หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552

เมื่อไปประชุมเตรียมงานอบรมทางไกล

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้มีโอกาสไปเข้าร่วมประชุมเพื่อวางแผนการพัฒนาการอบรมทางไกล จึงนำเอาข้อสรุปจากการประชุมบางประการมาเผยแพร่ รายงานผลการประชุมพัฒนาสื่อ e-Training และกำหนดแนวทางการดำเนินงาน 23-24 มีนาคม 2551 ณ สถาบัน กศน. ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง วัตถุประสงค์การประชุม 1 เพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมทักษะการใช้อินเตอร์เน็ตสร้างสรรค์และปลอดภัย 2 เพื่อกำหนดรูปแบบและจัดทำสื่อประกอบการอบรม 3 เพื่อกำหนดแนวทางร่วมกันในการฝึกอบรมทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต e-Training กระบวนการประชุม 1 นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานที่ผ่านมาของแต่ละภาค 2 ระดมความคิด เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของการประชุม 3 สรุปการประชุมเพื่อเสนอผู้ที่เกี่ยวข้อง สรุปผลการประชุม ข้อสรุปจากการประชุม ดังนี้ การพัฒนาหลักสูตร
  1. ชื่อของหลักสูตร ผู้เข้าร่วมประชุมได้พิจารณาปรับชื่อหลักสูตรให้เหมาะสมกับการอบรมสำหรับกลุ่มเป้าหมาย กศน. โดยเสนอชื่อต่างๆ และที่ประชุมได้ตกลงใช้ชื่อว่า เรียนรู้ เข้าใจ ทันภัยอินเตอร์เน็ต
  2. การขออนุมัติหลักสูตร ประสานงานกับส่วนกลาง เพื่อให้ เลขาฯ เป็นผู้อนุมัติหลักสูตร (ประสานงานกับ ส่วนแผนงาน ว่า สามารถดำเนินการได้หรือไม่ หรือจะเสียเวลาจนไม่ทันเปิดอบรมหรือไม่) ในกรณีไม่สามารถดำเนินการได้ทันเวลา ให้ขออนุมัติหลักสูตรจาก ผู้อำนวยการสถาบัน กศน. ภาค แต่ละภาค ที่ประชุม มอบหมายให้ อาจารย์คนึงนิจ แซ่อั้ง ประสานงานกับส่วนกลาง
  3. เนื้อหาหลักสูตร ปรับเนื้อหาจากหลักสูตรของกระทรวงให้เหมาะสมกับ กศน. โดยปรับเนื้อหาเป็น 6 เรื่อง คือ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต2 การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้3 ชุมทางชุมชนออนไลน์ 4 ภัยแฝงอินเตอร์เน็ต 5 ปัญหาภัยบุรุกโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์6 การเฝ้าระวังภัยออนไลน์
  4. การพัฒนาหลักสูตร พัฒนาหลักสูตรให้มีเนื้อหาเหมาะสมและสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ใช้งานของ กศน. โดยคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ กลุ่มเป้าหมาย ครู และบุคลากรทางการศึกษาของ กศน. กลุ่มเป้าหมาย นักศึกษา กศน.
