วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2553
การศึกษาทางไกล จะเดินไปทางไหน (ตอนที่3)
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับครู กิจกรรมที่สถาบัน กศน. ภาค ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน คือ การให้ความรู้กับครู กศน. จนครู กศน. งงไปหมดแล้ว ว่า ทำอย่างไร เพราะดูเหมือนว่า สถานีปลายทางของงาน กศน. อยู่ที่ครู กศน. ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไร ก็ต้องลงไปถึงครู กศน. จึงดูเหมือนว่า เป็นบุคคลที่รู้เรื่องงาน กศน. มากที่สุด ดังนั้น จึงได้รับเสียงสะท้อนจากบุคลากรเหล่านี้ว่า ทำงานแทบจะไม่มีเวลาว่างอยู่แล้ว ดังนั้น จะเอาอะไรมากมายกับงานในหน้าที่คือ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นคำถามที่น่าสนใจไม่น้อยเลยนะครับ แต่ถึงอย่างไรก็ตาม ครู กศน. ทุกท่าน ก็ต้องมีการศึกษา มีการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองตลอดเวลาอย่างต่อเนื่อง และด้วยเหตุผลที่ต้องทำงานไม่ค่อยมีเวลา ดังนั้น เทคโนโลยีทางการศึกษา จึงถูกนำเข้ามาเกี่ยวข้อง และนำมาใช้ในการพัฒนาครู ที่เราใช้ว่า การอบรมทางไกล หรือ e-Training ซึ่งสถาบัน กศน. ภาค ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2549 จนถึงปัจจุบัน เป็นเวลา 5 ปีแล้ว แต่เป็น 5 ปี ที่มีกาพัฒนาไปทีละน้อย และเป็นไปอย่างช้าๆ เมื่อเริ่มหันไปดูในโลกไซเบอร์ จะเห็นว่า การเรียนการสอนทางไกล หรือเรียกว่า e-Learning มีความก้าวหน้าไปอย่างมาก และขยายออกไปอย่างกว้างขวาง มีหน่วยงานต่างๆ จัดการเรียนการสอนในรูปแบบ e-Learning กันอย่างมากมาย เรียกได้ว่า คนสมัยก่อน ที่อยากเรียนอยากรู้ ต้องอิจฉาคนสมัยนี้ เพราะแหล่งเรียนรู้วิ่งมาตามสายจนถึงบ้าน อยากรู้เรื่องอะไรก็มีให้รู้ทั้งหมด เมื่อสภาพการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างนี้แล้ว ก็มีคำถามว่า ในเมื่อเทคโนโลยีมีความพร้อมอย่างนี้แล้ว ยังจะรออะไรกันอยู่ ทำไมไม่รีบดำเนินการให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ในการพัฒนาบุคลากร ส่งความรู้ลงไปถึงครู เรียกว่าเอาอาหารมาป้อนถึงปากกันเลย แต่จริงๆมันไม่เป็นเช่นนั้น เพราะดูเหมือนว่า ยังมีสิ่งที่ติดขัดหลายประการ ที่ทำให้การพัฒนาเป็นไปค่อนข้างช้า จากการประมวลจากข้อมูลที่ได้รับมาทั้งทางตรง และทางอ้อม มีประเด็นหลักๆ ที่ต้องพิจารณาดังนี้ ประการ ที่ 1 คนทำไม่ได้ใช้ คนใช้ไมได้ทำ ประการที่ 2 สินค้าไม่น่าใช้ ไม่ใช่ของจำเป็น
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น