หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ความเป็นตัวตนของหน่วยงาน

เป็นคำถามที่น่าสนใจเหมือนกันว่า เรารู้จักตัวเองแค่ไหน เรารู้จักหน่วยงานของเราแค่ไหน ความเป็นตัวตนของหน่วยงานเรามันคืออะไร เพราะถ้าเราไม่รู้จักตัวตนของเรา ก็อาจจะทำให้กำหนดทิศทางที่จะให้หน่วยงานเดินไปไม่ถูกต้องได้เหมือนกัน
  • ตัวตนของหน่วยงาน คืออะไร และตัวตนของหน่วยงานเราเป็นอย่างไร คงไม่ได้มองที่ตัวอาคาร มองที่คน หรือบทาทหน้าที่เพียงอย่างเดียว แต่คงมองหลายๆอย่างพร้อมๆกัน และเมื่อพบตัวตนของเราแล้ว ก็คงจะพบว่า ตัวตนของเรานั้น มีจุดเด่นตรงไหน จุดอ่อนตรงไหน ทำอย่างไร จึงจะเสริมสร้างความเป็นตัวตนของเราให้โดดเด่น เป็นที่รู้จักของคนอื่นๆ พร้อมทั้ง เอาสิ่งที่โดดเด่นนั้น มาเป็นทิศทางในการพัฒนางาน
  • ดูเหมือนว่า ความคิดในการมองตัวตยของตยเองก่อนนั้น เป็นเรื่องที่น่าจนใจ เพาะที่ผ่านมานั้น บางครั้ง คงมีคำถามในใจเหมือนกันว่า เราทำงานเพื่อใคร เพราะมีแต่งานที่เขาให้มาทำ โดยที่เราไม่ค่อยได้คิดเอง ทำงานไปตามที่เขากำหนด พอถึงต้นปีจึงต้องคอย เพราะเขายังไม่ได้สั่งให้ทำ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเราไม่ได้ร่วมกันกำหนดว่า เราจะทำอะไรเพื่อตัวเราเอง และบางที่เราก็ไม่สามารถกำหนดได้ เพราะเราไม่เป็นตัวของตัวเอง
  • แนวคิดที่บอกว่า ต่อไปนี้ เราต้องมองที่ตัวเองก่อน ว่า เรากำลังจะทำอะไร อย่างไร ก็เป็นแนวทางที่น่าจะปรับเปลี่ยน เอาตัวเองเป็นตัวตั้ง โดยมองที่ตัวตนของเรา มองที่บทบาทของเรา มองที่ความสามารถที่โดดเด่นของเรา มองที่กลุ่มเป้าหมายของเรา แล้วกำหนดว่าเราจะทำอะไร ส่วนสิ่งที่มีคนสั่งให้ทำนั้น ถ้าเรามีเป้าหมาย แทศทางของเราชัดเจนแล้ว ก็อาจจะปรับให้มาเข้าทิศทางของเราได

