- ได้เคยไปร่วมสัมมนากับนักการศึกษาที่เก่งมากท่านหนึ่ง ท่านได้ให้ข้อคิดที่น่าสนใจมาก โดนเฉพพาะเกี่ยวกับเรื่องการศึกานอกโรงเรียน โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาตามอัธยาศัย
- สิ่งที่ท่านกล่าวในการสัมมนา และหลายคนอาจะคิดไม่ถึงคือ ท่ามถามว่า ในฐานะที่เราเป็นครู และเป็นครูกศน. เมื่อไปพบกับชาวบ้าน (ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายของ กศน.) เราในฐานะที่เป็นครู กศน. ก็มักจะคิดว่า เราจะเข้าไปสอน หรือไปให้การศึกษากับชาวบ้าน แต่บางท่านกลับไม่ใช่ เพราะแทนที่จะเข้าไปสอนชาวบ้าน แต่เขากลับไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กับชาวบ้าน คำถามที่ถามย้อนกลับมา คือ มันมีอะไรที่อยู่ในตัวครู กศน. 2 ประเภทนี้ จึงทำให้ เข้าไปจัดกิจกรรมการศึกษาเหมือนกัน แต่วิธีการที่ต่างกัน
- ท่านได้อธิบายว่า มันขึ้นอยู่กับฐานความคิดของแต่ละคน คนที่คิดว่า ตัวเองเก่งกว่า ตัวเองดีกว่า ชาวบ้านโง่กว่า ชาวบ้านไม่รู้ คนที่มีฐานความคิดเป็นแบบนี้ ก็จะสวมบทบาทการเป็นผู้สอน แต่ขณะเดียวกับ ครูอีกกลุ่มหนึ่งมีฐานความคิดบนพื้นฐานของความเป็นมนุษย์ ที่เชื่อว่า ทุกคนมีความแตกต่างกัน มีความรู้แตกต่างกัน ตัวเองไม่ได้เก่งกว่าคนอื่นทุกเรื่อง คนกลุ่มนี้ จะมองเห็นคุณค่าของคนอื่น และกิจกรรมทางการศึกษาก็ออกมาในรูปแบบของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือจัดกิจกรรมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไม่ใช่กิจกรรมการเรียนการสอน
- ข้อคิดในเรื่องนี้ ได้ทำให้เกิดความคิดหลายประการในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำมาสู่การปฏิบัติตัวในสังคมปัจจุบัน แล้วก็แอบสังเกตดูพฤติกรรมของคนรอบข้าง เพื่อจะอธิบายกรอบคิดของคคนนั้น จากพฤติกรรมการแสดงออก ว่า เขาคนนั้น เป็นคนที่ดู ถูกคนอื่น หรือเป็นคนที่เห็นคุณค่าของความเป็นมนุษย์ ก็ได้พบเห็นมากมาย แล้วก็เก็บข้อสรุปเอาไว้ในใจของเราเอง
วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2552
การสอน กับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น