หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

Usability & Learning Ability

เคยให้ความรู้บุคลากรเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาเป็นเวลายาวนานพอสมควร รวมทั้งสองวันนี้ด้วย ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่อง อินเตอร์เน็ต คือ การเรียนการสอนในระบบ e-Training สิ่งที่ได้สังเกตมานานแล้ว ในพฤติกรรมของผู้เรียนแต่ละคน ถ้าจะจำแนกตามพฤติกรรมที่เห็นอาจจะแยกเป็น 3 กลุ่มคือ
  • กลุ่มที่ 1 นั่งเรียน และปฏิบัติไปตามที่วิทยากรบอก บอกแค่ไหนก็ทำแค่นั้น เรียนจบแล้ว ก็อยู่แค่ที่ได้ในห้องเรียน วันต่อมา ก็มาเริ่มต่อจากเมื่อวาน และรอให้วิทยากรบอกว่า จะต้องทำอย่างไรบ้าง
  • กลุ่มที่ 2 ทำไปโดยไม่ค่อยสนใจวิทยากรเทาไร ลองกดโน่น คลิกนี้ไปเรื่อง ในที่สุดกลับไม่ถูก ตามวิทยากรไม่ทัน ต้องมาทบทวนให้ใหม่ แล้วก็เหมือนเดิม วันหลังๆ เริ่มท้อถอย เพราะตามไม่ทัน
  • กลุ่มที่ 3 ทำตามวิทยากร และมากว่าวิทยากร มีการศึกษาค้นคว้า ทบทวนเพิ่มเติม ในสิ่งใหม่ๆ สิ่งที่วิทยากรไม่ได้แนะนำ

ทั้งสามกลุ่มดังกล่าวเป็นการอบรมในชั้นเรียน เรียนโดยมีวิทยากร เป็นผู้แนะนำ แต่ถ้าเป็นการเรียน Online ต้องเรียนผ่านทาง website ก็เริ่มสังเกตเช่นกัน ว่าบางคนเปิดเข้าไปใน website แล้วไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไป ทั้งๆ ที่มีคำแนะนำ มีสิ่งที่ให้เรียนรู้มากมาย แต่ไม่รู้ว่าอยู่ตรงไหน ขณะที่บางคนสามารถทะลุทะลวงเข้าไปศึกษาเรียนรู้ เปิดมาอ่านได้หมด

สิ่งที่กล่าวมานี้ ขึ้นอยู่กับ 2 เรื่อง คือ Usability & Learning Ability คือ ความสามารถในการใช้หรือความสามารถของผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ ขึ้นอยู่กับ สองส่วน คือ ส่วนผู้ใช้งาน และผู้สร้าง web

  • ผู้ใช้งานบางคน ความสามารถในการใช้น้อย เพราะไม่ค่อยมีประสบการณืไม่รู้จะทำอย่างไร และความสามารถในการแสวงหาวิธีการ มีน้อยด้วย เช่น บางคนสามารถ search เรื่องที่ต้องการรู้ได้อย่างรวดเร็ว ขณะที่บางคนหาเท่าไรก็ไม่พบ ขึ้นอยู้กับความสามารถในการกำหนดคำที่จะค้นหา
  • ผู้สร้าง web สร้างอย่างไร ให้เหมาะสม กับควาสามารถของผู้ใช้ บางครั้ง มีแต่ปุ่ม sign in sign Up คนที่ไม่เคยใช้ก็ไม่รู้ว่า มันคืออะไร เมื่อไรจะ sign in เมื่อไรจะ sign up ดังนั้นจะต้องมีคำอธิบายประกอบ

ส่วนเรื่อง Learning Ability ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่จำเป็นมาก โดยเฉพาะเรื่อการเรียนการสอน Online เพราะ การท่จะเรียนรู้ได้ดี คงต้องสีความสอดครั้งกันทั้งผู้เรียน และผู้จัดการเรียนการสอน โดยสื่อ เพื่อการเรียนรู้ ทำอย่างไรสอดคล้องกับความสามารถในการเรียนรู้

วันจันทร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ฝึกการเป็นครู ทาง อินเตอร์เน็ต

  • โลกเรามีการเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก การศึกษาก็ต้องเปลี่ยนตาม โดยเฉพาะเรื่อง การศึกษาออนไลน์ หรือการเรียนการสอนผ่านทางอินเตอร์เน็ต ที่เรามักจะเรียกกันว่า e-Learning ตอนนี้ ที่หน่วยงาน กำลังพัฒนาและทดลองที่จะนำเอาวิธีการเรียน e-Learning มาใช้ แต่กระบวนการ จะเริ่มจากาการฝึกประสบการณ์ให้กับครูก่อน ว่า e-Learning เป็นอย่างไร โดยให้ครูมานั่งเรียน ผ่านทางอินเตอร์เน็ต เพื่อจะได้มีประสบการณ์การเป็นนักเรียน เสียก่อน แล้วจึงค่อยฝึกประสบการณ์การเป็นครู ทางอินเตอร์เน็ต
  • ความแตกต่างที่ชัดเจนมาก ระหว่างรครู Online กับครูแบบชั้นเรียน คือ การไม่ได้เห็นหน้าเห็นตาผู้เรียน และไม่สามารถตอบโต้กันได้ทันทีระหว่างผู้เรียนกับครู ดังนั้น สื่อการเรียนรู้ จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมาก ในการจัดการเรียนการสอน สื่อต้องเป็นสื่อช่วยสอนด้วย ที่เราเรียนว่า Instructional Media คือสื่อไม่ใช้มีแต่ตัวเนื้อหาอย่างเดียว ต้องมีกระบวนการเรียนรู้ด้วย คือในตัวสื่อต้องบอกว่า ให้ผู้เรียนทำอะไรบ้าง
  • สิ่งที่สำคัฯ คือ จะต้องมีทักษะในการใช้ INTERNET เพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนการสอน เช่น การติดต่อสือ่อสารเป็นต้น คิดๆดูแล้ว ไม่ง่ายเลย แต่ก็ไม่ยาก สำหรับครูที่มีความพยายาม และใจสู้

วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สินค้าของ กศน. คืออะไร

เคยตั้งคำถามนี้เอาไว้ครั้งหนึ่งแล้ว ว่าถ้าพูดถึง กศน. คนทั่วไปเขานึกถึงอะไร และความเป็นจริงแล้ว กศน. ต้องการขายสินค้าอะไร
  • เมื่อกล่าวถึง กศน. บางคนอาจจะไม่รู้จัก หรือบางคนอาจจะบอกว่า อ๋อ การศึกษาผู้ใหญ่ หรือบางคนอาจจะบอกว่า เรียนลัด กศน. เรียนแป๊บเดียวก็จบ หรือางคนก็นึกถึง การส่งเสริมอาชีพ ถ้าย้อนไปสัก 20 ปี ก็คงนึกถึงการรณรงค์ ให้คนไทยอ่านออกเขียนได้
  • มีคำถามว่า ในปัจจุบัน ปี 2552 นี้ เมื่อกล่าวถึง กศน. อย่างให้นึกถึงอะไร หรืออะไร คือสสินค้าที่แท้จริงของ กศน. ถ้าไปมองที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน ตั้งแต่ประถม ถึงมัธยม ก็คงไม่ใช่ เพราะ สพฐ เขาเป็นพระเอก เป็นเจ้าของเรื่อง เป็นผู้รับผิดชอบ ของเราเก็บตก ทำไปแล้ว ก็มีเสียงเข้ามาว่า ไม่ประทับใจเท่าไร ถ้ามองที่อาชีพ ก็คงไม่ใช่พระเอก เพราะถ้าเป็นพระเอก โครงการต้นกล้าอาชีพ เขาคงมอบให้ กศน.
  • จากการไปสัมมนาที่อยุธยา จึงได้ข้อสรุปว่า สินค้าของเราที่ไม่เหมือนคนอื่น และคนอื่นทำไม่ได้ คือ การจัดกระบวนการเรียนรู้ การติดอาวุธทางกระบวนการคิดให้กับชาวบ้าน ให้กับชุมชน มีโครงการดีๆ มากมาย ที่เราทำแล้วประสบความสำเร็จ ลองไปตามดูนะครับ ว่าสินค้าที่แท้จริงของเราที่ว่านี้เป็นอย่างไร อย่ามัวหลงอยู่กับสินค้าที่เขาฝากขายครับ

