หรือภาษาไทยเขียนว่า มณีโคตร ที่น้ำตกคอนพะเพ็ง จะมีรูปต้นไม้ชนิดหนึ่งวางขายนักท่องเที่ยว เขียนชื่อติดไว้ว่า ต้นมะนีโคด ซึ่งเรื่องราวของต้นไม้ชนิดนี้ ผ่านคำบอกเล่าของไกด์น้องตีบมาแล้วระหว่างที่นั่งรถ มีเรื่องมากมายเกี่ยวกับต้นไม่ชนิดนี้ เช่น เรื่องแรก เล่าว่า ต้นมะนีโคด มีกิ่งสามกิ่ง ชี้ไปทางลาว กัมพูชา และไทย ให้สังเกตว่า กิ่งไหนงอกงาม ก็แสดงว่าประเทศนั้นเจริญรุ่งเรื่อง เรื่องที่สอง เล่าว่า ต้นมะนีโคด ร้อยปีจะออกผลครั้งหนึ่ง ผลของกิ่งที่ชี้ไปทางเหนือ ถ้าใครกินจะกลายเป็นนกยาง กิ่งทางใต้ ถ้าใครกินจะกลายเป็นลิง ส่วนกิ่งตะวันออก ใครกินจะเป็นคนหนุ่มสาว มีพละกำลัง เมื่อเล่าจบ น้องตีบก็หยอดท้ายว่า ถ้าใครกินจะเป็นหนุ่มภายในวันเดียว แล้วก็เงียบให้เราคิด แล้วจึงเฉลยว่า วันต่อไปก็ตายกลายเป็นศพแล้ว เพราะแค่ข้ามน้ำตกไปที่ต้นไม้ ก็ตกน้ำตายแล้ว เรื่องที่สามเป็นเรื่องที่เล่าลือกันว่า แต่ก่อนนั้น น้ำตกกระทบแก่งหินมีเสียงไพเราะ แต่ภายหลังเมื่อฝรั่งเศษพยายามที่จะตัดต้นมะนีโคด ทำให้กิ่งหักไปกระทบหินแล้วเสียงที่เคยได้ยิน ก็หายไป ไม่มีใครได้ยินอีก เล่ามาพอสมควร ก็ดูรูปเอาเองว่าต้นมะนีโคด มีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ภาพต้นมะนีโคด หรือภาษาไทยเขียนว่า มณีโคตร จากอินเทอร์เน็ต ถ่ายรูปเป็นที่ระลึก ที่ป้ายชื่อน้ำตก ชมน้ำตกแล้ว ก็ตามด้วย ชมสินค้าของที่ระลึก ที่ตั้งเรียงรายเต็มไปหมด ดูเหมือนว่า แต่ละคนจะเหนื่อย และเพลียไปตามๆ กัน แต่ใจยังสู้ ยิ่งได้ผ้าเย็น และน้ำเย็นๆ บริการจากไกด์คม และ ไกด์ตีบ ก็เรียกความสดชื่นกลับคืนมา และพร้อมที่จะเดินทางต่อ แต่การเดินทางวันนี้ จบลงแล้ว เพราะต้องเดินทางกลับปากเซอีกระยะทางยาวไกลมาก ช่วงที่นั่งรถกลับ ด้วยความเพลียบางคนก็หลับ แต่บากคนก็ยังตาสว่างกับการบริการภาพยนต์บนรถ จำไม่ได้ว่าเรื่องอะไร ลงท้ายด้วย Titan จนกระทั่งเกือบถึงเมืองปากเซ จึงแวะเที่ยวชมตลาดสดยามเย็น ซึ่งไกด์บอกว่า จะได้เห็นสัตว์ป่าที่ถูกจับมาวางขายอย่างมาก เสียดายที่ไม่สามารถบันทึกภาพมาได้ เพราะเพียงแต่ขยับจะเอากล้องออกมาถ่ายเท่านั้น แม่ค้าก็ร้องห้ามไม่ให้ถ่ายรูป เท่าที่พบสัตว์ป่าที่วางขายอยู่เช่น ตะกวด ค่าง และอีกหลายอย่าง ที่ไม่รู้ว่าตัวอะไร เดินรอบตลาด 1 รอบ จึงกลับมาขึ้นรถ เพื่อเดินทางต่อ เป้าหมายปลายทางคือ โรงแรมเอราวัน รีเวอร์ไซด์ ซึ่งคณะเรามาถึงโรงแรม เกือบ 6 โมง ขอเข้าที่พักก่อน และนัดหมายพร้อมกันเวลา หกโมงครึ่ง โดยเราได้พักกันที่ชั้น 5 แต่เสียดายที่อยู่ทางฝั่งภูเขา ไม่ใช่ฝั่งแม่น้ำโขง จากห้องพัก มองออกไปจะเห็นภูมะโรง และทิวทัศน์เมืองปากเซ ชัดเจน โดยเฉพาะที่อยู่หน้าโรงแรมคือ สมหวัง บาร์รำวง เข้าห้องพักห้อง 518 วางข้าวของเสร็จ ก็เดินลงมาที่หน้าโรงแรม เพื่อเก็บภาพบรรยากาศยามเย็น ริมแม่น้ำโขงหน้าโรงแรม ภาพสะพานมิตรภาพ ลาว-ญี่ปุ่น ถ่ายจากหน้าโรงแรมเอราวันเมืองปากเซ ในยามเย็นประมาณ 6 โมงเย็น พระอาทิตย์ลับขอบฟ้าไปแล้ว เหลือแต่แสงสีทองจับท้องฟ้า ปิดท้ายการเดินทางวันนี้ ด้วยอาหารค่ำที่รสแซบอีกครั้ง ที่ร้านอาหารกลางเมืองปากเซ ก่อนที่จะถึงร้านอาหาร ได้ขับรถชมรอบเมือง ไปตามถนนต่างๆ จำไม่ได้เหมือนกันว่าไปที่ไหนบ้าง จำได้จุดเดียว คือบริเวรร้านอาหารริมแม่น้ำโขง