- สิ่งที่มักจะเป็นปัญหาอย่างมากในการสสรุปผลการปฏิบัติงาน คือ ไม่ค่อยมีข้อมูลว่า ทำอะไรบ้างได้ผลเป็นอย่างไร ผลที่ได้บางครั้งเป็นผลที่คิดเอาเองว่า ได้อะไรบ้าง แต่จริงๆ แล้วได้อย่างนั้นหรือเปล่าก็ไม่รู้ หรือบางครั้งก็รู้แต่เพียงว่าทำอะไรบ้าง แต่ผลเป็นอย่างไรไม่รู้ ดังนั้น เมื่อเอาทุกเรื่องที่ทำทั้งหมดมาร่วมกันเป็นภาพรวม จึงไม่รู้ว่า 1ปี ที่ผ่านมา ได้ทำอะไร และได้ผลอย่างไร เรื่องที่ได้ทั้งหมดสามารถนำไปเป็นส่วนประกอบของสิ่งที่หน่วยราชการต้องปฏิบัติในเรื่องอะไร ของนโยบายของรัฐบาล
- สาเหตุที่สำคัญเริ่มมาตั้งแต่เริ่มแรก ที่แผนไม่ชัดเจน เพราะบางครั้งคนที่ทำก็ไท้รู้เหมือนกันว่าจะทำอะไร ทำไปเพื่ออะไร เพราะบางครั้งเวลาคิดจะทำอะไร เราเอาเรื่องที่เราจะทำเป็นตัวตั้ง แล้วค่อยหาเหตุผลว่า สอดรับกับนโยบายในข้อใด แทนที่จะคิดว่า นโยบายข้อนี้ จะต้องทำอะไรบ้าง ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้เกิดช่องโหว่ เพราะสิ่งที่ทำทั้งหมด เมื่อนำมารวมกัน ไม่สามารถตอบสนองนโยบายได้ทั้งหมด ตอบสนองเพียงบางเรื่อง
- สิ่งต่อมาคือ เมื่อทำแล้ว ก็ไม่ได้เก็บร่องรอยเอาไว้ ว่าทำอะไร อย่างไร ได้ผลอย่างไร เมื่อเวลาจะรายงานก็รายงานได้ลำบาก และที่สำคัญคือ สิ่งต่างๆ ที่เก็บไว้ ไม่เป็นระบบและรูปแบบเดียวกัน นำมาสรุปรวมกันไม่ได้ เช่น โครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาคน ส่วนมากก็จะเก็ผลว่า พัฒนาคนไปได้เท่าไร แต่ถ้ามีสัก 1-2 โครงการไม่ได้เก็บข้อมูลไว้ เมื่อจะเขียนสรุปว่า ปีนี้ หน่วยงานเราพัฒนาคนไปเท่าไร ก็เลยสรุปไม่ได้ เพราะไม่มีตัวเลข อยู่ 2 โครงการ ผลสุดท้าย ถ้าต้องการได้ตัวเลขจริงๆ จึงต้องประมาณเอา
- ระบบการวางแผน การปฏิบัติงาน ติดตามประเมินผล และ รายงาน จึงเป็นเรื่องที่ต้องทำ และบันทึกร่องรอยเอาไว้ และไม่ใช่บันทึกอย่างเดียวแต่ต้องบันทึกให้เป็นระบบเดียวกันด้วย
วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
จุดอ่อนของการทำงาน
ได้มีโอกาสเป็นคณะทำงานในการสรุปผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ซึ่งหน่วยงานทุกหน่วยจะต้องสรุปว่า ทำอะไรไปบ้าง และเมื่อมีโอกาสสรุปก็ได้เห็นอะไรหลายอย่างของการทำงาน โดยเฉพาะการทำงานแบบราชการ ซึ่งถ้าตั้งคำถาม ลึกๆ ลงไป ก็จะมีคำตอบบางอย่างที่ออกมาแล้วบางครั้งเราก็รับไม่ค่อยได้เหมือนกัน โดยเฉพาะคำตอบที่พยายามตอบว่า เราทำงานได้ผลคุ้มกับเงินที่ลงทุนลงแรงไปหรือไม่ ถึงแม่ว่าบางคนอาจจะบอกว่า การศึกษาจะมาคิดต้นทุน กำไร ไม่ได้ แต่เราก็อดคิดไมได้เหมือนกัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น