หน้าเว็บ

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สูตรลับความสำเร็จ Step for Success

เริ่มต้นปีงบประมาณของหน่วยงานราชการ มีสภาพที่เหมือนกันประการหนึ่งคือ รองบประมาณ ที่จะอนุมัติมาให้ดำเนินงาน ดังนั้นช่วงต้นปีจึงมีกิจกรรมชาร์ตแบตเตอร์รี่ กันต่างๆ นาๆ เพื่อให้ไปแรงขึ้น

  • การชาร์ตแบตของหน่วยงานในครั้งนี้คือ การเข้ารับการอบรมเรื่อง สูตรลับความสำเร็จ Step for Success ซึ่งหลังจากการอบรมแล้ว ก็ได้ว่า สูตรลับจริงๆ มีแค่ 3 ขั้นตอนเท่านั้นคือ

ขั้นตอนที่ 1 มีเป้าหมายชัดเจน วางเป้าหมายที่ต้องการไปให้ถึง

ขั้นตอนที่ 2 กำหนดวิธีการที่จะไปให้ถึง

ขั้นตอนที่ 3 ลงมือทำตามวิธีการ ในขั้นตอนที่ 2

มีคำถามว่า สำเร็จจริงหรือไม่ เพราะใครๆ เขาก็ทำแบบนี้ทั้งนั้น จริงๆ สูตรลับมันอยู่ที่ Again and Again and Again .......

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การศึกษาที่บิดเบี้ยว

วันนี้ได้มีโอกาสร่วสมประชุมกับสมาชิกชมรมผู้สูงอายุ กศน. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสมาชิกส่วนมากเป็นข้าราชการบำนาญ ที่เคยทำงานอยู่ในหน่วยงานของ กศน. ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัวหวัดอุบลราชธานี หรือใกล้เคียง ได้พบหลานท่านที่เราเคยร่วมงานตั้งแต่สมัยรับราชการใหม่ๆ ดังนั้นเรื่องที่คุยแลกเปลี่ยนกัน ก็มีสองเรื่องใหญ่ๆ คือ1 เรื่องย้อนอดีตสมัยที่ยังเคยรับราชการ 2 เรื่องปัจจุบัน ซึ่งส่วนมากก็เป็นชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบัน แล้วที่แปลกคือ ส่วนมาก ไม่คุยถึงเรื่องลูกเลย ส่วนมากจะคุยถึงเรื่องหลาน หรือเหลน ผู้สูงอายุท่านหนึ่งเล่าด็วยความภูมิใจที่ช่วยดูแลหลานตัวน้อยๆ กำลังเรียนอยู่อนุบาล ที่สำคัญคือดูแลทั้งเรื่องความเป็นอยู่ และเรื่องเงินทองส่งเสียเล่าเรียนด้วย ก็แจงออกมาว่า แต่ละเดือนต้องจ่ายเรื่องอะไรบ้าง ค่าใช้จ่ายทั่วๆไป ที่เล่าให้ฟังก็เป็นเรื่องธรรมดา แต่ที่สะกิดใจคือ ค่าเรียนพิเศษ จนคชต้องตั้งคำถามกลับไปว่า เด็กที่เรียนอนุบาลก็ต้องเรียนพิเศษหรือนี้ คำตอบคือ ถ้าไม่เรียนพิเศษ กลัวจะไปสมัครเรียนต่อชั้น ป. 1 ไมได้ เรื่องนี้ก็เลยคุยกันยาง ถึงการศึกษาในปัจจุบัน ที่มีประเด็นหลายเรื่องเข้ามา เช่น นโยบายเรียนฟรี แต่มีค่าใช้จ่ายมากมาย หนักกว่าสมัยก่อน การเรียนที่เน้นการเรียนพิเศษในโรงเรียนกวดวิชา มากกว่าให้ห้องเรียน ครูที่หันไปเอาดีทางสอนพิเศษกันเป็นจำนวนมาก แต่สุดท้ายก็มาสรุปกันว่า การศึกษาทุกวันนี้ มันเดินไปถูกทางหรือเปล่า และใครเป็นต้นเหตุให้การศึกษามันบิดเบี้ยวไปอย่างนี้ แล้วอนาคตต่อไปมันจะเป็นอย่างไร

