หน้าเว็บ

วันพุธที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2553

การออกแบบการเรียนรู้ใน e-Learning

วันนี้มีการพูดถึง e-learning กันอย่างกว้างขวาง เพราะว่า รูปแบบ e-Learning ถูกกำหนดให้เป็นรูปแบบหนึ่งของวิธีเรียน กศน. ซึ่งวิธีเรียน กศน. นั้นอาจะเรียนรู้ได้ด้วย การพบกลุ่ม เรียนแบบชั้นเรียน เรียนแบบตนเอง หรือเรียนแบบทางไกล จึงมีการถามกันมากว่า วิธีเรียน กศน. แบบทางไกล หรือ e-Learning นั้น มีให้เรียนแล้วหรือยัง มีเรียนที่ไหน รูปแบบ e-Learning เป็นอย่างไร วิธีเรียนแบบ e-Learning ต่างกับวิธีเรียนแบบตนเองหรือไม่อย่างไร วันนี้เริ่มได้คำตอบมากขึ้น ว่า เราควรจะเริ่มตรงไหนกันดี
  • สิ่งที่ต้องเริ่มประการแรก คือ หยิบหลักสูตร ขึ้นมาดู ต่อจากนั้นไปดูที่รายละเอียดของสาระการเรียนรู้ ยกตัวอย่างในสาระทักษะการเรียนรู้ มาวิเคราะห์กันว่า เราจะต้องเปิดดูอะไรบ้าง
  • มาตรฐานการเรียนรู้
  • ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
  • การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
  • การวัดผลประเมินผล

ไปศึกษารายละเอียดในสิ่งเหล่านี้ โดยยังไม่ต้องไปสนใจเนื้อหาในแบบเรียน เพราะในหัวข้อเหล่านี้ จะบอว่า เราต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อะไรบ้าง และจะจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เขาอย่างไร และจะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามที่เราต้องการ

  • อ่านเบื้องต้นเท่านี้ ก็เริ่มที่จะมองเห็นการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ที่จะนำมาออกแบบใน e-Learning ได้บ้างแล้ว ต่อไป ก้เอาเรื่องปรัชญา คิดเป็นเข้ามาสอดแทรก เอาเรื่องจิตวิทยาการเรียนรู้ผู้ใหญ่เข้ามเสริม ก็จะช่วยให้ออกแบบการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น

Learning Model

วันนี้ เป็นวันที่มีการประชุมกันเรื่องการผลิตสื่อเพื่อการเรียนรู้ในระบบ e-Learning เพือเป็นรูปแบบหนึ่งของวิธีเรียน กศน. คือ วิธีเรียนทางไกล โดยกล่าวไว้ว่า "การเรียนรู้แบบทางไกล เป็นการจัดการเรียนรู้ ที่ผู้เรียนจะเรียนรู้จากสื่อต่างๆ โดยผู้เรียนและครูจะสื่อสารกันทางสื่ออิเล็คทรอนิคส์เป็นส่วนใหญ่ มุ่งเน้นไปที่การเรียนรู้แบบ e-learning" เทให้เริ่มมีคำถามเข้ามา 2 คำถามในใจ คือ
  • คำถามแรกสื่อที่จะสร้างควรมีรูปร่าง หน้าตา อย่างไร และมีกระบวนการทำอย่างไร
  • คำถามที่ 2 กระบวนการเรียนรู้ที่จะแทรกอยู่ในสื่อ ควรเป็นอย่างไร

ทั้งสองคำถามนี้ เป็นคำถามที่ยังค้างคาใจอยู่ทุกครั้งที่หยิบเอาเรื่องนี้มาทำการพัฒนา โดยเฉพาะวันนี้ คงต้องคิดกันมากนิดกนึ่ง กับคำถามที่ 2 เพราะได้มีโอกาสเข้าไปสัมผัสกับวิธีเรียนแบบ กศน. มาขึ้น เพราะตามหลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้พูดถึงวิธีเรียน ตามหลักสูตรนี้ว่า มีวิธีเรียนวิธีเดียว เรียกว่า วิธีเรียน กศน. แต่มีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น วิธีเรียนแบบพบกลุ่ม วิธีเรียนแบบตนเอง วิธีเรียนแบบชั้นเรียน และวิธีเรียนทางไกล ดังนั้น วิธีเรียนทางไกล จึงเป็นรูแบบหนึ่งของวิธีเรียน กศน. ซึ่งดูเหมือนว่า เป็นครั้งแรก ที่ได้มีการเขียนไว้ในหลักสูตร และอธิบายเฉพาะเจาะจงมาว่า เป็นวิธีเรียนผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

