หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ธุรกิจที่เกี่ยวกับการศึกษา

วันนี้เป็นวันหยุด แต่มีงานค้างต้องมาทำงานต่อ เมื่อเลี้ยวรถจะเข้าที่ทำงาน ปรากฏว่า ต้องแปลกใจ เพราะรถจจอดเต็มสนามหน้าที่ทำงานไปหมด สอบถามจึงได้ความว่า เป็นวันซ้อมรับพระราชทานปริญญาบัตร เข้าไปวนรถหาที่จอดรถ ได้เห็นผู้คนเดินไปมาขวักไขว่ ส่วนมากก็จะเหมารถตู้มาบ้าง รถกระบะบ้าง แต่ดูเหมือนส่าส่วนมากเป็นรถกระบะ เท่าที่เห็นก็จะมีแต่ผู้ปกครอง ที่เป็นผู้สูงอายุเสียเป็นส่วนมาก ส่วนตัวนักศึกษาไม่เห็น เพราะอยู่ในห้องประชุมหมดแล้ว ทำให้ตัวเรย้อนไปเมื่อปีที่แล้ว ได้ไปร่วมดีใจกับลูกที่เข้ารับพระราชทานปริญญาเช่นกัน เป็นความภูมิใจของตัวบัณฑิตตเอง และพ่อแม่ญาติพี่น้อง สิ่งที่เห็นเมื่อเดินไปสำรวจบริเวณรอบๆ ประการหนึ่งคือ ช่อดอกไม้ ถึงแม้จะเป็นวันซ้อม ก็มีขายกันอย่างมากมาย ราคาก็ไม่ถูกเลย เป็นธุรกิจที่ทำรายได้ไม่น้อยเลย (ดูจากการประมูลพื้นที่เพื่อตั้งขายดอกไม้ก็รู้ว่า ทำกำไรอย่างมาก เพราะค่าประมูลพื้นที่ขายเป็นหลักแสน) ทำให้นึกต่อไปอีกว่า การรับปริญญาแต่ละครั้งต้องใช้จ่ายอะไรบ้าง ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายแห่งความภาคภูมิใจ ประการแรกคือ ชุดที่เข้ารับพระราชทานปริญญา ไม่ว่าจะเป็นชุดนักศึกษา ชุดขาว และครุยที่สวมใส่ ไม่ว่าจะเช่า หรือตัดเอง ก็หลายสตางค์ เรียกว่า ร้านตัดชุด มีรายได้งามๆ ประการต่อมาคือ ร้านแต่งหน้า โดยเฉพาะร้านที่อยู่บริเวณใกล้ๆมหาวิทยาลัย มีรายได้กันเป็นกอบเป็นกำ บางร้านลูกค้ามารอคิวตั้งแต่เช้า ธุรกิจการถ่ายภาพ ก็ได้รับผลไม่น้อยเช่นกัน ทั้งช่างภาพอาชีพ และสมัครเล่น งานนี้ต้องจ่ายกันเป็นหลักพัน ถ้าใช้ช่างกล้องมืออาชีพ ไม่รวมกับค่าอัดภาพเพื่อเป็นไว้เป็นที่ระลึก ธุรกิจอาหาร ก็คึกคักไม่น้อย เพราะมีผู้คนมาร่วมแสดงความยินดีไม่น้อย บัณฑิต 1 คน มีคนมาร่วมแสงดความยินดี 2-3 คน หรือบางคนยกกันมาทั้งครอบครัว เป็นสิบ ถึงแม้บางครอบครัวจะเตรียมอาหารการกินมาเอง ก็ก็ต้องซื้อหากินกัน รวมทั้งการเข้าร้านอาหารเพื่อฉลองความสำเร็จหลังจากได้รับพระราชทานปริญญาบัตรแล้ว ลองคิดค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยเอาตัวเองเป็นหลักตัวเลขขึ้นหลักหมื่น (เพราะต้องเข้าไปรับที่ กทม. เสียค่าใช้จ่าย ในการเดินทาง ค่าที่พักโรงแรม) ถ้าคนละประมาณ หนึ่งหมื่นบาท การรับปริญญาวันหนึ่งประมาณ 4000 คน ก็คิดเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 40 ล้านบาท ต่อวัน นี้คือค่าใช้จ่ายในวันแห่งความสำเร็จการศึกษา วันแห่งความภาคภูมิใจ ธ

วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ระบบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัย ยังมีจุดบกพร่อง

