หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ปฏิรูปการศึกษารอบสอง

ข่าวเรื่องการศึกษา ถูกข่าวการเมืองอื่นๆ เข้ามาเบียด จนกระทั่งคนทั่วไปไม่ค่อยสนใจเท่าไร แต่ความจริงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอนาคตของชาติ ลองอ่านข่าวด้านล่างนี้ดูนะครับ

นายกฯ สั่งศธ. รื้อใหญ่ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย ชี้ปฏิรูปการศึกษารอบ 1 เหลวเพราะราชการต้องการผูกขาดอำนาจจัดการศึกษาไว้กับตัว

  • เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 28 กันยายน ที่โรงแรมรอยัล ริเวอร์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมสัมมนาเรื่อง "ทศวรรษที่ 2 ของการปฏิรูปการศึกษา : ปัญหาและทางออก" จัดโดยคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้นายอภิสิทธิ์กล่าวปาฐกถาพิเศษโดยมีใจความตอนหนึ่ง ว่า การปฏิรูปการศึกษาเป็นเรื่องที่ฝ่ายการเมืองได้ร่วมใจกันทำมาโดยตลอด ไม่มีแบ่งแยกว่าเป็นเรื่องของรัฐบาล หรือฝ่ายค้าน แต่ส.ส. ทุกคนต้องการขับเคลื่อนระบบการศึกษาให้มีมาตรฐาน เพราะมองว่าเป็นเรื่องสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
  • นายอภิสิทธิ์กล่าวต่อว่า รัฐบาลได้เดินหน้าผลักดันโครงการเรียนฟรี 15 ปี เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ แต่ต้องยอมรับว่าไม่สามารถทำได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะปัญหาการขาดแคลนด้านงบประมาณ ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาต้องดิ้นรนหาทรัพยากรเอง อีกทั้งยังมีการเก็บค่าใช้จ่ายหลายเรื่อง อาทิ การสอนพิเศษภาษาต่างประเทศ การสอนคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ดังนั้นจึงเป็นโจทย์ท้าทายว่าการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 จะเดินหน้าไปอย่างมีคุณภาพ โดยไม่เป็นภาระแก่ผู้ปกครองได้อย่างไร
  • “สมศ. (สำนักงานมาตรฐานการศึกษา) เคยประเมินผลการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษแรก โดยพบว่าปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการปรับโครงสร้างงานด้านศึกษาธิการเอง ซึ่งใช้เวลามาก และหลายเรื่องก็เกิดความขัดแย้งในเชิงการเมืองและการบริหาร ทำให้ต้องเสียเวลาและเสียสติปัญญาไปกับเรื่องนี้มาก ไม่ว่าจะเป็น การกระจายอำนาจ การจัดเขตพื้นที่การศึกษา ตรงนี้เป็นบทเรียนสำคัญว่าหากเราหมกมุ่นเรื่องโครงสร้างมากเกินไป ก็อาจไปไม่ถึงเป้าหมายที่แท้จริง” นายกรัฐมนตรีกล่าว
  • นายอภิสิทธิ์กล่าวต่อว่า สำหรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ในปี 2552-2561 ตนได้มอบโจทย์เรื่องการปรับระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้กระทรวงศึกษาธิการไปแล้ว โดยเน้นว่าขอความกรุณาอย่าเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แล้วหวังรอเปลี่ยนแปลงในปีต่อๆ ไป แต่ให้รื้อใหญ่ไปเลย วางระบบเอาไว้ใช้ในระยะยาวไปเลย โดยอาจเริ่มต้นในปี 2554-2555 ก็ได้ ไม่เช่นนั้นเรื่องนี้จะเป็นคอขวดของการปฏิรูปการศึกษาอีก ทั้งนี้ขอให้คำมั่นว่ารัฐบาลจะเดินหน้าผลักดันการปฏิรูปอย่างเต็มที่ ซึ่งผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ที่อยู่ระหว่างการยกร่างก็ได้บรรจุเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาเป็นเป้าหมายสำคัญด้วย อย่างไรก็ตามลำพังความตั้งใจของรัฐบาลไม่อาจทำให้การปฏิรูปการศึกษาสำเร็จได้ แต่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของสังคม และความตั้งใจของผู้เกี่ยวข้องด้วย
  • “ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นในอดีต มาจากการที่รัฐบาลและระบบราชการยังผูกขาดอำนาจในการจัดการศึกษาไว้กับตัว หากคนในวงการศึกษายังหมกมุ่นว่าตัวเองและองค์กรของตนจะได้อะไร เราอาจจะเห็นความขัดแย้งในเรื่องสิทธิประโยชน์ของคนทำงาน และลืมไปว่านี่ไม่ใช่เป้าหมายในการปฏิรูปการศึกษา ดังนั้นหากสามารถละและสละอำนาจและการผูกขาดได้ ก็จะเกิดพลังในการปฏิรูปการศึกษา นี่คือความท้าทาย ความกล้าหาญทางจริยธรรม และการอาศัยการนำของคนที่จะเข้ามาปฏิรูปต่อไป” นายกรัฐมนตรีกล่าว วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552 เวลา 14:13:22 น. มติชนออนไลน์

จากข่าวดังกล่าวนี้ มีสองเรื่องใหญ่ๆ ที่คิดว่า น่าสนใจ

  • ประเด็นแรกเรื่อวงการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพราะเป็นประเด็นที่กล่าวถึงกันมานานแล้ว เพราะการศึกษาที่บิดเบี้ยวอยูททุกววันนี้ ก็เพราะระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยนี่แหละ ถ้ามีการปฏิรูปกันจริง ก็คงจะเป็นเรื่องดี แต่ก็เกรงว่า จะทำได้ยาก เพราะผ่านมากี่ยุค กี่สมัย ก็ไม่สามารถแก้ได้ จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ มีคำกล่าว่า เด็กที่เรียน ม. 6 ไปโรงเรียนเพื่อไปเอาชั่วโมงเรียน และคะแนนเก็บ ไม่ได้ไปเพื่อเรีย เพราะเวลาที่เหลือจะใช้ไปกับโรงเรียนกวดวิชาเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย ครูก็ได้แต่นั่งตาปริบๆ เพราะความสำคัญของครู มีน้อยว่า คนกวดวิชา ครูก็เลยต้องผันตัวเองโดยการเปิดโดรงเรียนกวดวิชา เพื่อตามไปสอบเด็กเข้ามหาวิทยาลัย
  • ประเด็นที่สองคือ เรื่ององค์กร เรื่องการบริหารงาน เรื่องอำนาจ เรื่องหวงอำนาจ คงไม่ต้องพูดถึงครับเป็นที่ทราบๆกันอยู่ดี ว่า เป็นอย่างไร

แค่สองประเด็นนี้ ถ้าทำได้ การปฏิรูปกรศึกษาก็เดินไปได้อีกไกล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น