หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2552

ศูนย์ความรู้ประชาชนแห่งชาติ

บางครั้งเราอยากจะรู้เรื่อวลงอะไรสักเรื่องหนึ่ง แต่ไม่รู้ว่าจะไปหาได้ที่ไหน เลยลองทบทวนว่า ตั้งแต่อดีตที่จำความจำ จำเรื่องที่ได้รับฟังมาได้ จนถึงปัจจุบัน ว่าเขาไปหาความรู้ที่ไหน สถานที่แรก ที่คนเราไปหาความรู้ คือ ถามจาก พ่อแม่ หรือคนใกล้ชิด เป็นแหล่งว่ารู้ ที่ได้เรียนรู้ตั้งแต่เกิด เมื่อโตขึ้นมา ก็นึกถึงครู อาจารย์ ก็คือ บุคคลผู้มีความรู้ ในสมัยก่อน จะต้องเดินทางดั้นด้น ไปพบผู้รู้ แล้วฝากตัวเป็นลูกศิษย์ ทำทุกอย่างเพื่อให้ได้ความรู้ สถานศึกษา คือโรงเรียน มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียน ที่จำลองมาจากสำนักตักศิลา ในสมัยโบราณ แต่ปัจจุบันเปลี่ยนไปมาก จาการกระทำตัวเป็นลูกศิษย์ อาจารย์บางคนเปลี่ยนไปเป็นลูกจ้างแล้ว เมื่อโลกทางวัตถุเจริญมากๆ ก็มีการสร้างแหล่งความรู้อย่างหลากหมาย ไม่ว่า จะเป็นห้องสมุด หรืออื่นๆ ที่คนเดินเข้าไปก็ได้รับความรู้ ปัจจุบัน เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ก้าวหน้าไปมาก ทุกคนจึงมักกล่าวถึงอินเตอร์เน็ต คือ ความรู้อยู่บนอินเตอร์เน็ต แล้วก็ดูเหมือนว่า มีอยู่มากมายมหาศาลเสียด้วย แต่ก็เสียดายที่เนื่องจากมันมีมากมาย ทำให้ไม่รู้ว่า มันมีความรู้อะไร อยู่ที่ไหนบ้าง โครงการศูนย์ความรู้ประชาชนแห่งชาติ ดูเหมือนว่า เป็นโครงการดีๆ อีกโครงการหนึ่ง ที่ คณะกรรมาธิการพัฒนาสังคมและกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส วุฒิสภา ร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการโดยสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ได้เป็นผู้ริเริ่มขึ้น โดยเน้นที่การสร้างศูนย์ความรู้ผ่านทางช่องทางอินเตอร์เน็ต โดยเริ่มต้นนำร่องที่ website http://www.thailearning.info/ (ติดตามตอนนต่อไปในวันพรุ่งนี้)