วันนี้นั่งดูข่าวจากTV รายการเรื่องเล่าเช้านี้ จับใจความสำคัญประการหรึ่งว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยท่านหนึ่งออกมากล่าวว่า เด็กที่ผ่านการทดสอบที่เข้ามาเรียนคณะวิศวะ มีความรู้พื้นฐานไม่พอ เป็นเหตุให้เรียนไปไม่รอด สรุปคือ บางคนต้องออก ทางแก้ไขทางหนึ่งคือ ต้องทำข้อสอบให้ง่ายขึ้น เพื่อเด็กที่เรียนจะได้สอบผ่าน ไม่เช่นนั้น จะเรียนตก ซึ่งอาจจะถูกออก ข่าวนี้สะท้อนอะไรหลายอย่างเกี่ยวกับการศึกษา ซึ่งจากข่าวนี้ ได้สะท้อนปัญหาหนึงออกมา คือระบบการคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในปัจจุบัน อาจจะยังไม่เหมาะสมนัก เกี่ยวกับวิชาที่สอบ และคะแนนทมี่นำมาตัดสิน แต่สิ่งที่ต้องคิดต่อไปคงไม่ใช่เรื่องนี้ แต่ต้องคิดถึงอนาคตของเด็กที่อยู่ในมหาวิทยาลัย และที่จะจบออกไป ต้องยอมรับว่า ในทุกวันนี้ เรื่องการกวดวิชา เป็นเรื่องจำเป็นอย่างมากสำหรับการเรียน โดยเฉพาะเด็กที่กำลังเรียนอยู่ ม. 6 ส่วนมาก จะต้องไปกวดวิชา และการกวดวิชาประการหนึ่งคือ การนำเอาข้อสอบมาทำ จึงทำให่ระบบการศึกษษในปัจจุบัน ค่อนข้างจะเพี่ยนไปบ้าง แทนที่จะเป็นการเรียนการสอน แต่เป็นการไปทำข้อสอบ เพื่อมุ่งหวังที่ปลายทางคือการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ซึ่งจะเป็นเริ่มต้นของหลายอย่างในชีวิตข้างหน้า ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นในพัฒนาการของเด็กคือ อะไรคงไม่ต้องบอกกัน โดยมีสิ่งหนึ่งที่อาจจะหายไปจากพัฒนาการที่ต้องการให้เกิดในตัวเด็ก และสิ่งที่หายไปนี้ อาจจะเป็นตัวสำคัญที่กำลังเป็นการสร้างปัญหาทางสังคม ในปัจจุบัน ในอนาคตอันใกล้านี้ ปัญหาทางสังคม อาจจะแปรผกผันกับระดับการศึกษาของคนไทยก็ได้ หรือที่เรียกว่า ยิ่งคนมีการศึกษาสูง สังคมยิ่งแย่

วันพฤหัสบดีที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ผลงานวิชาการ เพื่อเลื่อนวิทยฐานะ

เส้นทางการเลื่อนวิทยฐานะ
เพื่อนครู ที่ต้องการเลื่อนวิทยฐานะ จะต้องมีการเตรียมตัวอย่างไร มีหลายท่าน ขอเข้ารับการประเมินเพื่อเลื่อนวิทยฐานะเลย โดยไม่ทราบและไม่ได้เตรียมความพร้อมมาก่อน จะทำให้ถูกบีบด้วยระยะเวลาอันจำกัดที่จะต้องทำผลงาน จนมีผลทำให้จัดทำผลงานไม่ทัน หรือผลงานไม่ผ่านการประเมิน มีผลทำให้เสียเวลาโดยใช่เหตุ ถอยหลังมาสักก้าว แล้วเดินไปข้างหน้าด้วยความมั่นใจ ดีกว่า รีบวิ่งไปข้างหน้าแล้วไปสะดุดขาตัวเองจนไปไม่ถึงเป้าหมายสิ่งแรกที่นึกถึงตลอดเวลา คือ วิทยฐานะนั้น เป็นผลพลอยได้จากการทำงาน นั่นคือทำงานให้ดี แล้วค่อยเอางานที่เราทำนั้นไปขอเลื่อนวิทยฐานะ ไม่ใช่ขอวิทยฐานะแล้ว จึงมาสร้างผลงานให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด เพราะผลงานนั้นจะกลายเป็นสิ่งแปลกปลอม สำหรับงานในหน้าที่รับผิดชอบ แล้วเราจะไม่ภูมิใจในวิทยฐานะที่เราได้เลย คุยได้ไม่เต็มปาก เพราะเป็นสิ่งที่ได้มาด้วยการหลอกลวง หรือไปจ้างผู้อื่นทำ ให้นึกถึงลูกของท่าน หลานของท่าน ที่หน้าตาใสซื่อ เหล่านี้ คือผู้ที่จะได้รับผลจากการกระทำของครูทุกท่านทั้งด้านบวกและลบ บางครั้งท่านทำให้เด็กเหล่านี้ โตไปเป็นผู้ใหญ่ที่เห็นแก่ตัวเพียงเพราะเด็กเหล่านี้เลียนแบบความเห็นแก่ตัวของท่าน เป็นผู้ใหญ่ที่โกงกินบ้านเมือง เพราะเห็นแบบอย่างของท่านที่โกงเวลาสอนไปหารายได้ข้างนอก โตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ที่ฟุ้งเฟ้อ เพียงเพราะเห็นครูฟุ้งเฟ้อ อย่าคิดว่าเรื่องน้อยนิดที่ท่านทำจะไม่มีผลต่อประเทศชาติบ้านเมือง ถ้าครูบางท่านที่กำลังคิดผิด ทำผิด เป็นแบบอย่างที่ไม่ดีในปัจจุบันปรับเปลี่ยนตัวเองให้เป็นแบบอย่างที่ดี ท่านจะช่วยเติมเต็มบุคลากรที่ดีในสังคมให้เพิ่มขึ้นได้อีกเป็นจำนวนมากมาย แต่สังคมไทย มีครูที่ดีเป็นจำนวนมาก บ้านเมืองจึงยังอยู่รอดจนถึงทุกวันนี้ ช่วยกันทำความดี เป็นแบบอย่างที่ดี เพื่อแผ่นดินไทย เพื่อคนไทย กันนะครับ

