หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553

ห้องสมุดออนไลน์

เมื่อวันที่ 21-23 เมษายน 2553 ได้มีการประชุมผู้รับผิดชอบงานห้องสมุดประชาชนทั่วภาคอีสาน เพื่อวางแผนการพัฒนาห้องสมุดประชาชน เรื่องหนึ่งที่มีการหยิบยกขึ้นมาหารือกัน คือเรื่อง การเปิดเว็บไซต์ห้องสมุดประชาชนเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์งานห้องสมุดประชาชน ให้เป็นที่รู้จักกันในโลกไซเบอร์ แต่ประเด็นที่น่าสนใจหลายประเด็น
  • การศึกษาตามอัธยาศัย กับงานห้องสมุดประชาชน สอดรับกันในเชิงของบทบาทหน้าที่ แต่ยังไม่ค่อยสอดรับกันเท่าไรกับการปฏิบัติงาน เพราะดูเหมือนว่า ถ้าพูดถึงตัวห้องสุด เราอาจจะมองว่า นั่นคือ กิจรรมหลักของการศึกษาตามอัธยาศัย เพราะห้องสมุด เป็นสถานที่ที่ใครอยากเข้าไปเรียนรู้เรื่องอะไรก็ได้ อย่างไรก็ได้ ตามที่ต้องการ หรือเรยกว่า รียนรู้ได้ตามอัธยาศัย แต่ก็ยังมีช่องส่างเล็กๆ อยู่อีก ที่ต้องถามว่า ความจริงแล้ว มีทุกอย่างใก้ได้เรียนรู้ตามอัธยาศัยหรือไม่ เพราะเริ่มถามตัวเองว่า เราอยากเข้าห้องสมุดไหม คำตอบก็คือไม่ ถามต่อไปว่า เพราะอะไร ก็จะมีเหตุผลมากมาย เช่น กว่าจะเดินทางไปถึง เดินทางก็ไม่สะดวก หาที่จอดรถยาก ไม่รวมกับที่เมื่อเขาไปแล้ว ไม่ได้สิ่งที่ต้องการ ดังนั้น อยากรู้อะไร ก็เปิดหาเอาจากอินเทอร์เน็ตดีกว่า(เพราะที่บ้าน ที่ทำงานมีอินเทอร์เน็ตใช้อย่างสะดวก)
  • ถ้าต้องการให้คนเข้าไปใช้ห้องสมุด จะทำอย่างไร ก็ต้องถามว่า ห้องสมุดมีความจำเป็นสำหรับเขามากน้อยเพียงใด เพราะส่วนมากก็จะบอกว่า ไม่เข้าห้องสมุดก็ไม่อดตาย แต่ถ้าไม่ไปทำไร่ไถนา อดตายแน่ ถ้าเขาว่าอย่าวงนี้จะทำอย่างไร ไม่ใช่ว่า ต้องบังคับให้เข้าห้องสมุด ไม่ให้ไปทำไร่ไถนา แต่ต้องทำให้ห้องสมุดเกี่ยวข้องกับการทำไร่ไถนาให้ได้ ให้เขาเห็นว่า ถ้าเข้าห้องสมุดแล้ว จะทำไร่ไถนาได้ดีขึ้น หรือถ้าเขาบอกว่า เข้าห้องสมุดก็ไม่เห็นได้สิ่งที่ต้องการ ก็ต้องพยายามปรับ ให้เกิดความรู้สึกว่า มีสิ่งที่ทุกท่านต้องการอยบู่ในห้องสมุด คิดง่าย แต่ตอบยาก
  • ถ้าบอกว่า ห้องสมุดอยู่ไกล ใช้อินเทอร์เน็ตดีกว่า ก็คงจะต้องทำห้องสมุดให้เข้าไปอยู่ในอินเทอร์เน็ตที่เขาจะเปิดดูได้จากที่บ้าน

วันอาทิตย์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2553

จะเชื่อใคร

บทความนี้เขียนขึ้นหลังจากเหตุการณ์เมษาเลือดเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2553 ซึ่งมีคนไทยเสียชีวิต 25 คน และบาดเจ็บมากกว่า 800 คน จากเหตุการณ์ ทหารสลายการชุมนุมของคนเสื้อแดง ที่สี่แยกคอกวัว สิ่งที่อยากแสดงความคิดเห็นตอนนี้ในฐานะของคนที่อาศัยช่องทางอินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางในการแสวงหาความรู้ เป็นช่องทางการเรียนรู้เกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของข้อเท็จจริงบนอินเทอร์เน็ต
  • ที่ผ่านมา เมื่อค้นหาความรู้อินเทอร์เน็ตแต่ละครั้ง เมื่อได้ข้อมูลก็เชื่อโดยบริสุทธิใจว่า เรื่องราวทั้งหลายบอนอินเทอร์เน็ตเป็นข้อเท็จจริง เป็นความจริง จนกระทั่งนำไปอ้างอิง เป็นบรรณานุกรม และเชิญชวนเพื่อนฝูง คนรู้จัก ให้ใช้อินเอร์เน็ตเป็นข่องทางหาความรู้
  • ตอนนี้ ต้องเริ่มคิดใหม่อีกครั้งว่า การใช้ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ต้องมีความระมัดระวังมากขึ้น เพราะเริ่มพบว่าข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตนั้น ต้องใช้ความระมัดระวังในการบริโภคมากขึ้น เพราะเริ่มมีการใช้ข้อมูลมาเพื่อวัตถุประสงค์อื่นมากขึ้น โดยเฉพาะวัตถุประสงค์ เพื่อการโฆษณาชวนเชื่อ จนบางครั้งคิดว่า ระหว่างการหาข้อมูลแล้วต้องมาวิเคราะห์หลายชั้น กับการเลิกใช้ข้อมูลจากกอนเทอร์เน็ตไปเลย อย่างไหนจะดีกว่ากัน
  • ในฐานะที่เป็นครู ซึ่งได้เคยแนะนำลูกศิษย์ ให้ใช้ช่องทางนี้ เพื่อการหาข้อมูล เรื่องต้องมีเงื่อนไขในการแสวงหาความรู้มากขึ้น