หน้าเว็บ

วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ปัญหา server

มาถึงที่ทำงานได้สักครูก็เริ่มงานประจำคือเปิดคอมพิวเตอร์ ตรวจสอบเว็บไซต์ต่างๆ ที่ดูแล โดยเฉพาะเว็บหลักของหน่วยงาน เห็นสิ่งผิดปกติแล้ว คือ Counter ถูกลบ เดินไปที่ห้องเก็บ Server พบสิ่งผิปกติ คือ เสียงพักลมดังลั่น ก็คิดว่า อากาศคงร้อน แอร์มีปัญหาแน่ๆ เข้าไปดูใกล้ๆ มีร้องผิดปกติเครื่องเดียว อีก 2 เครื่องปกติ จึงแก้ปัญหาเบื้องต้น โดยการ shutdown เครื่องที่เสียงดัง แล้วหาดูเครื่องที่มีอาการผิดปกติ ปรากฏว่า เข้าไปทำอะไรไมได้เลย เครื่องไม่ทำงาน ท้งเมาส์ และ แป้นพิมพ์ ก็เลยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าก่อนคือ ดึงปลั๊กไฟออก

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การศึกษาทางไกล จะเดินไปทางไหน (ตอนที่4)

เมื่อตอนที่แล้ว กล่าวถึงสาเหตุที่สำคัญสองประการที่ทำให้การศึกษาทางไกลเดินได้ช้าตอนนี้จะมาขยายความให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  • ประการ ที่ 1 คนทำไม่ได้ใช้ คนใช้ไมได้ทำ หมายถึง คนที่พัฒนาเรื่องการศึกษาทางไกลขึ้นมา คือหน่วยงานในส่วนกลาง หรือภาค เช่นตอนนี้ สถาบัน กศน. ภาค เป็นผู้พัฒนา แต่เมื่อทำแล้ว ก็ไม่ได้มาใช้ที่สถาบัน กศน. ภาคเท่าไร แต่ไปใช้กับจังหวัดหรืออำเภอ ขณะที่กลุ่ม ของผู้พัฒนามีผู้รู้เรื่องอยู่ไม่กี่คน ดังนั้น ทำไปก็ไม่ค่อยรู้ว่า เป็นอย่างไรบ้าง ได้ผลไหม ดีไหม เมื่อไปมองที่คนเอาไปใช้งาน คือจังหวัดหรือ อำเภอ ไม่ได้พัฒนาเรื่องนี้ขึ้นมา แต่ยังใช้วิธีการเดิมที่มีอยู่ ถ้าจะเอาไปใช้เหมือนกับว่าเป็นการเพิ่มภาระขึ้นมาหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะต้องมาศึกษา มาเรียนรู้ เพราะไม่ได้เป็นคนพัฒนาขึ้นมาเอง และประกอบกับมีงานมากด้วยก็เลยปล่อยไปก่อน
  • ประการที่ 2 สินค้าไม่น่าใช้ ไม่ใช่ของจำเป็น หมายถึง การศึกษาทางไกลหรือ e-Learning ที่พัฒนาขึ้นมานั้น ถ้าเปรียบ เหมือนสินค้า ก็ยังไม่น่าจับ น่าใช้ ยังไม่มีคุณภาพเท่าไร เช่น บทเรียนไม่ดึงดูดความสนใจ ใช้ยาก เมื่อเปรียบเทียบกับสื่อแบบเก่า คือหนังสือ เรียน ที่ใช้ง่ายกว่า พกติดตัวไปอ่านที่ไหนก็ได้ แต่ e-Learning ต้องใช้กับคอมพิวเตอร์ หายาก เตรียมการยาก ข้อสรุปจึงออกมาว่า ไม่ใช้ดี กว่า
  • จากเงื่อไขทั้งสอลประการดังกล่าว ทำให้ย้อนกลับมาทบทวนว่า ถึงแม้ข้อเท็จจริง หรือนโยบาย จะระบุให้นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช่ เพิ่มประสิทธิภาพการศึกษา และเป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นเรื่องดี และเหมาะสมกับสภาพในปัจจุบัน แต่ถ้ายังไม่สามารถก้าวข้ามอุปสรรคที่ สำคัญทั้งสองประการดังกล่าว ก็คงจะพัฒนาไปอย่างเชื่องช้า เหมือนเช่นทุกวันนี้ จึงต้องมาเริ่มคิดใหม่ ทำใหม่อีกครั้ง แต่ไม่ใช่เริ่มต้นไหม โดยคิดใหม่ ทำใหม่ ในสิ่งที่มีอยู่แล้ว คือมาต่อยอด จากพื้นฐาน ประสบการณ์ ที่ได้สร้างมา