วันจันทร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

หรือว่า มหาวิทยาลัย เป็นต้นตอของปัญหาทั้งหลาย

ช่วงนี้เป็นฤดูการสอบเรียนต่อมหาวิทยาลัย ถึงแม้จะเลยช่วงเลาที่ลูกจะต้องสอบเข้ามหาวิทยาลัยมาแล้ว แต่ก็ยังจำได้ดี ว่าตอนนี้ ในใจมีความวิตกกังวลไปกับลูก เพราะดูเหมือนว่า การกำหนดอนาคตของคนส่วนมาก อยู่ที่การเรียนต่อมหาวิทยาลัยนั่นเอง หลายสิ่งหลายอย่างในอนาคตของแต่ละคน จะอยู่ที่การเชื่อมต่อจากการเรียนในมหาวิทยาลัย เรื่องแรกแน่ๆ คือ การทำงาน ซึ่งหมายถึงความมั่นคงในชีวิตข้างหน้าจนถึงตาย (ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่ทุกคน)ชีวิตครอบครัว ก็อาจจะเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัย รวมทั้งนิสัยใจคอบางอย่างก็เริ่มจากมหาวิทยาลัย หรือก่อนที่จะเข้ามหาวิทยาลัย โดยมีเงื่อนไขของการเข้ามหาวิทยาลัยเข้ามาเป็นต้นเหตุ ย้อนอดีตไปถึงสมัยเด็ก สถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย มีไม่กี่แห่ง ส่วนมากก็คือ มหาวิทยาลัยดังๆ ในปัจจุบัน ที่คนแห่ไปเข้ามากที่สุดคือ จุฬา และ ธรรมศาสตร์ ซึ่งสมัยนั้น จะไปสอบตรง ต้องการเข้าที่ไหน ก็ไปสมัคร และสอบที่นั่น อีกแห่งหนึ่งที่ผู้ชายต้องการไปเรียนกันมาก คือ โรงเรียนนายร้อย และคนที่สามารถไปเรียนในมหาวิทยาลัยหรือเรียนว่า ระดับอุดมศึกษาได้ จะต้องผ่านการเรียนในระดับเตรียมอุดม ก่อน คือเข้าเรียนในระดับ ม.ศ.4 และ ม.ศ.5 เพื่อเป็นการเตรียมตัวไปเรียในระดับอุดมศึกษา ลูกหลานครอบครัวไหน สอบเข้าได้ จะมีข่าวเล่าลือกันทั้งตำบล เป็นที่เชิดหน้าชูตราของครอบครัว คนที่ไม่ได้เรียนเตรียมอุดม ก็เข้าทางสายครู หรือไม่เช่นนั้นก็ทางสายช่าง ต่อมาเมื่อมหาวิทยาลัยมากขึ้น คนเรียนจบ ม.ปลายมากขึ้น การสอบเข้ามหาวิทยาลัย ก็ใช้การสอบรวม เรียกว่า สอบ Entrance จำได้ว่า ตอนที่เราสอบมีให้เลือกได้ 6 คณะไปสมัครกันที่ศาลาพระเกี้ยวของจุฬใ เมื่อสอบเสร็จ ไปดูผลสอบกันที่สนามกีฬาของจุฬา ส่วนมากก็จะสอบเข้าไม่ได้ หน้าจ๋อย เดินทางกลับต่างจังหวัด เล่ามานี้เพื่อให้เห็นว่า สังคมค่อยไปลี่ยนไปเรื่อยๆ เพราะคนมากขึ้น การเข้ามหาวิทยาลัย เป็นเรื่องของชีวิต เป็นเรื่องของการแข่งขันสูงมาก เป้าหมายของการศึกษากลายเป็นเรียนเพื่อทำข้อสอบ ใครสอบเก่ง ก็มีอนาคตที่ดี เพราะมหาวิทยาลัยเป็นตัวำหนดอนาคต อยากให้การศึกษาไทยเป็นอย่างไร ก็ทำข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัยเป็นอย่างนั้น ถ้าต้องการให้สังคมไทยสมานฉันท์ ไม่แตกแยกอย่างทุกวันนี้ ลองเอาพฤชติกรรมการสมานฉันท์ เป็นเกณฑ์ในการเข้ามหาวิทยาลัย อาจจะช่วยแก้ปัญหานี้ก็ได้

