วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552
การใช้คอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธี
การรับรู้ และการเรียนรู้
- การเรียนการสอนก็เช่นเดียวกัน กระบวนการเรียนการสอน จะเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เรียนได้รับรู้เรื่องราวต่างๆซึ่งเรารเรียนว่า สิ่งเร้า หรือตัวกระตุ้น เข้าไปกระตุ้นสมองให้ได้รับรู้ ก่อน ต่อจากนั้น จึงสร้างกระบวนการ เรียนรู้ภายในสมอง ให้ได้เรียนรู้กับสิ่งเร้านั้นๆ เพื่อหาข้อค้นพบในการแปลความสิ่งเร้าอันนั้นว่าคืออะไร ถ้าสมองสามารถค้นพบได้ว่า สิ่งเรานั้นคืออะไร เราก็เรียกว่า เกิดปัญญา แต่ถ้ายังไม่สามารถค้นพบได้ ก็จะจำเพียงสิ่งเร้าอันนั้นไป แต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร เพียงแต่จำได้ เราก็เรียกว่า ท่องจำได้แบบนกแก้ว นกขุนทองโดยไม่รู้ความหมายของคำที่นกขุนทองมันพูด
- ดังนั้น สิ่งเรา ที่จะให้เกิดการรับรู้ (Perception) จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากว่า เร้าอย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียน ได้รับรู้ เพราะถ้าไม่ผ่านขั้นแรก คือการรับรู้แล้ว ก็คงไม่เกิดขั้นเรียนรู้ การรับรู้ ก็สามารถรับรู้ได้จากประสาทสัมผัสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เห็นผ่านตา ได้ยินผ่านหู ได้รสผ่านลิ้น เป็นต้น คนตาบอดจึงขาดการรับรู้ผ่านการเห็น คนหูหนวก ก็ขาดการรับรู้ผ่านการได้ยิน คนที่ไม่ได้สนใจเรียน อาจจะไม่ได้รับรู้อะไรเลยก็ได้เพราะกำลังคิดเรื่องอื่น ไม่ได้ฟังที่ครูสอน ดังนั้น การเร้าให้เกิดการรับรู้ จึงสำคัญมาก เรามักจะเคยได้ยินบ่อยถึงการนำเข้าสู่บทเรียนของครู ความจึงก็คือการสร้างสิ่งเร้าประการหนึ่งนั่นเองเมื่อผู้เรียนรับรู้แล้ว ขั้นต่อไปคือทำอย่างไร ให้นำเอาสิ่งที่ได้รับรู้นั้นไปเรียนรู้ และเกิดปัญญา ซึ่งกระบวนการดังกล่าว เป็นกระบวนการที่เกิดในสมองทั้งสิ้น หรือเราเรียกว่า เป็นสภาวะการณ์ทางจิต ซึ่งนักจิตวิทยาได้ศึกษาค้นคว้า และคิดกันมากมาย จึงเกิด ทฤษฎีการเรียนรู้มากมาย แต่ละทฤษฎีก็คิดกันว่า จะทำอย่างไรให้ผู้เรียนเกิดปัญญาให้ได้ ไม่ใช่รับรู้ และจำสิ่งเร้าได้เท่านั้น
การศึกษาทางไกลหรือ e-Learning มีอะไรเป็นสิ่งเราให้เกิดการรับรู้ และกระบวนการเรียนรู้ทำอย่างไร ผลที่ได้รับเป็นอย่างไร เป็นคำถามที่น่าสนใจ
วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2552
หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผล
- ถ้าเป็นครูมืออาชีพแล้ว จะต้องรู้จักคำว่า OLE ซึ่งจะต้องมีความสัมพันธ์กันระหว่าง จุดประสงค์การเรียรู้ (Objective) กิจกรรมการเรียนการสอน (Learning) และการประเมินผล (Evaluation) อธิบายง่ายๆ ก็คือ การศึกษาทุกระดับ จะต้องยีดหลักสูตรเป็นหลัก เพราะหลักสูตรจะมีส่วนที่เรียกว่าจุดประสงค์ ครูจะต้องออก แบบการเรียนการสอน ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ แต่ถ้าเป็นการเรียนการสอนที่เรียนด้วยตนเองทำอย่างไร เพราะไม่มีครูสอน ความสำคัญก็จะไปตกอยู่ที่สื่อ โดยสื่อจะต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์ และสุดท้าย การ ประเมินผลก็จะต้องสอดคล้องกับจุดประสงค์ด้วยเช่นกัน
- ต้องยอมรับความจริงประการหนึ่งว่า บางครั้ง สามอย่างนี้ ก็ไม่ค่อยสัมพันธ์กันเท่าไร โดยเฉพาะ ตัว L เพาะว่า การออกแบบการเรียนการสอน บางครั้งก็ไม่สามารถตอบสนองตามวัตถุประสงค์ได้ทั้งหมด เนื่องจากข้อจำกัด หลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนการสอนแบบนอกระบบ เพราะบางครั้งก็มีเพียงแค่ O กับ E เท่านั้นไม่มี L เพราะรูปแบบการเรียนการสอนมีความหลากหลาย เพื่อต้องการให้ตอบสนองสภาพและความต้องการของผู้เรียน
