หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ประเมินเทียบระดับ

การประเมินเทียบระดับการศึกษา อาจจะเรียกว่าเหล้าเก่าในขวดใหม่ เพราะถ้าย้อนอดีตไปประมาณสัก 30 กว่าปีมาแล้ว มีเหตุการณ์ที่อยู่ในความทรงจำตลอดตอนนั้นเรียนอยู่มัธยมศึกษาตอนปลายมีเพื่อนหลายคนไปสอบเทียบ สมัยนั้นเราจะเรียกกันว่า สอบตุลา ที่จำได้เพราะเราเกิดเดือนกันยายน อายุไม่ถึง ขาดไป 1 เดือนจึงไปสอบไม่ได้ มีเพื่อนคนหนึ่งไปสอบแล้วสอบได้ เขาก็สบายใจ เพราะถือว่าจบ ม.ศ. 5 แล้ว ไม่ต้องกังวลกับการสอบไล่ ไปเตรียมอ่านหนังสือเพื่อสอบเอนทรานซ์ได้สบาย อ่านหนังสือเฉพาะวิชาที่จะไปสอบ ส่วนคนท่สอบไม่ได้หรือไม่มีสิทธิ์สอบก็ต้องไปสอบไล่ ซึ่งสมัยก่อนถ้าสอบไม่ผ่านก็ต้องเรียนซ้ำชั้น
  • ในสมัยนั้นไม่รู้จักว่าสอบเทียบคืออะไร และใครรับผิดชอบ รู้แต่ว่าเป็นการสอบที่สามารถสอบโดยไม่ต้องเรียนหนังสือเหมือนเด็กในโรงเรียน แต่ภายหลังเมื่อมาทำงานกองการศึกษาผู้ใหญ่ จึงได้รู้จัก เพราะเป็นงานในหน้าที่ของกองการศึกษาผู้ใหญ่ และวิธีการสอบเทียบก็เปลี่ยนแปลงรูปแบบมาหลายรูปแบบ เช่นเรียกว่า ศบน. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนสำหรับบุคคลภายนอก หรือต่อมาก็เรียนว่า การเรียนแบบตนเอง (กศน.มี 3 รูปแบบ คือ ชั้นเรียน ทางไกล และตนเอง)
  • เมื่อวันที่ 11-13 ธันวาคม ได้มีโอกาสออกไปนิเทศสนามสอบ ซึ่งใช้ทดสอบเพ่อประเมินเทียบระดับ ของจังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำพูและหนองคาย ซึ่งเป็นการทดสอบเพื่อประเมินเทียบระดับ เป็นการนำเอาความรู้และประสบการณ์ที่มีเพื่อมาประเมินเพื่อขอจบการศึกษาในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยจะต้องสอบข้อสอบเพื่อทดสอบตามมาตรฐานต่างๆ 6 ด้าน (หรือพูดสั้นๆ คือ มาสอบให้ผ่าน 6 วิชา) ต่อจากนั้น ก็ต้อไปสอบสัมภาษณ์ โดยมีคณะกรรมการเพื่อประเมินว่าควรเทียบระดับการศึกษาตามที่ขอหรือไม่ แต่ก็มีเงือนไขเบี้องต้นว่า คนที่มาขอเทียบระดับการศึกษา จะต้องประกอบอาชีพแล้ว
  • จะเห็นว่า ในช่วงเวลา 30 ปีที่ผ่านมา กระบวนการเทียระดับการศึกษาของไทยมีการดำเนินการ และพัฒนาการมาโดยตลอด เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบและวิธีการมาตลอดเวลาเพื่อให้เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับขอสังคม
  • จาการนิเทศสนามสอบเพื่อประเมินเทียบระดับครั้งนี้ ได้แนวความคิดอะรหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการในการเทียบระดับการศึกษา ซึ่งจะมีคำถามในใจตลอดเวลาว่า กระบวนการที่ทำอยู้นี้ เป็นกระบวนการที่เราสามารถเทียบความรู้ความสามารถของแต่ละคนได้จริงหรือไม่ และระดับที่เทียบนั้น (ประถม ม.ต้น ม.ปลาย) ตรงกับความสามารถของเขาเพียงใด เพราะดู้เหมือนเกณฑ์ที่สำคัญจะมี 3 ประการหลักๆ คือ มีอาชีพ สอบข้อเขียนผ่าน และสอบสัมภาษณ์ผ่าน

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

มีเรื่องมากมาย แต่ไม่มีเวลา

ในช่วงเดือน พฤศจิกายน ต่อต้นเดือนธันวาคม มีเรื่องมากมายที่อยากจะบันทึกไว้ แต่ไม่มีเวลา วันนี้จึงบันทึกแต่หัวข้อไว้ก่อน เพื่อตามมาลงรายละเอียดทีหลัง
  1. การปรับปรุงระบบ CMS
  2. การอบรมครู ศรช. ในพื้นที่นำร่องจังหวัดอุบลราชธานี และ มหาสารคาม
  3. วันเฉลิมพระชนมพรรษา
  4. Tutor Chanel