หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ปฏิรูปการศึกษามา 50 ปี ไม่ดีขึ้น ใครรับผิดชอบ

เป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะหนักสำหรับระบบการศึกษาไทย สำหรับคำถามนี้ ความจริงแล้ว เป็นคำถามที่ไปเก็บของเขามาจากการพูดคุยทาง TV เมื่อเช้านี้ แต่ดูเหมือนว่า จะเป็นคำถามที่ทิ่มแทงใจของคนในวงการการศึกษาไม่มากก็น้อย และตอนนี้ ก็มีการพูดกันมากขึ้น เมื่อเกิดแนวคิดและแนวนโยบายเรื่อง การปฏิรูปการศึกษารอบสอง ซึ่งได้หยิบยกหลายๆเรื่องมากล่าวถึง และดูเหมือนว่า เรื่องการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย มีการหยิบยกมากล่าวถึงกันไม่น้อยเช่นกัน จนคิดที่จะมีการเปลี่ยนรูปแบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันอีกครั้ง
  • ประเด็นที่มีการพูดคุยกันนั้น ได้หยิบยกข้อมูลที่บอกว่า คุณภาพการศึกษาในปัจจุบันเป็นอย่างไรกัน จึงทำให้คนที่จบมหาวิทยาลัยมาแล้วไม่มีงานทำ จนมีคำพูดว่า จบมหาวิทยาลัยแล้ว ทำอะไรไม่เป็น จึงตกงานกันเป็นทิวแถว
  • การวิเคราะห์ได้เชื่อมโยงระบบการศึกษาที่ผ่านมา แต่ก่อนนั้นเมื่อผ่านการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็จะมีการแยกเส้นทางการเดิน ว่า จะไปทางสายอาชีพ หรือสายเข้าสู่มหาวิทยาลัย คนส่วนมากก็มีค่านืยมเข้าสายมหาวิทยาลัย คนเก่งๆ ก็ไปเข้ามหาวิทยาลัย คนไม่เก่งก็ไปสายอาชีพ แต่เมื่อไปทำงาน ก็ดูเหมือนว่า กลุ่มที่จบสายอาชีพ ดูจะต่ำต้อยกว่า ทำงานหนักไม่ได้นั่งห้องแอร์สบายเหมือนสายที่จยมหาวิทยาลัย ดังนั้น สถานศึกษากลุ่มอาชีพ ก็พยายามยกตังขึ้นเป็นวิทยาลัย มหาวิทยาลัย และรูปแบบการศึกษาที่ฝึกทำจริง ก็เปลี่ยนไป เป็นการเรียนเฉพาะวิชาการ ผลที่สุดปัจจุบัน ก็ขาดผู้ที่จบการสึกษษแล้วทำงานได้ เพราะมีแต่พวกนักวิชาการที่จบมาแต่ทำอะไรไม่เป็น
  • เขาได้กล่าวถึงการศึกษาบ้านเราว่า บางครั้งเราไปวุ่นวายกับเด็กมาเกินไป บางประเทศ เขาให้เรียนเมื่อถึงอายุ 7 ขวบ เพราะช่วงเด็ก ก็ให้เป็นเด็กที่สมบูรณ์ แต่บ้านเราเข้าไปวุ่นวายกับเด็กตั้งแต่ 2 ขวบ 3 ขวบ จนเขาเติบโตขึ้นมาอาจจะเก่งก็จริง แต่ขาดบางอย่างไป ซึ่งมีส่วนที่ทำให้สังคมมีปัญหาอยู่ทุกว่า เด็กต้องเป็นเด็ก อย่าไปยุ่งกับเด็กมากเกินไป
  • มีข้อคิดที่น่าสนใจบางประการที่เข้าบอกว่า ใครก็ตามที่จะอยู่ในสังคม มีอาชีพที่มั่นคง ควรจะมี 5 เรื่อง ต่อไปนี้
  1. สื่อสารเป็น โดยเฉพาะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ
  2. คิดเป็น โดยเฉพาะการฝึกทักษะการคิด โดยใช้คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือ
  3. ทำงานเป็น
  4. จรรยาบรรณ โดยเฉพาะเรื่อง ซื่อสัตย์ กตัญญู
  5. สังเกต และเข้าใจในสถานการณ์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น