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สอบจริงไม่ได้ เอาไว้แก้ตัวสอบซ่อม

ย้อนอดีตไปเมื่อ 30 กว่าปี สมัยนั้น ระบบการศึกษามีมัธยมศึกษาตอนปลาย 2 ปี คือ ม.ศ.4 และ ม.ศ. 5 การเรียนสมัยนั้น จะวัดผลด้วยการสอบปลายภาค โดยใช้ข้อสอบกลาง ที่เป็นข้อสอบทั้งประเทศ ถ้าใครสอบไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ จะต้องเรียนซ้ำชั้น จำได้ว่า เรียน ม.ศ. 4 จำนวน 8 ห้อง ขึ้น ม.ศ. 5 เพียง 2 ห้อง และพวกที่เรียน ม.ศ. 5 สอบตกกันอีกหลายคน ก็ต้องเรียนซ้ำชั้น ม.ศ. 5 อีก บางคนกว่าจะจบ ม.ศ. 5 ก็เรียนถึง 3 ปี หรืออาจจะ 4 ปี ปัจจุบัน ไม่มีการสอบรวบยอดทั้งหมด แต่สอบผ่านเป็นวิชา และสอบปลายภาคเรียนเพียงครั้งเดียว วิชาที่ผ่านแล้วก็ผ่านไป เป็นสมัยก่อนเอาความรู้ทุกวิชาตั้งแต่ ม.ศ. 4 มาสอบ และสมัยนี้ วิชาที่สอบ ถ้าไม่ผ่านก็ไปสอบซ่อมได้ ซึ่งส่วนมากก็ซ่อมแล้วก็ผ่าน กศน. มีการใช้ข้อสอบกลาอีกครั้งในภาคเรียนที่ 2/51 ปรากฏว่า นักศึกษา กศน. ตกกันมาก ภาคเรียนที่ 2 นี้ก็คาดว่าจะมีตกกันมากเช่นกัน จึงมีคำกล่าวที่พูดกันเล่นๆ ตอนนี้ว่า ไปสอบไว่ก่อนไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เพราะถ้าไม่ได้ ก็มาสอบซ่อม

นโยบายด้านการศึกษา

รัฐบาลด้านการศึกษาของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่แถลงต่อรัฐสภา มีดังนี้

ด้านการศึกษา ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และระดมทรัพยากรเพื่อการปรับปรุงการบริหารจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา พัฒนาครู พัฒนาระบบการคัดเลือกเข้าสู่มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตร รวมทั้งปรับหลักสูตรวิชาแกนหลักรวมถึงวิชาประวัติศาสตร์ ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ ปรับบทบาทการศึกษานอกโรงเรียนเป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต และจัดให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อนำไปสู่เป้าหมายคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นคุณธรรมนำความรู้อย่างแท้จริง

  1. ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อให้สนองตอบความต้องการด้านบุคลากรของภาคเศรษฐกิจ
  2. พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ครูดี ครูเก่ง มีคุณธรรม มีคุณภาพ และมีวิทยฐานะสูงขึ้น ลดภาระงานครูที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนตามโครงการคืนครูให้นักเรียน มีการดูแลคุณภาพชีวิตของครูด้วยการปรับโครงสร้างหนี้และจัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตครู ควบคู่ไปกับการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เน้นการพัฒนาเนื้อหาสาระและบุคลากรให้พร้อมรองรับและใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศได้อย่างคุ้มค่า
  3. จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เกิดความเสมอภาคและความเป็นธรรมในโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั้งผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ผุ้บกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา และชนต่างวัฒนธรรม รวมทั้งยกระดับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชุมชน
  4. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการจัดกลุ่มสถาบันการศึกษาตามศักยภาพ ปรับเงินเดือนค่าตอบแทนของผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาให้สูงขึ้น โดยภาครัฐเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างของการใช้ทักษะอาชีวศึกษาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าตอบแทนและความก้าวหน้าในงาน ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้วยการเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา
  5. ปรับปรุงการบริหารจัดการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้มีการประนอมและไกล่เกลี่ยหนี้ รวมทั้งขยายกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เพื่อขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและปริญญาตรีเพิ่มขึ้น
  6. ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้
  7. เร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้อย่างบูรณาการในทุกระดับการศึกษาและในชุมชน โดยใช้พื้นที่และโรงเรียนเป็นฐานในการบูรณาการทุกมิติ และยึดเกณฑ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาเป็น หลักในยกระดับคุณภาพโรงเรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และส่งเสริมความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและวิจัยพัฒนาในภูมิภาค รวมทั้งเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในชุมชนโดยเชื่อมโยงบทบาทสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันทางศาสนา

จากนโยบายของรัฐบาลดังกล่าว ถ้าวิเคราะห์เข้ามาสู่บทบาทของ กศน. และบทบาทของหน่วยงานสังกัด กศน. ต่างๆ คงจะต้องมีการวิเคราะห์ว่า สิ่งที่กำลังดำเนินการนั้น ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลอย่างไรหรือ ไม่ มสีสิ่งใดที่ตอบสนองนโยบายอยู้แล้ว ก็ดำเนินการต่อไป สิ่งใดที่ไม่เป็นไปตามนโยบาย แค่มีประโยชน์ต่อประชาชน ก็ต้องช่วยกันพิจารณาว่า ควรดำเนินการอย่างไร แต่สิ่งที่ขัดนโยบายก็ต้องพิจารณาหนักหน่อย ญ นโยบายที่สำคัญประการหนึ่งในข้อ 6 ที่เป็นตัวหนังสือสีแดงเป็นนโยบายประการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับงานสารสนเทศคือการนำเอาเทคโนโลยีสานสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยน์ต่อการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน แต่ถ้าขยายขอบเขตไปถึงประชาชนทั่วไปก็คงจะไม่ผิดอะไร โดยมีแนวทางที่สามารถดำเนินการได้หลายแนวทาง โดยแนวทางหนึ่งที่สามารถดำเนินการได้ทันทีคือการสร้างสื่อการเรียนรู้เพื่อเผยแพร่ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (อ่านบทความเรื่อง คลังสื่อ ประกอบ)

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เข้ารับการบอรมหลังสูตร php5/MySQL

16-20 ก.พ. 2552 เข้ารับการอบรมคอมพิวเตอร์หลักสูตร PHP5/MySQL ที่ศูนย์ฝึกอบรมโครงการ ITEd ของสำนักงาน กศน. จังหวัดนครราชสีมา การอบรมในครั้งนี้ เป็นการเสริมความรู้ให้กับ คณะ ICT ของ กศน. ทั้ง 5 ภาค ได้รับความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งาน PHP และ MySQL

วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สายด่วน ช่องทางการสื่อสารที่ไม่ได้รับความสนใจ