การพัฒนาสื่อ 1 รูปแบบเนื้อหา โครงสร้างเนื้อหา ปรับให้เหมาะสมกับการนำเสนอผ่านระบบ e-Training โดยกำหนดหัวข้อหลัก 6 หัวข้อ แต่ละหัวข้อหลัก มีหลัก มีหัวข้อย่อย 1 ระดับ ในกรณีที่มีหัวข้อย่อยมากกว่านี้ จะเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละเนื้อหา ไม่มีข้อจำกัดให้กำหนดชื่อ File ประจำหัวข้อหลักและหัวข้อย่อย ให้เป็นระบบเดียวกันทั้ง 6 หัวข้อ เพื่อความสะดวกในการโครงสร้างเนื้อหา มีดังนี้ • ส่วนนำเข้าสู่หลักสูตร • คำแนะนำการใช้ • แบบทดสอบก่อนเรียน • เนื้อหาแต่ละบท o ขอบข่ายเนื้อหา/โครงสร้าง/วัตถุประสงค์ของเนื้อหา/หน่วยที่รับผิดชอบ o pre-post test ตามเนื้อหา หน่วย/บท o กิจกรรมการเรียนรู้ ตามเนื้อหา หน่วย/บท (อย่างน้อย 1 กิจกรรม) o มี กิจกรรมต่อเนื่อง หน่วย/บท (อย่างน้อย 1 กิจกรรม) • แบบทดสอบหลังเรียน 2. ข้อกำหนดเกี่ยวกับ webpage • คำแนะนำ คำชี้แจง วัตถุประสงค์ ฯลฯ (เหมือนกันทุกภาค) • ใช้ html เป็นตัวหลัก ใช้ Code UTF-8 • ถ้ามีการใช้ ActiveX ควรระวัง เพราะในการใช้งานจะยุ่งยากขึ้น • ขนาดตัวอักษร ใช้ MS Sans Sarif ขนาด 3 • ชื่อไฟล์ ให้ใช้ ChapX o หน่วยย่อย ChapXXX o แบบทดสอบ Pretest/Posttest X o กิจกรรม Exercise ตามด้วย ตัวเลขที่รับผิดชอบ o ภาพ ใช้ ChapX ตามด้วยลำดับเลขที่รูปภาพ 3 หลัก o การ link ภายในตามเนื้อหา ส่วน pretest posttest ไม่ต้อง • พื้นขาว ตัวอักษรสีเข้ม เป็นหลัก • ควรมี Banner + Navigator ไม่เกิน 5 0 pixel ซึ่งใช้รูปแบบเดียวกันเนื้อหา พรบ.คอมพิวเตอร์ 5 0 / กม.ลิขสิทธิ์ จะดำนินการอย่างไร - ยก Case Study - แทรกไว้ในบทเรียน (บางมาตรา) 3 โครงสร้างโฟลเดอร์ เนื่องจากจะต้องนำสื่อที่แต่ละภาคผลิต มารวมกัน แล้วจัดทำให้อยู่ในมาตรฐาน SCORM ซึ่งทุก file จะต้องรวมอยู่ใน Folder เดียวกัน ดังนั้น แต่ละภาคให้ดำเนินการดังนี้ • สร้าง Folder หลัก เก็บ webpage (เอกสาร html) ใช้ชื่อ folder ว่าอะไรก็ได้ • เอกสาร html ทั้งหมด เก็บไว้ใน folder นี้ • Resource อื่นๆ เช่น ภาพ flash เสียง ให้สร้าง folder ชื่อ images อยู่ภายใต้ folder หลัก แล้วเก็บ Resource ทั้งหมดไว้ใน folder inages 4 การตรวจสอบข้อบกพร่อง • นำเสนอสื่อที่ทำเสร็จแล้วทาง internet ที่ website ของแต่ละภาค แล้วแจ้งชื่อ website ให้แต่ละภาคทราบ เพื่อร่วมกันพิจารณาและปรับรูปแบบให้เหมาะสม ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 3 พฤษภาคม 2552 • แต่ละภาคทดลองติดตั้ง LearnSquare V3 แล้วทดลองใช้ เพื่อหาข้อผิดพลาด (BUG) แล้วดำเนินการแก้ไขในส่วนที่แก้ไขได้ ส่วนที่แก้ไขไม่ได้ ให้นำมาแก้ไขร่วมกันที่ ภาคกลาง ภายใน 4 พฤษภาคม 2552 (มีปัญหาติดต่อ ร่อเฉด ศรีเชาวน์ จิตกร) 5 การปรับปรุงเนื้อหา และจัดทำ SCORM การพิจารณาร่วมกันก่อนออนไลน์ประชุมตรวจสอบ/บรรณาธิการ (4 – 7 พค.) ต้นเรื่อง โดย สถาบัน ภาคกลาง 6. อื่น ๆ (วุฒิบัตร ข้อมูลผู้เรียน รายงานผล) • วุฒิบัตรo ทาง Net คือ ใบรับรอง ส่วนตัวจริง ออกโดย สถาบัน กศน.