หน้าเว็บ

วันพุธที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การศึกษาทางไกล จะเดินไปทางไหน (ตอนที่2)

สภาพปัจจุบันที่พบคือ ประการแรกนักศึกษาส่วนหนึ่งไมได้มาพบกลุ่ม ซึ่งในจำนวนนี้ บางคนก็หายไปเฉยๆ ถึงเวลาสอบก็มาสอบ หรือไม่มาเลย บางคนก็ครูจัดให้เรียนด้วยตนเอง ประการต่อมา กระบวนการเรียนรู้หรือกระบวนการเรียนการสอน จะใช้รูปแบบการพบกลุ่มเป็นหลัก โดยวิธีการที่ใช้เป็นหลักคือ ให้ทำกิจกรรม และอ่านหนังสือแบบเรียน ความสนใจในการเรียนรู้ของนักศึกษา ขึ้นอยู่กับเป้าหมายในการเข้ามาเรียน ว่าเข้ามาเพื่ออะไร เช่น ส่วนหนึ่งเข้ามาเพราะต้องการศึกษาหาความรู้จริงๆ อีกส่วนหนึ่งเข้ามาเพื่อต้องการใบวุฒิบัตรเพื่อนำไปทำอะไรบางอย่าง บางคนเข้ามาเพราะคำชักชวนของครู และอีกมากมายหลายเหตุผล ทำให้การเข้าร่วมกิจกรรมแตกต่างกันไปตามเป้าหมายการเข้าเรียน ซึ่งจะส่งผลต่อการเข้าทดสอบและผลการทดสอบปลายภาคเรียน เช่น จำนวนนักศึกษาที่ขาดสอบ คะแนนผลการทดสอบ ถ้าจะแยกนักศึกษาที่มีความสนใจและเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้อย่างจริงจัง และนักศึกษาที่ไม่ค่อยได้เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม เช่น ภาระกิจการงานมาก ต้องไปทำงานกรุงเทพ หรืออื่นๆ จึงมีคำถามว่า มีวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่นอกเหนือจากที่ทำอยู่ ที่สามารถจูงใจให้นักศึกษาที่ไม่ค่อยสนใจ เข้ามาสนใจมากขึ้น หรือนักศึกษาที่สนใจอยู้แล้วได้เรียนรู้มากขึ้น โดยพิจารณาจากองค์ประกอบหลักๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการเรียนรู้ หรือกิจกรรมการเรียนการสอน สามองค์ประกอบคือ 1 องค์ประกอบด้านตัวผู้เรียน 2 องค์ประกอบด้านครู และ 3. องค์ประกอบด้านกิจกรรมการเรียนการสอน องค์ประกอบด้านผู้เรียน ได้ยกมาให้เห็นบ้างแล้ว องค์ประกอบด้านครู ซึ่งมีอยู่ 3 กลุ่มหลักๆ คือ ครู ศรช.(รวมถึงครู กศน. อื่นๆ) ครูประจำกลุ่ม และครูผู้สอนนักศึกษากลุ่มคูปองการศึกษา (จัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาของตนเอง) ครูทั้งสามกลุ่มนี้ อาจจะมีความรู้ความสามารถ และจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาต่างกัน องค์ประกอบด้านการเรียนการสอน นอกจาจะแตกต่างไปตามความรู้ความสามารถของครูแล้ว นักศึกษาบางกลุ่ม จะเป็นผู้กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยตนเอง เช่นนักศึกษาที่เรียนด้วยตนเอง จึงน่าจะมีคำถามว่า นักศึกษาที่มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่แตกต่างกันไปนี้ จะมีผลการเรียน หรือที่เราเรียนว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวมทั้งผลกระทบอื่นๆ ตรงตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรหรือไม่ หรือถ้าใช้คำที่ใช้กันบ่อยก็คือ คุณภาพของนักศึกษา กศน. จะเป็นอย่างไร หรือจะเป็นอย่างที่บางท่านพูดว่า นักศึกษาเข้ามาเรียน ก็บุญแล้ว ที่กล่าวมาถึงค่อนข้างยาวนี้ ก็เพื่อจะเชื่อมโยงเข้าสู่ประเด็นที่ทิ้งท้ายไว้ในตอนที่ 1 ว่า เราจะมีอะไรเข้าไปช่วยอุกช่องว่างต่างๆ ที่กล่าวมาได้บ้าง เช่น 1 ช่องว่างอันเนื่องมากจากองค์ประกอบด้านนักศึกษา เช่น นักศึกษาที่ไม่มีเวลามาพบกลุ่ม นักศึกษาที่ไปทำงานกรุงเทพ ต้องเรียนด้วยตนเอง ซึ่งไม่ค่อยได้อ่านหนังสือ หรือนักศึกษาที่มีอุปสรรคต่างๆอีกร้อยแปดพันประการ 2 ช่องว่างอันเนื่องมาจากครูผู้สอน เช่น เป็นครูใหม่ ยังไม่ค่อยรู้เรื่องอะไร เป็นครูประจำกลุ่ม แต่ไม่รู้เรื่องในบางวิชาที่ไม่ถนัด หรือไม่ค่อยมีเวลาไปพบกลุ่ม หรือไม่รู้ว่าจะจัดกิจกรรมการพบกลุ่มอย่างไร จัดการเรียนรู้แบบบูรณาการไม่เป็น จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโอนี่ ไม่เป็น หรืออื่นๆ อีกสารพัดเรื่อง 3 ช่องว่างอันเนื่องมากจากรูปแบบหรือกิจกรรมการเรียนรู้ ที่อาจจะขาดบางอย่าง ทำให้ไม่สามารถจัดได้ตามที่ต้องการ เช่น สื่อการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ที่เหมาะสม เป็นต้น สิ่งต่างๆ ทั้งสามประการเหล่านี้ เราจะมาช่วยกันเติมเต็มอย่างไร ในส่วนที่สถาบัน กศน. ภาค เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องนั้น สามารถเข้าไปได้ในองค์ประกอบข้อที่สองและข้อที่สาม เป็นส่วนใหญ่ คือส่วนที่เกี่ยวข้องกับครู และกิจกรรมการเรียนรู้ ว่า มีแนวทางอย่างไรบ้าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น