- กระบวนการเรียนการสอนที่เป็นองค์ประกอบที่สำคัญทีสุด มีรูปแบบที่หลากหลาย และสมบูรณ์บ้าง ไม่ สมบูรณ์บ้าง บ้างครั้ง ต้องอาศัยจากการอ่านตำราเพียงอย่างเดียว ที่ร้ายกว่านั้น บางครั้งก็ไม่มีตำราให้อ่านหรือบางครั้งก็ไม่แน่ใจว่า ตำราที่อ่านนั้นตรงตามหลักสูตรหรือไม่ ครอบคลุมหลักสูตรหรือไม่
- ที่กล่าวมายืดยาวนี้ ก็เพื่อวกมาเรื่องของข้อสอบ และการวัดผล ซึ่งที่ผ่านมายึดหลักว่า ใครสอน คนนั้นก็สอบเพราะเชื่อว่า คนที่สอนย่อมจะประเมินผลผู้เรียนได้ดีที่สุด เพราะรู้จักผู้เรียนเป็นอย่างดี และสามารถใช้วิธีการวัดและประเมินผลได้อย่างหลากหมาย ตรงตามหลักและวิธีการวัดผล ซึ่งก็ได้ดำเนินการดังกล่าว ในช่วงเวลาหนึ่ง แต่ต่อมาก็มีข้อท้วงติงเรื่องคุณภาพ เนื่องจากครูแต่ละคน ก็อาจจะมีการประเมินที่แตกต่างกันเสียงที่ตามมาก็คือ มีคำกล่าวว่า เรียนกศน. เรียนอย่างไรก็ได้ เพราะจบทุกคน และตอมาได้เริ่มมีการตรวจสอบคุณภาพของผู้เรียน กศน. โดยเอาเครื่องมือมาวัดปรากฏว่า ค่อนข้างตกใจ เพราะผลออกมาว่า คุณภาพต่ำ(ตอนนี้จะยังไม่วิจารณ์ว่าเครื่องมือที่นำมาตรวจสอบคุณภาพเป็นอย่างไร) ด้วยเหตุนี้จึงเริ่มมาคิดใหม่ว่า น่าจะมีตัววัดที่มีมาตรฐานเดียวกันมาวัดนักศึกษา กศน. ทั้งประเทศ ก็คงเลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องใช้ข้อสอบมาตรฐานกลาง ที่นำไปทดสอบกับนักศึกษา กศน. ทุกคน จึงเป็นที่มาของการจัดทำข้อสอบปลายภาคเรียนในทุกวันนี้ เป็นการย้อนกลับไปเป็นแบบทดสอบรวม เหมือนกับที่เคยใช้เมื่อประมาณ 20 ปี ที่ผ่านมาแล้ว
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา e-Learning
แนวทางที่ 1 การเสริมศักยภาพการศึกษาทางไกลหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่อง ของสถาบัน กศน.ภาค โดยการดำเนินงานต่างๆ จะต้องปรับปรุงให้สอดคล้องกับองค์ประกอบ 3 ประการคือ
ประการที่1 บทบาทของสถาบัน กศน. ภาค กับแนวคิดเรื่องการศึกษาทางไกล
ประการที่ 2 การวิเคราะห์ SWOT กับแนวคิดเรื่องการศึกษาทางไกล
ประการที่ 2ภารกิจต่อเนื่องกิจกรรมการศึกษาทางไกล กับ Online Learning โดยมีข้อเสนอแนะดังนี้ เพิ่มทางเลือกในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้การศึกษาทางไกลหลักสูตรต่อเนื่อง โดยนำเอา ICT เข้ามาช่ว
1.1 กิจกรรมการเรียนรู้แบบ ผ่านสื่อ Online (เพิ่มเติมจากการอ่านหนังสือ)
1.2 การสอนเสริม realtime ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต (เช่น Chat หรือ webboard แบบใกล้เคียงกับ realtime)
1.3 การนิเทศ Online ผสมผสานกับการนิเทศโดยตรงจากครูที่ปรึกษา
1.4 แนะแนว Online
1.5 ประเมินผลตนเองผ่านระบบ Online
หมายเหตุ จะใช้ได้ดีกับผู้เรียนที่มีความพร้อม ซึ่งกระบวนการดังกล่าว อาจจะต้องประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย เช่น อบต.ที่มีความพร้อมเรื่องคอมพิวเตอร์ หรือ ศูนย์ กศน. อำเภอ ที่มีความพร้อมเกี่ยวกับห้องเรียนคอมพิวเตอร์
2 พัฒนาสื่อ และแหล่งการเรียนรู้อย่างหลากหลาย และกว้างขวาง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้ได้เพิ่มเติมมากว่าจากเอกสาร หรือ e;Learning เพียงอย่างเดียว
3 เพิ่มศักยภาพของบุคลากรในการใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน 3 กลุ่มคือ
3.2 ผู้สอน
3.3 ผู้พัฒนาสื่อ
3.3 ผู้เรียน จากแนวทางนี้ ทำให้รูปแบบการศึกษาทางไกลหลักสูตรการศึกษาต่อเนื่องในปัจจุบัน สามารถดำเนินการได้ 2 รูปแบบ คือ รูปแบบที่ 1 รูปแบบเดิมที่ดำเนินการในปัจจุบัน รูปแบบที 2 รูปแบบเดิม ผนวกกับกระบวนการ Online
