หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

กระบวนการเรียนรู้ ของนักศึกษา กศน.

ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้บริหาร กศน. ท่านหนึ่ง ได้ประเด็นที่น่าสนใจกลับมาคิดต่อมากมาย
  • ประเด็นแรก ได้ไปพบครู และนักศึกษา กศน. ที่กำลังทดสอบปลายภาคเรียน ก็เลยลองถามว่า มีปัญหาอะไรไหม ก็พบว่า ปัญหาการทดสอบเดิมๆ น้อยมาก แต่ก็มีปัญหาใหม่เกิดขึ้นมาแทน จะขอยกปัญหาเดิม และปัญหาใหม่ มาอยางละ 1 ปัญหา
  • ปัญหาเดิม ได้รับทราบว่า นักศึกษษจะบ่นว่า ข้อสอบยาก และวิชาที่ติดอันดับยากคือ ภาษาอังกฤษ กับคณิตศาสตร์ เรื่องนี้ ได้ถูกหยิบยกมาคุยกับท่าน ผอ. ท่านนี้ คำตอบของท่านน่าสนใจมาก ท่านก็บอกว่า ใช่ มันยากแน่ๆ เพราะเรื่องทีสอบ มันไม่ใช่วิถีชีวิตของนักศึกษา วิชาที่เรียนมันก็ไม่ได้เชื่อมโยงกับชีวิตประจำวัน และที่สำคัญก็ยังแยกเป็นวิชาๆ อีก เช่น ไปเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ วิชาคณิตศาสต์ วิชาวิจัยอย่างง่าย วิชาคิดเป็น โดยอ่าน ท่อง จากตำราเรียน ใครจะอ่าน จะท่องได้หมด เพราะเป็นเรื่องไกลตัว พอมาสอบก็ทำไม่ได้ (ยังไม่รวมกลุ่มที่ไม่ค่อยได้อ่านตำรา) แต่พอเป็นวิชาสังคม นักศึกษาบอกว่า ไม่ยาก เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัว
  • ท่าน ผอ. ท่านนี้ก็บอกว่า เราทำไมไม่เอาเรื่องใกล้ตัวมาใส่ไว้ในวิชาที่เรียน แล้วให้แต่ละวิชาต่างๆ สัมพันธ์กัน เช่น ก่อนจะเรียนวิชาอะไร ก็ดูรอบๆตัวก่อน แล้วไปดูรอบบ้าน รอบหมู่บ้าน แล้วหยิบเอาสิ่งเหล่านั้น มาเป็นเรื่องที่จะเรียน แล้วค่อยไปเปิดหลักสูตร ว่า มีอะไรที่เกี่ยวข้องหรือกำหนดไว่ในมาตรฐานการเรียนรู้ แล้วจึงกำหนดมาเป็นเนื้อหาที่จะเรียน คณิตศาสตร์ที่ยากก็จะกลายเป็นเรื่องง่าย เพราะเป็นครอตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน
  • ปัญหาใหม่ คือ วิชาที่สอบมีมากมาย จนนักศึกษาเองก็ยังจำไม่ได้เลยว่ามีวิชาอะไรบ้าง (วิชาเลือก) เพาะเป็ยวิชาที่แปลกๆ จึงมีคำถามว่า แล้วใครเป็นคนคิดวิชาเหล่านี้ คำตอบที่น่าสนใจ คือ ไปหยิบเอามาจากหลักสูตรที่มีอยู้แล้วมาใช้ก่อน แล้วกำหนดให้เหมือนๆกัน เพราะสะดวกในการดำเนินการในเรื่องต่างๆ สรุปก็คือ คำนึ่งถึงความสะดวกเป็นเบื้อต้นก่อน

แล้วจะทำอย่างไรกันดี กับ การศึกษาขั้นพื้นฐานของ กศน. เพราะคนคิดไม่ได้ทำ คนทำไม่ค่อยได้คิด คนทำก็คือ ครู ศรช. ครู อาสา ครูประจำกลุ่ม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น