ขอต้อนรับ ผู้อำนวยการสถาบัน คนใหม่

เป็นครั้งแรกของเรา ที่มีผู้อำนวยการอายุน้อยกว่า และดูเหมือนว่า ตลอดเวลาที่ทำงานอยู่ที่หน่วยงานแห่งนี้ จะมีผู้อำนวยการที่คงจะไม่เกษียณอายุราชการ ณ หน่วยงานนี้ เพราะผู้อำนวยการท่านนี้อายุยังน้อย
  • เมื่อวาน (26 ตุลาคม 2552) เป็นวันแรกของการเข้ามารับตำแหน่งของท่านผู้อำนวยการ ซึ่งคณะเราทุกคน ได้ร่วมกันต้อนรับอย่างเป็นทางการ แล้วก็เป็นกระบวนการตามปกติ ที่เป็นการพบปะกันระหว่างข้าราชการทุกคน กับผู้บริหารคนใหม่ ซึ่งบรรยากาศ ก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เป็นบรรยากาศแบบเบาๆ ไม่ตึงเครียด แต่ก็ดูเหมือนว่า มีความจริงจัง เพราะการเรียนต้น ก็เริ่มด้วยคำถามที่นำไปสู่การเริ่มต้นการทำงานทันที โดยเริ่มจากคำถามว่า แต่ละคนต้องการทำอะไร ต้องการให้เปลี่ยนแปลงอะไร และ ต้องการบอกอะไรกับผู้อำนวยการ จาก 3 คำถามดังกล่าว ก็สามารถนำมากำหนดทิศทางการดำเนินงาน ตามความคิดของผู้ปฏิบัติงาน เมื่อบวกกับความต้องการของผู้บริหาร และนโยบายระดับเหนือขึ้นไป ก็ถือว่า นำไปกำหนดทิศทางที่จะเดินไปได้ทันที
  • สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับการดำเนินงานในทุกวันนี้ คือ ความไม่ชัดเจนในการทำงาน ที่เห็นชัดเจนก็คือ เริ่มต้นปีงบประมาณแล้ว แต่ยังไม่รู้เลยว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ดังนั้น ถ้าผู้บริหารมีการกำหนดทิศทางได้เร็วเท่าไร งานก็เดินได้เร็วเท่านั้น ถึงแม้บางเรื่องจะต้องรอส่วนกลางในการอนุมัติงบประมาณ แต่หลายเรื่องก็ทำได้โดยไม่ต้องใช้งบประมาณ

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

อาจารย์กระรอก

ที่ต้องบันทึกเรื่องนี้ ทั้งที่อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่อง IT โดยตรง แต่ก็เกี่ยวข้องกับบุคคลในแวดวง IT และเพื่อเป็นการระลึกถึงผู้ร่วมงาน ที่เป็นทั้งเพื่อร่วมงาน เพื่อร่วมวงการ IT และเป็นน้องที่รักของพี่ๆ ทุกคน คืออาจารย์กระรอก หรืออาจารย์คนึงนิตย์ ที่จากไปโดยไม่มีวันกลับ เหลือไว้แต่ความทรงจำอันดีๆ ที่มีในใจของเพื่อร่วมงาน เพื่อนร่วมวงการ
  • เมื่อวาน (วันอาทิตย์) ได้รับโทรศัพท์จากอาจารย์สุวัฒน์ แจ้งข่าวว่า อาจารย์กระรอกเสียชีวิตแล้ว และจาพระราชทางเพลิงศพ ในวันพฤหัสนี้ ที่จังหวัดระยอง เป็นข่าวที่ช็อคความรู้สึกอย่างมาก เพราะไม่คิดว่า จะได้ยินข่าวเกี่ยวกับอาจารย์กระรอกแบบนี้ เพราะไม่คิดว่า คนอายุยังน้อย จะจากไปเร็วแบบนี้ และไม่ได้ข่าวว่าเจ็บป่วยอะไรหนักมาก่อน รู้แต่ว่าเป็นภูมิแพ้ ก็เป็นเรื่องที่อาจารย์กระรอกเองก็พูดคุยเรื่องนี้อย่างเป็นเรื่องสนุก ไม่จริงจังอะไร และเป็นที่รู้กันว่า เมื่อเวลาไปประชุม อาจรย์กระรอกมักจะเอาของทะเลไปฝาก พี่ๆ และเพื่นฝูง โดยที่ตัวเองกินของทะเลไมได้ โดยเฉพาะตัวเราเอง ที่ชอบกินน้ำพริกกะปิ อาจารย์กระรอกก็จะเอากะปิอย่างดี ของระยองไปฝากประจำ
  • ความสูญเสียบุคลากรที่มีคุณค่าต่อวงการการศึกษานอกโรงเรียนโดยเฉพาะในเรื่อง IT ในครั้งนี้ คณะพวกเราชาว IT รีบเผยแพร่ข่าวบอกกันไปทั่วประเทศทันที ทุกคยที่อยู่ในแวดวงนี้ ได้รับโทรศัพท์สอบถามกันว่า รู้เรื่องหรือยัง ทั้งรับและบอกต่อกันไปเรื่อยๆ ในหมู่คนที่รู้จัก จนได้รับแจ้งเรื่องนี้ไม่รู้กี่ครั้ง และตัวเองก็โทรบอกคนที่อยู่ในวงการนี้ด้วย ทำให้ข่าวแพร่ไปอย่างรวดเร็ว
  • ขอแสดงความเสียใจ กับครอบครัวของอาจารย์กระรอก และขอไว้อาลัยให้กับ เพื่อน/น้อง ที่เป็นที่รักของทุกคน ไว่ ณ ที่นี้ กับการจากไปตลอดกาลโดยไม่มีวันกลับ เหลือไว้แต่ความทรงจำที่ดี สำหรับพวกเราทุกคน