  • เริ่มแรกมาดูก่อนว่าวิธีเรียน หรือรูปแบบการเรียนการสอน หรืออะไรก็แล้วแต่ที่เกี่ยวกับเรื่องกระบวนการเรียนรู้ที่ได้กล่าวถึงในกิจกรรมการเรียนรู้ของ กศน. มีอะไรบ้าง แล้วน่าจะหยิบยกเข้ามาเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอน หรือกระบวนการเรียนรู้ทางไกล เพื่อนำมาเป็นช่องทางในการสร้างสื่อและกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบ e-Learning
  • "คิดเป็น" ถือว่าเป็นปรัชญาสำตัญของหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุททธศักราช 2551 ดังนั้น กระบวนการคิดเป็น จึงถูกหยิบยกเข้ามากล่าวถึงอย่างมากในกิจกรรมหรือกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสูตร 51 โดยทุกคนเข้าใจตรงกันว่า คิดเป็นนั้น เป็นกระบวนการที่จะต้องสอดแทรกเข้าไปในทุกสาระการเรียนรู้ตามหลักสูตรนี้ นั่นหมายความวา ผู้ที่ลงทะเบียนเรียนไม่ว่าจะสาระการเรียนรู้อะไร จะต้องนำเอากระบวนการคิดเป็นเข้ามาเป็นกระบวนการในการกำหนดวิธีการเรียนของสาระวิชานั้น ดังนั้น คิดเป็นจึงถือว่าเป็นกระบวนการ (Process) ที่สำคัญของวิธีเรียนแบบ กศน.
  • ONE Model เป็นอีกคำหนึ่งที่ถูกนำมากล่าวถึงในคู่มือการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่กล่าวถึงในคู่มือ ที่ครู กศน. จะต้องนำไปเป็น model ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน หรือกิจกรรมการพบกลุ่ม
  • CIPPA เป็นอีก Model หนึ่ง ที่มีกล่าวถึงบ้าง แต่ Model นี้ เป็น กระบวนการเรียนรู้ที่กล่าวถึงอย่างมากสำหรับการเรียนการสอนในระบบโรงเรียน

คำถามที่เกิดขึ้นในตอนนี้คือ ถ้าจะจัดการศึกษาทางไกลในรูปแบบ e-Learning จำเป็นที่จะต้องหยิบยกเอาเรื่องต่างๆ เหล่านี้เข้ามาเกี่ยวข้องหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการออกแบบสื่อ และออกแบบการเรียนรู้ที่ผ่านมานั้นควรจะปรับปรุงหรือพัฒนาตรงส่วนใดบ้าง เพื่อให้สอดคล้องกับ ปรัชญาคิดเป็น ซึ่งเป็นเรื่องหลักของงานครั้งนี้

วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

I Google เพิ่มความสะดวกผู้ใช้ blog

ข้อเขียนเรื่องนี้ เป็นข้อเขียนที่ทดสอบเขียนผ่าน i google โดยไม่ต้องมาเปิดเขียนใน blogspot ซึ่งสามารถทำได้โดยสะดวกมาก เพราะทุกวันนี้ ส่วนมาเราจะเปิด google เพื่อค้นหาข้อมูลกันเป็นประจำ ดั่งนั้นแทนที่จะเปิด google แบบทั่วๆ ไป ก็ทำให้เป็น igoogle คือ google ของเราเอง ต่อจากนั้น ก็เปิดชองของ blog spot ไว้ที่หน้า google เมื่อเราต้องการบันทึกอะไร ก็บันทึกที่ google กันได้เลย
  • นอกจาก การบันทึก blog แล้ว สิ่งที่ต้องของนำมากล่าวถึงอีกอย่างของ google ที่พัฒนามาไม่นานมานี้ คือการแปลภาษา เช่น เมื่อเราเขียนบทความเป็นภาษาไทย ถ้าต้องการแปลเป็นภาษาอังกฤษ ก็เพียงคลิกที่ปุ่ม Translate เท่านั้น บทความของเราก็จะกลายเป็นภาษาอังกฤษ ถึงแม้ว่า เจ้าของภาษามาอ่านจะงงเหมือนที่เราแปลอังกฤษ มาเป็นไทย ก็ยังดีที่พอจับใจความได้ว่า เขาเขียนเรื่องอะไร