คิดใหม่ ทำใหม่ ในปี 2554

  • 1 คนใช้มาทำเอง การเริ่มต้นในเรื่องนี้ จะต้องมาถามว่า ใครเป็นคนใช้ e-Learning ถ้าไปดูในหลักสูตร กศน. 51 ที่กล่าวถึงวิธีเรียน กศน. ที่มีได้หลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่ใช้มากที่สุดคือ รูปแบบพบกลุ่ม ส่วนรู้แบบทางไกล ไม่มีการใช้เลย ถ้าจะถามว่า ผู้ใช้คือใคร ก็ต้อง ตอบว่า มี 2 กลุ่มคือ นักศึกษา กศน. เป็นผู้ ใช้ในฐานะ ผู้เรียน ส่วนครู กศน. ใช้ในฐานะ ผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้
  • ถามต่อไปว่า นอกจากอำเภอแล้ว มีใช้ที่อื่นอีกหรือไม่ คำตอบก็คือ หน่วยงาน กศน. อื่นๆ ก็คงจะใช้ได้ เช่น สถาบัน กศน.ภาค ใช้ จัดการเรียนการสอน ตามหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัด ศูนย์ฝึกอาชีพฯ ก็น่าจะเป็นผู้ใช้อีกกลุ่มหนึ่ง
  • เมื่อเห็นกลุ่มผู้ใช้ชัดเจนขึ้นแล้ว ก็ต้องมาคิดต่อว่า จะทำอย่างไร ให้กลุ่มผู้ใช้เหล่านี้ มาเป็นผู้คิด ผู้พัฒนาระบบ e-Learning ด้วยตัวเขาเอง แต่จะคิด พัฒนา และปฏิบัติบนพื้นฐานอะไรนั้น เป็นรายละเอียดที่ต้องคิดต่อไป แต่ต้องเริ่มต้นด้วยความคิดที่ว่า การศึกษาทางไกล เป็นเรื่องที่ เขาคิด เขาทำ เขาเป็นผู้พัฒนา เข้าเป็นเจ้าของ และที่สำคัญเป็นงานในหน้าที่ของเขาเอง
  • 2 ทำสินค้าให้น่าใช้ ถูกใจลูกค้า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่มาก เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสามารถและทักษะเฉพาะบุคคล บวกกับ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่จะพัฒนาระบบ e-Learning ออกมาให้ดี และถูกใจผู้ใช้ คือ ทั้งฝ่ายจัด และฝ่ายเรียน ซึ่งมองที่องค์ประกอบ สามอย่างคือ องค์ประกอบที่หนึ่ง ระบบ e-Learning องค์ประกอบที่สอง กระบวนการเรียนการสอน หรือ กิจกรรมการเรียนรู้ องค์ประกอบที่สาม สื่อการเรียนเรียนรู้ หรือที่เราเรียกกันว่า บทเรียนออนไลน์

วันศุกร์ที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ปฏิรูปการศึกษาไทย ได้แต่ปริมาณ