เมื่อไปประชุมเตรียมงานอบรมทางไกล

เมื่อสัปดาห์ที่แล้วได้มีโอกาสไปเข้าร่วมประชุมเพื่อวางแผนการพัฒนาการอบรมทางไกล จึงนำเอาข้อสรุปจากการประชุมบางประการมาเผยแพร่ รายงานผลการประชุมพัฒนาสื่อ e-Training และกำหนดแนวทางการดำเนินงาน 23-24 มีนาคม 2551 ณ สถาบัน กศน. ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง วัตถุประสงค์การประชุม 1 เพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมทักษะการใช้อินเตอร์เน็ตสร้างสรรค์และปลอดภัย 2 เพื่อกำหนดรูปแบบและจัดทำสื่อประกอบการอบรม 3 เพื่อกำหนดแนวทางร่วมกันในการฝึกอบรมทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต e-Training กระบวนการประชุม 1 นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานที่ผ่านมาของแต่ละภาค 2 ระดมความคิด เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของการประชุม 3 สรุปการประชุมเพื่อเสนอผู้ที่เกี่ยวข้อง สรุปผลการประชุม ข้อสรุปจากการประชุม ดังนี้ การพัฒนาหลักสูตร
  1. ชื่อของหลักสูตร ผู้เข้าร่วมประชุมได้พิจารณาปรับชื่อหลักสูตรให้เหมาะสมกับการอบรมสำหรับกลุ่มเป้าหมาย กศน. โดยเสนอชื่อต่างๆ และที่ประชุมได้ตกลงใช้ชื่อว่า เรียนรู้ เข้าใจ ทันภัยอินเตอร์เน็ต
  2. การขออนุมัติหลักสูตร ประสานงานกับส่วนกลาง เพื่อให้ เลขาฯ เป็นผู้อนุมัติหลักสูตร (ประสานงานกับ ส่วนแผนงาน ว่า สามารถดำเนินการได้หรือไม่ หรือจะเสียเวลาจนไม่ทันเปิดอบรมหรือไม่) ในกรณีไม่สามารถดำเนินการได้ทันเวลา ให้ขออนุมัติหลักสูตรจาก ผู้อำนวยการสถาบัน กศน. ภาค แต่ละภาค ที่ประชุม มอบหมายให้ อาจารย์คนึงนิจ แซ่อั้ง ประสานงานกับส่วนกลาง
  3. เนื้อหาหลักสูตร ปรับเนื้อหาจากหลักสูตรของกระทรวงให้เหมาะสมกับ กศน. โดยปรับเนื้อหาเป็น 6 เรื่อง คือ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอินเตอร์เน็ต2 การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้3 ชุมทางชุมชนออนไลน์ 4 ภัยแฝงอินเตอร์เน็ต 5 ปัญหาภัยบุรุกโจมตีเครื่องคอมพิวเตอร์6 การเฝ้าระวังภัยออนไลน์
  4. การพัฒนาหลักสูตร พัฒนาหลักสูตรให้มีเนื้อหาเหมาะสมและสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ใช้งานของ กศน. โดยคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ กลุ่มเป้าหมาย ครู และบุคลากรทางการศึกษาของ กศน. กลุ่มเป้าหมาย นักศึกษา กศน.
การพัฒนาสื่อ 1 รูปแบบเนื้อหา โครงสร้างเนื้อหา ปรับให้เหมาะสมกับการนำเสนอผ่านระบบ e-Training โดยกำหนดหัวข้อหลัก 6 หัวข้อ แต่ละหัวข้อหลัก มีหลัก มีหัวข้อย่อย 1 ระดับ ในกรณีที่มีหัวข้อย่อยมากกว่านี้ จะเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละเนื้อหา ไม่มีข้อจำกัดให้กำหนดชื่อ File ประจำหัวข้อหลักและหัวข้อย่อย ให้เป็นระบบเดียวกันทั้ง 6 หัวข้อ เพื่อความสะดวกในการโครงสร้างเนื้อหา มีดังนี้ • ส่วนนำเข้าสู่หลักสูตร • คำแนะนำการใช้ • แบบทดสอบก่อนเรียน • เนื้อหาแต่ละบท o ขอบข่ายเนื้อหา/โครงสร้าง/วัตถุประสงค์ของเนื้อหา/หน่วยที่รับผิดชอบ o pre-post test ตามเนื้อหา หน่วย/บท o กิจกรรมการเรียนรู้ ตามเนื้อหา หน่วย/บท (อย่างน้อย 1 กิจกรรม) o มี กิจกรรมต่อเนื่อง หน่วย/บท (อย่างน้อย 1 กิจกรรม) • แบบทดสอบหลังเรียน 2. ข้อกำหนดเกี่ยวกับ webpage • คำแนะนำ คำชี้แจง วัตถุประสงค์ ฯลฯ (เหมือนกันทุกภาค) • ใช้ html เป็นตัวหลัก ใช้ Code UTF-8 • ถ้ามีการใช้ ActiveX ควรระวัง เพราะในการใช้งานจะยุ่งยากขึ้น • ขนาดตัวอักษร ใช้ MS Sans Sarif ขนาด 3 • ชื่อไฟล์ ให้ใช้ ChapX o หน่วยย่อย ChapXXX o แบบทดสอบ Pretest/Posttest X o กิจกรรม Exercise ตามด้วย ตัวเลขที่รับผิดชอบ o ภาพ ใช้ ChapX ตามด้วยลำดับเลขที่รูปภาพ 3 หลัก o การ link ภายในตามเนื้อหา ส่วน pretest posttest ไม่ต้อง • พื้นขาว ตัวอักษรสีเข้ม เป็นหลัก • ควรมี Banner + Navigator ไม่เกิน 5 0 pixel ซึ่งใช้รูปแบบเดียวกันเนื้อหา พรบ.คอมพิวเตอร์ 5 0 / กม.ลิขสิทธิ์ จะดำนินการอย่างไร - ยก Case Study - แทรกไว้ในบทเรียน (บางมาตรา) 3 โครงสร้างโฟลเดอร์ เนื่องจากจะต้องนำสื่อที่แต่ละภาคผลิต มารวมกัน แล้วจัดทำให้อยู่ในมาตรฐาน SCORM ซึ่งทุก file จะต้องรวมอยู่ใน Folder เดียวกัน ดังนั้น แต่ละภาคให้ดำเนินการดังนี้ • สร้าง Folder หลัก เก็บ webpage (เอกสาร html) ใช้ชื่อ folder ว่าอะไรก็ได้ • เอกสาร html ทั้งหมด เก็บไว้ใน folder นี้ • Resource อื่นๆ เช่น ภาพ flash เสียง ให้สร้าง folder ชื่อ images อยู่ภายใต้ folder หลัก แล้วเก็บ Resource ทั้งหมดไว้ใน folder inages 4 การตรวจสอบข้อบกพร่อง • นำเสนอสื่อที่ทำเสร็จแล้วทาง internet ที่ website ของแต่ละภาค แล้วแจ้งชื่อ website ให้แต่ละภาคทราบ เพื่อร่วมกันพิจารณาและปรับรูปแบบให้เหมาะสม ตั้งแต่วันนี้ จนถึง 3 พฤษภาคม 2552 • แต่ละภาคทดลองติดตั้ง LearnSquare V3 แล้วทดลองใช้ เพื่อหาข้อผิดพลาด (BUG) แล้วดำเนินการแก้ไขในส่วนที่แก้ไขได้ ส่วนที่แก้ไขไม่ได้ ให้นำมาแก้ไขร่วมกันที่ ภาคกลาง ภายใน 4 พฤษภาคม 2552 (มีปัญหาติดต่อ ร่อเฉด ศรีเชาวน์ จิตกร) 5 การปรับปรุงเนื้อหา และจัดทำ SCORM การพิจารณาร่วมกันก่อนออนไลน์ประชุมตรวจสอบ/บรรณาธิการ (4 – 7 พค.) ต้นเรื่อง โดย สถาบัน ภาคกลาง 6. อื่น ๆ (วุฒิบัตร ข้อมูลผู้เรียน รายงานผล) • วุฒิบัตรo ทาง Net คือ ใบรับรอง ส่วนตัวจริง ออกโดย สถาบัน กศน.ภาคo รูปแบบวุฒิบัตร ให้ใช้แบบเดียวกัน แต่ยังไม่มีข้อยุติ • การสรุปและรายงานการดำเนินงาน- ใช้ระยะเวลาเดียวกับการพัฒนาโปรแกรมที่ ภาคกลาง การพัฒนารูปแบบการอบรมทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 1. รูปแบบวิธีการอบรม กิจกรรม และการประเมินผล กระบวนการฝึกอบรม มี 2 ขั้นตอน • เรียนด้วยตนเอง • ทำชุดกิจกรรมเสริมทักษะ (เขียน paper ส่ง)เมื่อทำกิจกรรมเสร็จแล้ว อำเภอส่งข้อมูลผู้เรียนมายังภาคให้ภาคตรวจสอบ และประเมินผล พร้อมทั้งอนุมัติวุฒิบัตร ข้อเสนอแนะ ผู้อำนวยการ สถาบัน กศน. ภาคกลาง เสนอแนะว่า ควรออกวุฒิบัตร Online โดยหาวิธีการให้อำเภอมีบทบาทในการประเมินผลผู้เข้ารับการอบรม โดยนำแนวคิดนี้ นำเสนอในการ ฝึกอบรม ผอ.อำเภอใหม่ 4. การทำบทนำ Introduction ทุกบท โดย สถาบัน กศน.ภาคกลางสถาบัน กศน.ภาคอื่น ให้ส่ง Story Board มาให้มาวันที่ 20 เมษายน 2552ส่งเมล์ มาที่ thitipls@hotmail.com กระบวนการอบรม• มี 2 ลักษณะ คือ เรียนทางอินเทอร์เน็ต และทำชุดกิจกรรม (ประเมินความรู้องค์รวม เป็นชุดฝึกกิจกรรม) • มีทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน จำนวนข้อตามความเหมาะสม อย่างน้อย 5 ข้อ แต่ไม่ควรเกิน 10 ข้อ ต่อหัวเรื่องใหญ่ นอกจากนี้ ให้กำหนดในโปรแกรมว่า ให้ทดสอบได้ครั้งเดียว และเกณฑ์ผ่านเท่ากับร้อยละ 50 • กิจกรรม แต่ละบท อย่างน้อย 1 กิจกรรม • การประเมินผล ใช้แบบทดสอบความรู้ ก่อน-หลัง ตอบถูก ข้อละ 1 คะแนน • ระยะเวลาของการเรียนรู้ 1 เดือน (16 พค. – 15 มิย.) 2 การพัฒนาระบบ Learsquare 2.1 นำเอาระบบ Learnsquare Version 3 มาใช้แทน Version 2.5 ที่ใช้ในปัจจุบัน ซึ่งมีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น เพราะได้มีการปรับปรุง ดังนี้ • ระบบ loging • การลงทะเบียน • การติดต่อสื่อสารด้วย Private Message • การรายงานผลการเรียน • การรายงานสถิติข้อมูลการเรียน 2.2 การปรับรูปแบบ Learnsquare ให้มีความเหมาะสมกับการใช้งานเพื่อการอบรม ดำเนินการดังนี้ • ติดตั้งและทดลองใช้ระบบ • บันทึกปัญหาที่เกิด • ประชุมปฏิบัติการเพื่อพัฒนาระบบให้มีความเหมาะสม ที่ สถาบัน กศน.ภาคกลาง 2.3 การพัฒนากระบวนการอบรมทางไกลผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตภารกิจต่อเนื่อง • การพัฒนาเนื้อหาo ให้แต่ละภาคทำงานตามเนื้อหา o Online เนื้อหา o รูปแบบการนำเสนอ ใช้แบบเดียวกับ e-Training กองพัฒน์ โดยใช้รูปแบบ flash (ภาคกลาง ตกลงรับทำในด้านบทนำ หรือ intro ให้ทุกภาค โดยแต่ละภาคจะต้องส่ง storyboard ให้ภาคกลางภายใน 20 เมษายน 2552) • การเปิดเรียนo 16 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2552 บวกลบ ไม่เกิน 15 วัน) • มีหนังสือขอความร่วมมือให้ทุกคน (กลุ่มเป้าหมาย) อบรม โดย กลุ่มแผนงาน o กลุ่มเป้าหมาย – ข้าราชการครูทุกคน o ครู กศน.ทั้งหมดทุกประเภท o บุคลากรทางการศึกษาในสังกัด กศน. • การทำบทนำ Introduction ทุกบท โดย สถาบัน กศน.ภาคกลาง • สถาบัน กศน.ภาคอื่น ให้ส่ง Story Board มาให้มาวันที่ 20 เมษายน 2552 • การบรรณาธิการ/พัฒนาโปรแกรม LN3 สถาบัน กศน.ภาคกลาง เป็นเจ้าภาพ เชิญทุกภาคมา ระหว่างวันที่ 4 – 7 พฤษภาคม 2552 ณ สถาบัน กศน.ภาคกลาง • การออกแบบสื่อตามเนื้อหา o มี pre-post test ตามเนื้อหา หน่วย/บท o มี กิจกรรมการเรียนรู้ ตามเนื้อหา หน่วย/บท (อย่างน้อย 1 กิจกรรม) o มี กิจกรรมต่อเนื่อง หน่วย/บท (อย่างน้อย 1 กิจกรรม)

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2552

สื่อการเรียนการสอน

ครูจะค้องทำตัวให้ทันสมัยก้าวทันเทคโนโลยี ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่เข้ามาช่วยเสริมการจัดการเรียนการสอน (ขอใช้คำว่าช่วยเสริมการเรียนการสอน) เพราะเทคโนโลยีดังกล่าวจะเข้ามาเสริมส่วนที่ขาดบางประการได้ ซึ่งเมื่อกล่าวถึงเทคโนโลยีดังกล่างว ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อการเรียนการสอน ประเด็นที่จะกล่าวถึงในครั้งนี้ คือสื่อการเรียนการสอน ที่นำเอาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดทำสื่อ ซึ่งสื่อประเภทนี้ จะชาวยให้ผู้เรียนได้รับรู้ผ่านประสาทสัมผัสหลายๆด้าน เช่น ตาดู หูฟัง โดยสิ่งที่ได้ดู ได้เห็น นอกจาจะเป็นตัวหนังสือ ภาพนิ่งๆ เหมือนในหนังสือแล้ว อาจจะได้ดูภาพเคลื่อนไหวที่เป็นสถานการณ์จริง สถานการณ์จำลอง ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนได่เกิดการเรียนรู้มากขึ้น ซึ่งสื่อดังกล่าวนี้ ถูกเรียกว่า สื่อมัลติมีเดีย (Multimedia)

วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2552

ครู คือผู้ให้

เมื่อวานได้มีโอกาสเสวนากับผู้มีอาชีพเดียวกัน คือ อาชีพครู ประเด็นก็คงเป็นเรื่องเศรษฐกิจ การคุยก็เปิดประเด็นอย่างกว้างขวาง แต่ก็อยู่ใกล้ตัว ในที่สุดก็มาลงสรุปว่า อาชีพรับราชการนี่แหละดีแล้ว โดยเฉพาะครู เพราะทุกวันนี้ เงินเดือนครูสูง คนที่ทำอาชีพอื่นๆ พอเศรษฐกิจฟุบ ก็แย่ไปตามๆ กัน แต่ครูก็ยังมีเงินเดือนเท่าเดิมและมากกว่าเดิม พอคุยกันมาถึงตอนนี้ ก็มีผู้แทรกมาว่า ครูก็ยังเป็นหนี้เหมือนเดิม ดู้เหมือนว่า ประเด็นนี้เป็นที่สนใจในวงสนทนาทันที เรื่องหลักคือ ทำไมครูจึงเป็นหนึ้มาก ทั้งๆที่บางท่านเงินเดือนห้าหมื่นกว่า ค่าใช้จ่ายก็ดูๆ แล้วก็ไม่มาก ก็เลยได้ข้อมูลมากมาย ที่บอกว่า ครู ทำไมเป็นหนี้ ประการแรก ครูส่วนมากไม่ได้บรรจุที่บ้านเกิด โรงเรียนอยู่ไกลบ้าน เดินทางไม่สะดวก พอมีเงินเดือนเหลือบ้าง ก็ผ่อนรถยนต์ ซึ่งส่วนมากก็เป็นรถกระบะ ราคาก็ประมาณ 5 แสน ต้องส่งงวด เดือนละประมาณ 6000 - 10000 บาท ต่อมาเมื่อครอบครัวใหญ่ขึ้น มีลูก ก็เริ่มมองหาบ้าน แล้วในที่สุดก็ผ่อนบ้าน หรือกู้เงินมาปลูกบ้าน ก็เป็นหนี้กันตั้งแต่ 500000 - ล้าน หรือมากกว่านั้น ก็ต้องผ่อนกับธนาคารเดือนละ 5000 -10000 บาท แล้วแต่ว่ากู้มากหรือน้อย ต่อมาเมื่อลูกเข้าโรงเรียน ก็ต้องมีค่าใช้จ่าย เงินเดือนชักจะไม่พอ ก็ กู้ออมทรัพย์ครู มาเป็นค่าใช้จ่าย เพื่อการศึกษาของบุตร ยิ่งเรียนสูง ก็ยิ่งจ่ายมากขึ้น ในแต่ละสัปดาห์ ก็มีงานบุญ ในหมู่บ้าน ของเพื่อนครูด้วยกัน และ การสังสรรค์อื่นๆ ครูเป็นผู้มีหน้า มีตา ก็ต้องใส่ซอง น้อยนักก็ไม่ได้ อย่างน้อยๆ ก็ 200-300 บาท ตามฐานะ บางเดือน มีเหตุฉุกเฉิน ไม่มีเงิน ก็ต้องเริ่มกู้ฉุกเฉิน และอื่นๆ ดูรายจ่ายคร่าวๆแต่ละเดือน เฉพาะส่งต้น ส่งดอก ก็ ราวๆ สองหมื่นบาท หรือมากกว่า และในจำนวนนี้ เป็นดอกเบี้ยเสียครึ่งหนึ่ง เห็นข้อมูลเหล่านี้แล้วก็ต้องขอบคุณ คุณครู ทั้งหมายอีกเหมือนเดิน เพราะสรุปได้ว่า ครูนี่ แหละ คือผู้ที่ทำให้เงินสะพัด เงินหมุนเวียนตามนโยบายรัฐบาล เพราะเงินที่มาถึงครู เป็นเงินหมุนเวียน อยู่ในมือครูแวบเดียวก็หมุนไปที่อื่นแล้ว หมุนไปอยู่ที่บริษัทรถยนต์ หมุนไปอยู่ใในธนาคารอาคารสงเคราะห์ หมุน เข้าไปในสหกรณ์ออมทรัพย์ หมุนไปอยู่ในบริษัทผลิตเครื่องดื่ม หมุนไปอยู่ในสถานศึกษาต่างๆ ครูคือผู้ให้จริงๆ

วันพฤหัสบดีที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2552

ครู พลเมืองดีของชาติ

เดือนนี้เป็นเดือนการเสียภาษีรายได้ส่วนบุคคล หรือ ภงด. 91 ซึ่งจะหมดเขตเดือนมีนาคม ประชาชนไทยทุกคน มีหน้าที่ต้องเสียภาษี เพื่อช่วยเหลือประเทศชาติ นำไปพัฒนาประเทศ (ไม่รู้ว่านำไปจ่ายเป็นโบนัสของใคร เหมือนที่อเมริกาหรือเปล่า) ในประเด็นนี้ ต้องยกย่องครูเราจริงๆ ว่า แต่ละคนเป็นพลเมืองดีของประเทศชาติ เพราะครูทุกคนได้เสียภาษี อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่มีการหลีกเลี่ยงภาษี เพราะมีการหักภาษี ณ ที่จ่ายไปเรีบบร้อยแล้ว ทุกเดือน เมื่อถึงเดือนมีนาคม ก็มายืนแบบการเสียภาษี พร้อมทั้งในตอนสุดท้ายก็มาคำนวนว่า ได้หักภาษีไปมากว่าที่จะต้องจ่าย หรือน้อยกว่า ซึ่งสว่นมาก ก็จะได้คืน เพราะการคำนวนการหักภาษี ณ ที่จ่าย มักจะคำนวนไว้เกิน เล็กน้อย ยกตัวอย่างข้าราชการครูคนหนึ่ง ถูกหักภาษี เดือนละประมาณ 2000 บาท ปีหนึงก็ประมาณ 24000 บาท ก็เท่ากับได้ช่วยเหลือประเทศชาติไม่ใช่น้อย แต่เงินจำนวนนี้ บางท่านก็สงสัยว่า การหักภาษี ณ ที่จ่านนั้น เงินที่หักไป ไปเก็บไว้ที่ไหน และผลประโยชน์จากเงินจำนวนั้น มีหรือไม่ ตัวอย่างเช่น เดือน เมษายน ครูคนนี้ ถูกหักภาษีไป 2000 บาท แต่การเสียภาษีจริง เขาจะเสียเมื่อเดือน มีนาคม ของอีกปีหนึ่ง ดังนั้น แสดงว่า คนที่รับเงินนี้ เอาเงินไป เก็บไว้ (หรือทำอย่างอืน ) เป็นเวลา 12 เดือน ถ้าคิดถึงดอกผลที่เกิดจากเงิน 2000 บาทนี้ ก็ต้องเอาอัตราดอกเบี้ยไปคำนวน ส่วนเดือนต่อมาก็ถูกหักอีก 2000 บาท ก็เท่ากับเอาเงินไปใช้ประโยชน์ 11 เดือน และต่อมาก็เป็น 10 เดือน 9 เดือน ตามลำดับ คำถามที่เกิดขึ้นจึงตามมาว่า เงินจำนวนนี้ นำไปใช้ทำอะไร และหาผลประโยชน์ หรือไม่ และถ้านับจำนวนครูทั้งหมด ที่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ก่อนเวลาที่ควรจะต้องจ่าย คิดเป็นเงินเท่าไร และได้ผลประโยชน์จากเงินจำนวนนี้หรือไม่

วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2552

ครูประวัติศาสตร์ นึกถึงเรื่องสามก๊ก

ได้อ่านข้อความที่เปรียบเทียบเหตุการณืบ้านเมืองตอนนี้ เปรียบเหมือน ประวัติศาสตร์ของจีนเรื่องสามก๊ก ว่าปัจจุบันประเทศไทยมี 3 ก๊ก คือ ก๊กสีเหลือง ก๊กสีแดง และก๊กสีฟ้า ที่มาเปรียบเทียบกันก็เพราะตามเรื่องราวในสามก๊ก ทุกก๊ก ก็อ้างถึงความจงรักภักดีกันทั้งนั้น แต่วิธีการต่างกัน เพราะก๊กของโจโฉ ยึดตัวฮ้องเต้ไว้ได้ ดังนั้น เมื่อจะทำอะไร ก็อ้างการกระทำตามบัญชาฮ้องเต้ ก๊กเล่าปี่ ก็อ้งว่า ทำเพื่อกำจัดผู้ที่ยึดฮ้องเต้ไว้เป็นตัวประกัน ประเด็นคงไม่ได้อยู่ตรงนั้น แต่ประเด็นคือ ทั้งสามก๊ก รบกันเอาเป็นเอาตาย ผู้คนล้มตายมากมายมหาศาล เพียงเพราะข้ออ้างของหัวหน้าแต่ละก๊ก และเรื่องก็จบลงด้วย ความฉิบหายวายวอด ของประชาชน ก็เลยคิดว่า เรื่องสามก๊ก ถ้ามีการตัดหัว หัวหน้าก๊ก ทั้งสามก๊ก ประชาชนก็คงไม่เดือดร้อนขนาดนั้น ไม่รู้ว่าเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของจีนในอดีต จะเทียบเคียงกับเหตุการณืของประเทศไทยตอนนี้ได้หรือเปล่า อาจจะเป็นคงละเรื่องก็ได้ แต่คนที่เอามาเปรียบเทียบ ก็ช่างยกตัวอย่างได้เทียบเคียงคล้ายๆ จริงๆ เพราะมีสามกลุ่มเหมือนกัน แต่บางคนก็อาจจะแย้งว่า ความเป็นจริงมีแค่ 2 ก๊กเท่านั้น ก็สุดแท้แต่ว่าใครคิดอย่างนั้น จากเรื่องนี้ ทำให้เห็นคล้อยตามพระราชเสาวนียืเป็นอย่างมาก ที่อยากให้รื้อฟิ้นวิชาประวัติศาสตร์ เข้ามาในหลักสูตรการเรียนการสอนอีกครั้ง เพราะเรื่องราวในอดีต ก็สามารถเป็นบทเรียนที่ดี และสามารถใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาในปัจจุบันได้ ไม่รู้เหมือนกันว่า จะริ้อฟิ้นวิชาประวัติศาสตร์กลับมาให้เข้มข้นอีกครั้งได้หรือเปล่า เพราะวิชานี้ไม่ใช่วิชาสำคัญในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย

แล้วก็บานปลายจริงๆ

เคยปรารภเกี่ยวกับอนาคตของข้าราชการหลังเกษียณไว้ครั้งหนึ่งแล้ว กรณีเกี่ยวกับ กบข. หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เพราะอนาคตข้างหน้า อีก 4-5 ปีนี้ ไม่รู้เศรษฐกิจจะฟื้นตัวแค่ไหน ซึ่งก็หมายความว่า ถ้าใครเกษียณช่วงนี้ ก็คงไม่มีเงินงอกเงยขึ้นมาเท่าไร จาก กบข. ส่วนเงินที่เก็บออกมาพื่อฝากธนาคาร เพื่อกินดอกเบี้ยตอนแก่ ก็รู้ๆกันอยู่ ว่า ไม่มีมาเป็น 10ปีแล้ว ตั้งแต่ตอนเศรษฐกิจย่ำแย่ ดังนั้น เงินเก็บ เงินออกทั้งหลายของข้าราชการ โดยเฉพาะครู ไม่รู้ว่าจะพอกินแค่ไหน คงต้องเริ่มวางแผนชีวิตใหม่กันแล้ว
แล้วช่วงนี้ ก็เริ่มบานปลาย เพราะบรรดาข้าราชการทั้งหลายก็เริ่มรวมกลุ่มเพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่วกับเรื่องนี้ ถึงขั้นรุนแรงขึ้น ด้วยการตรวจสอบว่า คณะกรรมการทำถูกต้องหรือไม่ รวมทั้งเรียกร้องให้เลขาธิการลาออก ซึ่งเรื่องนี้ดูเหมือนว่าจะไม่จบง่าย และที่กำลังคิดก็คือ สุดท้ายจะลงเอยอย่างไร เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่ใหญ่เกินจัดการได้ง่ายๆแล้ว
ตั้งคำถามกับตัวเองว่า เราเองคิดอย่างไร
ประการแรก การออกแบบนี้เป็นเรื่องดี หรือไม่ คำตอบคืดเป็นเรื่องนี้ อย่างน้อยก็ดีสำหรับคนทีไม่มีวินัยในการออม เพราะเงินจำนวนนี้ จะได้เก็บไว้ยามแก่เฒ่า ถ้าให้เก็บออกเอง บางคนก็ไม่สามารถจะทำได้ สุดท้ายก็ไม่มีอะไรตอนแก่
ประการต่อมา เรื่องผลประโยชน์ตอบแทน ได้มากได้น้อย ก็ไม่ว่า แต่อย่าให้ขาดทุนก็แล้วกัน
ประการที่สาม เริ่มสงสัยในความไม่โปร่งใส สาเหตุที่สำคัญคือ ข้อมูลข่าวสารที่แจ้งให้สมาชิกทราบ ลักษณะคล้ายๆกับคุรุสภา ที่สมาชิกไม่ค่อยรู้เลยว่า เขาทำอะไรกันบ้างเพื่อครู เห็นแต่เก็บเงินสมาชิกไป ดังนั้นควรเอาเงินที่จ่ายเป็นค่า โฆษณา มาเป็นค่าใช้จ่ายในการสื่อสารกับสมาชิกน่าจะได้ประโยชน์มากกว่า อย่าให้มีผลประโยชน์แอบแฟงเหมือนกับข่าวที่ลืออกมา
สรุปก็คือ ยังสนับสนุนการออกแบบนี้แต่น่าจะปรับปรุงให้ดีกว่านี้ ทั้งตัวบุคคล และวิธีการทำงาน

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2552

น่าเป็นห่วงประเทศชาติ

ว่าจะไม่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมือง แต่ก็อดไมได้ เพราะมันเป็นเรื่องที่เข้ามากระทบต่ออนาคตของประเทศชาติ เพราะว่า เรื่องนี้ เกี่ยวข้องกับการศึกษาโดยตรง แต่เป็นเรื่องที่เป็นผลสืบเนื่องมานานแล้ว และขณะเดียวกันเรื่องนี้ ถ้าเอาการศึกษาเข้าไปแก้ ก็คงจะต้องใช้เวลาอีกยาวนานเหมือนกันกว่าจะเห็นผล เรื่องที่จะกล่างถึงต่อไปน้ เป็นเรื่องที่เกิดจากช่วยที่มีเวลาว่างวันหยุด แล้วไปเยี่ยมลูก แล้วได้มีโอกาสดู TVและโดยบังเอิญ มี TV 2 ช่อง ที่อยู่ติดกัน และคนทั่วๆไป ไม่มีโอกาสได้ดูเพราะไม่ใช่ Free TV โดย TV สองช่องที่ว่านั้นคือ ASTV และ D Station ทั้งสองช่องนี้ ถือว่า เป็น TV ที่อยู่กันคนละข้าง หรือเป็นฝ่ายตรงข้ามกันก็ว่าได้ เรียกว่าเป็นฝ่ายของเสื้อเหลือง และเสื้อแดง เมื่อวิเคราะห์ ข้อดีข้อเสียของการดู TV ทั้งสองช่อง แยกออกมาได้ดังนี้
  1. ข้อดี TV ทั้งสองช่องนี้ จะนำเสนอในเรื่องเดียวกัน เหตุการณ์เดียวกัน แต่นำเสนอข้อมูลที่ต่างกัน (มีน้อยเรื่องที่จะตรงกัน) ทำให้เกิดข้อดี มาก สำหรับผู้บริโภคข่าว เพาะตามปกติแล้ว เราได้ดูข่าวนั้นจาก Free TV เริ่มได้ข้อมูลมาระดับหนึ่ง ต้อจากนั้น มาดูสองช่องนี้ ก็จะได้ข่าวประเภทที่แทรกความคิดเห็นของผู้เสนอข่าวเข้าไป โดยความคิดเห็นนี้ จะออกมาเหมือนกันทั้งสองช่อง คือ ตนเองดีอย่างไร ฝ่ายตรงข้ามเลวอย่างไร เท่ากับว่า เป็นาการนำเสนอเหตุการณืที่เกิดขึ้น บวกความคิดเห็นเชิงวิเคราะห์เข้าไปว่า จากเหตุการณ์ดังกล่าว ฝ่ายตรงข้ามเลวอย่างไร ส่วนฝ่ายตนเองดีอย่างไร จากประเด็นนี้ ทำให้ผู้บริโภคข่าว ได้รับข้อมูลรอบด้านมากขึ้น เมื่อมีข้อดี ก็มีข้อเสีย คือ ไม่รู้ว่าสิ่งที่นำมาวิเคราห์นั้น มีข้อเท็จจริงอย่างไร เป็นการใส่ร้ายป้ายสีกัน หรือเรื่องจริงเป็นเช่นนั้น จึงเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคต้องคิดเอาเอง บางเรื่องก็รู้ได้ทันทีว่า เป็นเรื่องจริงหรือเท็จ บางเรื่องก็ไม่รู้ แต่สิ่งที่รู้แน่ๆ คือทาสแท้ของการนำเสนอว่า ต้องการนำเสนอเพื่ออะไร
  2. ข้อดี เกิดการเรียนรู้วิชาสังคมศึกษาที่ว่าด้วยการเมืองอย่างละเอียดละออ โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย ต่างกับสมัยก่อนเรื่องราวเหล่านี้ กว่าจะออกมาเป็นบทเรียนในเอกสาร สิ่งพิมพ์ต่างๆ ก็ใช้เวลานาน แต่ปัจจุบัน รู้เรื่องราวต่างๆ ทันที ถ้าดู TV ไม่ทัน ก็สามารถไป Update กันทางอินเตอร์เน็ตได้ ข้อเสีย มีเรื่องที่ไม่ใช่ข้อเท็จจริงปนเข้ามามากมาย
  3. ข้อดี ได้เรียนรู้แนวความคิดของแต่ละคนว่า กว่าจะคิดประเด็นใดออกมาแต่ละเรื่อง นั้น เขามีแนวความคิดที่มีความเป็นมาอย่างไร เพราะการติดตามดูตัวละครที่เกี่ยวข้องในการเข้ามามีลทบาททางการเมืองแต่ละคน จะมีข้อมูลมานำเสนออย่างรายละเอียด ว่าคนนี้มีความเป็นมาอย่างไร และเข้ามาเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์แต่ละเรื่องอย่างไร ซึ่งช่วยสนับสนุนแนวความคิดและการปฏิบัติของคนๆนั้น ว่า ทำไมท่านจึงคิดและทำอย่างนั้น มีเหตุผลและความต้องการเบื้องหลังอย่างไร ข้อเสีย เกิดการเอาอย่างแนวคิดบางแนวคิด ที่ก่อให้การดารกระทำเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง โดยไม่ได้ตั้งอยู่บนผลประโยชน์ของประเทศชาติตามที่มักจะกล่าวอ้างกัน
  4. ข้อดี ประชาชนฉลาดขึ้น เพาะทุกวันนี้ เริ่มมองเกมของแต่ละคนได้เร็วขึ้น ว่า ที่ทำเช่นนั้น เพื่อต้องการอะไร เช่น ถ้าต้องการปลุกระดม จะต้องใช้จิตวิทยามวลชนเอย่างไร ถ้าต้องการให้กลุ่มชนจำนวนมากเดิมตาม จะต้องทำอย่างไร เป็นต้น จึงทำให้เริ่มเดาสถานการณ์ออกว่า เมื่อกลุ่มหนึ่งกำลังจะทำอย่างนี้ผลที่ตามมาจะเป็นอย่างไร ข้อเสีย น่าสงสารสำหรับคนที่ตามไม่ทันซึ่งอาจจะมีจำนวนหนึ่ง ที่อาจจะไม่ทราบด้วยซ้ำไปว่ากำลังทำอะไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่ได้มีโอกาสได้รับข่าวสารข้อมูลทุกด้าน โดยรับฟังเฉพาะด้านใดด้านหนึ่ง
  5. ข้อดี อาจจะช่วยให้คำว่าประชาธิปไตยพัฒนาขึ้นมาก็ได้ เพราะคนเริ่มหันมาสนใจปัญหาการเมืองมากขึ้น แต่ก็อาจจะมีข้อเสียคือ บางอย่างกว่าจะได้มา อาจจะต้องมีการบอบช้ำบ้าง