การพัฒนาเว็บไซต์ห้องสมุดประชาชน

ในวันที่ 5 มีนาคม 2553 สำนักงาน กศน. โดย สพร. ได้เชิญผู้แทนจากสถาบัน กศน. ภาค ทั้ง 5 ภาค มาร่วมวางแผนการดำเนินงานโครงการพัฒนาบุคลากรห้องสมุดประชาชนเพื่อใช้โปรแกรมระบบบริการงานห้องสมุด (PLS v.5) ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 6 สำนักงาน กศน. ซึ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้มอบหมายให้ นายศรีเชาวน์ วิหคโต เป็นตัวแทนเข้าร่วมประชุม โดยมีวัตถุประสงค์ของการประชุม เพื่อวางแผน และประสานแผนการดำเนินการอบรมบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชนอำเภอ จำนวน 852 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งข้อสรุปจากการประชุม สรุปได้ดังนี้ สรุปผลการประชุม
  1. หลักสูตรที่ใช้ในการอบรม คือ หลักสูตรการสร้าง website ห้องสมุดประชาชน และหลักสูตรการใช้โปรแกรมระบบบริการงานห้องสมุด (PLS v.5) ซึ่งทั้งสองหลักสูตรจะดำเนินการอบรมพร้อมกัน
  2. เป้าหมายในการบอรม คือ ห้องสมุดประชาชนทุกแห่ง ต้องมี website เผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ต และต้องใช้โปรแกรมระบบบริการห้องสมุดใช้งานในแต่ละห้องสมุด โดยดำเนินการให้เกิดผลดังกล่าวภายในเดือน พฤษภาคม 2553
  3. ลักษณะของเว็บไซต์ของห้องสมุด ดำเนินการสร้างได้ตามความเหมาะสม และความพร้อมของแต่ละจังหวัด โดยมีแนวทางดังนี้ 3.1 สร้างเอง ด้วยการเขียนภาษา HTML แล้วเผยแพร่ที่ เว็บไซต์ ของสถาบัน กศน. จังหวัด 3.2 เว็บสำเร็จรูป โดยติดตั้งที่ Server ของสำนักงาน กศน. จังหวัด 3.3 ในกรณีที่ server ของ สำนักงาน กศน. จังหวัด ไม่สามารถเผยแพร่ website ได้ให้ใช้เว็บไซต์ ที่ให้บริการฟรีบนอินเทอร์เน็ต เช่น blog spot หรือ word press 3.4 เผยแพร่ เว็บไซต์ จาก Server ของ สพร. (ดำเนินการภายหลังจากที่มีการดำเนินการติดตั้งระบบเสร็จแล้ว ซึ่งจะไม่ทันตามเป้าหมายที่กำหนด จึงต้องใช้วิธีการตามข้อ 3.1-3.3 ก่อน) แต่ละภาคจะดำเนินการอย่างไรให้พิจารณาตามความเหมาะสมและความพร้อม