เมื่อวานนั่งดูข่าวโทรทัศน์ ซึ่งมีเรื่องวุ่นวายมากมายในประเทศไทย โดยเฉพาะเรื่องการเมืองในเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นเดินที่มีเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เกี่ยวกับากรเมืองมากมาย เช่น
  • 14 ตุลาคม 16 เป็นวันที่นักศึกษาออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยจากรัฐบาลเผด็จการ จอมพลถนอม กิติขจร วันที่ 6 ตุลาคม 2519 วันที่รัฐบาลและทหาร รุมฆ่านักศึกษา ประชาชนมากมายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในสมัยรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมท 7 รวมทั้งเหตุการณ์อื่นๆ
  • เหตุการณ์ในปัจุบัน ที่การเมืองยังวุ่นวายจากการต่อต้านของกลุ่มต่างๆ ที่ใช้สีเสื้อเป็นสัญญลักษณ์ เช่น กลุ่มเสื้อเหลือง กลุ่มเสื้อสีแดง กลุ่มเสื้อสีน้ำเงิน กลุ่มเสื้อหลากสี (กลุ่มเดียวกับสีเหลือง) ทำให้ช่วงนี้ มีการจัดการเสวนา ในที่ต่างๆ โดยองค์กรต่างๆ มามายหลายที่ เกี่ยวกับบทเรียนที่ได้จากทางการเมืองของประเทศไทยที่ผ่านมา ว่า ทำไมจึงไม่เป็นประชาธิปไตยสักที มีแต่ชื่อว่าประชาธิปไตย แต่ยังเป็นเด็จการโดยทหารมาตลอด ถ้ารัฐบาลไหน ทหารเอาด้วยก็อยู่ได้ แต่ถ้าทหารไม่เอา ก็ถูกปฏิวัติ รัฐประหารมาตลอด จนกลายเป็นเรื่องชินชาของประชาชนไปแล้ว
  • สะดุดใจกับข่าวการเสวนากลุ่มหนึ่ง ที่จัดโดยคนต่างชาติ ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานาน คือฝรั่งต่างชาติ ได้ออกมาเสวนาถึงเหตุการณ์ที่เกิดอยู่ทุกวันนี้ ว่าเพราะอะไร ซึ่งมีการกล่าวถึงเรื่องต่างๆอย่างกว้างขวาง แล้วก็มาลงที่การศึกษา เพราะการที่ประชาธิปไตยของไทยไม่ได้ไหนสักที ก็เพราะความล้มเหลวของระบบการศึกษาของประเทศไทย โดยมีใจความตอนหนึ่งที่พูดกันว่า ถึงแม้ประเทศไทยจะมีการปฏิรูปการศึกษา แต่ก็ได้แต่ปริมาณ ไม่มีคุณภาพ เช่น มีการขยายมหาวิทยาลัยราชภัฏเต็มประเทศ แต่ไม่มีใครมาควบคุมดูแล ด้านคุณภาพ ทำให้มหาวิทยาลัยราชภัฏถูกมองว่ามีมาตรฐานต่ำกว่ามหาวิทยลัยหลักๆ ที่มีมาก่อนหน้านี้ การศึกษาไทย ทุกระดับ จะต้องเปลี่ยนมาจัดการศึกษษให้คนได้คิด ไม่ใช่ท่องจำตำรา
  • ในข่าวบอกสั้นๆ จับใจความได้แค่นี้ จึงไม่รู้รายละเอียดทั้งหมด ว่า ในวงเสวนา มีการพูดรายละเอียดอย่างไรบ้าง จึงได้หยิบประเด็นนี้มาคิดต่อ และคิดว่า ที่ต่างชาติเขาวิจารณ์การเมืองไทย แล้วโยงมาที่สาเหตุสำคัญว่าอยู่ที่การศึกษา มันเป็นจริงหรือไม่ ว่า คุณภาพการศึกษาของเราแย่ จนมีผลทำให้การเมืองไทย ไม่ถึงประชาธิปไตยสักที ยังอยู่ภายใต้เผด็จการกลุ่มอำนาจทหารจนทุกวันนี้

วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การศึกษาทางไกล จะเดินไปทางไหน (ตอนที่3)

ส่วนที่เกี่ยวข้องกับครู กิจกรรมที่สถาบัน กศน. ภาค ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน คือ การให้ความรู้กับครู กศน. จนครู กศน. งงไปหมดแล้ว ว่า ทำอย่างไร เพราะดูเหมือนว่า สถานีปลายทางของงาน กศน. อยู่ที่ครู กศน. ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร ก็ต้องลงไปถึงครู กศน. จึงดูเหมือนว่า เป็นบุคคลที่รู้เรื่องงาน กศน. มากที่สุด ดังนั้น จึงได้รับเสียงสะท้อนจากบุคลากรเหล่านี้ว่า ทำงานแทบจะไม่มีเวลาว่างอยู่แล้ว ดังนั้น จะเอาอะไรมากมายกับงานในหน้าที่คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นคำถามที่น่าสนใจไม่น้อยเลยนะครับ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ครู กศน. ทุกท่าน ก็ต้องมีการศึกษา มีการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง และด้วยเหตุผลที่ต้องทำงานไม่ค่อยมีเวลา ดังนั้น เทคโนโลยีทางการศึกษา จึงถูกนำเข้ามาเกี่ยวข้อง และนำมาใช้ในการพัฒนาครู ที่เราใช้ว่า การอบรมทางไกล หรือ e-Training ซึ่งสถาบัน กศน. ภาค ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 5 ปีแล้ว แต่เป็น 5 ปี ที่มีกาพัฒนาไปทีละน้อย และเป็นไปอย่างช้าๆ เมื่อเริ่มหันไปดูในโลกไซเบอร์ จะเห็นว่า การเรียนการสอนทางไกล หรือเรียกว่า e-Learning มีความก้าวหน้าไปอย่างมาก และขยายออกไปอย่างกว้างขวาง มีหน่วยงานต่างๆ จัดการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning กันอย่างมากมาย เรียกได้ว่า คนสมัยก่อน ที่อยากเรียนอยากรู้ ต้องอิจฉาคนสมัยนี้ เพราะแหล่งเรียนรู้วิ่งมาตามสายจนถึงบ้าน อยากรู้เรื่องอะไรก็มีให้รู้ทั้งหมด เมื่อสภาพการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างนี้แล้ว ก็มีคำถามว่า ในเมื่อเทคโนโลยีมีความพร้อมอย่างนี้แล้ว ยังจะรออะไรกันอยู่ ทำไมไม่รีบดำเนินการให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ในการพัฒนาบุคลากร ส่งความรู้ลงไปถึงครู เรียกว่าเอาอาหารมาป้อนถึงปากกันเลย แต่จริงๆมันไม่เป็นเช่นนั้น เพราะดูเหมือนว่า ยังมีสิ่งที่ติดขัดหลายประการ ที่ทำให้การพัฒนาเป็นไปค่อนข้างช้า จากการประมวลจากข้อมูลที่ได้รับมาทั้งทางตรง และทางอ้อม มีประเด็นหลักๆ ที่ต้องพิจารณาดังนี้ ประการ ที่ 1 คนทำไม่ได้ใช้ คนใช้ไมได้ทำ ประการที่ 2 สินค้าไม่น่าใช้ ไม่ใช่ของจำเป็น

วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การศึกษาทางไกล จะเดินไปทางไหน (ตอนที่2)