ในฐานะที่เป็นครู ก็เพียงแต่คิดว่า ทำอย่างไรให้เหตุการณ์ที่กำลังเกิดนี้ เปรียบเหมือนห้องเรียนห้องใหญ่ของวิชาทักษะชีวิต วิชาทักษะการอยู่ร่วมกันในสังคมหมู่มาก เป็นไปได้ไหม ที่รัฐบาลจะเอา TV ทั้งสองช่องนี้ มาให้ทุกคนได้รับรู้ข่าวสารกันบ้าง เอาทั้งสองฝ่ายมาจัดรายการบน Free TV นำเสนอข้อมูลข้เท็จจริงให้ประชาชนทราบ แบ่งกันออกรายการเลยตลอดทั้งวัน สลับกันคนละ 1 ชั่วโมงก็ได้ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข่าวสารทุกด้าน

วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2552

เมื่อไปอบรม IPCop

การอบรม IPCop สำนักงาน กศน. นครราชสีมา 9-13 มีนาคม 2552 มีโอกาสไปเข้ารับการอบรมเรื่อง network โดยเน้นเรื่องความปลอดภัยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ขณะที่นั่งอบรมก็บันทึกเรื่องที่สำตัญเอาไว้ด้วย ===================================================== 1 ทำไมต้อง IPCop 2 ออกแบบเครือข่าย การออกแบบเครือข่าย เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในหน่วยงาน โดยพิจารณาว่า หน่วยงานของเรานั้นมีการใช้เครือข่ายอย่างไรบ้าง ดังนี้ - มีการให้บริการอินเตอร์เน็ตในหน่วยงานหรือไม่ ถ้ามีการให้บริการ จำนวนเครื่องที่ให้บริการมากน้อยเพียงใด - มีการให้บริการอินเตอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์ไร้สาย (Wireless) หรือไม่ - ภายในหน่วยงาน ติดตั้ง Web Server เพื่อให้บริการ Website สำหรับสำหรับบุคคลภายนอกหรือไม่ นอกจากประเด็นดังกล่าวแล้ว จะต้องพิจารณาถึงกฎหมายว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ด้วย เช่นการเก็บข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ การพิสูจน์ตัวตนผู้ใช้งานเป็นต้น การออกแบบดังกล่าวนี้ จะนำไปกำรูปแบบของ firewall ที่จะใช้ในหน่วยงาน 3 การเตรียม Hardward จากการออกแบบเครือข่ายในข้อที่ 2 จะช่วยกำหนดว่า จะต้องใช้อุปกรณ์อะไรบ้าง ในการนำมาติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะทำหน้าที่ firewall และมีอุปกรณ์ต่อพ่วงอะไร โดยอุปกรณ์ที่สำคัญที่ต้องเตรียมคือ LAN Card Swish อุปกรณ์ส่งสัญยาณไร้สาย (Wireless) สาย LAN (สาย UTP ที่เข้าหัว RJ45) เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ตรวจสอบ ตามการออกแบบเครือข่ายในขั้นตอนที่ 2 แล้วแต่ว่าออกแบบไว้อย่างไร อย่างน้อยต้องใช้คอมพิวเตอร์ 2 เครื่อง แตเต็มรูปแบบ ต้องใช้ 4 เครื่อง 4 ติดตั้ง IPCop จะติดตั้ง IPCop ใน Version ใด ปัจจุบัน 1.4.20 การ Download และการสร้างแผ่น ติดตั้ง ติดตั้งโปรแกรม ตรวจสอบการทำงานของแต่ละ Zone (เขียว น้ำเงิน แดง และส้ม ซึ่งใน Zone สีส้ม หรือ DMZ จะต้องดำเนินการต่อเนื่องในเรื่อง Foward Port จะยังไม่สามารถทำงานได้ทันที) การ set ค่าต่างๆ ให้สอดคล้องกับการออกแบบเครือข่าย 5 รู้จักแถบเครื่องมือ เมื่อติดตั้งเสร็จ IPCop ก็พร้อมที่จะใช้งานโดยไม่ต้องทำอะไร 6 การติดตั้งโปรแกรมเสริม โปรแกรมเสริม หรือ AddOn มีหลายโปรแกรม ที่ได้พัฒนาขึ้นมา เพื่อเพิ่มความสามารถของ IPCop ให้สามารถใช้งานได้ดีขึ้น ซึ่งโปรแกรมต่างๆดังกล่าวนี้ มีรายละเอียดและมีให้ Download ที่ website ของ IPCop (www.ipcop.org) ซึ่งการติดตั้งโปรแกรมทำได้ไม่ยาก แต่ค่อนข้างจะมีปัญหาสำหรับท่านที่ไม่เคยใช้คำสั่งของ LINUX คุ้นเคยเฉพาะการใช้ GUI ของ Windows ก็ต้องใช้โปรแกรมช่วย แต่อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องใช้คำสั่งของ Linux บางคำสั่ง โดยโปรแกรมที่แนะนำในการนำมาติดตั้ง (ที่เครื่อง Client) มี 2 โปรแกรม คือ winscp และ putty โปรแกรม winscp ทำงานเช่นเดียวกับโปรแกรม FTP แต่สามารถติดต่อกับระบบปฏิบัติการ Linux ดังนั้นจึงสามารถ Upload โปรแกรม AddOn จากเครื่องที่เราใช้งาน (ใช้ระบบปฏิบัติการ windows) ไปยังเครื่อง IPCop ซึ่งใช้ระบบปฏิบัติการ Linux โปรแกรม putty เป็นโปรแกรมลักษณะ Remote Desktop คือสามารถดึงเอาหน้าจอของ IPCop มาแสดงที่หน้าจอของเครื่อง Client คือ Windows ได้ ทั้งสองโปรแกรมนี้ช่วยให้เราไม่ต้องไปนั่งทำงานที่หน้าเครื่อง IPCop แต่สามารถใช้งานผ่านทางเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในเครือข่ายที่เชื่อมต่อทางสายสีเขียว โปรแกรมเสริม มีโปรแกรมอะไรบ้าง Advance Proxy URL Filter Updatexlrator Sarg วิธีการติดตั้งโปรแกรมเสริม ต้องเปิด port การสื่อสารก่อน โดยเปิด SSH Access ที่เมนู system (เมื่อใช้เสร็จ ต้องปิดทันที *** สำคัญมาก) Advance Proxy เป็นตัวช่วยกำหนดสิทธิการใช้งาน Proxy ว่าให้ไปใช้ได้หรือไม่ อย่างไร ให้มีการใช้หรือไม่ อย่างไร แล้วที่สำคัญ เป็นตัวกำหนดว่า อนุญาตให้มีการใช้งาน Add On ตัวอื่นๆอีก 3 ตัวหรือไม่ คือ URL filter / Updatexlrator และ Authentication การใช้งาน เริ่มที่ common settings กำหนดให้ enable ที่สายเขียนและ น้ำเงิน เพื่อให้ มีการใช้ proxy พร้อมทั้งกำหนดให้เครื่องลูกมาใช้ Proxy ที่ เครื่อง IPCop โดยอัตโนมัติ Enabled on Green: อนุญาตให้เครื่อง Client เข้ามาใช้ Proxy ได้ Transparent on Green: เป็นการกำนดให้เครื่อง Client มาใช้ Proxy ที่ เครื่อง IPCop ตามเลข IP ของ IPCop และ Port ที่กำหนด โดยไม่ต้องไปตั้งค่า Proxy ที่เครื่อง Client URLfilter คำสั่งในการกรอง URL คือกำหนดว่า web ใด บ้างที่เข้าใช้ได้ หรือ ไม่ได้ การใช้งาน ต้องไปอนุญาตการใช้ใน Advance Proxy block catagory เป็นกลุ่ม web ที่ไม่ควรเข้าใช้ ซึ่ง IPCop ได้กำหนดไว้ในฐานข้อมูล Custom Blacklist Block Domainname คือ ชื่อที่เรากำหนด โดยใส่แต่ชื่อ Domainname โดยไม่ต้องใส่ www Block URL ไม่ได้ Block ทั้ง Domain แต่ Block เฉพาะ Path ที่อยู่หลัก Domainname Custom expressions คือ ห้ามใช้ คำสัญญลักษ์ พิเศษ File extension blocking คือ Block file ทั้งลักษระดังกล่าว คือ exe พวก audio video และพวก zip file Local file redirect กรณีที download ไมได้ ให้ไปที่ไหน Network based access control ถ้าเอา IP เครื่องไหน มาใส่ช่องนี้ จะข้าม กฏ ที่ผ่านมาทั้งหมด Block page setting กำหนดว่า เมื่อ block แล้ว ให้ปรากฏอะไรบ้าง ช่องด้านขวา เป็นการกำหนดว่า เมื่อถูก block แล้ว ให้ปรากฏอะไร Use "DNS Error" to block URLs: ถ้าเลือกตัวนี้ จะไม่เอาหน้าที่กำหนดมาแสดง แต่จะเอาหน้าแบบเข้า web ไม่ได้มาแทน Automatic blacklist update เลือก web ที่กำหนด Blacklist ซึ่งจะมีรายชื่อใน web ซึ่งจะเปลี่ยนไปตามที่ web นั้น กำหนด หมายเหตุ ยิ่งกรองมา net ก็จะยิ่งช้า updatexlrator - The Update Accelerator add-on ช่วย ในการ Download pad ของโปรแกรมต่างๆ ในหน่วยงาน ที่ต้องมีการ Download เช่น Window Update หรือประเภท anty Virus มาเก็บใน IPCop เครื่อง ลูกข่าย ก็จะมา download จากที่นี้ ทำให้การทำงานอินเตอร์เน็ตเร็วขึ้น ช่วยอำนวยความสะดวกในการ Download การจะใช้งานได้ ต้องเปิด Advance Proxy ก่อน แล่วสั่งให้ enable Updateexlator ก่อน จึงจะทำงาน (เช่นเดียวกับ URLfilter) Common setting 7 การ set ค่าต่างๆ Time server ต้องคลิก ที่Provide time to local network Intrusion Detection System: การตรววจสอบการโจมตี ต้องไปลงทะเบียนก่อน ที่ http://www.snort.org. เมื่อลงทะเบียนจะได้ oink code เอามาป้อนในช่อง แล้วสั่ง refresh สั่ง Download แล้ว apply เสร็จแล้ว ไปกำหนดว่า ให้ Snort ที่สายไหน(ที่ด้านบน) 8 9 10