  4. องค์ประกอบของเว็บไซต์ ควรมีเนื้อหาดังต่อไปนี้ 4.1 แนะนำห้องสมุด เช่น ประวัติห้องสมุด บุคลากร ที่ตั้ง (มีแผนที่ประกอบ) วันที่เปิดบริการ การสมัครสมาชิก วิสัยทัศน์ 4.2 กิจกรรมห้องสมุด เช่น กิจกรรมที่จัดในวันสำคัญต่างๆ ห้องสมุดเคลื่อนที่ นิทรรศการ เป็นต้น 4.3 กิจกรรมส่งเสริมการอ่านและส่งเสริมการเรียนรู้ (มีภาพกิจกรรม) ข้อมูลท้องถิ่น เช่น องค์ความรู้ประเภทต่าง ๆ สถานที่สำคัญ ประเพณี วัฒนธรรม การแข่งขัน(กีฬาแห่งชาติ ที่จัดในจังหวัดของตนเอง) 4.4 ประชาสัมพันธ์ (ข่าว) 4.5 Link (การเชื่อมโยง) ไปยังแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ เว็บไซต์ของห้องสมุดจะต้อง ทันสมัย ถูกต้อง ออกแบบสวยงาม แสดงผลรวดเร็ว มีการเชื่อมโยง
  5. การอบรมการใช้โปรแกรมระบบบริการงานห้องสมุด อาจจะไม่ต้องอบรมทุกแห่ง เพราะ มีห้องสมุดหลายแห่งใช้งานอยู่แล้ว จึงควรดำเนินการอบรมตามสภาพของแต่ละภาค โดยอาจารย์ฐิติ บุญยศ ผู้พัฒนาโปรแกรมได้มอบต้นฉบับโปรแกรมที่พัฒนาล่าสุดให้ ให้กับผู้แทนแต่ละภาค นำไปใช้ในการอบรม
  6. กระบวนการอบรมต้องพิจารณาว่า จะดำเนินการอบรมอย่างไร เพราะจำนวนห้องสมุดประชาชน ที่จะต้องใช้โปรแกรมนี้ มีเป็นจำนวนมาก ดังนั้น แนวทางสำหรับภาคที่มีจำนวนห้องสมุดมาก อาจจะต้องอบรมหลายรุ่น หรือ มีการอบรมหลายขั้นตอน และใช้การอบรมออนไลน์ เข้ามาช่วย โดยจะมีการหารือรายละเอียดอีกครั้งในการประชุมร่วมกันที่สถาบัน กศน. ภาคกลาง ในวันที่ 10-12 มีนาคม 2553
  7. แผนการอบรม แต่ละภาคได้กำหนดช่วงในการอบรมโดยคร่าวๆ มีดังนี้ • ภาคเหนือ 31 มี.ค.- 2 เม.ย.(เจ้าหน้าที่ห้องสมุด+ online) • ภาคกลาง 22-24 มี.ค./ • ภาคใต้ 22-24 มี.ค./ 29-31 มี.ค • ภาคตะวันออก 21-23 เม.ย. /26-28 เม.ย.(ไม่มีนานมี) • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 22-24 มี.ค.(เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ)/ 19-21 เม.ย.(เจ้าหน้าที่ห้องสมุด+ online)
  8. การอบรมของแต่ละภาค ควรมีอย่างน้อย 1 ครั้ง ที่เชิญผู้รับผิดชอบงานห้องสมุดประชาชนของสำนักงาน กศน. จังหวัดมาร่วมประชุมด้วย เพื่อให้ ผู้แทนจาก สพร. ชี้แจงแนวทางปฏิบัติตามเกณฑ์พัฒนาห้องสมุดประชาชน
  9. เนื่องจากบริษัท นามมีบุ๊คส์ มีความประสงค์ที่จะช่วยเสริมความรู้เรื่อง “เทคนิคการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านอย่างมืออาชีพ” ถ้าภาคใดต้องการ จะต้องเพิ่มการอบรมอีก 1 วัน และแจ้งให้ สพร. ทราบ โดยบริษัทจะออกค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าวิทยากร และเอกสารประกอบการอบรม