สภาพปัจจุบันที่พบคือ ประการแรกนักศึกษาส่วนหนึ่งไมได้มาพบกลุ่ม ซึ่งในจำนวนนี้ บางคนก็หายไปเฉยๆ ถึงเวลาสอบก็มาสอบ หรือไม่มาเลย บางคนก็ครูจัดให้เรียนด้วยตนเอง ประการต่อมา กระบวนการเรียนรู้หรือกระบวนการเรียนการสอน จะใช้รูปแบบการพบกลุ่มเป็นหลัก โดยวิธีการที่ใช้เป็นหลักคือ ให้ทำกิจกรรม และอ่านหนังสือแบบเรียน ความสนใจในการเรียนรู้ของนักศึกษา ขึ้นอยู่กับเป้าหมายในการเข้ามาเรียน ว่าเข้ามาเพื่ออะไร เช่น ส่วนหนึ่งเข้ามาเพราะต้องการศึกษาหาความรู้จริงๆ อีกส่วนหนึ่งเข้ามาเพื่อต้องการใบวุฒิบัตรเพื่อนำไปทำอะไรบางอย่าง บางคนเข้ามาเพราะคำชักชวนของครู และอีกมากมายหลายเหตุผล ทำให้การเข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างกันไปตามเป้าหมายการเข้าเรียน ซึ่งจะส่งผลต่อการเข้าทดสอบและผลการทดสอบปลายภาคเรียน เช่น จำนวนนักศึกษาที่ขาดสอบ คะแนนผลการทดสอบ ถ้าจะแยกนักศึกษาที่มีความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อย่างจริงจัง และนักศึกษาที่ไม่ค่อยได้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เช่น ภาระกิจการงานมาก ต้องไปทำงานกรุงเทพ หรืออื่นๆ จึงมีคำถามว่า มีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่นอกเหนือจากที่ทำอยู่ ที่สามารถจูงใจให้นักศึกษาที่ไม่ค่อยสนใจ เข้ามาสนใจมากขึ้น หรือนักศึกษาที่สนใจอยู้แล้วได้เรียนรู้มากขึ้น โดยพิจารณาจากองค์ประกอบหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ หรือกิจกรรมการเรียนการสอน สามองค์ประกอบคือ 1 องค์ประกอบด้านตัวผู้เรียน 2 องค์ประกอบด้านครู และ 3. องค์ประกอบด้านกิจกรรมการเรียนการสอน องค์ประกอบด้านผู้เรียน ได้ยกมาให้เห็นบ้างแล้ว องค์ประกอบด้านครู ซึ่งมีอยู่ 3 กลุ่มหลักๆ คือ ครู ศรช.(รวมถึงครู กศน. อื่นๆ) ครูประจำกลุ่ม และครูผู้สอนนักศึกษากลุ่มคูปองการศึกษา (จัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาของตนเอง) ครูทั้งสามกลุ่มนี้ อาจจะมีความรู้ความสามารถ และจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาต่างกัน องค์ประกอบด้านการเรียนการสอน นอกจาจะแตกต่างไปตามความรู้ความสามารถของครูแล้ว นักศึกษาบางกลุ่ม จะเป็นผู้กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยตนเอง เช่นนักศึกษาที่เรียนด้วยตนเอง จึงน่าจะมีคำถามว่า นักศึกษาที่มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไปนี้ จะมีผลการเรียน หรือที่เราเรียนว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวมทั้งผลกระทบอื่นๆ ตรงตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรหรือไม่ หรือถ้าใช้คำที่ใช้กันบ่อยก็คือ คุณภาพของนักศึกษา กศน. จะเป็นอย่างไร หรือจะเป็นอย่างที่บางท่านพูดว่า นักศึกษาเข้ามาเรียน ก็บุญแล้ว ที่กล่าวมาถึงค่อนข้างยาวนี้ ก็เพื่อจะเชื่อมโยงเข้าสู่ประเด็นที่ทิ้งท้ายไว้ในตอนที่ 1 ว่า เราจะมีอะไรเข้าไปช่วยอุกช่องว่างต่างๆ ที่กล่าวมาได้บ้าง เช่น 1 ช่องว่างอันเนื่องมากจากองค์ประกอบด้านนักศึกษา เช่น นักศึกษาที่ไม่มีเวลามาพบกลุ่ม นักศึกษาที่ไปทำงานกรุงเทพ ต้องเรียนด้วยตนเอง ซึ่งไม่ค่อยได้อ่านหนังสือ หรือนักศึกษาที่มีอุปสรรคต่างๆอีกร้อยแปดพันประการ 2 ช่องว่างอันเนื่องมาจากครูผู้สอน เช่น เป็นครูใหม่ ยังไม่ค่อยรู้เรื่องอะไร เป็นครูประจำกลุ่ม แต่ไม่รู้เรื่องในบางวิชาที่ไม่ถนัด หรือไม่ค่อยมีเวลาไปพบกลุ่ม หรือไม่รู้ว่าจะจัดกิจกรรมการพบกลุ่มอย่างไร จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการไม่เป็น จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโอนี่ ไม่เป็น หรืออื่นๆ อีกสารพัดเรื่อง 3 ช่องว่างอันเนื่องมากจากรูปแบบหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่อาจจะขาดบางอย่าง ทำให้ไม่สามารถจัดได้ตามที่ต้องการ เช่น สื่อการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสม เป็นต้น สิ่งต่างๆ ทั้งสามประการเหล่านี้ เราจะมาช่วยกันเติมเต็มอย่างไร ในส่วนที่สถาบัน กศน. ภาค เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องนั้น สามารถเข้าไปได้ในองค์ประกอบข้อที่สองและข้อที่สาม เป็นส่วนใหญ่ คือส่วนที่เกี่ยวข้องกับครู และกิจกรรมการเรียนรู้ ว่า มีแนวทางอย่างไรบ้าง

วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การศึกษาทางไกล จะเดินไปทางไหน (ตอนที่1)

ได้มีโอกาสพบกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษานอกระบบ ตามหลักสูตรใหม่ หรือหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 หลายท่าน หลายระดับ และหลายหน้าที่ ได้ตั้งคำถามว่า ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามวิธีเรียน กศน. ได้จัดรูปแบบใดบ้าง
  • คนตอบจะงงนิดๆ จึงต้องขยายความว่า วิธีเรียน กศน. มีหลายรูปแบบเช่น พบกลุ่ม ชั้นเรียน ตนเอง ทางไกล ตอนนี้ เขาจะร้องอ๋อ แล้วบอกว่า ส่วนมากจะใช้รูปแบบการพบกลุ่ม จึงลองถามเข้าประเด็น ว่า ได้มีการนำเอารูปแบบทางไกลมาใช้หรือไม่ เข้าจะตอบด้วยความมั่นใจ ว่าใช้ เมื่อถามต่อไปว่า ทำอย่างไร ก็จะได้รับคำตอบว่า ให้ไปศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต ทำให้สงสัยมากขึ้นว่า ค้นคว้าอย่างไร ที่ไหน ก็ได้รับคำตอบว่า จริงๆแล้ว แทบจะไม่มีเลย ที่มีก็คือ ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จาก ศูนย์ กศน. อำเภอ หรือ กศน. ตำบล ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ และจะมีนักศึกษาบางคนเท่านั้น ที่สามารถ ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ และเมื่อถามความคิดเห็นต่อไปว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะให้นักศึกษา กศน. เรียนรู้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต คำตอบที่ได้รับเหมือนกันหมดคือ คงเป็นไปได้ยาก จากคำตอบที่ได้รับดังกล่าว ทำให้คนที่พยายามจะผลักดันเรื่อง วิธีเรียนทางไกล ในรูปแบบ e-Learning ถึงกับจิตใจห่อเหี่ยวหมดกำลังใจที่จะพัฒนาไปเลย
  • ถึงแม้จะหมดกำลังใจ ก็ลองพยายามถามใหม่ว่า เคยเข้ารับการอบรมทางไกลแบบ e-Training หรือไม่ ทุกท่านที่สนทนาด้วยตอบว่าเคย จึงถามต่อว่า ถ้าจะให้นักศึกษามาเรียนผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์แบบที่ครูเคยเรียน เป็นไปได้ไหม คำตอบก็คือ คงจะยาก นอกจากนักศึกษาทึ่เคยเรียนในระบบโรงเรียนและยังเป็นวัยรุ่น จากคำตอบจึงเริ่มรุกด้วยคำถามต่อไปว่า ถ้าจะให้ครูช่วยแนะนำวิธีการเรียนตามวิธีการที่ครูเคยเรียน จะได้ไหม