วันศุกร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

อีก 50 ปี เครื่องแต่งกายมนุษย์ จะเป็นอย่างไร

  • ช่วงนี้ข่าวที่กล่าวถึงกันมาก คือไข้หวัดใหญ่สายพันธ์ใหม่ H1N1 หรือไข้หวัดใหญ่เม็กซิโก หรือไข้หวัดหมู สิ่งที่เห็นคือ ประเทศที่ระบาด ประชาชน จะต้องมีผ้าปิดปากปิดจมูก
  • เมื่อสัก 50 ปีที่แล้ว ถ้าเห็นคนไปไหนมาไหม แล้วมีอะไรดรอบหัวมิดชิดถึงคอ คงเป็นเรื่องแปลก เพราะเคยเห็นแต่มมนุษย์อวกาศทำอย่างนั้น แต่ปัจจุบันเป็นเรื่องปกติ และกฏหมายบังคับด้วยว่า ถ้าขี่รถจักรยานยนต์ ต้องสวมหมวกกันน็อค และถือเป็นเรื่องปกติไม่แปลกประหลาดอะไร ดังนั้น ถ้าในอนาคต ชุดที่สวมใส่ จะต้องมีอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งครอบที่ปาก และจมูก แล้วมีสายพ่วงไปต่อกับอุปกรณ์อะไรสักอย่างหนึ่ง ก็คงจะไม่เป็นเรื่องแปลกอะไร เพราะต่อไป อาจจะต้องปิดทวารทั้ง 9 เมื่อออกไปยังที่สาธารณะ เพราะป้องกันตัวเองจากเชื่อโรคทั้งหมย

เทคโนโลยีก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้ง

  • วันนี้เปิดใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อตรวจสอบ Mail ตามปกติ บังเอิญเปิดไปพบการโฆษณาโทรศัพท์มือถือ ที่เริ่มมี Keyboard ติดตามด้วย ขยายหน้าจอใหญ่ขึ้น มีระบบปฏิบัติการของตัวเอง เพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้งานอินเตอร์เน็ต และยังมี option ของโทรศัพทืสมัยนี้ทุกประการเช่น ถ่านรูปที่ความคมชัดมาก ถ่าย Video ได้ และมีอีกรุ่นหนึ่ง สามารถฉาย Projector ได้ สรุปว่า การพัฒนาคงจะเป็นไปตามที่เคยกล่าวถึงเมื่อ 5 ปี ที่แล้ว คือ เครื่อคอมพิวเตอร์จะเล็กกว่าฝ่ามือ ไม่มีจอ เพราะจะใช้ฉายแสง แล้วหาจออะไรมารับก็ได้
  • สิ่งที่สนใจคือ จะนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคน ในเรื่องการศึกษาได้อย่างไร เพราะปัจจุบันจะใช้เพื่อการสื่อสารและความบันเทิงเป็นหลัก ในเมื่อปัจจุบัน อินเตอร์เน็ตเข้ามามีอิทธิพลอย่างมาก เช่นเดียวกับ โทรศัพท์ที่มีกันเกือบทุกคนแล้ว (หมายถึงนักเรียน) ถ้าเอาสองอย่างมาบวกกัน ก็เท่ากับว่า นักเรียนมีเครื่องมือสำคัญอยู่ในมือแล้ว ขาดแต่เพียงว่า เมื่อไรจะใช้เครื่องมือให้เป็นประโยชน์ นั้นคือ มีเรื่องราวที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ผ่านเข้าไปในระบบจนถึงมือถือ เพราะทุกวันนี้ มีผ่านเข้าไปแต่คลิปที่ไม่ค่อยสร้างสรรค เพลง และเกมส์ เป็นส่วนใหญ่
  • เรื่องต่างๆเหล่านี้ นักการศึกษาอาจจะต้องชำเลืองมองบ้าง เพราะเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมาก และพัฒนาไปเร็ว

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วันสถาปนา ศ.อ.ศ.อ.