แนวทางการดำเนินงานต่อเนื่องในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  1. เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด โดยมีจำนวนห้องสมุดประชาชน มากว่า 300 แห่ง แต่มีจุดเด่นในเรื่องการเผยแพร่เว็บไซต์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพราะสำนักงาน กศน.จังหวัดส่วนมาก สามารถใช้ server เพื่อเผยแพร่ website ได้ ดังนั้น แนวทางการพัฒนาบุคลากรตามโครงการพัฒนาบุคลากรห้องสมุดประชาชนเพื่อใช้โปรแกรมระบบบริการงานห้องสมุด (PLS v.5) จึงมีแนวทางดังนี้
  • 1 การพัฒนาเว็บไซต์ห้องสมุดประชาชน มีแนวทางดังนี้ 1.1 สำรวจข้อมูลว่ามีห้องสมุดใดบ้าง ที่ยังไม่มี เว็บไซต์ของห้องสมุด(มีการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นแล้ว โดย สพร.) 1.2 กำหนดรูปแบบเว็บไซต์ที่ใช้สำหรับห้องสมุดประชาชน คือ จะใช้ เว็บไซต์สำเร็จรูป ซึ่งส่วนมากในปัจจุบัน มีการใช้ 2 รูปแบบ คือ web template และ Maxsite หรือรูปแบบที่จังหวัดนั้นๆ ใช้อยู่ในปัจจุบัน 1.3 การอบรมจะแบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือช่วงแรกเป็นการอบรมผู้ดูและระบบคอมพิวเตอร์ และผู้รับผิดชอบงานห้องสมุด ของ สำนักงาน กศน. จังหวัด ทั้ง 19 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อเตรียมความพร้อมของ server ในการติดตั้ง เว็บไซต์ ห้องสมุดประชาชน และวางแผนในการพัฒนาห้องสมุดประชาชน ตามแนวทางที่กำหนด ช่วงที่ 2 อบรมบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน ในการสร้าง เว็บไซต์ และ การใช้โปรแกรมระบบบริการงานห้องสมุด ซึ่งการอบรมในช่วงที่ 2 นี้อาจจะแบ่งการอบรมออกเป็นหลายรุ่น และนำเอารูปแบบการอบรมทางไกลมาเสริม
  • 2 การอบรมการใช้โปรแกรมระบบบริการห้องสมุด มีแนวทางการดำเนินการดังนี้ 2.1 กำหนดรายละเอียด และประสานแนวทางการอบรม พร้อมทั้งจัดทำหลักสูตรการอบรม ที สถาบัน กศน. ภาคกลาง ระหว่าง วันที่ 10-12 มีนาคม 2553 2.2 จัดทำสื่อประกอบการอบรม และสื่อ ออนไลน์ ในระบบ e-Training และจัดหาอุปกรณ์ประกอบการอบรม เช่น กล้อง digital เครื่องอ่านบาร์โค้ต Laser Printer 2.3 เตรียมความพร้อมวิทยากร โดยพิจารณาจจากบรรณารักษ์ทีมีประสบการณ์ในการใช้โปรแกรม 2.4 เปิดการอบรม ผ่านระบบ e-Training 2.5 เปิดการอบรมแบบชั้นเรียน สำหรับผู้ที่ผ่านการอบรมระบบ e-Training 2.6 ติดตามผลการอบรม