จะได้รับคำตอบแบบไม่ค่อยมั่นใจว่า อาจจะได้สำหรับนักศึกษาบางคน แต่จะมีปัญหาว่า นักศึกษาไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงให้ข้อเสนอใหม่ว่า ถ้าเปิดเรียน ที่ ศูนย์ กศน. อำเภอ หรือ กศน. ตำบล ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ จะแก้ปัญหานักศึกษาไม่มีเครื่องคอม พิวเตอร์ได้หรือไม่ คำตอบก็คือ พอได้ แต่จะมีปัญหาที่อินเทอร์เน็ตช้า มาถึงตอนนี้ ชักท้อใจอีกแล้ว เพราะคำตอบก่อนหน้าว่าพอเป็นไปได้ แต่ปัญหามากมายจริงๆ จึงต้องถามต่อไปอีกว่า ถ้าไม่ต้องใช้อินเทอร์เน็ต แต่เรียนจากแผ่น CD-ROM จะเป็นไปได้ไหม คำตอบเริ่มดีขึ้นคือ น่าจะเป็นไปได้ แต่คงทำไม่ได้ทั้งหมด จึงถามว่า ประมาณเท่าไร สิบเปอร์เซ็นต์ ได้หรือไม่ ก็ได้รับคำตอบแบบแบ่งรับแบ่งสู้ว่า อาจจะได้ เริ่มตั้งคำถามเจาะลึกถึงบทเรียนว่า ถ้าเป็นแบบเรียนที่ใช้กับครู คือตัวหนังสือประกอบรูปภาพ นักศึกษาจะสนใจมาเรียนหรือไม่ จะได้รับคำตอบที่ได้ค่อนข้างมั่นใจว่า นักศึกษาคงไม่สนใจ เพราะดูจากหนังสือแบบเรียนที่มีนักศึกษายังไม่ค่อยสนใจอ่าน ถ้าอย่างนั้นก็เป็นอันจบกันสำหรับ e-Learning
  • แต่ก็ยังไม่ละความพยายาม ถามต่อไปอีกว่า การพบกลุ่มของครู ศรช. หรือครูประจำกลุ่มทุกวันนี้ ได้พบกลุ่มหรือสอนทุกวิชาหรือไม่ คำตอบก็เป็นดังคาดคือ ไม่ทุกวิชา เพราะบางวิชา ครูก็ไม่ถนัดเช่น ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ก็ต้องให้ครูมาสอนเสริม หรือไม่ได้ทำอะไรเลย จึงย้อนถามกลับไปว่า แล้วเราจะแก้ปัญหาอย่างไร ซึ่งจะไม่ค่อยได้รับคำตอบนัก จึงเสนอแนวทางให้พิจารณาว่า ถ้าหากเราบันทึก วีดิโอ ของครูที่สอนเก่งๆ เช่น ครูที่สอนภาษาอังกฤษตามหลักสูตรของ กศน.เก่งๆ แล้วบันทึกใส่แผ่น CD แล้วเอาไปเปิดให้นักศึกษาเรียน จะช่วยได้หรือไม่ คำตอบที่ออกมาเป็นเสียงเดียวกันคือ ดีมาก และจะช่วยครูได้มาก คำตอบสุดท้ายนี้คือคำตอบที่เป็นแนวทางให้กลับมาคิดและพิจารณาว่า จะทำอย่างไร ภายใต้เงื่อนไขต่างๆ ที่ได้รับคำตอบมาจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษานอกระบบ โดยเฉพาะการศึกษานอกระบบตามหลักสูตร การศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

(คอยติดตามตอนที่ ๒)