ภาคo รูปแบบวุฒิบัตร ให้ใช้แบบเดียวกัน แต่ยังไม่มีข้อยุติ • การสรุปและรายงานการดำเนินงาน- ใช้ระยะเวลาเดียวกับการพัฒนาโปรแกรมที่ ภาคกลาง การพัฒนารูปแบบการอบรมทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 1. รูปแบบวิธีการอบรม กิจกรรม และการประเมินผล กระบวนการฝึกอบรม มี 2 ขั้นตอน • เรียนด้วยตนเอง • ทำชุดกิจกรรมเสริมทักษะ (เขียน paper ส่ง)เมื่อทำกิจกรรมเสร็จแล้ว อำเภอส่งข้อมูลผู้เรียนมายังภาคให้ภาคตรวจสอบ และประเมินผล พร้อมทั้งอนุมัติวุฒิบัตร ข้อเสนอแนะ ผู้อำนวยการ สถาบัน กศน. ภาคกลาง เสนอแนะว่า ควรออกวุฒิบัตร Online โดยหาวิธีการให้อำเภอมีบทบาทในการประเมินผลผู้เข้ารับการอบรม โดยนำแนวคิดนี้ นำเสนอในการ ฝึกอบรม ผอ.อำเภอใหม่ 4. การทำบทนำ Introduction ทุกบท โดย สถาบัน กศน.ภาคกลางสถาบัน กศน.ภาคอื่น ให้ส่ง Story Board มาให้มาวันที่ 20 เมษายน 2552ส่งเมล์ มาที่ thitipls@hotmail.com กระบวนการอบรม• มี 2 ลักษณะ คือ เรียนทางอินเทอร์เน็ต และทำชุดกิจกรรม (ประเมินความรู้องค์รวม เป็นชุดฝึกกิจกรรม) • มีทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน จำนวนข้อตามความเหมาะสม อย่างน้อย 5 ข้อ แต่ไม่ควรเกิน 10 ข้อ ต่อหัวเรื่องใหญ่ นอกจากนี้ ให้กำหนดในโปรแกรมว่า ให้ทดสอบได้ครั้งเดียว และเกณฑ์ผ่านเท่ากับร้อยละ 50 • กิจกรรม แต่ละบท อย่างน้อย 1 กิจกรรม • การประเมินผล ใช้แบบทดสอบความรู้ ก่อน-หลัง ตอบถูก ข้อละ 1 คะแนน • ระยะเวลาของการเรียนรู้ 1 เดือน (16 พค. – 15 มิย.) 2 การพัฒนาระบบ Learsquare 2.1 นำเอาระบบ Learnsquare Version 3 มาใช้แทน Version 2.5 ที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น เพราะได้มีการปรับปรุง ดังนี้ • ระบบ loging • การลงทะเบียน • การติดต่อสื่อสารด้วย Private Message • การรายงานผลการเรียน • การรายงานสถิติข้อมูลการเรียน 2.2 การปรับรูปแบบ Learnsquare ให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานเพื่อการอบรม ดำเนินการดังนี้ • ติดตั้งและทดลองใช้ระบบ • บันทึกปัญหาที่เกิด • ประชุมปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบให้มีความเหมาะสม ที่ สถาบัน กศน.ภาคกลาง 2.3 การพัฒนากระบวนการอบรมทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตภารกิจต่อเนื่อง • การพัฒนาเนื้อหาo ให้แต่ละภาคทำงานตามเนื้อหา o Online เนื้อหา o รูปแบบการนำเสนอ ใช้แบบเดียวกับ e-Training กองพัฒน์ โดยใช้รูปแบบ flash (ภาคกลาง ตกลงรับทำในด้านบทนำ หรือ intro ให้ทุกภาค โดยแต่ละภาคจะต้องส่ง storyboard ให้ภาคกลางภายใน 20 เมษายน 2552) • การเปิดเรียนo 16 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2552 บวกลบ ไม่เกิน 15 วัน) • มีหนังสือขอความร่วมมือให้ทุกคน (กลุ่มเป้าหมาย) อบรม โดย กลุ่มแผนงาน o กลุ่มเป้าหมาย – ข้าราชการครูทุกคน o ครู กศน.ทั้งหมดทุกประเภท o บุคลากรทางการศึกษาในสังกัด กศน. • การทำบทนำ Introduction ทุกบท โดย สถาบัน กศน.ภาคกลาง • สถาบัน กศน.ภาคอื่น ให้ส่ง Story Board มาให้มาวันที่ 20 เมษายน 2552 • การบรรณาธิการ/พัฒนาโปรแกรม LN3 สถาบัน กศน.ภาคกลาง เป็นเจ้าภาพ เชิญทุกภาคมา ระหว่างวันที่ 4 – 7 พฤษภาคม 2552 ณ สถาบัน กศน.ภาคกลาง • การออกแบบสื่อตามเนื้อหา o มี pre-post test ตามเนื้อหา หน่วย/บท o มี กิจกรรมการเรียนรู้ ตามเนื้อหา หน่วย/บท (อย่างน้อย 1 กิจกรรม) o มี กิจกรรมต่อเนื่อง หน่วย/บท (อย่างน้อย 1 กิจกรรม)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น