ซึ่งเขารียกว่าบริเวณแคมของ มีร้านอาหารเรียงราย ตลอดสองข้างทาง ถ้าเปรียบบ้านเรา ก็คือร้านข้าวต้มข้างถนนนั่นเอง แต่บรรยากาศดีมาก มีลมเย็นๆ พัดมาจากแม่น้ำโขง ประมาณทุ่มครึ่งก็ถึงร้านอาหารที่สั่งจองเอาไว้ จะเรียกว่าร้านอาหารก็ไม่ค่อยถูก เพราะมีคณะเรา ไปนั่งคณะเดียว เขาทำอาหารคอยไว้แล้ว มีที่นั่ง 7 ที่กับอีกโต๊ะหนึ่งสำหรับคณะไกด์ 3 ที่ อาหารที่ขึ้นชื่อของร้านนี้คือ ขาหมู อาหารอร่อยมากเช่นเคย โดยเฉพาะขาหมู นอกจานั้น ที่ขาดไมได้คือ ปลาทอด แจ่วผักต้ม ซึ่งเน้นที่ฟักแม้ว ผัดยอดฟักแม้ว ยำหัวปลี ต้มจืดที่น้ำซุปอร่อยมา จึงเป็นอีก 1 มื้อที่กินจนอิ่มหนำสำราญ ทุกคนชมว่าอาหารอร่อยมาก เมื่ออิ่มหนำสำราญแล้ว ก็กลับโรงแรม โดยแวะร้านขายยา เพราะอาจารย์กีต้าท้องเสีย เราก็เลยถือโอกาสซื้ออีโน มาช่วยย่อยด้วย ถึงโรงแรมล้มตัวนอนหลับไปเมื่อไรไม่รู้ตัว มาตื่นอีกทีประมาณ 4 ทุ่ม เพื่ออาบน้ำอาบท่า แล้วนอนต่อ วันที่สอง น้ำตกตาดเยือง น้ำตกผาส่วม นอนหลับสบายตลอดคืน ราวๆ 6 โมงเช้า ทางโรงแรมตั้งเวลาปลุกอัตโนมัติ จึงเตรียมตัว เพื่อการท่องเที่ยวในวันที่สอง โดยมีโปรแกรมการท่องเที่ยววันนี้ 4 แห่ง คือ ตลาดดาวเรือง น้ำตกตาดฟาน ไร่ชา น้ำตกผาส่วม แล้วเดินทางกลับอุบล เมื่อพร้อมแล้วเดินมาชมบรรยากาศริมแม่น้ำโขงหน้าโรงแรม ท่ามกลางอากาศเย็นสบาย ท้องฟ้าฉ่ำฝน ถ่ายรูปหน้าโรงแรมได้เล็กน้อย ฝนก็เริ่มตกเป็นฝอย จึงเข้าโรงแรม ซึ่งอาหารเช้าพร้อมแล้ว เป็นอาหารเหมือนโรงแรมชั้นดีทั่วๆไป แต่แขกค่อนข้างมาก เต็มห้องอาหารของโรงแรม ซึ่งแขกส่วนมากเป็นคนไทยที่คณะทัวร์พามาเที่ยวลาว ตลาดดาวเรือง สถานที่ท่องเที่ยวแห่งแรกคือตลาดดาวเรือง เป็นตลาดรวมสินค้าทุกอย่างมาจำหน่าย ถ้านึกถึงบ้านเราฝรั่งมาเทียวก็มักจะพาไปตลาดจตุจักร แต่ตลาดดาวเรือง ไม่ใหญ่เท่าตลาดจตุจักร ถ้าเทียวที่อุบล ก็คล้ายไตลาดเจริญศรี หรือตลาดนิกร ที่หน้าบิกซี ด้านหน้าทางเข้าตลาดดาวเรือง เป็นธุรกิจใหญ่ของชาวเวียตนามที่ชื่อ ดาวเฮือง ทำธุรกิจเกี่ยวกับ Duty Free และศูนย์การค้าของลาว รวมทั้งอื่นๆอีกหลายอย่าง สินค้าที่ตลาดนี้ ส่วนมาเป็นสินค้าจากไทย จีน และจากเวียตนาม แต่ถ้าเป็นของลาวที่ขึ้นชื่อก็เป็นพวกทอง หรือเงิน สิ้นค้าจีน ก็เป็นพวกเครื่องไฟฟ้า พวกของปลอมทำเลียนแบบ ซึ่งไกด์บอกว่า ซื้อของต้องระวังให้ดี โดยเฉพาะการต่อรองราคา ให้ต่อได้ 50-70% และต้องยอมรับว่า เป็นสินค้าคุณภาพต่ำ โดยพูดตลกว่า สินค้าพวกนี้รักเมืองลาว ไม่อยากจากเมืองลาว เช่น นาฬิกา ตอนอยู่เมืองลาวก็เดินได้ดี แต่พอข้ามไปฝั่งไทยบางทีเข็มหลุดทันที เพราะนาฬิกาไม่อยากออจากเมืองลาว คณะของเราเดินหายเข้าไปในตลาดแยกย้ายกันไป shopping กันตามอัธยาศัย เมื่อได้เวลาออกมารวมกัน ปรากฏว่า แต่ละคนก็ได้ของติดไม้ติดมือกันออกมาพอสมควร จ่ายเงินกันไปคนละหลายหมื่นกีบ บางท่านก็เป็นแสนกีบ น้ำตกตาดเยือง สถานที่ท่องเทียวแห่งที่สองของวันนี้ คือ น้ำตกตาดฟาน อยู่ที่เมืองปากซอง ห่างจากปากเซประมาณ 30 กว่ากิโล แต่ไกด์บอกว่า ท่าทางไม่ค่อยดี เพราะฝนน่าจะตก เขาเตรียมเสื้อกันฝนมาเผื่อด้วย ก่อนเดินทาง แวะเติมน้ำมันรถที่ปั้ม Shell ซึ่งน้องตีบบอกว่า ลาวเขาเรียกปั๊มหอยใหญ่ ส่วนน้ำมันที่ขาย มีน้ำมันเบนซิล กับ ดีเซลเป็นหลัก แต่เรียกชื่อเป็นภาษาฝรั่งเศษ ซึ่งเราก็จำไม่ได้แล้ว แต่ที่สำคัญคือที่ปั๊มหอยใหญ่นี้ เข้าห้องน้ำไม่เสียเงิน ที่ตลาดดาวเรืองต้องจ่ายค่าเข้าห้องน้ำถึง 2,000 กีบ คณะของเราเกือบทั้งหมดเดินไปเข้าห้องน้ำ รวมทั้งเราเองด้วยแต่จริงๆ ต้องการไปดูสภาพห้องน้ำมากกว่า เพื่อเปรียบเทียบกับห้องน้ำของปั๊ม ปตท. ที่บ้านเรา เมื่อเห็นแล้ว ก็ต้องบอกว่า เปรียบเทียบกันไม่ได้ แต่ก็มีสภาพเหมือนกับห้องน้ำปั๊มอื่นๆทั่วๆไปในบ้านเรา ที่ไม่หรูหรานัก แต่ความสะอาดถือว่าใช้ได้ ออกจากห้องน้ำ ก็มาเดินดูบริเวณรอบๆปั๊มน้ำมัน เป็นร้านขายของชำ และร้านค้าอื่นๆ 2-3 ร้าน ไม่ใหญ่โตนัก ที่แปลกตานิดคือ มีร้านหนึ่งแขวนถุงพลาสติกใส้น้ำใส มีลูกปลาอยู่ในถุง เข้าไปถามดู จึงได้ความว่า ขายลูกปลาเพื่อเอาไปเลี้ยง ทำให้แปลกใจเหมือนกัน เพราะประเทศลาวมีปลาธรรมชาติมากมาย ไม่ขาดแคลนเหมือนบ้านเรา แต่ทำไมจึงมีคนเลี้ยงปลา เมื่อเติมน้ำมันเสร็จ การเดินทางเริ่มขึ้น สังเกตว่ารถวิ่งรถไต่ขึ้นเขาตลอด ฝนตกปรอยๆ ไม่หนักนัก และตกเป็นช่วงๆ บรรยากาศเริ่มมีหมอกจางๆ แล้วค่อยๆหนาขึ้น ความจริงถ้าเรามองด้านล่าง ก็เห็นเป็นเมฆที่ปกคลุมยอดเขา แต่เมื่อเรามาบนเขา ก็เหมือนเป็นหมอก ขับรถต้องเปิดไฟเพราะทัศนวิสัยไม่ดี ไกด์ตีบเล่าว่า อาชีพหลักของปากซอง ปัจจุบัน คือทำไร่กาแฟ ซึ่งเป็นกาแฟคุณภาพดี ปัจุบันจะเป็นพันธ์ต้นเล็กซึ่งแทนพันธ์ต้นใหญ่แต่เดิม (จำชื่อพันธ์ไม่ได้แล้ว) ชาวไร่จึงมีฐานะดี มีพ่อค้ามาซื้อกาแฟถึงไร่ หมดฤดูเก็บเกี่ยวแต่ละปี ชาวไร่กาแฟ ต้องเอาเงินใส่กระสอบ ไปฝากธนาคาร ปัจจุบันกาแฟของลาว จึงเป็นที่นิยมกันมาก ใกล้ถึงน้ำตกตาดฟาน ไกด์บอกว่า เข้าไปไม่ได้ เพราะฝนตก ประกอบกับมองไม่เห็นน้ำตก เพราะหมอกบังหมด จึงขอเปลี่ยนไปน้ำตกตาดเยืองแทน แต่ทางเข้าก็ลำบากเช่นกัน ต้องเปลี่ยนเป็นรถของชาวบ้านแถวนั้น เพราะรถตู้เข้าไมได้ โดยน้ำตกนี้ จะเลยน้ำตกตาดฟานไปเล็กน้อย แต่เป็นลำธารน้ำตกสายเดียวกับตาดฟาน (ฟาน เป็นชื่อสัตว์ป่าชนิดหนึ่งบ้านเราเรียกว่าเลียงผา) เมื่อถึงที่หมาย ปากทางเข้า มีรถจอดคอยอยู่หลายคัน เป็นรถห้าประตูยี่ห้อฮุนได ก่อนลงจากรถ ไกด์ เอาเสื้อกันฝนมาแจกคนละตัว เพราะฝนตกปรอยๆ คณะเรา เริ่มใส่เสื้อกันฝน เอาอุปกรณ์ที่จำเป็นติดตัวไปด้วย โดยเฉพาะกล้องถ่ายรูป เริ่มสังเกตเห็นรถที่จะพาเข้าไปที่น้ำตก ล้อรถมีโซ่พันเอาไว้เหมือนกับรถที่พาขึ้นดอยทางเหนือของไทย ก็พอเดาสภาพได้ดีว่า เส้นทางไปน้ำตกเป็นอย่างไร การเดินทางเริ่มขึ้นไปตามเส้นทางที่เป็นถนนลูกรังสีแดง แต่เปียก ลื่น ด้วยแส้นทางที่วิบากพอควร ที่อันตรายก็คือช่วงทีข้ามลำธารน้ำ ซึ่งค้อนข้างลึกและชัน ประกอบกับฝนตกถนนลื่น ซึ่งเป็นสาเหตที่ต้องใช้โซ่พันล้อรถ แต่ก็ผ่านไปด้วยดี ถึงแล้วทางเข้าน้ำตกตาดเยือง ทางเข้าน้ำตก มีร้านค้าตั้งเรียงราย ขายของที่ระลึก คณะของเรา ไปถึงเป็นคณะแรกๆ เพราะยังไม่ค่อยเห็นคนมาเที่ยวกันเท่าไร ร้านค้ายังเงียบเหงา บางร้านเพิ่งเปิด แต่หมายตาไว้ร้านหนึ่งแล้ว ขายกาแฟมีถุงชงกาแฟแบบกาแฟโบราณ แต่ขอเดินผ่านไปก่อน ขากลับจึงจะแวะ ท่ามกลางฝนตกเป็นละออง ไม่มากนัก คณะเราเดินตามไกด์ ไปยังน้ำตก เป็นเส้นทางที่เดินสะดวก เพราะพื้นเป็นหิน แต่ต้องระวัง เพราะค่อนข้างลื่น ไกด์ตีบ พาแวะไปที่ด้านบนของน้ำตก