วันนี้เมื่อ พ.ศ. 2497 เป็นวันสถา ศ.อ.ศ.อ. ดังนั้นววันนี้ ที่สถาบัน กศน. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงจัดงานรำลึกถึงการก่อตั้ง ศ.อ.ศ.อ. ซึ่งได้ผ่านร้อนผ่านหนาว มาเป็นปีที่ 55 ผู้มาร่วมงานวันนี้ มีทั้งผู้ที่เคยทำงานมาตั้งแต่ยุดต้นๆ ที่เริ่มก่อตั้ง จนถึงยุคปัจจุบัน ซึ่งเปลี่ยนชื่อมาแล้ว 4 ชื่อ แต่สิ่งที่ยังคงอยู่ก็คืออดีตที่ยิ่งใหญ่ของสถานที่แห่งนี้ ซึ่งถือว่า เป็นจุดเริ่มต้น ของ ดรมดารพัฒนาชุมชน เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาผู้ใหญ่ และเป็นหน่วยงานที่เกิดขึ้นก่อนกรมการศึกษานอกโรงเรียน แต่ยังไม่รู้ว่า จะจบลงอย่างไร

อุปสรรคการบริหารงานแบบโครงการ

ได้รับแจ้งว่า ปีนี้ห้ามจัดการอบรม ประชุม สัมมนา หลังเดือนมิถุนายน ดังนั้นก็เท่ากับว่า โครงการที่ต้องมีการประชุม อบรม ต้องทำให้เสร็จภายใน้ดือนมิถุนายน แต่ก็ตั้งคำถามเหมือนกันว่า ทำไมก่อนหน้านี้ไม่ทำงาน พอครึ่งหลังของปี จึงมาเริ่มทำงาน จึงลองมาทบทวนงานดู
  • เดือนกันยายน-กุมภาพันธ์ งบประมาณยังไม่โอนมา ทำอะไรก็ไม่ได้
  • เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ถูกเกณฑ์ไปทำข้อสอบ เพาะทุกคนต้องช่วยกัน
  • เดือนเมษายน ปิดยาว จัดประชุมช่วงนี้ไม่ได้
  • พฤษภาคม-มิถุนายน เดือนแห่งการทำงาน
  • กรกฎาคม- สิงหาคม เก็บตก งานที่ไม่ใช่การประชุม
  • กันยายน งบประมาณหมดแล้ว

งานบางอย่าง สามารถทำได้อย่างอิสระ แต่งานที่ทำ จะต้องไปกำหนดแนวทางร่วมกันก่อนว่า ปีนี้จะดำเนินการเรื่องอะไร เพราะเป็นงบประมาณที่นับมาจากกองต่างๆ ของส่วนกลาง เมื่อไปประชุมกำหนดแนวทางแล้ว จึงกลับมาดำเนินการ

แนวคิดเรื่อง การศึกษาทางไกล

เมื่อวาน (13 พ.ค.) ได้เข้าร่วมประชุมกับผู้บริหารหน่วยงาน กศน. อีสาน 27 หน่วยงาน มีประเด็นหนึ่งในที่ประชุมทีได้คิดตาม คือเรื่องการอบรมทางไกล เพราะได้นำเอาเรื่องนี้เข้าไปแจ้งในที่ประชุม ประเด็นที่คิดก็คือ ในช่วงเดียกันนี้ ได้เชิญครู ศรช.เข้ามาประชุมประมาณ 100 คน เพื่อมารับทราบเรื่องราวต่างๆ ทั้งสองเรื่องนี้ประสานความคิดกันเข้ามาว่า ทำอย่างไร จึงจะมีวิธีการที่ทำให้ครู กศน. ได้เรียนรู และรับทราบเรื่องราวต่างๆ อย่างกว้างขวาง และรวดเร็ว ด้วยวิธีการที่ประหยัด ก็คงไม่พ้นเรื่องการอบรมทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ถึงแม้ว่า การบอรมด้วยวิธีการนี้ จะขาดบางอย่างไปจากการอบรมแบบชั้นเรียน เช่น การได้พบปะ เห็นหน้าเห็นตากัน แต่ก็สามารถทำได้อย่างกว้างขวาง รวดเร็ว แลแล้วะถ้าจังหวัดนำไปดำเนินการเอง ก็จะยิ่งเกิดประโยชน์อย่างมาก โครงการที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบัน คือ e-Training ถึงแม้จะเข้าเป็นปีที่ 3 แล้ว แต่ก็ยังมีเรื่องที่ต้องปรับปรุงอีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งขั้นตอนการผลิตสื่อ Online ดูเหมือนว่า ค่อนข้างจะยุ่งยากพอสมควร อีกเรื่องหนึ่งที่คือ เรื่องฐานข้อมูลผู้เข้าอบรมม ถ้าการอบรมทั้ง e-Training และ ชั้นเรียน มีการนำเอาข้อมูลมาบันทึกไว้ ต่อไปก็จะสามารถรู้ได้ทันทีว่า ใคร เคยเข้ารับการอบรมเรื่องอะไรมาแล้วบ้าง