  • คงต้องยอมรับว่า หน่วยงานและสถานศึกษาของ กศน. ได้มีการพัฒนาด้าน ICT ไปค่อนข้างมาก หน่วยงาน กศน. ระดับภาคและระดังจังหวัด มีเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่สามารถใช้งาน อินเตอร์เน็ตที่สามารถให้บริการแก่สมาชิกในองค์กรได้ นอกจากนั้นยังสามารถสร้าง website ของตนเองได้ ทำให้สามารถเปิดช่องทางการสื่อสาร ระหว่างหน่วยงานได้อย่างกว้างขวาง และรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ข้อมูล ข่าวสาร หรือการให้บริการทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียนการสอน การฝึกอบรม ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
  • เป็นที่น่าดีใจว่า ช่องทางการสื่อสารเหล่านี้ เข้ามาช่วยไม่เพียงความรวดเร็วในการสื่อสารเท่านั้น แต่ยังช่วยประหยัดงบประมาณ ในการติดต่อสื่อสารได้ ด้วย ถ้าสามารถนำมาใช้ได้อย่างเต็มที่ตัวอย่างเช่น การสื่อสารการรับส่งหนังสือราชการระหว่างหน่วยงานระดับจังหวัด และอำเภอ นอกจากจะรวดเร็วแล้ว ยังประหยัดค่าไปรษณีย์ได้ด้วย เมื่อคลิกเมาส์ที่ปุ่มส่ง ก็จะถึงผู้รับทันทีแต่ยังน่าเสียดายที่ยังมีบางสิ่งบางอย่างเข้ามาเป็นอุปสรรคที่ขวางกั้นไม่ให้กระบวนการดังกล่าวนำมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ตัวอย่างเช่น การส่งจดหมายดังกล่าวนี้ เป็นการส่งไปยังตู้จดหมาย ไม่ได้ส่งถึงตัวบุคคล ถ้าเจ้าของตู้ไม่ไปเปิดดูจดหมายในตู้ ก็จะไม่ได้รับจดหมาย ดังนั้นแทนที่จะเป็นผลดี ก็เลยกลาวเป็นผลเสีย เพราะทางผู้ส่ง ก็คิดว่าผู้รับได้รับจดหมายแล้ว ก็รอว่า เมื่อไรจะดำเนินการตามที่สั่งไปในจดหมาย เมื่อรอไม่ไหว ก็เร่งรัดไป ทางผู้รับก็ต่อว่ามาว่า ทำไมไม่บอก (เพราะไม่เคยไปเปิดดู หรือไม่มีใครเอาจดหมายมาใหดู)
  • ถ้าต้องการให้กระบวนการนี้ได้ผล จะต้องทำอย่างไร ขอยกตัวอย่าง กระบวนการสื่อสารระหว่างหัวหน้าหน่วยงานระดับสูง เช่น อธิบดี กับหน่วยงานในระดับพื้นที่ ในเรื่องการติดต่อสื่อสาร สิ่งที่เป็นแนว ทางที่เป็นไปได้ น่าจะดำเนินการดังนี้
  • 1 เปิดหน้า website ที่หน้าแรก ตรงส่วนใดส่วนหนึ่งให้ชัดเจน ว่า ในกรอบนี้ เป็นเรื่องที่ผู้บริหารระดับสูง ต้องการติดต่อสื่อสาร กับหน่วยงานในพื้นที่ ทำให้ชัดๆ กว้างๆ น่าสนใจ ใครเปิดมาที่หน้าแรกของ website ก็จะเห็นทันที
  • 2 กำหนดเป็นนโยบาย หรือสั่งการไปยังทุกหน่วยงานว่า ต่อไปนี้ อธิบดี จะใช้ช่องทางนี้ เป็นการสื่อสารเรื่องที่ด่วน หรือสำคัญ ดังนั้น ท่านหัวหน้าหน่วยงานในพื้นที่โปรดให้ความสำคัญและเอใจใส่ ถ้าใช้ไม่เป็น ก็ มอบให้คนที่ใช้เป็นคอยเข้ามาตรวจสอบและรายงานให้ทราบวันละ 3 เวลาหลังอาหาร
  • 3 Website ของหน่วยงานในพื้นที่ นำเอาช่องสื่อสารกับผู้บริหารระดับสูงนี้ มาแปะไว้ที่หน้า website ของตนเอง เรียกได้ว่า เหมือนกับการถ่ายทอดของโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ เปิดไปช่องไหนก็พบ
  • 4 ต้นน้ำ ปลายน้ำ ต้องตกลงที่จะเล่นพร้อมกัน นั่นคือต้นน้ำ คือผู้บริหารระดับสูง ต้องเริ่มก่อน คือ เป็นผู้ตัดสินใจมอบหมายหรือสั่งการด้วยตัวเองว่า เรื่องอะไรบ้าง ที่ให้นำไปไว้ในช่องสายด่วนของผู้บริหาร เอาเฉพาะเรื่องสำคัญและด่วยจริงๆ (ไม่เช่นนั้นช่องนี้จะมีขยะเข้าไปปะปน) ส่วนปลายน้ำ คือ ผู้บริหารหน่วยงานในพื้นที่ก็ต้องตอบสนอง เปิดติดตามเรื่องราวในสายด่วนตลอดเวลา แล้วมีปฏิกิริยาตอบสนองให้ต้นน้ำทราบด้วย
  • เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องยาก ขอให้ประกาศเป็นนโยบาย ทุกอย่างพร้อมอยู่ ขาดแต่การนำไปปฏิบัติของผู้บริหารเท่านัน

สำนักทดสอบ กศน.

ขณะนี้ กำลังอยู่ในช่วงฤดูกาลแห่งการทำข้อสอบของสถาบัน กศน.ภาคทั้ง 5 ภาค ซึ่งปีหนึ่งจะมี 2 ช่วง คือ ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม เป็นการทดสอบสำหรับภาคเรียนที่ 2 และช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน เป็นของภาคเรียนที่ 1 ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวแทบจะต้องหยุดงานทุกโครงการเอาไว้ เพื่อมาระดมกันจัดทำข้อสอบ หรือเราเคยเรียกกันว่าเกณฑ์คนมาเข้าโรงงานนรก ต้นเดือนมีนาคม นี้ก็จะเป็นเดือนแห่งการทดสอบ ซึ่งนักศึกษา กศน. จะสอบพร้อมกันทั่วประเทศ แล้วต้องเร่งตรวจผลการสอบและประกาศผลอย่างรวดเร็วเพื่อให้ผู้ที่สอบไม่ผ่านได้มีโอกาสสอบซ่อมให้ทันเวลาการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ดังนั้นวงรดังกล่าว ก็จะหมุนเวียนเป็นอย่างนี้ทุกปี สำหรับการจัดการศึกษษขั้นพื้นฐาน ของ กศน. ซึ่งเป็นรูปแบบการศึกษารูปแบบหนึ่ง ของการศึกษานอกระบบ ซึ่งยังมีรูปแบบอื่นๆ อีกหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย ที่มีรูปแบบต่างๆ อีกมากกมาย เป็นปกติของการเรียนการสอน ก็ย่อมจะต้องมีการวัดผล และการวัดผลก็ต้องใช้วิธีการที่เหมาะสม ไม่ใช่ว่าจะใช้วิธีการสอบด้วยแบบทดสอบกันอย่างเดียว ดังนั้นในเมื่อการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมีมากมายหลายรูปแบบ การวัดผลก็ย่อมจะใช้วิธีการที่หลากหมายเช่นเดียวกัน ทำให้เคยมีแนวคิดในเรื่องการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย โดยกล่าวถึงการทดสอบหน้าจอ และได้มีการพัฒนากันขึ้นแต่ดูเหมือนว่า ยังไม่ได้มีการนำเอามาใช้อย่างเป็นทางการทซึ่งไม่รู้เหตุผลเหมือนกันว่าเพราะอะไร แต่ดูเหมือนว่าประเด็นที่สำคัญคงอยู่ที่นโยบาย และกระบวนการที่จะใช้ว่า ทำอย่างไร จึงจะถูกต้อง เป็นมาตรฐานเป็นที่รองรับและถูกต้องตามระเบียบ มาตรฐานของการทดสอบ คงจะไม่ใช่เพียงแต่มาตรฐานของตัวแบบทดสอบเท่านั้น แต่กระบวนการสอบก็ต้องมีมาตรฐานด้วย ดังนั้นการทดสอบหน้าจอ คงจะไม่พิจารณามาตรฐานของตัวข้อสอบ แต่จะต้องมีคิดหนักถึงมาตรฐานของกระบวนการทดสอบ โดยเริ่มตอบคำถาม เบื้องต้นบางประการคือ
  • มีความจำเป็นอะไรที่ต้องนำเอาระบบการทดสอบหน้าจอมาใช้
  • มีความเป็นไปได้เพียงใด ที่จะนำเอาระบบการทดสอบหน้าจอมาใช้
  • ใครเป็นผู้ดำเนินการ
สมมุติว่า คำถามข้อแรกมีคำตอบว่า จะต้องนำเอากระบวนการทดสอบหน้าจอมาใช้ ด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ควรจะดำเนินการดังนี้ 1 กำหนดผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน ไม่ใช่ทำกันเล่นๆ แล้วแต่ว่าใครอยากทำก็ทำ ดังนั้นคงจะต้องมีสำนักทดสอบขึ้นมา เป็นหน่วยงานย่อยๆ ที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง ตั้งแต่ส่วนกลางจนถึงสถานศึกษา แล้วคิดและวางระบบอย่างจริงจังเป็นมาตรฐานแนวทางเดียวกันทั้งประเทศ โดยเฉพาะดูแลในเรื่องนโยบาย และการสนับสนุนการดำเนินงาน 2 พัฒนาระบบคลังข้อสอบ ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีสายการดำเนินงานยาว เพราะต้องเริ่มตั้งแต่การผลิตข้อสอบ การพัฒนาคุณภาพข้อสอบ ระบบต่างๆในการใช้คลังข้อสอบ เป็นต้น 3 ปรับระบบการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับระบบการทดสอบหน้าจอ เช่น ระบบการเรียนการสอบแบบยืดหยุ่น ผู้เรียนไม่ว่ารูปแบบใดก็ตาม เมื่อพร้อมที่จะสอบเมื่อไร เมื่อผ่านเงื่อนไขต่างๆ ตามที่กำหดในหลักสูตรแแล้ว ก็สามารถไปทดสอบได้เลยเมื่อไรก็ได้ 4 กระบวนการทดสอบ ก็เพียงเดินมาลงทะเบียนการสอบ ที่สำนักทดสอบ ซึ่งอาจจะอยู่ที่สถานศึกษา เสียค่าลงทะเบียนแล้ว เข้าทดสอบได้ทันที ากระบบการทดสอบหน้าจอ (เหมือนกับการสอบใบขับขี่ของสำนักงานขนส่ง) เมื่อสอบแล้ว ก็มีผลการสอบออกมา นำเอาผลการสอบไปยื่นต่อสถานศึกษา เพื่อรวบรวมเป็นผลที่จะนำไปจบหลักสูตรต่อไป 5 พัฒนาระบบการทดสอบที่มีกระบวนการและวิธีการที่เป็นมาตรฐา เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของคลังข้อสอบ หรือ ธนาคารข้อสอบ และมีบุคลากรประจำที่สำนัก ทดสอบของสถานศึกษา ที่พร้อมจะให้บริการได้ทันที ผลจากการทดสอบที่ออกให้นักศึกษา เป็นเอกสารที่เชื่อถือได้ สถานศึกษาสามารถตรวจสอบผ่าระบบ Online ได้ว่า คนนี้ผ่านการทดสอบจากสำนักทดสอบใด และผลการทดสอบตรงตามเอกสารหรือไม่ 6 มีระเบียบปฏิบัติที่รองรับกระบวนการดังกล่าวว่าเป็นกระบวนการที่ถูกต้องตามระเบียบ แนวคิดดังกว่าว มีทางเป็นไปได้ แต่ขึ้นอยู่กับว่าพร้อมที่จะทุ่มงบประมาณทำหรือไม่ และเมื่อทำแล้วได้ผลคุ้มค่าหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณากันต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การวัดผล แล้วมาประเมินผลที่ได้จากการวัด ว่ามีคุณภาพแค่ไหน