เป็นบริเวณที่น้ำตกจะไหลลงจากหน้าผา น้ำไหลค่อนข้างแรง แต่ยังไม่ได้เดินแวะลงไป เดินต่อลงไปด้านล่างของน้ำตก ซึ่งต้องไต่เขาลงไปลึกมาก เส้นทางที่ไต่ลงไป ไม่ค่อยดีนัก เฉอะแฉะ มีราวไม้ช่วยยึดเกาะเพื่อก้าวไปตามขั้นบันไดที่เป็นก้อนหินเมื่อเปียกน้ำจึงลื่น ต้องค่อยๆไต้ลงไปและจับลาวไม้ไม่ให้เสียหลัก แต่ราวไม้ก็ลื่น เพราะเปียกฝน จึงต้องไต่ลงไปด้วยความระมัดระวัง มีนักท่องเที่ยวชาวไทย เดินสวนขึ้นมาเป็นช่วงๆ เมื่อสวนกันฝ่ายหนึ่งจะต้องหลบเข้าข้างทาง แต่คนที่สวนขึ้นมาก ก็บอกว่า น้ำตกสวยมาก และแล้วก็ถึงเสียทีน้ำตก ไม่รู้จะบรรยายถึงความยิ่งใหญ่ได้อย่างไร น้ำตกลงมาจากยอดหน้าผาที่สูงประมาณ 100 เมตร ละอองน้ำกระจายทั่ว ถึงฝนไม่ตก ก็ต้องใส่เสื้อกันฝนเพื่อป้องกันละอองน้ำ ต้องไต่เขาไปยืนที่ยอดเนินตรงข้ามน้ำตก ซึ่งลมและละอองน้ำแรงมาก แต่ไม่สามารถบันทึกภาพได้ ต้องใช้กล้องกันน้ำจึงจะใช้ได้ ดังนั้นจึงต้องบันทึกภาพบริเวณข้างๆ น้ำตกเท่านั้น ถ้าต้องการประจันหน้ากับน้ำตก ต้องได้เข้าไปขึ้นเนินเล็กๆ ที่อยู่ตรงข้ามน้ำตก ซึ่งลมแรงมาก และละอองน้ำจากน้ำตกสาดเข้าใส่ตัวเต็มๆ จนเปียกหมด แต่ละคนขึ้นไปยืนโต้กระแสละอองน้ำได้ไม่นานก็ต้องลงมา เป็นบรรยากาศที่เยี่ยมมาก และคิดว่า ถ้ามีโอกาส จะต้องกลับมาอีก ใช้เวลาพอสมควรกับการบันทึกภาพคนเริ่มมามากขึ้น มาฝรั่งคณะหนึ่งเริ่มมาสมทบ ทำให้พื้นที่ศาลาเล็กๆ ที่ยืนดูน้ำตกเริ่มคับคั่งไปด้วยผู้คน และกำลังมีนักท่องเที่ยวชุดหลังๆ ทะยอยตามมา คณะของเราจึงเริ่มเดินทางกลับ เดินทางออกจากน้ำตกจะตื่นเต้นมากกว่า ตอนไป เพราะเริ่มนีนักท่องเที่ยวมามากขึ้น ส่วนมากเป็นคนไทย มีฝรั่งเล็กน้อย สังเกตว่า คนไทยจะนั่งรถจากปากทางเข้าไปน้ำตก แต่ฝรั่งจะเดินเข้าไป ตอนลงไปดูน้ำตก ก็ไม่ค่อยเท่าไร แต่ขากลับเดินขึ้นเขา อาการของคนแก่ก็เริ่มปรากฏให้เห็น ต้องหยุดพักเป็นช่วงๆ รู้สึกว่า หายใจไม่ทัน บางท่านหน้าซีดอย่างเห็นได้ชัด ที่สำคัญ ขาเริ่มสั่น กว่าจะเดินขึ้นมาถึงด้านบนทุกลักทุเลเหมือนกัน ต้องขอบคุณไกด์ทั้งสองท่าน ที่คอยดูแลคณะเราอย่างดี เขาคงมีประสบการณ์ในเรื่องนี้ จึงคอยเดินประกบพวกเรา โดยเฉพาะคนที่อาการไม่ค่อยดี ไกด์จะคอยช่วยเหลือ เดินกลับขึ้นมาด้านบน นั่งพักสักครู จึงค่อยๆ เดินย้อนกลับที่ร้านค้า ซึ่งรถจอดคอยอยู่ ระหว่างเดินทางกลับ จะมีนักท่องเที่ยวเดินสวนทางมาเป็นกลุ่มๆ จนมาถึงที่จอดรถ ปรากฏว่า มีนักท่องเที่ยวหลายกลุ่มรออยู่ บางกลุ่มก็เพิ่งนั่งรถเข้ามา ยืนอยู่ตามร้านค้าต่างๆ เพื่อหลบฝน มีบางคณะ นั่งรถเข้ามา แต่ไม่ลงจากรถ นั่งรถกลับไปเลยก็มี เราได้แต่เสียดายแทนเขา ที่ไม่ได้เห็นความสวยงามของน้ำตก แต่ก็เห็นบางคน แต่งตัวมาอย่างดี โดยเฉพาะทำผมมาอย่างดี ก็ได้แต่นึกว่า ถ้าเดินลงไปน้ำตก ไม่รู้ว่า กลับขึ้นมาสภาพจะเป็นอย่างไร เดินทางออกจากน้ำตกจะตื่นเต้นมากกว่า ตอนไป เพราะเริ่มนีนักท่องเที่ยวมามากขึ้น ส่วนมากเป็นคนไทย มีฝรั่งเล็กน้อย สังเกตว่า คนไทยจะนั่งรถจากปากทางเข้าไปน้ำตก แต่ฝรั่งจะเดินเข้าไป เมื่อมีคนมาก รถที่พาเข้าน้ำตกก็เริ่มไม่พอ รถที่เราเหมาเข้าไป ต้องวิ่งไปรับคนที่ปากทางเราจึงต้องยืนคอยกันนานไม่รู้จะทำอะไร เพราะฝนตก เดินดูสินค้าในร้านที่หลบฝนอยู่ ก็ไม่มีสินค้าอะไรน่าสนใจ ในที่สุด ไกด์ก็ติดสินใจ เหมารถอีกคันหนึ่งออกไป เป็นรถบรรทุก 6 ล้อ กระบะหลังเอาเก้าอี้พลาสติกมาตั้งให้นั่ง เอาเชือกฟางผูกยึดกันไว้กับกระบะรถ หลังคารถใช้พลาสติกคลุมไว้ แต่หลังคาก็รั่ว ดีแต่ว่ามีเสื้อกันฝน ออกมาถึงถนนที่ข้ามลำธาร มีรถสองแถวเล็กจอดอยู่คันหนึ่ง ข้ามไปไม่ได้ คนขับรถของลาวแต่ละคันไปช่วยกันขับรถและเข็นรถสองแถว ให้ข้ามผ่านไป จึงมีรถมาจอดคอยข้าม 2-3 คัน แต่ละคันเริ่มเอาโซ่มาพันที่ล้อ คณะเราตัดสินใจ ลงจากรถแล้วเดินข้ามไปรอฝั่งตรงข้าม มีเพียงอาจารย์ฐิติกับกีร์ต้า นั่งไปบนรถ ซึ่งขับข้ามมาด้วยอาการปัดไปปัดมา แต่ก็ข้ามไปได้ทุกคัน ถึงที่หมายปากทางเข้าน้ำตกตาดเยือง ด้วยความปลอดภัย ถึงแม้จะเป็นการเที่ยวน้ำตกอย่างทุลักทุเล แต่ก็พูดตรงกันว่า ประทับใจอย่างมาก เหตุการณ์แบบนี้ จะอยู่ในความทรงจำไปนาน ถ้าไปเที่ยวแบบธรรมดา ต่อไปอาจจะจำไม่ได้ ว่าเดินทางอย่างไร แต่ครั้งนี้ เป็นการเดินางที่ต้องจดจำว่า ได้พบอะไรบ้าง นอกจากความประทับใจกับน้ำตกแล้ว ยังประทับใจกับการดูแลอย่างดีของไกด์ ความเอื้ออาทรของคนขับรถ ที่แต่ละคัน จะไปช่วยกัน นักท่องเทียวฝรั่ง ที่ต่างจากคนไทย ที่ส่วนมากเข้าจะไปแบบธรรมชาติ และไม่ค่อยไปเป็นหมู่คณะใหญ่ๆ ที่สำคัญคือ ความยิ่งใหญ่ของธรรมชาติ ที่ไม่ค่อยพบเห็นแล้วในเมืองไทย ที่คิดว่า ประเทศลาวคงจะรักษาเอาไว้อย่าให้ถูกทำลายเหมือนบ้านเรา ไร่ชา ไร่ชาคุณภาพเยียมแห่งหนึ่งของปากซอง ที่เราแวะเยียมชม เจ้าของไรแห่งนี้ เป็นคนเวียตนาม เคยทำไร่ชากับชาวฝรั่งเศษมาเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ปัจจุบันทำไร่ชาของตนเอง ได้รับการต้อนรับด้วย น้ำชากลิ่นชากลิ่นหอมหวล ชาที่ให้เราชิม เป็นชาเขียว และชาอู่หลง เมือชิมเส็จแล้ว ก็ไปเดินชมไร่ชา เป็นครั้งแรกที่เห็นยอดชาเขียวแบบใกล้ๆ เขาจะเก็บเฉพาะใบชาที่อยู่ที่ยอดสามใบเท่านั้น โดยสิบหาวัน จะเก็บยอดชา 1 ครั้ง ไร่ชาแห่งนี้อยู่บนเนินเขา ขนาดไม่กว้างนัก การเก็บใบชา จะเก็บเฉพาะยอกอ่อนเพียง 3 ใบ 15 วันเก็บครั้งหนึ่ง เมื่อเก็บแล้ว ก็มาเข้ากระบวนการทำเป็นใบชา ซึ่งไมได้ถามรายละเอียดว่าทำอย่างไร เห็นแต่เพียงอุปกรณ์วางเรียงรายอยู่บริเวณบ้าน บรรยากาศตอนนี้เย็นสบาย มีเมฆขาวๆ ลอยปกคลุม ฝนหยุดตกแล้ว จึงเที่ยวชมไร่ชาได้อย่างใกล้ชิด ไกด์ทำหน้าที่อย่างดี ในการอธิบายเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับใบชา ได้เห็นยอดชา ดอกชา และผลชาอย่างใกล้ชิด ดอกชา และผลชา เดินชมไร่ชา โดยไกด์น้องตีบ เป็นผู้นำชม ท่ามกลางบรรยากาศสดชื่น เห็นเมฆหมอกปกคลุมอยู่ไกลๆ ตามสภาพภูมิประเทศบนที่สูงในฤดูฝน แต่ก็โชคดีที่ฝนไม่ตกในตอนนี้ ทำให้ได้ชมไร่ชาอย่างใกล้ชิด ถ่ายภาพร่วมกับเจ้าของไร่ชา ชมไร่ชาแล้ว ก็กลับมาชมผลิตภัณฑ์ของไร่ชาอีกครั้ง ได้มีโอกาสสนทนากับคุณป้าเจ้าของไร่ชา ซึ่งเป็นญาติกับคุณประวิทย์ ผู้จัดทัวร์นำเที่ยวในครั้งนี้ และได้เปรียบเทียบรสชาดของชาอีกครั้งว่า ชาแต่ละอย่างต่างกันอย่างไร แล้วรายการซื้อก็เริ่มขึ้น คนละถุงสองถุง ทั้งชาจากไร่และสินค้าอื่นๆ เช่น กาแฟดาว (dao coffee) ซึ่งมีทั้งรสเข้ม ปานกลาง และอ่อน เป็นแบบ 3 in 1 แต่ที่อยากซื้อคือ กาแฟเม็ด แต่เอากลับมาแล้วไม่รู้จะชงอย่างไร เพราะไม่มีเครื่องชงกาแฟ อุปกรณ์ทำใบชา ไม่รู้เหมือนกันว่าเป็นอุปกรณ์ทำอะไรบ้าง