หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การศึกษาทางไกล จะเดินไปทางไหน (ตอนที่4)

เมื่อตอนที่แล้ว กล่าวถึงสาเหตุที่สำคัญสองประการที่ทำให้การศึกษาทางไกลเดินได้ช้าตอนนี้จะมาขยายความให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  • ประการ ที่ 1 คนทำไม่ได้ใช้ คนใช้ไมได้ทำ หมายถึง คนที่พัฒนาเรื่องการศึกษาทางไกลขึ้นมา คือหน่วยงานในส่วนกลาง หรือภาค เช่นตอนนี้ สถาบัน กศน. ภาค เป็นผู้พัฒนา แต่เมื่อทำแล้ว ก็ไม่ได้มาใช้ที่สถาบัน กศน. ภาคเท่าไร แต่ไปใช้กับจังหวัดหรืออำเภอ ขณะที่กลุ่ม ของผู้พัฒนามีผู้รู้เรื่องอยู่ไม่กี่คน ดังนั้น ทำไปก็ไม่ค่อยรู้ว่า เป็นอย่างไรบ้าง ได้ผลไหม ดีไหม เมื่อไปมองที่คนเอาไปใช้งาน คือจังหวัดหรือ อำเภอ ไม่ได้พัฒนาเรื่องนี้ขึ้นมา แต่ยังใช้วิธีการเดิมที่มีอยู่ ถ้าจะเอาไปใช้เหมือนกับว่าเป็นการเพิ่มภาระขึ้นมาหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะต้องมาศึกษา มาเรียนรู้ เพราะไม่ได้เป็นคนพัฒนาขึ้นมาเอง และประกอบกับมีงานมากด้วยก็เลยปล่อยไปก่อน
  • ประการที่ 2 สินค้าไม่น่าใช้ ไม่ใช่ของจำเป็น หมายถึง การศึกษาทางไกลหรือ e-Learning ที่พัฒนาขึ้นมานั้น ถ้าเปรียบ เหมือนสินค้า ก็ยังไม่น่าจับ น่าใช้ ยังไม่มีคุณภาพเท่าไร เช่น บทเรียนไม่ดึงดูดความสนใจ ใช้ยาก เมื่อเปรียบเทียบกับสื่อแบบเก่า คือหนังสือ เรียน ที่ใช้ง่ายกว่า พกติดตัวไปอ่านที่ไหนก็ได้ แต่ e-Learning ต้องใช้กับคอมพิวเตอร์ หายาก เตรียมการยาก ข้อสรุปจึงออกมาว่า ไม่ใช้ดี กว่า
  • จากเงื่อไขทั้งสอลประการดังกล่าว ทำให้ย้อนกลับมาทบทวนว่า ถึงแม้ข้อเท็จจริง หรือนโยบาย จะระบุให้นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาใช่ เพิ่มประสิทธิภาพการศึกษา และเป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นเรื่องดี และเหมาะสมกับสภาพในปัจจุบัน แต่ถ้ายังไม่สามารถก้าวข้ามอุปสรรคที่ สำคัญทั้งสองประการดังกล่าว ก็คงจะพัฒนาไปอย่างเชื่องช้า เหมือนเช่นทุกวันนี้ จึงต้องมาเริ่มคิดใหม่ ทำใหม่อีกครั้ง แต่ไม่ใช่เริ่มต้นไหม โดยคิดใหม่ ทำใหม่ ในสิ่งที่มีอยู่แล้ว คือมาต่อยอด จากพื้นฐาน ประสบการณ์ ที่ได้สร้างมา

คิดใหม่ ทำใหม่ ในปี 2554

  • 1 คนใช้มาทำเอง การเริ่มต้นในเรื่องนี้ จะต้องมาถามว่า ใครเป็นคนใช้ e-Learning ถ้าไปดูในหลักสูตร กศน. 51 ที่กล่าวถึงวิธีเรียน กศน. ที่มีได้หลายรูปแบบ แต่รูปแบบที่ใช้มากที่สุดคือ รูปแบบพบกลุ่ม ส่วนรู้แบบทางไกล ไม่มีการใช้เลย ถ้าจะถามว่า ผู้ใช้คือใคร ก็ต้อง ตอบว่า มี 2 กลุ่มคือ นักศึกษา กศน. เป็นผู้ ใช้ในฐานะ ผู้เรียน ส่วนครู กศน. ใช้ในฐานะ ผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้
  • ถามต่อไปว่า นอกจากอำเภอแล้ว มีใช้ที่อื่นอีกหรือไม่ คำตอบก็คือ หน่วยงาน กศน. อื่นๆ ก็คงจะใช้ได้ เช่น สถาบัน กศน.ภาค ใช้ จัดการเรียนการสอน ตามหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาจังหวัด ศูนย์ฝึกอาชีพฯ ก็น่าจะเป็นผู้ใช้อีกกลุ่มหนึ่ง
  • เมื่อเห็นกลุ่มผู้ใช้ชัดเจนขึ้นแล้ว ก็ต้องมาคิดต่อว่า จะทำอย่างไร ให้กลุ่มผู้ใช้เหล่านี้ มาเป็นผู้คิด ผู้พัฒนาระบบ e-Learning ด้วยตัวเขาเอง แต่จะคิด พัฒนา และปฏิบัติบนพื้นฐานอะไรนั้น เป็นรายละเอียดที่ต้องคิดต่อไป แต่ต้องเริ่มต้นด้วยความคิดที่ว่า การศึกษาทางไกล เป็นเรื่องที่ เขาคิด เขาทำ เขาเป็นผู้พัฒนา เข้าเป็นเจ้าของ และที่สำคัญเป็นงานในหน้าที่ของเขาเอง
  • 2 ทำสินค้าให้น่าใช้ ถูกใจลูกค้า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่มาก เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสามารถและทักษะเฉพาะบุคคล บวกกับ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่จะพัฒนาระบบ e-Learning ออกมาให้ดี และถูกใจผู้ใช้ คือ ทั้งฝ่ายจัด และฝ่ายเรียน ซึ่งมองที่องค์ประกอบ สามอย่างคือ องค์ประกอบที่หนึ่ง ระบบ e-Learning องค์ประกอบที่สอง กระบวนการเรียนการสอน หรือ กิจกรรมการเรียนรู้ องค์ประกอบที่สาม สื่อการเรียนเรียนรู้ หรือที่เราเรียกกันว่า บทเรียนออนไลน์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น