- จากการติดตามข่าวพบว่า หลายประเทศ ก็ทำเช่นนี้ เช่น สหรัฐอเมริการ ทำมานานแล้ว ออสเตรเลีย ก็ทำ ในอเมริกา มีปัญหาไม่ส่งคืนประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ เพราะเขามีวิธีการที่ดี จึงทำให้มีเงินมาหมุนเวียน เพื่อให้รุ่นน้องๆ ได้กูยืมตลอด แต่ของไทย พี่เอาไปแล้วไม่คืน น้องก็เลยไม่มี
- มีผู้ออกมาวิเคราะห์ว่า เหตุผลที่สำคัญสองประการที่ทำให้นักเรียนที่กู้ยืมตั้งแต่เป็นนักเรียน จนจบมหาวิทยาลัย จบไปแล้วไม่คืนเงิน มีสาเหตุที่สำคัญ สองประการ โดยประการแรก มองไปที่จิตสำนึก และประการที่สองมองไปที่ไม่มีเงินส่งคืน เพราะไม่มีงานทำ โดยมองว่า เรื่องแรกสำคัญมากื เพราะถ้าคนนั้นมาอยู่ในสังคม ความคิดเรื่องเบี้ยวหนี้ จะฝังอยู่ในสำนึก ซึ่งเป็นอันตรายต่อสังคมอย่างมาก
- ตัวเราเองเคยมีประสบการณ์ตรง ที่เคยเป็นพี่เลี้ยงให้กับนักศึกษาฝึกงานของสถาบันแห่งหนึ่ง มีวันหนึ่ง นักศึกษาที่มาฝึกงาน โทรศัพท์มือถือมาอวดเพื่อน เป็นรุ่นทันสมัยมาก ราคาเป็นหมื่น โดยนักศึกษาคนนั้นบอกว่า เงินออก จึงเอาไปซื้อโทรศัพท์ จึงถามว่าเงินอะไรออก ก็ได้รับว่าเงิน กยศ ออก เด็นคนนี้ ไม่รู้ว่า เป็น 1 ใน 500000 คน หรือเปล่า แต่ก็เป็น 1 กรณีที่ชี้ให้เห็นว่า เงินกู้ยืม เด็กเอาไปทำอะไร และเมื่อตามรายละเอียดลงไปอีกก็พบว่า เรื่องเงินกู้ยืม ก็เป็นหัวข้อโฆษณาประการหนึ่งของสถานศึกษาโดยเฉพาะเอกชน ที่ชักชวนให้คนมาเรียน เพราะเมื่อมีคนเข้ามาเรียน ทางสถานศึกษาก็ดำเนินการเรื่องนี้ให้นักเรียนทันที ถือว่าเป็นการสร้างแรงจูงใจ ไม่รู้ว่าเป็นแบบนี้ทุกแห่งหรือเปล่า
- เรื่องนี้ จึงมีคนออกมาพูดว่า ต่อไปครู ต้องเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น เพี่อสร้างความตระหรักสำหรับเด็กที่กู้ยืมเงินไปใช้เพื่อการศึกษา
วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552
กยศ. กับความบกพร่องของครู
กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นนโยบายที่ดีของรัฐบาลในการสนับสนุนด้านการศึกษา แนวคิดดีมาก วิธีการในท่อนแรกก็ดี แต่กระบวนการในท่อนหลัง คือ การคืนเงินไม่ค่อยดี จนทุกวันนี้ มีผู้กู้ยืมประมาณ 500000 รายไม่ยอมมาใช้คืน จนต้องมีกระบวนการประนอมหนี้ ก่อนที่จะมีการส่งฟ้องศาล กรณีนี้ มีผู้มาออกความคิดเห็นมากมาย แล้วก็อดไม่ได้ที่มาเกี่ยวข้องกับครูจนได้ โดยมองมาว่า ครู จะต้องมีวิธีการที่ดีในการที่จะให้ความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องสำหรับลูกศิษย์ ที่กู้เงินนี้ไป แต่ที่ผ่านมา ไม่ค่อยมีในเรื่องนี้ จึงส่งผลให้เกิดเหตการณ์ในปัจจุบัน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น