หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

กระบวนการเรียนรู้ ของนักศึกษา กศน.

ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้บริหาร กศน. ท่านหนึ่ง ได้ประเด็นที่น่าสนใจกลับมาคิดต่อมากมาย
  • ประเด็นแรก ได้ไปพบครู และนักศึกษา กศน. ที่กำลังทดสอบปลายภาคเรียน ก็เลยลองถามว่า มีปัญหาอะไรไหม ก็พบว่า ปัญหาการทดสอบเดิมๆ น้อยมาก แต่ก็มีปัญหาใหม่เกิดขึ้นมาแทน จะขอยกปัญหาเดิม และปัญหาใหม่ มาอยางละ 1 ปัญหา
  • ปัญหาเดิม ได้รับทราบว่า นักศึกษษจะบ่นว่า ข้อสอบยาก และวิชาที่ติดอันดับยากคือ ภาษาอังกฤษ กับคณิตศาสตร์ เรื่องนี้ ได้ถูกหยิบยกมาคุยกับท่าน ผอ. ท่านนี้ คำตอบของท่านน่าสนใจมาก ท่านก็บอกว่า ใช่ มันยากแน่ๆ เพราะเรื่องทีสอบ มันไม่ใช่วิถีชีวิตของนักศึกษา วิชาที่เรียนมันก็ไม่ได้เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน และที่สำคัญก็ยังแยกเป็นวิชาๆ อีก เช่น ไปเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ วิชาคณิตศาสต์ วิชาวิจัยอย่างง่าย วิชาคิดเป็น โดยอ่าน ท่อง จากตำราเรียน ใครจะอ่าน จะท่องได้หมด เพราะเป็นเรื่องไกลตัว พอมาสอบก็ทำไม่ได้ (ยังไม่รวมกลุ่มที่ไม่ค่อยได้อ่านตำรา) แต่พอเป็นวิชาสังคม นักศึกษาบอกว่า ไม่ยาก เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว
  • ท่าน ผอ. ท่านนี้ก็บอกว่า เราทำไมไม่เอาเรื่องใกล้ตัวมาใส่ไว้ในวิชาที่เรียน แล้วให้แต่ละวิชาต่างๆ สัมพันธ์กัน เช่น ก่อนจะเรียนวิชาอะไร ก็ดูรอบๆตัวก่อน แล้วไปดูรอบบ้าน รอบหมู่บ้าน แล้วหยิบเอาสิ่งเหล่านั้น มาเป็นเรื่องที่จะเรียน แล้วค่อยไปเปิดหลักสูตร ว่า มีอะไรที่เกี่ยวข้องหรือกำหนดไว่ในมาตรฐานการเรียนรู้ แล้วจึงกำหนดมาเป็นเนื้อหาที่จะเรียน คณิตศาสตร์ที่ยากก็จะกลายเป็นเรื่องง่าย เพราะเป็นครอตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
  • ปัญหาใหม่ คือ วิชาที่สอบมีมากมาย จนนักศึกษาเองก็ยังจำไม่ได้เลยว่ามีวิชาอะไรบ้าง (วิชาเลือก) เพาะเป็ยวิชาที่แปลกๆ จึงมีคำถามว่า แล้วใครเป็นคนคิดวิชาเหล่านี้ คำตอบที่น่าสนใจ คือ ไปหยิบเอามาจากหลักสูตรที่มีอยู้แล้วมาใช้ก่อน แล้วกำหนดให้เหมือนๆกัน เพราะสะดวกในการดำเนินการในเรื่องต่างๆ สรุปก็คือ คำนึ่งถึงความสะดวกเป็นเบื้อต้นก่อน

แล้วจะทำอย่างไรกันดี กับ การศึกษาขั้นพื้นฐานของ กศน. เพราะคนคิดไม่ได้ทำ คนทำไม่ค่อยได้คิด คนทำก็คือ ครู ศรช. ครู อาสา ครูประจำกลุ่ม

การทดสอบปลายภาคเรียนของนักศึกษา กศน.