ได้มีโอกาสไปร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพ อาจารย์คนึงนิตย์ แซ่อั้ง หรืออาจารย์กระรอก เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2552 ณ วัดลุ่ม จังหวัดระยอง โดยมีเลขาธิการสำนักงาน กศน. มาเป็นประธานในพิธีพระราชทางเพลิงศพ โดยมรข้าราชการ กศน. ทั้งที่ระยอง จากส่วนกลาง และจากจังหวัดต่างๆ รวมทั้งสภาบัน กศน. ภาคต่างๆ มาร่วมงานอย่างมากมาย ได้ความคิดดีๆ ที่เป็นสัจธรรมมากมาย จากการ่วมพิธีครั้งนี้

  • อาจารย์กระรอก อายุยังไม่มาก เพียง 41 ปี รับราชการได้ไม่นาน (เริ่มรับราชการปี 35) ตำแหน่งทางการบริหารก็ไม่มี เป็นข้าราชการครูธรรมดา เพิ่งจะได้เป็นครูชำนาญการพิเศษ หรือเมื่อก่อนก็เรียกว่าซี 8 เมื่อปีที่แล้ว แต่ทำไมมีคนรักและนึกถึงมากมาย ทั้งในพ้นที่ ส่วนภูมิภาคต่างๆ และส่วนกลาง มาจากทุกสารทิศ แสดงว่า ต้องมีอะไรดีในตัวแน่นอน
  • คนเราเกิดมาก็เท่านี้ ไม่สามารถเอาอะไรไปได้ ต้องทิ้งไว้ทั้งหมด รวมทั้งความดี ความชั่วที่กระทำไว้ด้วย ก็ทิ้งไว้เบื้องหลัง สะท้อนให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ได้คิด ว่าสุดท้ายก็ไม่เหลืออะไร จะทะเลาะกันไปทำไม รบราฆ่าฟันกันทำไม โกงกินกันไปทำไม อิจฉาริษยากันทำไม่ เพราะสุดท้ายก็ไม่เหลืออะไร มีแต่สิ่งดีหรือเลวไว้ให้คนพูดถึงภายหลัง

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ห้องสมุด 3 ดี

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวแถลงข่าวการจัดงานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 7 ว่า เยาวชนไทยกำลังอ่านหนังสือลดลง จากเดิมอ่านหนังสือเฉลี่ยวันละ 69.1 นาทีในปี 2550 ลดเหลือ 66.3 นาทีในปี 2551 เพราะนำเวลาไปใช้ในกิจกรรมอื่นๆ มากกว่า เช่น ดูโทรทัศน์ ส่งผลให้เด็กขาดจินตนาการซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเกิดความคิดสร้างสรรค์ ขณะที่ประชาชนก็อ่านหนังสือน้อยลง จากเคยอ่านเฉลี่ยวันละ 51 นาทีในปี 2548 ลดเหลือ 39 นาทีในปี 2551 ทั้งนี้ ทุกฝ่ายต้องช่วยกันรณรงค์ส่งเสริมการอ่าน
  • รมว.ศึกษาธิการกล่าวอีกว่า มีนโยบายให้โรงเรียนประถมและโรงเรียนมัธยมทั่วประเทศ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ปรับปรุงห้องสมุดในสถานศึกษาครั้งใหญ่ในปีการศึกษานี้ ในโครงการ ”ห้องสมุด 3 ดี“ ได้แก่ ห้องสมุดที่มีหนังสือดี บรรยากาศดีส่งเสริมการอ่าน และสุดท้ายต้องมีบรรณารักษ์ดี
  • นายจุรินทร์กล่าวต่อไปว่า การจัดทำห้องสมุด 3 ดีในสถานศึกษาไม่เน้นก่อสร้างอาคาร แต่เน้นจัดหาหนังสือดีมาให้นักเรียนอ่าน งบประมาณส่วนใหญ่จะทุ่มไปกับการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด อาจใช้อาคารที่มีอยู่แล้วมาปรับปรุงให้มีบรรยากาศเหมาะกับการอ่านหนังสือ จึงไม่จำเป็นต้องใช้งบมาก เบื้องต้นอาจใช้งบแค่หลักแสนสำหรับจัดสร้างห้องสมุด 3ดีในแต่ละสถานศึกษา
  • "ระยะยาว อาจตั้งกรรมการขึ้นมาคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด 3 ดี ประกาศรายชื่อหนังสือที่ควรจัดซื้อเข้าห้องสมุดเป็นรายปี เพื่อให้นักเรียนได้อ่านหนังสือดีจริงๆ ไม่ใช่ห้องสมุดซื้อหนังสือตามที่มีบริษัทมาเสนอขาย อาจขอความอนุเคราะห์ให้สำนักพิมพ์ลดราคาหนังสือที่จัดซื้อเข้าห้องสมุดโรงรียนด้วย รวมทั้งจูงใจให้เอกชนมาช่วยอุปถัมภ์ห้องสมุดโรงเรียนแต่ละแห่งด้วย" รมว.ศึกษาธิการกล่าว
  • นางริสรวล อร่ามเจริญ นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า งานเทศกาลหนังสือเด็กฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “หนังสือ คือ จักรวาลแห่งความรู้“ ในวันที่ 8-12 กรกฎาคมนี้ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีร้านหนังสือกว่า 400 บูธ โซนกิจกรรมและนิทรรศการต่างๆ รวมทั้งโครงการทอฝันปันหนังสือให้น้องโดยคัดเยาวชนด้อยโอกาส 300 คนมาเลือกซื้อหนังสือเอง

วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552

รายจ่ายของคนไทย

เมื่อเช้าดูรายการ TV ได้ข้อมูลที่น่าสนใจ โดยพบว่า โดยเฉลี่ยคนไทยมีรายได้ครอบครัวละประมาณ 21,000 บาท เศษ (จำตัวเลขที่ละเอียดไมได้) ต่อครอบครัว โดยคิดเฉลี่ยครอบครัวละ 4 คน ขณะที่มีรายจ่ายประมาณ 16,000 บาท (แสดงว่า ยังมีเงินเหลือ ) และเมื่อมาดูรายจ่าย ใน 16,000 บาท ว่า จ่ายเป็นค่าอะไรบ้าง
  • ค่าอาหาร ประมาณ 33 %
  • ที่อยู่อาศัย ประมาณ 20%
  • ค่าพาหนะ เดินทาง ประมาณ 17%
  • ที่เหลือเป็นคาอื่นๆ
ตัวเลขนี้สะท้อนอะไร จะเห็นว่า ค่าใช้จ่ายเกินครึ่ง จ่ายไปกับค่าอาหารและที่อยู่อาศัย แต่ที่น่าสนใจคือตัวเลขค่าพาหนะ การเดินทาง ร้อยละ 17 ซึ่งนับว่าไม่น้อย จึงมีคำถามว่า ทำไมรายจ่ายเรื่องนี้ จึงมากน่าดู ก็เลยเดาเอาดังนี้
  1. น้ำมันแพง มีผลทำให้ค่าพาหนะสูงตามไปด้วย คือรถหรือค่าเดินทางอื่นๆ ก็เลยแพงตาม
  2. คนเดินทางไปทำงานไกลขึ้น เพราะที่พักกับที่ทำงานอยู่ห่างกัน ทุกคนต้องทำงาน ก็ต้องเดินทาง สมัยก่อน ทำไร่ทำนา ก็เดินไป แต่เดี๋ยวนี้ อย่างน้อยก็ขี่รถมอร์เตอร์ไซต์ ไปนา ยิ่งทำงานในเมืองไม่ต้องห่วง ต้องใช้รถทั้งนั้น
  3. เดินทางไปเที่ยวหรือไปที่ต่างๆ มากขึ้น เพราะการคมนาคมสะดวก จึงไปเที่ยวหรือเยี่ยมเยียนญาติที่น้อง เพื่อนฝูงกันมากขึ้น
เมื่อคิดถึงราคานำมันที่แพงขึ้น ก็พบว่า มีผลกระทบหลายประการ ทั้งผลกระทบโดยตรงคือผลที่เกิดจากการจ่ายเงินซื้อน้ำมัน และผลกระทบโดยอ้อม เช่น
  1. ภาษีน้ำมันแพง เมื่อเก็บภาษีแพง ราคาน้ำมันก็แพงเกินจริง
  2. เมื่อราคาน้ำมันแพง สินค่าทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันก็แพงขึ้น เช่น พ่อค้าแม่ค้า ต้องขับรถไปซื้อของ ก็ต้องบวกต้นทุนน้ำมัน ทำให้ของราคาแพงขึ้นโดยบวกกันขึ้นไปตั้งแต่ผู้ผลิตสิ้นค้า พ่อค้าคนกลางตั้งแต่ยี่ปั้ว ซาปั๊ว จนถึงพอค่าปลีกย่อย
ประเด็นสำคัญก็คือ เราจะลดรายจ่าย โดยเฉพาะเรื่องการเดินทางได้อย่างไร เคยดูรายการ TV รายการหนึ่งเขาบอกว่า คนญี่ปุ่นเขาจะห่อข้าวกลางวันไปกินที่ทำงาน เพราะนอกจากจะประหยัดไม่ต้องออกไปหาซื้อกินแล้ว ยังประหยัดน้ำมันที่ต้องขับรถออกไปหากินข้าวด้วย เขาบอกว่า ประหยัดน้ำมันไปได้มากทีเดียว สิ่งที่อยากทราบอย่างมากตอนนี้ คือ คนไทยเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาเฉลี่ยแล้วคนละเท่าไร เพราะดูเหมือนคนจะบ่นกันมากว่า ยิ่งมีนโยบายเรียนฟรี ยิ่งต้องจ่ายเงินเพื่อการศึกษามากขึ้น ชาวนาที่ไร่นาหลุดมือไปอยู่กับคนมีเงิน ก็เพราะส่งเสียบุตรหลานให้เรียนหนังสือ ลำพงเฉพาะค่าเรียนมันไม่เท่าไร แต่ค่าอื่นๆ มันมากจริงๆ

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ปฏิรูปการศึกษารอบสอง

ข่าวเรื่องการศึกษา ถูกข่าวการเมืองอื่นๆ เข้ามาเบียด จนกระทั่งคนทั่วไปไม่ค่อยสนใจเท่าไร แต่ความจริงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอนาคตของชาติ ลองอ่านข่าวด้านล่างนี้ดูนะครับ

นายกฯ สั่งศธ. รื้อใหญ่ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย ชี้ปฏิรูปการศึกษารอบ 1 เหลวเพราะราชการต้องการผูกขาดอำนาจจัดการศึกษาไว้กับตัว

  • เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 28 กันยายน ที่โรงแรมรอยัล ริเวอร์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมสัมมนาเรื่อง "ทศวรรษที่ 2 ของการปฏิรูปการศึกษา : ปัญหาและทางออก" จัดโดยคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้นายอภิสิทธิ์กล่าวปาฐกถาพิเศษโดยมีใจความตอนหนึ่ง ว่า การปฏิรูปการศึกษาเป็นเรื่องที่ฝ่ายการเมืองได้ร่วมใจกันทำมาโดยตลอด ไม่มีแบ่งแยกว่าเป็นเรื่องของรัฐบาล หรือฝ่ายค้าน แต่ส.ส. ทุกคนต้องการขับเคลื่อนระบบการศึกษาให้มีมาตรฐาน เพราะมองว่าเป็นเรื่องสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
  • นายอภิสิทธิ์กล่าวต่อว่า รัฐบาลได้เดินหน้าผลักดันโครงการเรียนฟรี 15 ปี เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ แต่ต้องยอมรับว่าไม่สามารถทำได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะปัญหาการขาดแคลนด้านงบประมาณ ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาต้องดิ้นรนหาทรัพยากรเอง อีกทั้งยังมีการเก็บค่าใช้จ่ายหลายเรื่อง อาทิ การสอนพิเศษภาษาต่างประเทศ การสอนคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ดังนั้นจึงเป็นโจทย์ท้าทายว่าการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 จะเดินหน้าไปอย่างมีคุณภาพ โดยไม่เป็นภาระแก่ผู้ปกครองได้อย่างไร
  • “สมศ. (สำนักงานมาตรฐานการศึกษา) เคยประเมินผลการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษแรก โดยพบว่าปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการปรับโครงสร้างงานด้านศึกษาธิการเอง ซึ่งใช้เวลามาก และหลายเรื่องก็เกิดความขัดแย้งในเชิงการเมืองและการบริหาร ทำให้ต้องเสียเวลาและเสียสติปัญญาไปกับเรื่องนี้มาก ไม่ว่าจะเป็น การกระจายอำนาจ การจัดเขตพื้นที่การศึกษา ตรงนี้เป็นบทเรียนสำคัญว่าหากเราหมกมุ่นเรื่องโครงสร้างมากเกินไป ก็อาจไปไม่ถึงเป้าหมายที่แท้จริง” นายกรัฐมนตรีกล่าว
  • นายอภิสิทธิ์กล่าวต่อว่า สำหรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ในปี 2552-2561 ตนได้มอบโจทย์เรื่องการปรับระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้กระทรวงศึกษาธิการไปแล้ว โดยเน้นว่าขอความกรุณาอย่าเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แล้วหวังรอเปลี่ยนแปลงในปีต่อๆ ไป แต่ให้รื้อใหญ่ไปเลย วางระบบเอาไว้ใช้ในระยะยาวไปเลย โดยอาจเริ่มต้นในปี 2554-2555 ก็ได้ ไม่เช่นนั้นเรื่องนี้จะเป็นคอขวดของการปฏิรูปการศึกษาอีก ทั้งนี้ขอให้คำมั่นว่ารัฐบาลจะเดินหน้าผลักดันการปฏิรูปอย่างเต็มที่ ซึ่งผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ที่อยู่ระหว่างการยกร่างก็ได้บรรจุเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาเป็นเป้าหมายสำคัญด้วย อย่างไรก็ตามลำพังความตั้งใจของรัฐบาลไม่อาจทำให้การปฏิรูปการศึกษาสำเร็จได้ แต่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของสังคม และความตั้งใจของผู้เกี่ยวข้องด้วย
  • “ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นในอดีต มาจากการที่รัฐบาลและระบบราชการยังผูกขาดอำนาจในการจัดการศึกษาไว้กับตัว หากคนในวงการศึกษายังหมกมุ่นว่าตัวเองและองค์กรของตนจะได้อะไร เราอาจจะเห็นความขัดแย้งในเรื่องสิทธิประโยชน์ของคนทำงาน และลืมไปว่านี่ไม่ใช่เป้าหมายในการปฏิรูปการศึกษา ดังนั้นหากสามารถละและสละอำนาจและการผูกขาดได้ ก็จะเกิดพลังในการปฏิรูปการศึกษา นี่คือความท้าทาย ความกล้าหาญทางจริยธรรม และการอาศัยการนำของคนที่จะเข้ามาปฏิรูปต่อไป” นายกรัฐมนตรีกล่าว วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552 เวลา 14:13:22 น. มติชนออนไลน์