แนวทางที่สอง การขยายรูปแบบ e-Training ไปจัง สำนักงาน กศน. จังหวัด โดยนำรูปแบบที่ได้จากการทดลองไปเผยแพร่ให้สำนักงาน กศน. จังหวัด ใช้ในการพัฒนาบุคลากรภายในจังหวัด
แนวทางที่ 3 การเสริมศักยภาพ การศึกษาขั้นพื้นฐาน ของสถาบัน กศน. อำเภอ ในรูปแบบ e-Learning โดยใช้รูปแบบการเรียนทางไกลเป็นเครื่องมือ หรือเสริมการเรียนในระบบปกติ
แนวทางที่ 4 การศึกษาตามอัธยาศัย
วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2552
การศึกษาทางเลือกที่ทุกคนถูกบังคับให้เลือก
- แต่มีข้อสงสัยว่า ทำไมเรามีข่าวว่าได้เหรียญทองในการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการ มาเลเซีย สิงคโปร หรือแม้แต่อเมริกายังสู่เราไม่ได้ จริงๆแล้วมันเป็นอย่างไรกันแน่ การศึกษาบ้านเราเยี่ยม หรือแย่กันแน่
- เปรียบเทียบข้อมูลอีกนิด ประเทศอินเดีย เรื่องการศึกษาเราก็ต้องยอมรับว่า ของเขาเยี่ยมคนเก่งๆ อยู่ที่อินเดียมากมาย เป็นประเทศเศรษฐกิจยักใหญ่ของเอเซีย แต่มองไปอีกภาพหนึ่ง เป็นภาพคนไม่มีจะกิน อดอยากยากจน ไร้การศึกษา ดูช่างเป็นภาพที่ขัดแย้งกันจริงๆ คงพอจะเอาภาพสองภาพของอินเดียมาเปรียบเทียบกับบ้านเราได้ โดยเปรียบเทียบกับคนหยิบมือหนึ่งอยู่บนสวรรค์ชั้นฟ้ากับมหาประชาชนส่วนมากเดินอยู่บนดิน
- การศึกษราไม่ได้วัดกันที่การศึกษาในรั้วโรงเรียน แต่วัดกันที่การศึกษาตลอดชีวิต วัดกันว่า ใคนจะจบการศึกษาตลอดชีวิตสูงกว่ากัน ถ้าการศึกษาในโรงเรียน สูงที่สุดที่เรารู้จัดกันก็คือ จบปริญญาเอก หรือสูงกว่าปริญญาเอกอีกระดับหนึ่ง แต่การศึกษาตลอดชีวิต ไม่รู้ว่าระดับสูงสุดเขาเรียกว่าอะไร หรืออาจจะยังไม่มีชื่อเรียกก็ได้ เพราะยังไม่มีใครจบเลย เพราะเสียชีวิตก่อน หรือว่าความจริงแล้ว วันที่เขาเสียชีวิตนั่นแหละคือวันที่เขาจบการศึกษา
- การศึกษาตลอดชีวิต เป็นการศึกษาที่มีกระบวนการเรียนการสอน ควบคู่ไปกับการดำเนินชีวิต เป็นการเรียนจากชีวิตจริง เป็นการเรียนที่เลือกสาขาวิชาโดยที่บางครั้งก็ไม่รู้ว่า เราเลือกเรียนสาขาวิชาอะไร เป็นการเรียนที่ลงทะเบียนเรียนโดยที่ไม่รู้ว่า ลงทะเบียนเรียนเมื่อไร วิชาอะไร เป็นการศึกษาที่ประเมินผลการเรียนด้วยการประเมินชีวิตที่บอกไม่ได้ว่า ได้หรือตก ได้เกรดเท่าไร แต่เป็นการศึกษาภาคบังคับที่ทุกคนต้องเรียนโดยที่คนเรียนอาจจะไม่รู้ตัวว่า กำลังถูกบังคับให้เรียน
- เมื่อก่อนเคยนึกแต่เพียงว่า ขอเรียนแค่ปริญญาตรีก็พอ เรียนแค่ปริญญาโทก็พอ แล้วเอาความรู้ความสามารถที่ได้เรียนมาไปสอบเข้าทำงาน และการสอบเข้าทำงานสมันก่อน ก็วัดความรู้เอาจากการศึกษาในรั้วโรงเรียนแต่ดูเหมือนว่า ปัจจุบัน คนจบจากในโรงเรียนมากขึ้นใบรับรองการจบในโรงเรียน หรือวุฒิบัตร ปริญญาบัตรมักจะไม่ค่อยมีความหมายมากนัก เพราะส่วนมากกำลังมาวัดกันที่ปริญญาบัตรจากการศึกษาตลอดชีวิตกันมากขึ้น คือความสามารถในการทำงาน ไม่ใช่ควาสามารถในการสอบเพื่อจบการศึกษาในรั้วโรงเรียน
- การศึกษาตลอดชีวิต จะมีความสำคัญในสายตาคนมากขึ้น เพราะในอนาคตข้างหน้า จำเป็นจะต้องใช้มากขึ้น (แต่ไม่ได้หมายความว่า จะไปลดความสำคัญของการศึกษาในโรงเรียนลง) แต่ดูเหมือนว่า ผู้ที่เกี่ยวข้องไมได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้เท่าไรนัก แต่กลับเป็นสังคมต่างมากที่ปรับตัวเอง และให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เปิดการเรียนการสอนตลอดชีวิตเต็มไปหมด และส่วนมากก็เป็นการศึกษาที่เปิดให้ลงทะเบียน และเข้าเรียนได้ตามอัธยาศัย บางครั้งก็ลงทะเบียนเรียนตั้งแต่เช้า โดยเปิด TV ดูรายการะเพื่อสุขภาพ ใช้เวลาเรียน 1 ชั่วโมงก็จบ ไม่ต้องทดสอบ ไม่ต้องประเมินผล ไม่ต้องรับวุฒิบัตร แต่ผู้เรียนก็พอใจ และถือว่าจบหลักสูตร ตรงข้ามบางท่านที่ไม่ต้องการเรียน ก็ Dropout ซึ่งก็ง่ายอีกเหมือนกันด้วยการปิด TV หรือเปลี่ยนไปช่องอื่น
- เห็นไหมว่า มันไม่มีรูปแบบจริงๆ และเลือกได้อย่างหลากหลายตลอดชีวิตของคนเรา ต้องมีการเรียนรู้โดยตลอดในอดีตการเรียนรู้ตลอดชีวิต มักจะอยู่ในวงจำกัด ด้วยข้อจำกัดทางด้านต่างๆ ดังนั้นการศึกษาตลอดชีวิต จึงเรียนรู้จากการสนทนา พูดคุย ดูด้วยตา จากแหล่งการ เรียนรู้ใกล้ตัว จากชุมชนที่ใกล้เคียง ไม่สามารถเรียนรู้จากแหล่งการเรียนรู้ไกลๆ ได้ ปัจจุบัน ข้อจำกัดด้านการเดินทางลดลง สื่อสารช่วยเปิดโลกของการเรียนรูได้กว้างขวาง หลากหลายขึ้น มีแหล่งการเรียนนรู้เข้ามาถึงบ้าน ถึงห้องนอน ช่วยให้การเรียนรู้ตลอดชีวิต มีความสะดวกขึ้น ง่ายขึ้นพร้อมทั้งหลากหลายขึ้น ดังนั้นจึงเหมือนกับเป็นการศึกษาที่บังคับให้เราได้เรียนรู้อย่างไม่ตั้งใจ และเป็นการเรียนรู้ที่ไม่เกิดความรู้สึกว่าถูกบังคับให้เรียน
การศึกษาในสายตาผู้แทน
- เรื่องที่1 เรื่องการเรียนฟรี 15 ปี เห็นตรงกันว่า เรียนฟรีก็จริง แต่ต้องจ่ายเงินมาก เพราะมีการเรียกเก็บเงิน พิเศษอื่นๆ รวมทั้งต้องเสียค่าใช้จ่ายอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ค้าใช้จ่ายในการเรียนพิเศษ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ผู้เป็น พ่อ แม่ ผู้ปกครองทั้งหลาย ซาบซึ่งดี เพราะปัจจุบัน การส่งลูกหลานเรียน ต้องใช้เงินอย่างมาก ประการแรก ต้องส่งลูกเข้าเรียนโรงเรียนดีๆ ซึ่งโรงเรียนเหล่านี้ ก็ไม่ได้อยู่ใกล้บ้าน (ทั้งๆที่โรงเรียนใกล้บ้านก็มี) ข้อเท็จจริงที่เห็นเป็นตัวอย่างคือ ครูท่านหนึ่ง ยังส่งลูกไปเรียนในเมือง ไม่ให้ลูกเรียนที่โรงเรียนที่ตนเองสอน เมื่อส่งลูกไปเรียนไกล ก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆ ตามมา อย่างน้อย ก็ค่าเดินทางไปเรียน ซึ่งยังไม่รวมค่าใช้จ่ายก่อนที่จะเข้าโรงเรียนนั้นได้ เช่น ต้องมีการบริจาคเนื่องจากจำนวนนักเรียนมากเกินโควต้า โรงเรียนที่ดังๆ ต้องจ่ายเป็นหลักหมื่น ประการที่สอง ค่ากิจกรรมต่างๆ เพราะดูเหมือนว่า ไม่ว่าจะเดินเข้าห้องอะไรในโรงเรียนก็ต้องจ่าย เช่นเดินเข้าห้องคอมพิวเตอร์ ก็ต้องจ่ายค่าคอมพิวเตอร์ ลงสะว่ายน้ำ ก็ต้องจ่ายค่าสระ กิจกรรมกีฬา ก็จ่ายค่าชุดกีฬา เป็นต้น ประการที่สาม ค่าเรียนพิเศษ เด็กสมัยนี้ เรียนพิเศษกันตั้งแต่อนุบาล จนจบ ม. 6 หรือแม้กระทั่งระดับปริญญาก็ต้องไปเรียนพิเศษ และค่าเรียนพิเศษ ก็แพงพอสมควร ประการที่สี่ ค่าสังคม เมื่อไปอยู่โรงเรียนใหญ่ๆ มีชื่อเสียง ลูกคนมีสตางค์มีเยอะ จะน้อยหน้าเพื่อนก็อายเขาดังนั้น สิ่งไม่จำเป็นทั้งหลายตามมา ข้าวของเครื่องใช้ราคาถูกๆ ก็ใช้ไมได้ ต้องใช้ของแพง พ่อแม่ก็ต้องจ่ายไม่มีก็ต้องไปกู้มาทั้งๆที่ รายได้จากการทำนาก็น้อยนิด
- เรื่องที่ 2 เรื่องความล้มเหลวของการศึกษา มีผู้อภิปรายว่า เพราะไม่มีการเรียนหน้าที่พลเมือง ศีลธรรมเหมือนสมัยก่อน สมัยดี คนที่จบการศึกษาออกมา จึงมีความรู้แต่ไม่มีคุณธรรมกันมากขึ้น รวมทั้งการศึกษาที่มีแต่การแข่งขันเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย แข่งขันกันสู่สู่ตำแหน่งการงาน แข่งขันกันทุกเรื่องโดยไม่สนใจว่าจะด้วยวิธีการอะไร
- เรื่องที่ 3 เรื่องครู เข้ามาซ้ำรอบเดิมที่เคยกว่างถึง คือเรื่องค่าตอบแทนครูทำให้ไม่ได้คนเก่งมาเป็นครู แต่มีประเด็นเพิ่มเติมคือ มีผู้แทนกล่าวว่า การเข้าเป็นครูอัตราจ้าง หรือพนักงานราชการทุกวันนี้ ก็ต้องมีการวิ่งเต้นจ่ายเงินกันเป็นหลักหมื่น หลักแสน ไม่รู้ข้อเท็จจริงเป็นอย่างๆ มันก็เลยเห็นข้อมูลที่ขัดแย้งกันว่า ครูเงินเดือนต่ำคนเก่งไม่อยากเป็นครู แต่เมื่อมีอัตราครู คนก็วิ่งเต้นจ่ายเงินกันเพื่ออยากจะเป็นครู หรืออาจจะเป็นเพราะไม่เก่งสอบสู้เขาไม่ได้ จึงต้องยัดเงิน ก็จะยิ่งซ้ำเติมวงการครูมากขึ้น เพราะถึงแม้จะเก่งก็มาเป็นครูไม่ได้ถ้าไม่มีเงิน น่าวงสารวงการครู ดูเหมือนว่าเขามอกภาพวงการเราไม่ค่อยดีเลย
วันศุกร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2552
เศร้าใจกับการเมืองไทย
- วันสุดสัปดาห์ และเกือบสิ้นเดือนพร้อมทั้งความรู้สึกหงุดหงิดในใจอย่างมาก จากการเฝ้าติดตามดูการประชุมสภาเมื่อคืนนี้ ซึ่งเป็นการประชุมเพื่อพิจารณาเงินงบประมาณปี 2553
- นั่งดูไปก็นึกในใจว่า นี่หรือ คือผู้แทนที่เราเลือกเข้าไปเป็นตัวแทนในการบริหารบ้านเมือง บอกความรู้สึกไม่ถูก รู้แต่ว่ามันเป็นความรู้สึกที่หดหู่ และคับแค้น ถ้าเป็นอย่างนี้ ความรู้สึกมันบอกว่า ไม่ต้องมีผู้แทน อาจจะดีกว่า เพราะภาพที่ต้องการเอาชนะกัน ภาพที่เชือดเฉือนกันด้วยคำพูด ภาพที่ทะเลาะกัน มันทำให้รู้สึกเสียดายประเทศไทย ที่เคยมีแต่ความสงบสุข มีแต่ความร่มเย็น แต่ตอนนี้แบ่งเป็นก๊ก เป็นพวก ก็เลยไม่ค่อยแน่ใจว่า ประชาธิปไตยที่เป็นอยู่ดีจริงหรือเปล่า ใครเป็นคนริเริ่มที่ทำให้ประเทศเราเป็นอย่างนี้ ริเริ่มที่ก่อให้เกิดความรุนแรงอย่างนี้
- อยากได้ประเทศไทยที่สงบร่มเย็นเหมือนเดิมกลับคืนมา ส่วนนักการเมืองน้ำเน่า จะเอาไปไว้ที่ไหน ก็เชิญครับ
วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ที่ใดมีความรัก ที่นั่นก็จะมีความมั่งคั่งและความสำเร็จ
เมื่อเช้า ได้รับ Mail จากอาจารย์กล้วย ให้ข้อคิดดีมาก อ่านแล้วสกิดใจ จนต้องเอาเข้ามาถ่ายทอดและเก็บไว้
- ผู้หญิงคนหนึ่งออกมาจากบ้านของเธอและได้เห็นชายชราที่มีเคราสีขาว 3 คน นั่งอยู่ที่สนามหญ้าหน้าบ้านของเ ธอ เธอไม่รู้ว่าพวกเขาเป็นใคร เธอพูดกับเขาว่า ' ฉันไม่คิดว่าฉันรู้จักพวกคุณ แต่ท่าทางคุณต้องหิวแน่เลยโปรดเข้ามาในบ้านและทานอะไรซักหน่อยเถอะ ' ' สามีของเธออยู่ในบ้านไหม ' เขาถาม ' ไม่ ' เธอตอบ ' เขาออกไปข้างนอก ' ' ถ้าอย่างนั้น พวกเราก็เขาไปข้างในไม่ได้ดอก ' เขาตอบ
- ในตอนเย็น เมื่อสามีเธอกลับมาบ้าน เธอเล่าให้เขาฟังว่าเกิดอะไรขึ้น ' ไปบอกพวกเขาซิ ฉันกลับมาบ้านแล้วและเชิญพวกเค้าเข้ามาในบ้านเถิด '
- เธอก็ออกไปและเชิญพวกชายชรานั้นให้เข้ามาในบ้าน ' เราเข้าไปในบ้านพร้อมกันไม่ได้หรอก ' เขาตอบ ' ทำไมล่ะ ' เธอถาม ชายชราคนหนึ่งอธิบายว่า ' เขาคือ ความมั่งคั่ง ' เขาพูดและชี้ไปยังเพื่อนของเขาและชี้ไปยังอีกคนหนึ่งว่า ' เขาคือ ความสำเร็จ และฉันคือ ความรัก ' เขากล่าวต่อไปว่า ' บัดนี้ จงเข้าไปข้างในและปรึกษากับสามีของเธอว่า คนไหนในพวกเราที่คุณต้องการจะให้เข้าไปในบ้านของคุณ '
- เธอกลับเขามาข้างในและบอกกับสามีของเธอ สามีของเธอรู้สึกดีใจมาก ' วิเศษจริงๆ ' เขากล่าว ' เมื่อ เป็นเช่นนี้ เราจะเชิญ ความมั่งคั่ง เมื่อเขาอยู่กับเรา บ้านของเราจะเต็มไปด้วยความมั่งคั่ง ' ฝ่ายภรรยาไม่เห็นด้วย ' ที่รัก ทำไมเราไม่เชิญ ความสำเร็จ ล่ะ ' ขณะนั้นลูกสะใภ้ได้ยินทั้งสองกำลังปรึกษาจากมุมหนึ่งของบ้าน เธอก็เข้ามาและแนะนำว่า ' จะไม่ดีกว่าเหรอ ถ้าเราเลือก ความรักบ้านของเราจะเต็มไปด้วยความรักไง ' ' เราฟังสิ่งที่ลูกสะใภ้แนะนำเถอะ ' สามีกล่าวกับภรรยา ' ออกไปข้างนอกและเชิญความรักเข้ามาเป็นแขกของเราเถอะ ' ภรรยาออกไปและถามชายชราทั้ง 3 ว่า ' ใครคือความรัก โปรดเข้ามาและเป็นแขกของเราเถอะ '
- ความรักลุกขึ้นและเดินไปยังบ้านชายชราอีก 2 คนก็ลุกขึ้นและเดินตามเข้าไป ด้วยความประหลาดใจ ภรรยาถาม ความมั่งคั่ง และความสำเร็จว่า ' ฉันเชิญเพียงความรัก ทำไมคุณถึงเข้ามาด้วยล่ะ ' ชายชราตอบพร้อมกันว่า ' ถ้าคุณเชิญความมั่งคั่ง หรือ ความสำเร็จคนใดคนหนึ่ง อีกสองคนก็จะอยู่ข้างนอก แต่เมื่อคุณเชิญความรัก ที่ใดที่เขาไปเราจะไปกับเขา
- ' ที่ใดมีความรัก ที่นั่นก็จะมีความมั่งคั่งและความสำเร็จ '
การศึกษาเป็นสาเหตุสำคัญ
- เมื่อเช้านี้ ดูรายการ TV รายการหนึ่ง ที่ฟังการสนทนาของผู้ร่วมรายการแล้วสะท้อนเข้ามาในวงการการศึกษา โดยการสนทนาจะเริ่มจากเหตุการณ์ที่คนงานไทย ไปถูกลอยแพที่ประเทศสวีเดน เพราะจะไปเก็บผลไม่ แต่ปรากฏว่า ไม่มีผลไม้ให้เก็บ การพูดคุยก็เชื่อมโยงต่อมาถึงกรณึที่ผู้สนทนาเคยเดินทางไปประเทศต่างๆ แล้ว พบคนไทยต้องไปทำงานในประเทศนั้นๆ โดยเฉพาะงานประเภทขายบริการ แล้งก็โยงไปถึงเหตุการณ์ในอดีตหลังสงครามโลก ก็บอกว่า ช่วงนั้น หญิงชาวญี่ปุ่นป้าง เกาหลีบ้าง ก็ต้องยึดอาชีพแบบนี้ สาหเหตก็มาจาก เรื่องเศรษฐกิจ แต่ตอนนี้ ทั้งสองประเทศ เศรษฐกิจดี จึงไม่เห็นสภาพแบบนั้นอีกแล้ว เพราะเมื่อเศรษฐกิจดี การ ศึกษาก็ดีไปด้วย ทำให้สามารถประกอบอาชีพที่ดีๆ ได้ แล้วก็โยงกลับมาที่ประเทศไทย ว่า เราต้องพัฒนาการศึกษา ที่ปัจจุบัน ดูเหมือนว่า จะสายไปแล้ว เพราะการ ศึกษาบ้านเราแย่มาก สาเหตุที่คนไทย ต้องไปทำงานเก็บผลไม้แล้วถูกลอยแพนี้ ก็เพราะการศึกษาเป็นเหตด้วยเช่นกัน เนื่องจากมีความรู้น้อย จึงไม่มีทางเลือก มากนัก
- การพูดคุยเชื่อโยงลึกเข้ามาในการศึกษา แล้วก็พาดพิงไปถึงครูจนได้ โดยท่านผู้ร่วมรายการเล่าประสบการณ์ว่า เคยไปโรงเรียนแห่งหนึ่ง อายุเฉลี่ยของครู 52 ปี ปัจจุบันกำลังขาดแคลนครู คนเก่งๆ ไม่อยากมาเป็นครู เพราะค่าตอบแทนน้อย คนเก่งจึงไปเป็นหมอ เป็นวิศวะ หรืออื่นๆ แล้งเริ่มย้อนอดีตว่า เมื่อก่อนนั้น คนเก่ง จริงๆ จึงจะได้เป็นครู เขาจะเลือกคนเก่งๆ มาเป็นครู แต่ต่อมาเมื่อมีการขยายการศึกษาในรูปแบบการศึกษาประชาบาล มีโรงเรียนทุกพื้นที่ ทำให้ขาดแคลนครูอย่าง มาก จึงมีการผลิตครูอย่างมาก มีสถานศึกษาผลิตครู 2 จังหวัดต่อแห่ง (แล้วก็เล่าต่อไปอีกหลายอย่าง) โดยสรุปก็คือ ประเทศไทยต้องมีการปรับปรุงการศึกษากันอย่าง จริงจังแล้วดึงคนเก่งๆ มาเป็นครู โดยให้ค่าตอบแทนที่สูงกว่าอาชีพอื่นๆ ไม่เช่นนั้น ก็จะได้คนที่ไม่ค่อยเก่งมาเป็นครู
- จากสิ่งที่เล่ามานี้ ก็มาวิเคราะห์การสนทนาครั้งนี้ จะพบว่า ประเด็นที่ซ่อนอยู่ลึกๆ คือ เขามองว่า สาเหตของปัญหาหลายประการที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ การศึกษาเข้าไป เป็นสาเหตุหนึ่งด้วย ดังนั้น ถ้าไม่รีบแก้ไขเรื่องการศึกษาของชาติแล้ว เราคงจะไปไม่รอด และเมื่อมามองที่การศึกษา นอกจากจะมองที่ระบบการศึกษาแล้ว ก็มามองที่ ครูด้วย ไม่ใช่มองแต่เรื่องการขาดแคลนครูเพียงอย่างเดียว แต่มองที่คุณภาพของครูด้วย โดยพยายามที่จะหาทางดึงคนที่เก่งๆ มาเป็นครู โดยมีสิ่งจูงใจที่สำคัญคือ ค่าตอบแทน
- เมื่อเขาวิเคราะห์อย่างนี้ทำให้เราเริ่มกลับมามองตัวเราเองมากขึ้นสิ่งแรกคือ ทุกวันนี้ เราเป็นครูที่มีคุณภาพหรือไม่ เพื่อนครูรอบข้างเรา มีคุณภาพหรือไม่ ทำไมเขาจึง มองเรื่องคนเก่งมาเป็นครู แสดงว่า ครูในปัจจุบันเป็นอย่างไร เรื่องเหล่านี้ ให้ถามเอง แล้วตอบเองนะครับ ไม่ต้องไปถามให้คนอื่นตอบ เพราะมันจะบานปลาย
วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552
การประกันคุณภาพ
เป็นคำที่ค่อนข้างคุนเคยมากคำว่าประกัน โดยเฉพาะเกษตรกร ที่มักจะได้ยินคำว่าประกัน ในการประกันราคาพืชผลต่างๆ เช่น ประกันราคาข้าง ประกันราคามันสำปะหลังเป็นต้น
- คำว่าประกันเข้ามามีส่วนเกี่ยวของกับหน่วยงานทางการศึกษา โดยใช้คำว่า คุณภาพเข้ามาต่อท้าย คือการประกันคุณภาพ นั่นคือ การประกันว่า หน่วยงานั้นๆ จะมีคุณภาพ โดยได้ทำประกันเอาไว้ กับรัฐบาล โดยจะมีหน่ยงานหนึง ทำหน้าที่ในการตรวจสอบ ว่า หน่วยงานนั้นๆ มีคุณภาพตามที่ได้ประกันไว้หรือไม่
- คำถามที่ตามมาก็คือ คุณภาพของหน่วยงานหมายควาว่าอย่างไร ถ้าแปลอย่างกำปั้นทุบดินก็คือ คุณภาพหมายความว่า ทำงานได้ผลตามที่ต้องการ (ใครต้องการ) ดังนั้น ถ้าไปตรวจสอบผลผลิตของหน่วยงานใด แล้วพบว่าผลผลิตเป็นไปตามที่กำหนด ก็บอว่า หน่วยงานนั้น มีคุณภาพ แต่ในทางปฏิบัติ ก็คงไม่ได้ดูเฉพาะเป้าหมายปลายทางเท่านั้น ในการตรวจสอบคุณภาพ แต่จะดูที่กระบวนการผลิตด้วย ว่า กระบวนการของหน่วยงานนั้น มีคุณภาพหรือไม่
- ถ้าผลการตรวจสอบพบว่า ไม่มีคุณภาพ จะเกิดอะไรขึ้น หรือถ้าผลการตรวจสอบพบว่า ผ่านเกณฑ์คุณภาพ จะเกิดอะไรขึ้น คงเป็นเรื่องที่ต้องพูดกันยาว ถึงส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องนี้ เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว จะเกิดความเบี่ยงเบนได้ เพราะเรื่องนี้ คนไทยถนัดอยู่แล้ว ในเรื่องการปลูกผักชี หรือการสร้างข้อมูล ที่เขาเรียกว่า ปั้นน้ำเป็นตัว
การพัฒนาการเรียนการสอน
- ในเมื่อสถาบัน กศน. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปลี่ยนบทบาทจาก หน่วยงานทางด้านการพัฒนาวิชาการ มาเป็นสถานศึกษา ตั้งแต่วันที่ 4 มีนาคม 2552 แต่ดูเหมือนว่า ยังจับทิศทางในเรื่องนี้กันยังไม่ค่อยถูกต้อง เพราะต่อไปจะต้องสลัดคราบจากศูนย์วิชาการ มาเป็นศุนย์ปฏิบัติการทางด้านการเรียนการสอน โดยเฉพาะการศึกษานอกโรงเรียน แต่ด้วยความเคยชินกับการปฏิบัติที่ผ่านมา ประกอบกับข้อจำกัดในบทบาทใหม่ มีผลทำให้ หลายคนในหน่วยงาน ก็มองไม่ออกเหมือนกัน ว่าจะทำอะไร
- ก่อนอื่น คงจะต้องหันกลับมาดูว่า ถ้าเป็นสถานศึกษาจะต้องทำอะไรบ้าง และขณะเดียวกัน เขามอบหมายให้เราทำอะไรบ้าง แล้วจึงเริ่มต้นคิดว่า จะทำอะไร สิ่งแรก มาดูนิยามตำว่า “สถานศึกษา″ เมื่อใดก็ตาม ถ้าเป็นสถานศึกษา ก็จะต้องมีการเรียนการสอน ไม่ว่าจะเป็นการเรียนการสอนในรูปแบบใดก็ตาม ถ้าไม่มีการเรียนการสอน ก็คงเป็นสถานที่ใช้สำหรับการศึกษาไม่ได้ ประการต้อมา เมื่อมีการเรียนการสอน ก็ต้องมีผู้สอน ซึ่งผู้สอนก็คงต้องหมายความตั้งแต่ครูผู้สอนเป็นหลัก จนไปถึงอื่นๆ ที่เข้ามาเป็นผู้ช่วยของครู เมื่อมีสองอย่างนี้แล้ว ต่อไปก็คงนึกถึงผู้เรียน ถ้ามีแต่ครู แล้วไม่มีผู้เรียน ก็คงไม่มีการเรียนการสอน ต่อจากนั้น ก็ต้องมีเรื่องที่จะสอน ซึ่งก็คงต้องพูดถึง หลักสูตร และสื่อการเรียนการสอน
- นอกจากองค์ประกอบหลักดังกล่าวมาแล้ว ก็จะมีองค์ประกอบย่อยๆ ต่อมาอีกหมายประการ ที่จะเข้ามาสนับสนุน ให้เกิดการเรียนการสอน จนกระทั่งเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา ตามคำนิยามของคำว่า สถานศึกษา
- เมื่อได้ทิศทางคร่าวๆแล้ว ก็ต้องมาเริ่มต้นคิดกันว่า จะเดินอย่างไรต่อไป จากสิ่งที่เรามีอยู่ อย่างน้อยๆ เราก็มีบุคลากร หรือครูผู้สอน ถ้าจะเริ่มต้อนจากสิ่งที่มีดังกล่าว ต่อไปก็คงหาว่า แล้วผู้เรียนของเราคือใคร อยู่ที่ไหน เขาจะเรียนอะไร แล้วเราจะสอนอะไร สอนอย่างไร ซึ่งจะเชื่อมโยงไปถึงหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอน สื่อการสอน การวัดผลประเมินผล และอื่นๆ ตามมา แล้วตอนนี้ เรามีสิ่งต่างๆ อยู่แค่ไหน และควรจะทำอะไรต่อไป