น้ำตกผาส่วม ผาส่วมห่างจากเมืองปากเซไม่มากนัก ประมาณ 30 กิโลเมตร การเดินทางครั้งนี้ จะไปกินข้าวกลางวันที่น้ำตกแห่งนี้ ซึ่งมีร้านอาหารเพียงร้านเดียว คือร้านของคุณวิมล บำรุงกิจ (ชาวจังหวัดนครปฐม) ซึ่งได้รับสัมปทาน ในน้ำตก และบริเวณน้ำตกเนื้อที่ประมาณ 1300 ไร่ น้ำตกผาส่วม (สำเนียงลาวจะออกเสียงเป็นผาส่วม แต่ภาษาไทยเขียนเป็นผาส้วม) คำว่าส้วมเป็นภาษาลาวแปลว่าห้องนอน หรือห้องหอของคู่แต่งงาน น้ำตกแห่งนี้ จะมีรูปร่างคล้ายๆ ห้องนอน ซึ่งเราเองก็ดูไม่ออกว่า เหมือนห้องนอนตตรงไหน แต่ก็เดาเอาว่า บริเวณสองข้างของน้ำตกเป็นผาหินลักษณะคล้ายๆผนังห้อง ก่อนเข้าน้ำตก จะผ่านประตูทางเข้าเขียนว่า อุทยานบาเจียง น้ำตกผาส่วม และเสียเงินค่าเข้าชมเช่นเคย สองข้างทางปลูกต้นปาล์มเป็นแถว ถนนลาดยางจนถึงน้ำตก ซึ่งมีร้านอาหาร ตั้งอยูใกล้น้ำตกเป็นบรรยากาศอาหารกลางวันท่ามกลางน้ำตก และอากาศที่สดชื่น ไม่ต้องอาศัยแอร์ แต่เป็นแอร์ธรรมชาติที่เย็นสบาย บรรยากาศที่ร้านอาหารดีมาก และคงเล่าได้ไม่หมดถึงความประทับใจ ต้องเห็นด้วยตาจึงจะเก็บความประทับใจได้หมด คณะเราไปถึงเกือบบ่ายโมง แขกเต็มร้าน แต่เริ่มรับประทานกันอิ่มแล้ว และทะยอยออกจากร้าน ดังนั้นคระเรา จึงเป็นคณะสุดท้ายที่ออกจากร้าน จึงโชคดี ที่เห็ยบรรยากาศทั้งหมดชัดเจน และได้คุยกับเจ้าของร้าน โดยเฉพาะคุณ .... ซึ่งเป็นคนลาว ภรรยาคุณวิมล ถ่ายภาพร่วมกับคุณวิมลและภรรยา เจ้าของร้าน และผูได้รับสัมปทาน ในอุทยานบาเจียง นั่งรับประทานอาหารบนพื้นที่ลองด้วยเสื่อหวาย แต่สามารถนั่งห้อยขาลงใต้โต๊ะ โดยไม้ที่ใช้ปูพื้นในร้านอาหารทั้งหมด เป็นไม้แผ่นใหญ่ๆ ทั้งหมด บรรยากาศของร้าน โปร่งสบายโดยออกแบบให้เหมือนธรรมชาติมากที่สุด และรับประทานอาหารอย่างสบาย คุณวิมล เจ้าของร้าน นั่งดูแลลูกค้าอยู่ที่นั่งประจำ (เพราะสายตามองไม่ค่อยเห็นเนื่องจากโรคมาลาเรีย) ลูกค้าจะเข้าไปถ่ายรูป หรือซื้อหนังสือที่คุณวิมลเขียนพร้อมทั้งขอลายเซ็นต์ไว้ในหนังสือ) อาหารมื้อนี้ เป็น ปลาทอด ลาบใส่มาในถ้วยที่ทำจากกระหล่ำปลี ต้มไก่บ้าน(เนื้อไก่สีเหลืองๆ) ผักติ้มจิ้มแจ่ว เนื้อทอด (ไม่รู้ว่าเนื้อเก้งหรือเปล่า) ตบท้ายด้วยของหวานคือหมากจองในน้ำหวานเย็นชื่นใจ ดูเหมือนว่า อาหารจะถูกปากไปเสียทุกอย่าง อาจจะเพราะปัจจัยหลายอย่าง รสชาดอาหารที่อร่อย บรรยากาศดี และเลยเวลาอาหารมาแล้ว จึงหิวกันกันเต็มที่ หลังจากอาหารกลางวันผ่านไป ก็ถึงเวลาเที่ยวชมธรรมชาติของน้ำตกผาส่วม และพิพิธภัณฑ์ชนเผ่า หรือหมู่บ้านชนเผ่าจำลอง แต่ก่อนที่จะเดินไปชมธรรมชาติ ก็อดไมได้ที่จะแวะชมสิ่งที่มนุษย์สร้างเสียก่อน สิ่งแรกคือ แวะไปเข้าห้องน้ำ ซึ่งทำให้กลมกลืนกับธรรมชาติอย่างมาก แต่ไม่ใช้ห้องน้ำแบบที่เรายิงกระต่ายกันข้างทาง ห้องนำที่นี่ดูโล่งๆสักนิด สำหรับห้องน้ำผู้ชาย ส่วนห้องน้ำหญิงไม่ทราบ เพราะไมได้เข้าไป ที่แปลกใจคือ เมื่อกดน้ำจากชักโครก น้ำเป็นสีแดง ก็ไม่แน่ใจว่า เขาใส่อะไรลงไปในน้ำ หรือความจริงแล้วเป็นน้ำจากธรรมชาติ เพราะตอนนี้เป็นหน้าฝน น้ำจากน้ำตก เป็นสีขุ่นแดง สองข้างทางเดินสั้นๆ มีต้นพรรณไม้ต่างๆ ปลูกเอาไว้กลมกลืนกับของเดิม เดินผ่านต้นไม่ยืนต้นตายต้นหนึ่ง โดยปกติเราก็จะตัดทิ้ง แต่เข้าเก็บไว้ แต่ทำให้ดูสวยงามได้ด้วยการปล่อยให้มีไม้เลื้อยพันไว้ดูกลมกลืนกับธรรมชาติรอบข้าง