จากข่าวดังกล่าวนี้ มีสองเรื่องใหญ่ๆ ที่คิดว่า น่าสนใจ

  • ประเด็นแรกเรื่อวงการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพราะเป็นประเด็นที่กล่าวถึงกันมานานแล้ว เพราะการศึกษาที่บิดเบี้ยวอยูททุกววันนี้ ก็เพราะระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยนี่แหละ ถ้ามีการปฏิรูปกันจริง ก็คงจะเป็นเรื่องดี แต่ก็เกรงว่า จะทำได้ยาก เพราะผ่านมากี่ยุค กี่สมัย ก็ไม่สามารถแก้ได้ จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ มีคำกล่าว่า เด็กที่เรียน ม. 6 ไปโรงเรียนเพื่อไปเอาชั่วโมงเรียน และคะแนนเก็บ ไม่ได้ไปเพื่อเรีย เพราะเวลาที่เหลือจะใช้ไปกับโรงเรียนกวดวิชาเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย ครูก็ได้แต่นั่งตาปริบๆ เพราะความสำคัญของครู มีน้อยว่า คนกวดวิชา ครูก็เลยต้องผันตัวเองโดยการเปิดโดรงเรียนกวดวิชา เพื่อตามไปสอบเด็กเข้ามหาวิทยาลัย
  • ประเด็นที่สองคือ เรื่ององค์กร เรื่องการบริหารงาน เรื่องอำนาจ เรื่องหวงอำนาจ คงไม่ต้องพูดถึงครับเป็นที่ทราบๆกันอยู่ดี ว่า เป็นอย่างไร

แค่สองประเด็นนี้ ถ้าทำได้ การปฏิรูปกรศึกษาก็เดินไปได้อีกไกล

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ปีงบประมาณใหม่ ผู้บริหารใหม่ นโยบายใหม่

วันแรกของปีงบประมาณ 2553 และวันเริ่มต้นของการรองรับเรื่องใหม่ๆ แต่ยังไม่เห็นมาอะไรใหม่ เป็นแต่เพียงก้าวขึ้นปีงบประมาณใหม่เท่านั้น เพราะผู้บริหารคนใหม่ก็ยังไม่ทราบว่า เป็นใคร นโยบายใหม่ ก็ยังไม่เห็น สรุปก็คือ วันนี้ ก็ยังเป็นผู้บริหารคนเดิม(รักษาการ) พร้อมทั้งนโยบายเดิม
  • นโยบายใหม่ของ กศน. มีอะไรบ้างนั้น ได้ร่างกันออกมาแล้ว แต่ตัวจริงไม่รู้ว่าเป็นอะไร

วิสัยทัศน์ "คนไทยได้รับการศึกษาตลอดชีวิตที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ "

พันธกิจ

  1. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และส่งเสริมการศึกษาในระบบ ให้มีคุณภาพ
  2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
  3. พัฒนาและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ ต่อการศึกษาตลอดชีวิต
  4. พัฒนาบุคลากร และภาคีเครือข่ายเพื่อการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
  5. ส่งเสริมชุมชนให้พัฒนากระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน