หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การรับรู้ และการเรียนรู้

เคยสังเกตไหมครับว่า บางที คนสองคน มองเห็นหรือได้ยินเรื่องราวเหมือนกัน แต่คิดไม่เหมือนกันแปล ความไม่เหมือนกัน เช่นได้ฟังข่าวว่า นาย ก มีเงินมากมาย คนหนึ่งก็อาจจะคิดว่า นาย ก ต้องไปโกงกินมาแน่ๆ จึงได้ร่ำรวย แต่อีกคนหนึ่งอาจจะคิดว่า เขาคงขยันทำมาหากินประกอบธุรกิจจนมีเงินมากมาย ทั้งสอง คนไปฟังข่าวมาจากที่เดียวกัน ได้รับรู้ในสิ่งเดียวกัน แต่คิดไม่เหมือนกัน เพราะการรับรู้มีเพียงแค่นี้ แต่ถ้าเขาได้ข้อมูลมากขึ้น ได้ไปรู้จัก ใกล้ชิดนาย ก ได่เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ จากนาย ก มากขึ้น จึงจะทราบว่า จริงๆแล้ว เขาโกงกิน หรือทำมาหากิน เช่น ได้ทราบข้อเท็จจริงว่า แท้ที่จริงแล้ว ตระกูลเขาร่ำรวยอยู่แล้ว และเป็นคนทำมาหากินด้วย จึงได้เงินมากมาย ดังนั้น ในเวลาต่อมา เมื่อเขาได้ข่าวว่า นาย ข ร่ำรวย เขาก็จะคิดหรือแปลความทันที ว่า นาย ข เป็นคนทำมาหากิน เพราะการรับรู้ครั้งนี้ มีกรอบความคิดเดิมจากนาย ก เข้ามาช่วยในการแปลความ
  • การเรียนการสอนก็เช่นเดียวกัน กระบวนการเรียนการสอน จะเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เรียนได้รับรู้เรื่องราวต่างๆซึ่งเรารเรียนว่า สิ่งเร้า หรือตัวกระตุ้น เข้าไปกระตุ้นสมองให้ได้รับรู้ ก่อน ต่อจากนั้น จึงสร้างกระบวนการ เรียนรู้ภายในสมอง ให้ได้เรียนรู้กับสิ่งเร้านั้นๆ เพื่อหาข้อค้นพบในการแปลความสิ่งเร้าอันนั้นว่าคืออะไร ถ้าสมองสามารถค้นพบได้ว่า สิ่งเรานั้นคืออะไร เราก็เรียกว่า เกิดปัญญา แต่ถ้ายังไม่สามารถค้นพบได้ ก็จะจำเพียงสิ่งเร้าอันนั้นไป แต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร เพียงแต่จำได้ เราก็เรียกว่า ท่องจำได้แบบนกแก้ว นกขุนทองโดยไม่รู้ความหมายของคำที่นกขุนทองมันพูด
  • ดังนั้น สิ่งเรา ที่จะให้เกิดการรับรู้ (Perception) จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากว่า เร้าอย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียน ได้รับรู้ เพราะถ้าไม่ผ่านขั้นแรก คือการรับรู้แล้ว ก็คงไม่เกิดขั้นเรียนรู้ การรับรู้ ก็สามารถรับรู้ได้จากประสาทสัมผัสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เห็นผ่านตา ได้ยินผ่านหู ได้รสผ่านลิ้น เป็นต้น คนตาบอดจึงขาดการรับรู้ผ่านการเห็น คนหูหนวก ก็ขาดการรับรู้ผ่านการได้ยิน คนที่ไม่ได้สนใจเรียน อาจจะไม่ได้รับรู้อะไรเลยก็ได้เพราะกำลังคิดเรื่องอื่น ไม่ได้ฟังที่ครูสอน ดังนั้น การเร้าให้เกิดการรับรู้ จึงสำคัญมาก เรามักจะเคยได้ยินบ่อยถึงการนำเข้าสู่บทเรียนของครู ความจึงก็คือการสร้างสิ่งเร้าประการหนึ่งนั่นเองเมื่อผู้เรียนรับรู้แล้ว ขั้นต่อไปคือทำอย่างไร ให้นำเอาสิ่งที่ได้รับรู้นั้นไปเรียนรู้ และเกิดปัญญา ซึ่งกระบวนการดังกล่าว เป็นกระบวนการที่เกิดในสมองทั้งสิ้น หรือเราเรียกว่า เป็นสภาวะการณ์ทางจิต ซึ่งนักจิตวิทยาได้ศึกษาค้นคว้า และคิดกันมากมาย จึงเกิด ทฤษฎีการเรียนรู้มากมาย แต่ละทฤษฎีก็คิดกันว่า จะทำอย่างไรให้ผู้เรียนเกิดปัญญาให้ได้ ไม่ใช่รับรู้ และจำสิ่งเร้าได้เท่านั้น

การศึกษาทางไกลหรือ e-Learning มีอะไรเป็นสิ่งเราให้เกิดการรับรู้ และกระบวนการเรียนรู้ทำอย่างไร ผลที่ได้รับเป็นอย่างไร เป็นคำถามที่น่าสนใจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น