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

e-Training ปีที่ 3

เปิด Blog หัวข้อนี้เพื่อจะบันทึกประสบการการจัด e-Training ปีที่ 3 ว่าทำอะไร อย่างไร ได้ประสบการณ์อะไรบ้าง เพื่อเพื่อเก็บเป็นบันทึกความรู้ที่ไม่ลืม

การศึกษาที่ผิดเพี้ยนไปหรือเปล่า

  • การศึกษาที่ผิดเพี้ยน มีเรื่องสะกิดใจบางประการเกี่ยวกับการศึกษา จนต้องหยิบเอามาเขียนบันทึกไว้ เพื่อเป็นคำถามว่า มันผิดเพี้ยนไปหรือไม่ หรือว่าเรากลายเป็นครูที่ล้าสมัยไปแล้ว
  • เรื่องที่จะเล่านี้ เกิดขึ้นกับคนใกล้ชิด คือลูกตัวเอง เล่าโดยสรุปคือ เมื่อปีที่แล้วลงทะเบียนเรียนวิชา Calculus 2 ปรากฏว่าไปไม่ไหว ต้อง Drop กลางคัน หลังจากที่ Calculus เอาตัวแทบไม่รอด ทำให้วิชานี้เป็นวิชาที่สร้างความหวาดผวาเวลาสอบ และก็มาถึง Sumer นี้ ไม่ได้ปิดเทอม เพราะต้องไปเรียน ไม่เช่นนั้น จะไม่จบ เพราะจะไม่สามารถเรียน Calculus 3 ได้ ก็เลยลงทะเบียนเรียนบนความเครียด (เพราะถ้าติด F หมายถึงอาจจะถูก Retry)
  • เมื่อลูกเครียด พ่อก็ไม่สบายใจ ไปเยี่ยมลูกที่หอพัก ก็พยายามช่วยกันหาทางออก โดยข้อเสนอแนะนอกจากเทคนิดวิธีการดูหนังสือ และอื่นๆ แล้ว ก็สรุปว่า ต้องเรียนพิเศษ ถึงแม้ว่าจะต้องเสียเงินมากกว่าเงินที่ลงทะเบียนเรียนเสียอีก
  • เมื่อเวลาผ่านไปจนถึงสอบ Midterm ปรากฏว่าผลการสอบ คะแนนออกมาดีมาก ได้สูงที่สุดในห้อง ความเครียดต่างๆ ก็ไม่มี เพราะเรียนเข้าใจ (ทั้งๆ ที่ไม่ค่อยได้เรียน แต่ไปเรียนที่เรียนพิเศษมากกว่า)
  • วิเคราะปัญหาที่ผ่านมาก็พบว่า การเรียนในห้องเรียนไม่เข้าใจ กลับมาทบทวนก็ไม่เข้าใจ พอเรียนเรื่องใหม่ ก็สะสมต่อไปอีก แต่ตอนนี้เรียนในห้องไม่เข้าใจ ก็ไปทำความเข้าใจในที่เรียนพิเศษ พอเรียนเรื่องต่อไป ก็พอรู้บ้าง ไม่รู้บ้าง ที่ไม่รู้ก็มาทบทวนในการเรียนพิเศษ ไม่สะสมเอาไว้ พอเข้าใจก็สนุกที่จะทบทวน ทำแบบฝึกหัด และมีกำลังใจไม่ท้อแท้ เล่ามาแค่นี้ ก็ไม่เห็นแปลก เพราะทุกวันนี้ ก็เป็นอย่างนี้อยู่แล้ว ไม่ว่าที่ไหน เรียนพิเศษกันตั้งแต่อนุบาล แต่ที่ฉุกคิดถึงระบบการศึกษาปัจจุบัน ครูสอนแล้วประเมินผลด้วยการออกข้อสอบ เด็กทำข้อสอบไม่ได้ ครูสอนในโรงเรียนเด็กไปสอบเรียนต่อไม่ได้ แต่ไปเรียนพิเศษ สามารถสอบได้ เข้าใจ ถ้าอย่างนั้นมีโรงเรียนไว้ทำไม ตั้งโรงเรียนสอนพิเศษ ไว้ให้มากๆ แล้วไปเลือกเรียนเอา แล้วตั้งสำนักงานทดสอบเอาไว้ ใครพร้อมก็มาสอบ ประหยัดงบประมาณจ้างครู งบประมาณบริหารโรงเรียนปีๆหนึงมหาศาล (งบกระทรวงศึกษาสูงที่สุดในบรรดากระทรวงต่างๆ)
  • ต้องตอบให้ได้ว่า การเรียนในโรงเรียน กํบไปเรียนพิเศษ ต่างกันอย่างไร ที่แน่ๆ ที่คนทั่วไปคิดว่า คือ ถ้าไม่เรียนพิเศษ สอบไม่ได้ ก็ต้องถามว่า ครูสอนอย่างไร เด็กจึงสอบไม่ได้ จ่ายค่าเรียนพิเศษ สูงกว่า ค่าเทอม หลายเท่า หรือว่า การวัดผลไม่ตรงกับสิ่งที่ครูสสอน
  • เมื่อคิดประเด็นนี้ ก็เลยคิดว่า การศึกษาของเราเพี้ยนไปหรือเปล่า เด็กไปโรงเรียนเพื่อเอาเวลาเรียนให้ครบ 80 เปอร์เซ็นต์ แต่ไปโรงเรียนพิเศษ เพื่อเอาความรู้ไปสอบ แล้วการศึกษาปัจจุบันมันคืออะไร
  • ความคิดก็เลยเตลิดต่อไปถึงเรื่องคุณภาพทางการศึกษา ความเป็นธรรมทางการศึกษา ที่ต้องทำความเข้าใจกันมมาก ว่าคุณภาพของการศึกษาจะดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยอะไรบ้าง ทำไมบางคนเสียเงินเท่าไรก็ไม่ว่า ขอให้ลูกหลานได้เข้าโรงเรียนนี้ บางคนอยู่ไกลแสนไกล แต่ดั้นด้นมาเรียนที่เตรียมอุดมที่ กทม. ก็แสดงว่า น่าจะมีอะไรต่างกันระหว่างโรงเรียนใกล้บ้านกับโรงเรียนนี้ ครูบางคนยังไม่เอาลูกเข้าโรงเรียนที่ตนเองสอน ทั้งนี้เพราะการเรียนไม่ใช่เพื่อรู้เพียงอย่างเดียว แต่มันหมายถึงชีวิตทั้งชีวิต ครูบางคน โรงเรียนบางโรงเรียนทำให้เด็กพลาดโอกาสบางอย่างในชีวิตไป เพียงเพราะเขาเลือกโรงเรียนผิด หรือเลือกลงทะเบียนเรียนกับครูผิดคน ทำให้เขาพลาดโอกาสในอนาคตไปเลย
  • สิ่งเหล่านี้มันสะท้อนเข้ามาในความคิดของเราที่เป็นครูคนหนึ่ง ว่าก่อนที่จะไปรับผิดชอบสอนใครสักคนหนึ่งนั้น เราได้คิดหรือไม่ว่า อนาคตบางอย่างของคนที่มาเรียนอยู่ที่การสอนของเราด้วย
  • การที่เด็กไม่ได้เรื่องบางครั้งไม่ใช่เพราะเด็กโง่ แต่ครูสอนไม่เป็นต่างหากตัวบ่งชี้ที่ชัดเจนคือ เมื่อไปเรียนพิเศษแล้วเขารู้เรื่อง เขาเข้าใจ แสดงว่าครูสอนพิเศษ เขามีวิธีการสอนที่ดีกว่า หรือเรียกว่า สอนเป็น