บนทางเดิน ได้ตัดท่อนไม้เป็นลักษณะเหมือนเขียงมาวางรองเอาไว้เพื่อเป็นทางเดิน (สภาพเช่นนี้ทำให้นึกถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม่เมืองลาว จนหลายคนคิดว่า คุณวิมลคงจะตัดไม้ใหญ่ๆ มาซอยเป็นทางเดิน ความจริงไม่ใช่ อ่านจากหนังสือ บอกไว้ว่า ไม้เหล่านี้ ไปเหมามาจากเศษตอไม้ที่เขาทิ้งที่โรงเลื่อยของเมืองลาว) เดินจากบริเวณที่รับประทานอาหารไปนิดเดียว ก็ถึงน้ำตกผาส่วม ถ้าดูจากรูปร่าง ก็ต้องบอกว่า เหมือนน้ำตกไนแองการา ที่ย่อส่วนลงมาสักร้อยเท่าเพราะเป็นลักษณะที่เกิดจากความต่างระดับของธารน้ำ ที่เป็นร่องลึกในซอกหิน ดังนั้น บริเวณที่เรายืนถ่ายภาพจึงเปรียบเหมือนกับยืนในฝั่งประเทศแคนาดา ส่วนฝั่งตรงข้ามเป็นฝั่งประเทศอเมริกา เมื่อเดินมาถึง มีคณะนักท่องเที่ยวยืนถ่ายภาพอยู่จำนวนมาก แต่ก็ดีที่คณะเราเป็นคณะสุดท้ายแล้ว ยืนรอนิดเดียว บริเวณจุดชมวิวน้ำตกก็โล่ง พื้นที่ตรงนี้จึงเป็นพื้นที่ส่วนตัวสำหรับคณะเรา ที่จะถ่ายภาพได้อย่างสะดวกสบาย แต่วุ่นวายนิด เพราะเวลาไปยืนถ่ายภาพ ไม่รู้ว่า จะหันหน้าไปที่กล้องคนไหน ทุกคนที่มีกล้อง จะช่วยกันถ่ายภาพเอาไว้ บริเวณที่ทุกคนที่มาจะต้องมายืนถ่ายรูปตรงนี้ อยู่ตรงข้ามน้ำตกผาส่วม มองเห็นน้ำตกอย่างชัดเจน พร้อมทั้งป้ายชื่อน้ำตกเขียนเป็นภาษาลาว คณะเราทุกคนก็มายืนถ่ายภาพกันตรงนี้เพื่อเก็บไว้ในความทรงจำ จุดหมายต่อไปจากน้ำตกก็คือ หมู่บ้านชนเผ่า ซึ่งจะต้องเดินข้ามธานน้ำตก โดยใช้สะพานแขวน อาจารย์ฐิติ บอกให้คณะเราเดินไปก่อน แล้วไปยืนบนสะพานแขวน ส่วนอาจารย์ฐิติ เป็นผู้บันทึกภาพของคณะเราบนสะพานแขวนอยู่ที่หน้าน้ำตก ข้ามไปหมู่บ้านชนเผ่า จะต้องเดินข้ามสะพานแขวน เมื่อเดินข้ามจะโยตัวไป เป็นอีกจุดหนึ่ง ที่ต้องบันทึกภาพไว้ในความทรงจำ และจากสะพานแขวนนี้ ก็สามารถมองเห็นน้ำตกได้ภาพที่สวยงามประทับใจมาก ภาพนี้ถ่ายจากสะพานคอนกรีตสำหรับรถข้าม มองมาเห็นสะพานแขวน และน้ำตกผาส่วม เขาบอกว่า แต่เดิม จะมีน้ำตกเฉพาะตรงกลางเท่านั้น แต่คุณวิมล ได้พยายามเปลี่ยนทิศทางน้ำ จนมีน้ำตกบริเวณด้านข้างๆ ที่สวยงามอย่างปัจจุบัน ช้างชุดนี้ ปั้นโดยช่างที่จบจากเพาะช่าง เพื่อระลึกถึงช้างที่เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาพื้นที่จนสวยงามเหมือนทึกวันนี้ เมื่อข้ามสะพานแขวนไปแล้ว ก็พบกับพื้นที่ที่มีการตกแต่งเอาไว้อย่างสวยงามแต่เป็นธรรมชาติ จุดที่สะดุดตา คือ พบโขลงช้างโขลงหนึ่งเหมือนจริงมาก จนต้องเก็บภาพเป็นที่ระลึก แต่เมื่อถ่ายภาพเสร็จ จึงเห็นข้อความบอกว่า ห้ามนั่งบนช้าง แต่จะทำอย่างไรได้ นั่งไปแล้ว ก็เลยต้องแก้ตัวว่า อ่านภาษาลาวไม่ออก เดินจากโชลงช้างไปนิดหนึ่ง ก็ถึงลานจอดรถ มีรถนักท่องเที่ยวจอดอยู่จำนวนมาก เพื่อเข้าชนหมู่บ้านชนเผ่า หรือหมู่บ้านที่เอาชาวเผ่าต่างๆ ของประเทศลาว มาอยู่รวมกัน เพื่อให้นักท่องเที่ยวเห็นประเพณี วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของแต่ละเผ่า โดยไม่ต้องเดินทางไปที่เผ่านนั้นๆ เพราะในหมู่บ้านนี้ เป็นการนำชนเผ่าต่างๆ มาให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกันถึงที่ ปากทางเข้าสู่ชนเผ่า จะมีบ้านต้นไม้แปลกตาม มีนักท่องเที่ยวมุงถ่ายรูปกันอยู่ ขระเราจึงเดินผ่านไปตามเส้นทางเดินเข้าหมู่บ้านชนเอาประมาณ 100 เมตร ก็ถึงบ้านชนเผ่าบ้านแรก แล้วคณะเราก็ติดอยู่ที่บ้านนี้นานมาก ไม่ใช่สนใจประเพณี วัฒนธรรมอะไร แต่สนใจผ้าที่วางขายอยู่ เพราะฝีมือสวยมาก ราคาไม่แพง และได้เป็นวิธีการทอผ้าของเขาด้วย ซึ่งไกด์ตีบบอกว่า เป็นกี่เอว ให้ดูภาพเอาเองว่า กว่าจะทอเสร็จแต่ละผืน มันจะเมื่อยแค่ไหน และสังเกตให้ดี จะเห็นว่า ผ้าที่ทอ จะสีฉุกฉาดมาก เขาบอกว่า สมัยก่อนจะให้สีธรรมชาต แต่สมัยนี้ ใช้สีวิทยาศาสตร์ที่ซื้อมาจากปากเซ เลือกผ้าลายสวยๆ สอบถามราคา ต่อรองราคา แล้วก็จ่ายเงิน แต่ทุกคนไม่ค่อต่อราคากันเท่าไร เพราะเห็นแล้วว่า กว่าจะทอแต่ละผืนลำบากน่าดู แต่ก็ไม่รู้ว่า ผ้านี้ เขาทอที่บ้านนี้ หรือส่งมาจากที่อื่น แล้วเอามาวางขายนักท่องเที่ยว กี่เอว เป็นอุปกรณ์ทอผ้าของชนเอานี้ เวลาทอผ้า จะผูกกี่ทอผ้าไว้กับเอว แล้วทอผ้าเป็นผืน ด้วยการสอดด้ายทีละเส้น กว่าจะได้ผ้าแต่ละผืนใช้เวลานานหลายวัน ลักษณะบ้านของแต่ละชนเผ่าที่อยู่ในหมู่บ้านชนเผ่า บ้านบางหลัง ไปย้ายบ้านจริงๆ เขามาสร้างในบริเวณนี้ อาจารย์ฐิติ ถ่ายภาพกับพ่อเฒ่านักดนตรีชาวเผ่าโอย เด็กน้อยน่ารัก เผ่าตาลัก นั่งเป็นนางแบบ ให้นักท่องเที่ยวถ่ายภาพ หน้าตาน่ารักมาก เป็นขวัญใจของนักท่องเที่ยว ทุกคณะที่ผ่านมา ต้องแวะถ่ายรูปด้วย ดูเหมือนว่า รายได้จะดีกว่าขายผ้าพื้นเมืองนะ ถ่ายภาพกับเด็กชาวเผ่า..... เผ่านี้มีประเพณีแปลกคือ ที่ครัว จะมีป่อง (ช่อง) ให้ผู้บ่าว หรือหนุ่ม มาจก(ล้วง)ผู้สาว ผ่านทางช่องนี้ เมื่อเป็นที่พออกพอใจกัน ก็จะขึ้นไปอยู่ด้วยกันบนบ้านต้นไม้ทั้งคืน ถูกเนื้อต้องตัวกันได้ แต่ห้ามล่วงเกิน เพราะถ้ามีการเกินเลยกัน จะผิดผี ซึ่งจะมีผลทำให้ญาติพี่น้องป่วย ซึ่งฝ่ายชายจะต้องมาเสียผี รับฝ่ายหญิงเป็นภรรยา โดยค่าเสียผี และสินสอด จะเรียกเป็นสัตว์เลี้ยง เช่นหมู หรือวัว ป่อง (ช่อง) ที่ใช้จกสาว เป็นช่องเล็กๆ พอมือล้วงเข้าไปได้ โดยที่พื้นดินจะมีครกไว้สำหรับยืนเพื่อให้เอื้อมมือถึงช่องได้ และมีเรื่องเล่าอีกว่า แม่จะสอนลูกสาวว่า การเลือกคู่ครองนั้น ให้คลำที่มือของหนุ่มที่ล้วงเข้ามาทางช่อง ถ้ามือสากๆ แสดงว่าเป็นคนขยันทำมาหากิน ให้เลือกเป็นคู่ครอง ถ่ายภาพกับเด็กชาวเผ่าแงะ ที่ด้านขวาของภาพ จะเห็นบันได ที่ทำด้วยท่อนไม้ ซึ่งทำขึ้นใหม่ บันไดเก่า เก็บไว้บูชาบนบ้าน เพราะเป็นบันใดที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เสด็จเหยียบขึ้นไปบนบ้าน คณะเราจึงตามขึ้นไปดูบนบ้าน ซึ่งภายในโล่งถึงกันหมด ไม่มีห้องหับอะไร มุมบ้านด้านหนึ่งคือครัวที่ประกอบอาหาร นักดนตรีเผ่ากะตู กำลังแกะเครื่องดนตรี ประตูทางเข้าหมู่บ้านชนเผ่า เดินทางกลับประเทศไทย ออกจากอุทยานบาเจียง ซึ่งเป็นจุดสุดท้ายของการท่องเที่ยวครั้งนี้ กลับเข้ามาเมือง ปากเซ ข้ามสะพานมิตรภาพลาว-ญี่ปุ่น สู่ด่านวังเตา ชายแดนไทยลาวซึ่งใช้เวลาไม่นานนัก จอดรถเพื่อทำเรื่องออกจากลาว เข้าประเทศไทย ขณะที่รอทำเอกสารผ่านแดน มีโอกาสเข้าซื้อของใน Duty Free อีกครั้ง แต่ไม่มีใครสนใจซื้อของอะไร จึงรอจนทำเอกสารเสร็จ จึงร่ำลา ไกด์แม่หญิงลาว น้องตีบ แล้วเดินข้ามแดนผ่านด่านศุลกากรเข้าแขตแดนไทยที่ช่องเม็ก เดินทางเข้าสู่จังหวัดอุบลราชธานี้ ด้วยระยะทาง ประมาณ 90 กิโลเมตร ถึงอุบลเวลาประมาณ 6 โมงเย็น