วันศุกร์ที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2552

การศึกษาปัจจุบัน อะไรที่หายไป

  • ตอนเช้าของทุกวัน จะต้องขับรถมาทำงานเมื่ออดีตที่ผ่านมาสัก 10 ปี จะขับรถมอร์เตอร์ไซด์มาทำงาน จำได้ว่า ถนนหนทางโล่ง ขับรถสบาย แต่ ปัจจุบัน พอจะมีสตางค์ซื้อรถมาขี่ไปทำงาน และประกอบกับขี่มอร์เตอร์ไซด์ไม่ได้แล้ว อันตรายเกินไป สำหรับวัยอย่างเรา แต่ปรากฏว่า ถนนหนทางไม่เหมือนเดิมแล้ว ถนนขยายกว้างมาก เป็นด้านละ 3 ช่องจราจร รวมสองด้าน คือ 6 ช่องทาง มีเกาะกลางถนนตรงกลาง สิ่งที่ปรากฏคือ ช่องซ้ายสุด กลายเป็นที่จอดรถ ฟุตบาทกลายเป็นที่ตั้งร้านขายของ ช่องตรงกลาง เป็นช่องของมอร์เตอร์ไซด์ รถยนต์ จึงมาวิ่งช่องขวาสุด ชิดเกาะกลางถนน และรถจะติดเป็นช่วงๆ เนื่องจากมีรถรอเลี้ยวขวาขวางหน้า สภาพการจราจรอันแออัดของต่างจังหวัดในเมืองใหญๆจะเป็นแบบนี้ในตอนเช้าของชั่วโมงเร่งด่วน คือช่วงเวลาที่ทุกคนไปทำงาน
  • สิ่งที่จะพบและสร้างความลำบากในการขับรถ คือ วินัยจราจร ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่พบบ่อยคือ
  1. ขับรถย้อนศร จะพบเฉพาะรถมอร์เตอร์ไซด์ เป็นเพาะต้องการความสำดวกและรวดเร็ว เพราะถ้าจะไปกลับรถ ต้องขับไปกลับรถยังจุดที่จะกลับได้อีกไกล ดังนั้น พอออกจากซอย ก็ขับรถสวนขึ้นมา โดยไม่สนใจว่า รถที่เขาขับมาอย่างถูกต้องจะต้องหลบ ถ้เป็นรถเล็กก็ไม่กระทบ ถ้าเป็นรถยนต์ ก็ต้องไปเบียดรถทางขวา
  2. ไม่รอให้รถว่าง เมื่อโผล่มาจากซอย แต่รถยังไม่ว่าง ก็ไม่รอ แต่ขับออกมาแล้ววิ่งบนขอบข้างทาง แล้วค่อยๆเบียดขึ้นมาบทถนน (ส่วนมากเป็นรถยนต์) ทำให้รถที่วิ่งตามมา ถูกเบียด หรือต้องเบรคกระทันหัน หรือหักหลบไปเบียดรถในช่องขวา สร้างปัญหากระทบรถที่ตามมาอีก
  3. รถที่เลี้ยวขวา แต่ไม่เข้าตามช่อง แต่วิ่งไปที่ช่องรถที่ไปตรง แล้วไปแทรกตัดหน้าเข้าช่องขวา หรือเรียกง่ายๆ คือ แซงคิว ทำให้รถติดเนื่องจากรถคันนี้ จะไปขวางหน้า รถทางตรง หรือรถที่เข้าช่องที่ถูกไม่ยอมให้ตัดหน้า ก็เลยจอดค้างติดกันอยู่อย่างนั้น
  • ที่ยกตัวอย่างเรื่องการจราจรมานี้ เพื่อจะนำเข้าสู่ประเด็นว่า ทุกวันนี้สังคมของเราขยายมากขึ้น มีคนมากขึ้น จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันในสังคม ดังนั้น จึงเป็นเรื่องยาก ที่แต่ละคนจะทำอะไรตามใจตัวเองได้ทั้งหมด การอยู่ร่วมกันในสังคม จะต้องมีข้อตกลง หรือกติการร่วมกัน จึงจะอยู่ด้วยกันได้อย่างมีความสุข ความสำคัญจึงอยู่ที่กติกานี่เอง กติกาบางเรื่อง ก็เขียนออกมาเป็นตัวหนังสือที่เป็นกฏหมาย แต่บางเรื่อง อาจจะเป็นเรื่องที่ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติ ขนบธรรมเนียม หรือมารยาทในสังคม ดังนั้นเมื่อสังคมเปลี่ยนไป มีเรื่องใหม่ๆ เข้ามามากมาย แนวปฏิบัติในการใช้ชีวิตร่วมกันในสังคม ก็มีเรื่องใหม่ๆ เกิดขึ้นมาเรื่อยๆ แต่ดูเหมือนว่า บางเรื่องยังไม่มีแนวปฏิบัติ จึงทำให้เกิดเรื่องยุ่งๆ ขึ้นมา คนบางกลุ่มจึงฉวยโอกาสช่องว่างตรงนี้ สร้างความได้เปรียบในสังคม โดยการหลีกเลี่ยงข้อตกลงบางอย่างเพื่อประโยชน์ของตัวเอง และบางครั้งเราก็ยกย่องกันด้วย เช่นบอกว่า คนนี้ซิกแซกเก่ง จึงประสบความสำเร็จ ความจริงก็คือ เป็นคนที่หาช่องว่างต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ของตนเอง ซึ่งถ้าไม่ไปเดือดร้อนคนอื่นก็ดีไป
  • ขอย้อนมาตบท้ายที่การศึกษา เพราะหลักสูตรของวิชาการอยู่ร่วมกันในสังคมนี้ จะถูกถ่ายทอดออกมาเป็นกระบวนการ หรือกิจกรรม ในหมวดสังคม ซึ่งนอกจากจะมีเนื้อหาการเรียนรู้แล้ว ในหลักสูตร และในโรงเรียนได้พยายามจำลองสังคมย่อยๆ ในโรงเรียน ที่นักเรียนทุกคนจะต้องมาอยู่ร่วมกัน มีกฏ ระเบียบของโรงเรียน ซึ่งเป็นข้อตกลง ที่ทำให้ทุกคนในโรงเรียนอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข แต่ทุกวันนี้ ดูเหมือนว่า หลายสิ่ง หลายอย่าง เกี่ยวกับเรื่องการอยู่ร่วมกันในสังคม ได้ลดหย่อนลง จากผลกระทบของหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องเหล่านี้ ไม่ได้อยู่ในความสนใจของนักเรียน เพราะไม่มีผลต่อการสอบเข้ามหาวิทยาลัยมากนัก ผลที่เกิดตามมาคือ เมื่อ ออกจากโรงเรียน ไปใช้ชีวิตในสังคมจริง ก็จะขาดทักษะที่ดีในการอยู่ร่วมกันในสังคม แต่จะมาเรียนรู้การใช้ชีวิตในสังคมจริงอีกรูปแบบหนึ่ง จึงทำให้สังคม เป็นอยู่เหมือนทุกวัน

วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552

กาเรียนรู้ต้องเริ่มที่ศรัทธา

มีเรื่องสะกิดใจที่ต้องเก็บมาคิดในวันนี้ที่โยงมาจากเรียนการเมือง ทำให้ย้อนกลับมาเกี่ยวกับเรื่องศาสนาพุทธ หรือศาสนาใดๆ ก็ตาม ที่ว่า การที่ใครก็ตามจะยึดถือศาสนาใดเป็นแนวปฏิบัตินั้นจะต้องมีความศรทธาในศาสนานั้น ซึ่งคำว่า ศรัทธา แปลง่ายๆ ก็คือความเชื่อนั่นเอง โดยศานาพุทธนั้น จะต้องมีศรัทธาหรือความเชื่อพื้นฐานที่สำคัญคือ เราต้องเชื่อเรื่องกรรม ซึ่งจะโยงไปถึงเรื่องชาติหน้ามีจริง แค่ความเชื่อข้อนี้ข้อเดียวก็โยงไปถึงการปฏิบัติตามหลักศาสนาได้มากมาย ในเมื่อคนเชื่อเรื่องกรรม ก็จะต้องทำความดี เพื่อให้ได้รับผลกรรมที่ดี ซึ่งผลนั้นอาจจะได้รับทั้งในชาตินี้และชาติหน้า ถ้าคนไม่เชื่อเรื่องนี้ ก็จะไม่สนใจทำความดีกัน การเรียนการสอนของครูก็เช่นเดียวกัน จำได้ดีว่าสมัยเรียนมหาวิทยาลัย บางวิชาก็มีการเปิดสอนหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็จะมีอาจารย์สอน ปรากฏว่า อาจารย์บางท่าน มีนักศึกษาแห่ไปลงทะเบียบนเรียนเป็นร้อย ต้องเปิดสอนในห้องประชุม ขณะที่อาจารย์บางท่าน มีนักศึกษาไปลงทะเบียนเพียงไม่กี่คน ถามว่าทำไม่ ถ้าถามตัวเองตอนนั้น ก็บอกว่า รุ่นพี่เข้าบอกว่า อาจารย์ท่านนั้นสอนดี ใจดี ฯลฯ หรือแม้แต่ทุกวันนี้ โรงเรียนกวดวิชาต่างๆ บางที่มีคนแห่ไปเรียนกันเต็มไปหมด เพราะผู้ไปเรียนเชื่อว่า อาจารย์ท่านั้นสอนดี สอนรู้เรื่อง การเรียนรู้ของนักเรียนก็เช่นกัน ถ้านักเรียนมีศรัทธาต่อเราซึ่งเป็นครูแล้ว ดูเหมือนว่าปัญหาต่างๆหลายเรื่องจะลดน้อยลง แต่การสร้างศรัทธาให้เกิดขึ้นคงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก เป็นเรื่องที่ต้องสสะสมกันพอสมสมควรจนกว่าจะสร้างความเชื่อมมั่นได้ ระบบการศึกษาทุกวันนี้ดูเมือนว่ามีเป้าหมายที่เปลี่ยนไปหรือไม่ เพราะเด็กที่เข้ามาเรียนต่างก็มีเป้าหมายที่ต้องเข้าเรียนมหาวิทยาลัยให้ได้ ดังนั้นเด็กที่เข้ามาเรียนก็มีกระบวนการต่างๆนานา ที่จะมุ่งสู่ประตูมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นว่าเป้าหมายของเด็กกับเป้าหมายของหลักสูตร ไม่รู้ว่าจะไปกันได้หรือเปล่า ดังนั้นศรัทธาของเด็กที่มีต่อตัวครู หรือความเชื่อของเด็กที่มีก็ครู เชื่อว่าครูคนนั้น จะพาเขาเข้ามหาวิทยาลัยได้ ดังนั้น กระบวนการทุกวันนี้เรื่องกวดวิชา สอนพิเศษ มันจึงไม่พอ และล้าสมัยแล้ว กระบวนการเข้าค่ายเพื่อเตรียมเข้ามหาวิทยาลัย จึงกำลังได้รับควานิยมเป็นอย่างมาก เด็กนักเรียนที่เข้าสู่กระบวนการนี้ จะไปพักประจำอยู่กับผู้จัดกิจกรรมลักษณะดังกล่าว ตอนเช้าก็มาส่งเข้าโรงเรียน เบ็นก็มารับกลับ แล้วมีกิจกรรมต่างๆ เพื่อเตรียมตัวสอบ ทางผู้ดำเนินการจะจัดการทุกอย่าง พยายามพาไปสมัครสบอบตามที่ต่างๆ ดำเนินการให้ตั้งแต่เรื่องสมัคร พาไปสอบถึงสถานที่สอบ จัดอาหารการกินเตรียมให้พร้อม เด็กมีหน้าที่เพียงทำตามและใช้ความรู้ไปสอบ เรื่องอื่นๆ มีคนจัดการให้หมด เด็กก็ชอบ ผู้ปกครองก็ชอบ ผู้ดำเนินการก็ได้ประโยชน์ กระบวนการดังกล่าว ถ้าเป็นกระบวนการทำให้เด็กเป็นคนโดยสมบูรณ์ก็ดีไป แต่ถ้าทำให้เป็นเพียงมนุษย์นักสอบเพื่อเขามหาวิทยาลัยได้ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า พลเมืองไทยในอนาคตจะเป็นอย่างไร

วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2552

อนาคตบนความไม่แน่นอนของครูหลังเกษียณอายุราชการ

ทุวันนี้ดูข่าวแล้วเอามาคิดต่อในเรื่งอที่เกี่ยวข้องกับตัวเอง หรือเพื่อร่วมอาชีพมากขึ้น เมื่อวันก่อนมีข่าวเกี่ยวกับข้าราชการเกษียณอายุว่า จะลำบากมากขึ้น อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากเศรษฐกิจ เพราะทุกวันนี้ เงินฝากธนาคารแทบจะไม่มีดอกผล ตอบแทนเลย เพราะธนาคารลดดอกเบี้ย ดังนั้นครูที่อุตสาห์เก็บหอนรอมริบมาตลอดชีวิต แล้วเอาเงินไปฝากธนาคารเพื่อหวังเก็บกินดอกเบี้ยเมื่อยามแก่เฒ่า ต้องเรียนว่า หมดความหวังและคาดว่า คงจะเป็นแบบนี้ไปอีกนาน เพราะลองดูให้ดี ตั้งแต่ไทยประสบปัญหาทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 40 เป็นต้นมา ดอกเบี้ยเงินฝาก หายไปหมด ประการต่อมา เงินที่ข้าราชการครูหวังอีกก้อนหนึ่งคือ กบข. โดยวาดฝันว่าจะได้เงินกันเป็นหลักล้านหลังเกษียณ เพราะจากการคำนวนตอนเข้าร่วมโครงการก็มีสูตรคำนวนณเสร็จว่า เมื่อถึงวันเกษียณ จะได้เงินเท่าไร แต่ดูเหมือนว่า ความฝันคงจะไม่เป็นจริงแล้ว เพราะคลอดเวลา 10 ปีท่ผ่านมา ผลประโยชน์ตอบแทยจากการเอาเงินไปลงทุนดูเหมือนว่า จะไม่เป็นไปดังที่คาด แถมซ้ำร้ายในปีนี้ คือ 2551 เงินผลประโยชน์ติดลบกันถ้วนหน้า สองหมื่นถึง 4 หมื่น แล้วแต่ว่าใครมามากหรือน้อย และคาดการว่า ต่อไปอีกหลายปีกว่าเศรษฐกิจจะฟิ้น ดังนั้น เลิกพูดถึงเงินผลประโยชน์กันได้เลย รักษาเอาไว้ไม่ติดลบก็บุญแล้ว ดังนั้น ใครที่จะเกษียณอายุราชการในช่วงต่อจากนี้ ไปอีก 5 ปี ข้างหน้าเตรียมตัวเตรียมใจไว้ให้ดีวางแผนชีวิตให้ดี บางท่านพยายามเก็บออมไว้อีกอย่างเช่น ทำประกันชีวิต ประเภทสะสมเงิน เพื่อเก็บกินผลประโยชน์ตอบแทนข้างหน้า ก็หมดหวังอีกเช่นกัน เช่น ประกันชีวิตบริษัทหนึ่ง ตอนวางแผนทำประกัน ค่อนข้างสวยหรู เพราะในแผนที่ตัวแทนมาคุยด้วย บอกว่าเมื่อส่งไปได้สัก 10 ปี ก็ไม่ต้องส่งแล้ว เพราะเงินปันผลที่ได้ ก็พอส่ง แถมเมื่อครบกำหนดส่ง ก็นอนกินเงินปันผลไปได้สบาย ปรากฏว่า สภาพความเป็นจริงทุกวันนี้ เงินปันผลที่ว่า ได้ไม่ไถึง 10 เปอร์เซ็นต์ที่วางแผนไว้ จึงต้องทนลำบากส่งเเบี้ยประกันอยู่ จะไม่ส่งก็ไม่ได้ เพราะเสียดายเงินที่ส่งไปแล้ว ไปเอาผิดคนขายประกันก็ไม่ได้ เพราะเขาก็บอกว่า ปัญหาเกิดจากเศรษฐกิจ ครูที่หวังเงินอด เงินออม ที่หวังเอาไว้กินตอนแก่ ก็แห้งเหี่ยวไปอีก ท้ายนี้ขอปรารภกับเพื่อครูว่า หลายท่านทุกวันนี้ก็รัดเข็ดขัดเต็มที่แล้ว และพยายามที่จะมีเงินก้อนหนึ่งไว้ใช้จ่ายตอนแก่แต่ต้องตั้งหลักให้ดี เพาะหลายอย่างไม่เป็นอย่างที่คิด เตรียมตัว เตรียมใจไว้เนิ่นๆ จะดีกว่า สิ่งที่สำคัญอย่างมาก คือ ดูแลสุขภาพกาย สุขภาพใจให้ดี เพราะสองอย่างนี้คือ สิ่งที่จะเข้ามาแทรกให้เงินที่อดออมและเก็บไว้ ร่อยหร่อไปอย่างรวดเร็ว

วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2552

ถูกโกงตั้งแต่อนุบาล

ดูข่าวแล้วเศร้าใจเกี่ยวกับเรื่องผลประโยชน์นมโรงเรียน เป็นโครงการที่ดีมากสำหรับเด็กหรือเยาวชนของชาติ ก่อนที่จะมีโครงการนี้ เราเคยพูดกันว่า แต่ก่อนคนญี่ปุ่นตัวเล็กกว่าคนไทย แต่เดี๋ยวนี้ ประชาชนเขาตัวสูงใหญ่ เพราะเขาพัฒนาคนของเขาตั้งแต่เด็ก ประการหนึ่งที่คือ เขามีนมให้เด็กดื่ม ประเทศไทยก็โชคดี มีบริการนมฟรีสำหรับเด็ก ยังจำได้ว่า ลูกเคยเล่าให้ฟังตอนอยู่อนุบาลว่า เพื่อนหลายคนแอบเทนมทิ้งไม่ให้ครูเห็น เพราะถ้าครูเห็นจะถูกดุ ยังสงสัยว่าเด็กบางคนทำไม่ไม่ชอบดื่มนม แต่ในข่าวครั้งนี้ที่เห็นทาง TV คือนมบูด นมหมดอายุ เพราะสิ่งที่สำคัญคือ ระบบของการค้าขาย เรื่องของผลประโยชน์ เข้ามาเกี่ยวข้อง จนทำให้เกิดการผูกขาดเรื่องการส่งนมให้โรงเรียน เรื่องของการกินหัวคิว คือพูดง่ายๆ ก็เหมือนวงการประมูลสร้างต่างๆ คือ ผู้มิอิทธิผล หรือผู้มีอำนาจเข้าไปประมูล เสร็จแล้ว ก็โอนให้คนอื่นไปทำ คนที่ได้รับโอนก็ไปจ้างต่ออีก จากราคาคมที่เด็กควรได้รับ 100 บาท ก็อาจะเหลือสัก 70-80 บาท เคยได้ยินครูบางคนเล่าให้ฟังวว่า ครูเองก็ไม่รู้จะทำอย่างไร มองดูตาปริบๆ เพราะครูไปหาซื้อเองก็ไม่ได้ เพราะมีคนประมูลแล้วเอามาส่ง ก็เลยเป็นกรรมของเด็ก ที่ถูกโกงตั้งแต่อยู่อนุบาล ลองย้อนไปในอดีตเกี่ยวกับปัญหานมโรงเรียน ตอนแรกๆ ถ้าจำไม่ผิด การซื้อนม โรงเรียนก็ซื้อเอง แต่ก็สร้างภาาระและปัญหาหลายอย่างแก่ครู และโรงเรียน เช่นครูต้องเสียเวลามาซื้อนม และทำบัญชีเกี่ยวกับนม จนไปบดบังเวลาสอน หรือบางแห่ง (ย้ำว่าบางแห่ง) แก้ปัญหาการหาซื้อนมยาก อาจจะเพราะห่างไกลหรืออะไรก็แล้วแต่ ก็เลยเอานมผงมาผสมน้ำให้เด็ก เพราะสะดวก ก็เลยมีการแก้ปัญหาให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามาช่วยดำเนินการ แต่ก็เกรงอีกว่า จะเกิดการผูกขาด หรือได้นมที่ไม่มีคุณภาพ จึงออกมาตรการต่างๆ มาอีกเพื่อป้องกัน แต่ไม่ว่าจะทำอย่างไร กลุ่มที่มีผลประโยชน์ ก็หาทาง จนได้ กรรมของเด็ก ที่ถูกโกงตั้งแต่อนุบาล และขอบอกว่า ทำแบบนี้ ชีวิตไม่เจริญรุ่งเรืองหรอกครับ

เทคโนโลยี มีประโยชน์ต่อการศึกษา แต่ต้องรู้เท่าทัน

ดูเหมือนว่า ทุกวันนี้ เราจะถูกบังคับทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม ให้ต้องเอาเทคโนโลยีมาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะเทคโนโลยีการสื่อสาร และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเรื่อง อินเตอร์เน็ต เมื่อเช้านี้ ดูข่าวจากทาง TV ถึงการหลอกลวงจากผู้ไม่หวังดีจนเหยื่อต้องสูญเสียเงินนับเป็นหมื่น เป็นแสน โดยวิธีการโทรมาบอกว่า เหยื่อได้รับเงินภาษีคืน แต่ไม่สามารถส่งเงินให้ได้ตามที่อยู่ที่แจ้ง และกำลังจะหมดเวลา จึงให้ไปรับโอนเงินผ่านทาง ATM และใช้กระบวนการต่างๆ จนเหยื่อเชื่อ จากประเด็นนี้ ถามว่า เหยื่อเป็นคนไม่มีการศึกษา หรือเชื่อคนง่ายหรือไม่ ก็ตอบว่าไม่ แถมแต่ละคนเป็นคนฉลาดเสียด้วยซ้ำครับ แต่ผู้ร้ายก็อาศัยความฉลาดนี่แหละ ที่ว่าความฉลาดก็เพราะเหยื่อได้มีการตรวจสอบข้อมูลต่างมาก แะผู้ร้าย ก็ให้ข้อมูลต่างๆ ได้ถูกต้องหมด จนเหยื่อหลงเชือ และทำตามขั้นตอนที่บอกโดยหลงกล โอนเงินในบัญชีของตนใไผู้ร้าย ถามว่าผู้ร้ายรู้ได้อย่างไร ถ้าดูให้ดี ผู้ร้ายเป็นชาวไต้หวัน และมีคนไทยร่วมด้วย และมีข้อมูลของเหยื่ออย่างดี ก็เดาได้อย่างดีว่า ข้อมูลมีการรั่วไหวได้ ซึ่งเราก็รู้ว่า ข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไม่ปลอดภัยนัก เจอมือดี ก็สามารถ HACK ได้ และข้อน่าสังเกตว่า ที่ก่อความเสียหายในปัจจุบัน ผู้ร้ายมักจะเป็นคนจากประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ และไต้หวัน นี่แหละอันตรายจากเทคโนโลยี ที่เป็นข่าวฮือฮาในปัจจุบัน อย่างกรณีธนาคาร บางครั้งเราต้องการสะดวกสบาย ด้วยการใช้ ATM แต่ก็ไม่ค่อยปลอดภัย จนบางครั้งไม่อย่างไปกดเงินที่ตู้ ATM หรือแม้แต่ฝากเงิน ก็ไม่ค่อยแน่ใจแล้วว่า เงินเราปลอดภัยหรือไม่ เพราะข้อมูลส่วนตัวของเราทุกววันนี้ รั่วไหลไปถึงไหนบ้างแล้วก็ไม่รู้ เราเป็นครู จะทำอย่างไร จึงจะบริโภคเทคโนโลยีได้อย่างปลอดภัย และบอกคนอื่นให้ปลอดภัยด้วย