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

e-Education เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน

แหล่งเรียนรู้บนโลกอินเทอร์เน็ต มีมากมาย และมากเสียจนไม่รู้ว่ามีอะไรบ้าง อยู่ที่ไหนบ้าง ถ้ามีระบบการจัดการความรู้ที่ดี ก็จะช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ได้มากขึ้น
  • เคยเขียนถึงเรื่อง e-Education เอาไว้แล้ว เพื่อรอการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับท่านผู้รู้ วันนี้ขอเขียนต่ออีกนิด ถึงประสบการณ์ที่ได้ทำมาเกี่ยวกับเรื่อง e-Learning พบว่าความยุ่งยากประการหนึ่งคือ การสร้างบทเรียน เพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนในระบบ e-Learning เพราะใช้เวลาในการสร้างมาก ถ้าเปรียบกับการเรียนการสอนในโรงเรียน ก็คงเหมือนกับครูผู้สอนที่ต้องสร้างตำราของตนเอง กว่าจะเขียนตำราได้แต่ละเล่ม ไม่ใช่ง่าย เมื่อเขียนมาแล้วก็ต้องคอยปรับปรุงให้ทันสมัย ดังนั้นจึงหันมาใช้ตำราที่มีขายในท้องตลาดสะดวกกว่า หรืออาจารย์ในมหาวิทยาลัย ก็ใช้วิธีให้นักศึกษาไปค้นคว้าจากเอกสารต่างๆเอาเอง
  • การศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็คงเช่นเดียวกัน มีบทเรียนที่ใช้เพื่อการเรียนรู้ในระบบ เป็นหลักเพียงชุดเดียวคงไม่พอ ควรเสนอแนะด้วยว่า ผู้เรียนควรไปศึกษาหาวามรู้เพิ่มเติมจากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งส่วนมากก็แนะนำแหล่งเรียนรู้ที่อยู่ในเว็บไซต์ต่างๆ เพราะง่ายต่อการค้นหา เพราะผู้เรียนใช้งานอินเทอร์เน็ตอยู่แล้ว
  • ถ้ามีเครื่องมือสักอย่าง ที่ช่วยให้ผู้เรียนค้นหาได้ง่ายขึ้น เช่นใช้ Google ช่วยค้นหา จะทำให้ผู้เรียนเข้าถึงเรื่องที่อยากรู้ได้ง่ายขึ้น แต่ก็พบว่า บางครั้ง ก็ได้แหล่งเรียนรู้มากมาย จนไม่รู้จะเข้าไปที่ไหน บางที่เข้าไปแล้ว ก็ไม่ตรงกับเรื่องที่ต้องการรู้
  • ถ้ามีห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ เฉพาะสำหรับการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ เป็นตัวช่วยผู้เรียนว่า เอกสารเสริมความรู้ในหลักสูตรต่างๆนั้นอยู่ที่ไหนบ้าง ก็จะช่วยผู้เรียนได้มาก ไม่ต้องเสียเวลามาก แนวคิดนี้น่าจะนำมาใช้ช่วยอำนวยความสะดวกได้มาก และไม่รู้ว่า จะเป็นส่วนหนึ่งของ e-Education ได้หรือไม่

e-Education

เทคโนโลยีก้าวหน้าไปเรื่อยๆ แต่การหยิบเอาเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์เป็นเรื่องที่ก้าวเดินตามไปอย่างช้าๆ ต้องรอปัจจัยหลายอย่าง จนมีคนเริ่มสงสัยกันว่า เทคโนโลยีมันดีจริงหรือไม่ ห่างหายไปนานมาก ไม่ได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แต่ก็ยังติดตามเรื่องราวทาง Gotoknow ประจำ แต่การเสนอแนวคิดต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็ยังทำอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่ย้ายไปหลายเวที เพื่อไปพบปะกับบุคคลมากหน้าหลายตา ในเวทีต่างๆ
  • ถึงคราวที่ต้องมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์งาน ICT ในเวที่นี้อีกครั้งหลังจากได้ประสบการณ์จากการทำงานด้านการศึกษาออนไลน์หลายประการ อดไมได้ที่จะนำมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อจะได้มีท่านที่สนใจให้ข้อเสนอแนะกันบ้าง
  • จัดการอบรมออนไลน์ หรือ ใช้คำว่า e-Training มากลายปี ได้รับการตอบรับค่อนข้างดี ว่า เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เป็นกระบวนการที่พัฒนาบนพื้นฐานที่เริ่มมีความเป็นไปได้มากขึ้น ทำให้ดีใจ ท่อย่างน้อยๆ ก็เป็นช่องทางหนึ่งของการเรียนรู้ สำหรับกลุ่มเป้าหมายกลุ่มหนึ่ง ที่มีความพร้อมในเรื่องนี้ จากผลการดำเนินงานแบบลุ่มๆดอนๆที่ผ่านมาโดยตลอด ทำให้ได้รับประสบการณ์จากทั้งประสบการณืจากความสำเร็จ และประสบการณ์จากความล้มเหลว จนเขียนเป็นรายงานได้มากมาย
  • งานการศึกษาผ่านอินเทอร์เน็ต กำลังก้าวจาก e-Learning ไปสู่การบริการที่กว้างขวางขึ้น คือ คำว่า e-Education ซึ่งพยายามค้นหาแนวคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้ ว่า มึความหมายหรือขอบเขตกว้างขวางแค่ไหน แต่ก็ยังมีผู้ที่กล่าวถึงเรื่องนี้ไม่มากนัก จากการค้นหาจาก Google ไม่เหมือนคำว่า e-Learning ที่มีผู้กล่างถึงอย่างกว้างขวาง ดังนั้นจึงคิดว่า จะทดลองทำตามความเข้าใจของเราก่อน และค่อยศึกษาเพิ่มเติมว่า คนอื่นคิดอย่างไร และทำอย่างไร
  • แนวคิดของ e-Education คือ เอาเทคโนโลยัสารสนเทศและการสื่อสาร เข้ามาใช้กับระบบการศึกษาทั้งระบบ ไม่ใช่เฉพาะเรื่องการเรียนการสอนเพียงอย่างเดียว เพียงแต่ต้องพิจารณาว่า จะนำมาใช้กับเรื่องใดได้บ้าง ซึ่งจะลองดำเนินการจากเรื่องเล็กๆ และขยายให้กว้างขึ้น และตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น พร้อมทั้งรอคอยแนวคิดและข้อเสนอแนะจากท่านอื่นๆ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนา

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ปัญหาซ้ำซาก สำหรับครูคอมพิวเตอร์

วันนี้เกิดปัญหาอีกแล้ว IO Error และเป็นปัญหาที่กระทบต่อการทำงาน เพราะพึ่งพาเทคโนโลยี เพราะข้อมูลทั้งหลายเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด แล้วอยู่ดีๆ ก็ไม่สามารถเข้าไปเปิดได้ ตั้งใจว่าจะ Backup ข้อมูล แต่ยังไม่ได้ทำ จะทำอย่างไรดี

เดินหน้าการศึกษาทางไกล

ขยับไปอีกก้าวของการศึกษาทางไกลในปีนี้ ที่จะพยายามลงให้ถึงนักศึกษากศน. ให้ได้ แต่ก็ไม่รู้ว่า จะได้แค่ไหน เพราะตัวเองสุขภาพก็เริ่มแย่มากขึ้น ตามอายุ

คำสั่งการปฏิบัติงานปีงบประมาณ 2554

ตามคำสั่งที่ 115/2553 ได้กำหนดบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของส่วนต่างๆ และงานต่างๆ ดังนี้ หัวหน้าส่วน มีหน้าที่ ประสานงานการทำงานเป็นทีม ร่วมวางแผน ปฏิบัติ ติดตาม พัฒนา และ รายงานการปฏิบัติงานของส่วน และตนเอง อย่างน้อยเดือนละครั้ง และเสนอสมุดบันทึกผลงานและคุณภาพงานความดีของข้าราชการครู รายงานภาคเรียนละ 1 ครั้ง และเป็นหัวหน้างาน (งานในส่วน 2 งาน) รองหัวหน้าส่วน มีหน้าที่ ช่วยหัวหน้าส่วนประสานงานการทำงานเป็นทีม ร่วมวางแผน ปฏิบัติ ติดตาม พัฒนา และ รายงานการปฏิบัติงานของส่วน และตนเอง อย่างน้อยเดือนละครั้งและเสนอสมุดบันทึกผลงานและคุณภาพงานความดีของข้าราชการครู รายงานภาคเรียนละ 1 ครั้ง และเป็นหัวหน้างาน (งานในส่วน 2 งาน) หัวหน้างาน มีหน้าที่ วางแผน ปฏิบัติ การทำงานเป็นทีม ติดตาม พัฒนาและรายงานการปฏิบัติงานอย่างน้อยเดือนละครั้ง สมุดบันทึกผลงานและคุณงามความดีของข้าราชการครู รายงานภาคเรียนละ 1 ครั้ง และเป็นหัวหน้างาน (งานในส่วน 2 งาน) ดังนั้นงานที่ รายงานการปฏิบัติงานของตนเอง อย่างน้อยเดือนละครั้ง รายงายผลงานและคุณงามความดี ในสมุดบันทึกผลงานและคุณงามความดีของข้าราชการครู ภาคเรียนละครั้ง รายงานผลการปฏิบัติงานของส่วน อย่างน้อยเดือนละครั้ง (หัวหน้าส่วนหรือรองหัวหน้าส่วน) ปฏิบัติงานที่รับผิดชอบในฐานะ หัวหน้างาน