1. การศึกษาทางไกล หลักสูตรต่อเนื่อง ดูเหมือนว่า จะเป็นกิจกรรมที่มีกลุ่มเป้าหมาย ตรงกับบทบาทหน้าที่ของสถานศึกษามากที่สุด และเป็นกิจกรรมที่ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องหลายปีแล้ว ดังนั้น ตัวเลขของนักศึกษาตามกิจกรรมนี้ ก็น่าจะเป็นตัวสะท้อนถึงบทบาทในการเป็นสถานศึกษาของสถาบัน กศน. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2. กิจกรรม e-Learning เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งของการจัดกาเรียนการสอน ซึงปัจจุบันถือว่า เป็นการศึกาตามอัธยาศัย ถึงแม้จะมีตัวเลขจำนวนสมาชิกที่เข้ามาใช้บริการแหล่งการเรียนรู้ตามอัธยาศัยแห่งนี้ แต่ก็ไม่มีความชัดเจน ถึงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพราะยังอยู่ในช่วงเวลาของการเริ่มจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นช่วงของการปรับปรุงระบบและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ 3. e-Training เป็นกิจกรรมที่กำกึ่ง ว่า เป็นการจัดการเรียนการสอนตามบทบาทของสถานศึกษาหรือไม่ หรือนับเป็นการอบรม หรือการพัฒนาบุคลากร เพราะกลุ่มเป้าหมายเป็นบุคลากร กศน. ในหน่วยงานต่างๆ แต่ก็พอจะอนุโลมได้ว่า เป็นการจัดกาเรียนการสอนตามบทบาทของสถานศึกษา ต่อไปเราคงต้องมาช่วยกันคิดว่า กลุ่มเป้าหมายของเราเป็นใคร และจะจัดการศึกษาในรูปแบบใดจึงจะตอบสนงอตามบทบาท และภาระกิจของสถานศึกษาที่ชื่อว่า สถาบันการสึกษานอกระบบและการสึกษาตามอัธยาศัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือแห่งนี้
การสอน กับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- ได้เคยไปร่วมสัมมนากับนักการศึกษาที่เก่งมากท่านหนึ่ง ท่านได้ให้ข้อคิดที่น่าสนใจมาก โดนเฉพพาะเกี่ยวกับเรื่องการศึกานอกโรงเรียน โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาตามอัธยาศัย
- สิ่งที่ท่านกล่าวในการสัมมนา และหลายคนอาจะคิดไม่ถึงคือ ท่ามถามว่า ในฐานะที่เราเป็นครู และเป็นครูกศน. เมื่อไปพบกับชาวบ้าน (ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายของ กศน.) เราในฐานะที่เป็นครู กศน. ก็มักจะคิดว่า เราจะเข้าไปสอน หรือไปให้การศึกษากับชาวบ้าน แต่บางท่านกลับไม่ใช่ เพราะแทนที่จะเข้าไปสอนชาวบ้าน แต่เขากลับไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับชาวบ้าน คำถามที่ถามย้อนกลับมา คือ มันมีอะไรที่อยู่ในตัวครู กศน. 2 ประเภทนี้ จึงทำให้ เข้าไปจัดกิจกรรมการศึกษาเหมือนกัน แต่วิธีการที่ต่างกัน
- ท่านได้อธิบายว่า มันขึ้นอยู่กับฐานความคิดของแต่ละคน คนที่คิดว่า ตัวเองเก่งกว่า ตัวเองดีกว่า ชาวบ้านโง่กว่า ชาวบ้านไม่รู้ คนที่มีฐานความคิดเป็นแบบนี้ ก็จะสวมบทบาทการเป็นผู้สอน แต่ขณะเดียวกับ ครูอีกกลุ่มหนึ่งมีฐานความคิดบนพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ที่เชื่อว่า ทุกคนมีความแตกต่างกัน มีความรู้แตกต่างกัน ตัวเองไม่ได้เก่งกว่าคนอื่นทุกเรื่อง คนกลุ่มนี้ จะมองเห็นคุณค่าของคนอื่น และกิจกรรมทางการศึกษาก็ออกมาในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือจัดกิจกรรมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไม่ใช่กิจกรรมการเรียนการสอน
- ข้อคิดในเรื่องนี้ ได้ทำให้เกิดความคิดหลายประการในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาสู่การปฏิบัติตัวในสังคมปัจจุบัน แล้วก็แอบสังเกตดูพฤติกรรมของคนรอบข้าง เพื่อจะอธิบายกรอบคิดของคคนนั้น จากพฤติกรรมการแสดงออก ว่า เขาคนนั้น เป็นคนที่ดู ถูกคนอื่น หรือเป็นคนที่เห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ก็ได้พบเห็นมากมาย แล้วก็เก็บข้อสรุปเอาไว้ในใจของเราเอง