ระหว่างวันที่ 18-19 กันยนยาน 2553 ได้มีโอกาสไปเยี่ยมสนามสอบปลายภาคเรียนของ กศน. ในจังหวัดต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงหนือ ได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ มากมาย ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงหลายอย่างของ กศน. ทำให้ได้โยงความคิดกลับไปสู่ยุคกองการศึกษาผู้ใหญ่ ที่เราเริ่มรับราชการ มาสู่ยุค กรมการศึกษานอกโรงเรียน มาสูยุคของสำนักงาน กศน. แล้วก็คิดว่า กศน. กำลังจะเดินไปไหน หรือว่าความจริงก็ยังเดินวนเวียนกลับไปกลับมา
  • เมื่อสามสิบกว่าปีที่ผ่านมา ของการเริ่มตั้ง กศน. มีแนวคิดว่า สำนักงาน กศน. ต้องเล็ก แต่ ในพื้นที่ต้องใหญ่ แนวคิดการตั้งศูนย์ จังหวัดจึงเป็นอาคารชั้นเดียว เล็กๆ แต่ปัจจุบัน มีความใหญ่โตอย่างมาก ใช้งบประมาณสำหรับการบริหารศูนย์ จำนวนมากมาย และหน่วยงานก็ขยายไปมีทั้งในระดับจังหวัด ระดับอำเภอ และลงไปถึงตำบล รูปแบบการศึกษาที่ได้รับงบประมาณหลักคือ รูปแบบการศึกษาที่เหมือนกับในโรงเรียน หรือใกล้เคียงในโรงเรียน ส่วนตัวแก่นแท้ของ กศน. จะได้รับงบประมาณไม่มากเท่าไร
  • สภาพการทำงานในสำนักงานวุ่นวาย สับสน งานมากจนล้นมือ แต่เมื่อไปเดินในพื้นที่ หรือไปยืนมองในมุมมองของชาวบ้าน คำถามก็คือ มีผลงานมากเหมือนในสำนักงานหรือไม่ เดินไปนานแค่ไหน จึงจะพบประชาชนที่เป็นผลผลิตของ กศน. เปรียบเหมือน เราหว่านสิ่งขอลงไปสักอย่างหนึ่ง มีกระบวนการวุ่นวายมาก งานหนักมาก เมื่อหว่านไปแล้ว มีคนหนึ่งไปเดินตามหา สิ่งของที่หว่านออกไป แทบจะหาไม่พบเลย
  • มีคำถามในใจหลายประการ เช่น สัดส่วนของงบประมาณที่ได้รับ เราใช้ไปเพื่อเลี้ยงตัวเองให้อ้วนเท่าไร และไปถึงประชาชนจริงๆ เท่าไร ยิ่งพัฒนา กศน. ยิ่งโต หรือ ประชาชนยิ่งโต น่าจะมีคนศึกษาเรื่องนี้ดูนะ

วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

e-Learning แบบ Offline

เป็นปีที่ 4 แล้ว ที่พัฒนาระบบการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า e-Learning ในรูปแบบของการอบรมทางไกล หรือ e-Training ตลอดเวลาที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาไปอย่างต่อเนื่อง และมีปัญหาเข้ามาให้แก้ไขตลอดเวลาซึ่งปัญหาเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ก็ยังเข้ามาเกี่ยวข้องตลอดเวลา คือ ปัญหาอินเทอร์เน็ตช้า ซึ่งเข้ามากระทบกับกระบวนการเรียนรู้
  • เริ่มมีผู้เรียนเข้ามาถามว่า เป็นไปได้ไหมที่จะไปนั่งเรียนที่บ้าน ได้ไหม เพราะต้องเรียนหลังเลิกงาน และเรียนที่ทำงาน ไม่มีอินเทอร์เน็ตที่บ้าน ทำให้กลับบ้านค่ำ เราก็ตอบทันทีว่า ไม่ได้ เพราะไม่สามารถบันทึกข้อมูลได้ แนวความคิดนี้ ก็เลยเลิกกันไป
  • ตอนนี้มาคิดใหม่ว่า คำถามนี้ดีมาก กระตุ้นให้คิดหาแนวทาง พัฒนา และใช้เวลามากว่าสองปีแล้ว มาถึงตอนนี้ จึงเริ่มคิดว่า มีความเป็นไปได้ ที่จะเรียนผ่านระบบ e-Learning แบบ Offline โดยมีการบันทึกข้อมูลไว้ด้วย เรียนสร็จแล้ว ก็ส่งข้อมูลให้ครูประเมินได้

แนวคิดนี้มีความเป็นจริงมากขึ้นหลังจากได้ทดลองพัฒนาระบบ Offline ขึ้นมาใช้