วันพุธที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2553

แหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย

เป็นคนที่ไม่ค่อยมีเวลาดู TV เท่าไร ดังนั้น ต้องเลือกรายการที่อยากดูจริงๆ ดังนั้น รายการ TV ที่ดูส่วนมากจึงเป็นรายการข่าว จาก Free TV คือช่อง 3 5 7 9 11 เป็นต้น ก็ได้ดูข่าวจึใจ แต่มาระยะนี้ เกิดความรู้สึกว่า ไม่อยากดูรายการข่าว ตามช่องต่างๆ ด้วยเหตุผล 3 ประการคือ
  1. รายการข่าวแต่ละช่อง ซ้ำๆกัน และซ้ำซาก จากแหล่งข่าวเพียงไม่กี่แหล่ง แต่เนื่องจากรายการข่าวมีเวลามาก จึงต้องขยายเนื้อหาข่าว และเพิ่มรายละเอียด ทำให้รู้สึกว่า เสียเวลาในการดูข่าวมาก เปิดช่องไหนๆ ก็ข่าวเดียวกัน
  2. จากการที่ต้องขยายข่าวต่างๆ ดังนั้น มีมีความคิดเห็นของผู้อ่านข่าวเข้าไปด้วย เหมือนกับเป็นการเพิ่มเติมนอกเหนือจากแหล่งข่าว หรือไม่เช่นนั้นก็เสนอเนื้อหาไม่หมด หรือที่เรียกว่า พูดความจริงครึ่งเดียว โดยเฉพาะตอนนี้เป็นช่วงที่บ้านเมืองไม่ปกติ รายการข่าวจึงแปลเปลี่ยนเป็นรายการประชาสัมพันธ์ข้อมูลของฝ่ายต่างๆ โดยบอกว่า เป็นการนำเสนอข้อเท็จจริงของผู้ที่ต้องการประชาสัมพันธ์ข่าว การดู Free TV จึงทำให้ได้ข้อเท็จจริงไม่หมด ไม่รอบด้าน มีปนกันทั้งข้อเท็จ ข้อจริง ถึงแม้ว่า จะไม่ได้เป็นดังที่กล่าวมาทั้งหมด แต่ก็หารายการข่าวดีๆ ไม่ค่อยได้
  3. นักข่าวและผู้ประกาศข่าวคุยข่าว มีอิทธิพลต่อการชักนำความคิดผู้ดูมากขึ้น สร้างความชอบให้กับใครก็ได้ที่ต้องการ สร้างความเกลียดให้กับใครก็ได้ที่ต้องการ ทำให้การบริโภคข่าว มีผลต่อการตัดสินใจในการรับรู้อย่างมาก

ด้วยความรู้สึกส่วนตัวดังกล่าวจึงต้องตัดสินใจไปหาซื้อจานรับสัญญาณดาวเทียมมาติดตั้งที่บ้าน เพื่อจะได้ดูรายการมากขึ้น ตามที่ต้องการ ไม่ถูกบังคับให้ดูรายการที่ไม่ต้องการดู ได้ดูข่าวรอบด้านมากขึ้น โดยเฉพาะข่าวการเมือง เพื่อได้เรียนรู้ว่า ในปรากฏการณ์เดียวกัน มีคำอธิบายของแต่ละฝ่ายอย่างไร ได้ดูรายการรประเภทนี้มาระยะหนึ่ง ทำให้รู้สึกดีต่อรายการ TV ในปัจจุบัน ความรู้สึกที่เบื่อรายการข่าวในช่วงที่ผ่านมา กลับมาชอบรายการข่าวอีกครั้ง เพราะได้มีโอกาสกลับมาใช้ความคิดของตัวเองอีกครั้ง เพราะข่าวเดี่ยวกัน ได้ฟังคำวิจารณ์ ความคิดเห็นของคนอ่านข่าวทั้งสองด้าน ทำให้เรามีข้อมูลมากขึ้น หรือบางอย่าง ทำให้เข้าใจแจ่มแจ้งมากขึ้น เพราะเอาข้อมูลทั้งบวกแฃะลบของแต่ละฝ่ายมาติดต่อกัน ได้รู้ข่าวประเภทครึ่งเดียวมากขึ้น ว่า ที่เขามาพูดความจริงครางเดียวนั้น อีกครึ่งหนึ่งเป็นอะไร เพราะอีกฝ่ายหนึ่งก็จะเอาครึ่งที่ไม่ได้พูดมานำเสนอ

ในวิชาชีพครูทำให้เกิดความคิดว่า การเสนอความรู้ผ่านราขการข่าวในปัจจุบัน สร้างคนดู ให้คิด วิเคราะห์ มากขึ้น นั่นคือ ประชาชนได้เรียนรู้ และฉลาดมากขึ้น รายการข่าว จึงเป็นแหล่งเรียนรู้อีกแหล่งหนึ่งที่สำคัญมาก ที่สามารถนำมาใช้เรียนรู้ตามหลัก คิดเป็น ของ กศน. อย่างมาก แต่มีข้อแม้นิดเดียว ว่า ทำอย่างไรจะให้มีการรับรู้เรื่องราวต่างๆ อย่างรอบด้าน คือให้ข้อมูลกับประชาชนให้มากที่สุด รอบด้านที่สุด เพราะให้เขาได้คิด และ วิเคราห์อย่างถูกต้อง