เขียนหัวข้อนี้อ่านแล้วงง แต่ถ้าใครที่เป็นครู จะไม่งง เพราะงานของครูทั้งปี ก็เกี่ยวข้องกับสามเรื่องนี้ตลอดเวลาคือ ก่อนสอนและหลังสอน ก็จะมีการวัดผล คือหาเครื่องมือวัดประเภทหนึ่งไปวัดดูว่า เด็กที่ตนเองสอนนั้น มี ......(อะไรก็ไม่รู้) อยู่เท่าไร เมื่อวัดเสร็จก็เอาผลจากการวัดมาดู ว่า ... ที่มีนั้นหมายความว่าอย่างไร การตีความหมาย ก็ต้องดูว่า ... นั้นคืออะไร ถ้า ... คือ ความรู้ ก็ดูผลจากการวัดว่า เด็กมีความรู้อยู่เท่าไร และเอามาดีความว่า ความรู้ที่มีอยู่ในตัวเด็กตามที่วัดมาได้นั้น หมายความว่าอย่างไร ถ้าแปลความหมายแบบหยาบๆ ก็แปลว่า เด็กเก่งหรืออ่อน ถ้ามีความรู้มาก ก็หมายความว่าเก่ง ถ้าน้อย ก็หมายความว่าอ่อน ดังนั้น เมื่อมีการวัดหลายๆอย่าง แล้วนำผลการวัดหลายๆอย่างมาแปลความหมาย สิ่งที่ได้ออกมา ก็แสดงถึงคุณภาพที่มีในตัวเด็ก และอาจจะสะท้อนถึงคุณภาพอื่นๆ อีก เช่น เด็กคนนั้นมีคุณภาพไหม นักเรียนห้องนั้นมีคุณภาพไหม โรงเรียนนั้น มีคุณภาพไหม การจัดการศึกษาของหน่วยงานนั้นมีคุณภาพไหม การศึกษาของประเทศนั้น มีคุณภาพไหม เห็นไหมครับ ว่าเรื่องจากจุดเริ่มต้นเล็กๆ เพียงนิดเดียว สามารถแปลความหมายออกมาได้อย่างใหญ่โต ลองมาดูเล่นๆ เรื่องเล็กๆ นะครับ จากจุดเริ่มแรกเรื่องการวัด สมุติว่า การวัดผล ครูก็ออกข้อสอบมาเล่นๆ นั่งระลึกเอาแล้วก็เขียนคำถามลงไป ว่า ผู้ว่าจังหวัด ก.ไก่ ชื่อะไร แล้วไปทดสอบ มีเด็กจังหวัดนั้นส่วนมากตอบได้ แต่จังหวัดอื่นตอบไม่ได้ ห้องสอบบางแห่ง เด็กตอบไม่ได้ ก็มีการถามกัน สุดท้ายผลการสอบทั้งประเทศออกมาว่า เด็กครึ่งหนึงตก อีกครึ่งหนึ่งได้ ก็อธิบายว่า การศึกษาไทยมีคุณภาพ 50 เปอร์เซ็นต์ มาดูแต่ละจุด ตั้งแต่เริ่มต้น ครูออกข้อสอบแบบออกพอให้งานเสร็จๆ ไม่รู้จะออกข้อสอบว่าอย่างไร ก็เลยถมชื่อผู้ว่า แต่คนเอาไปแปลผลสุดท้ายเอาเรื่องการรู้จักชื่อผู้ว่า ไปป็นตัววัดคุณภาพการศึกษา เด็กที่ตอบบางคนก็เดาถูก บางคนก็เดาผิด แต่บางคนก็ลองคนอื่น แล้วไปแปลความหมายว่าเขามีคุณภาพ หรือไม่มีคุณภาพ จากการยกตัวอย่างนี้เป็นการยกตัวอย่างแบบสุดโต่งเพื่อให้เห็นประเด็นเท่านั้นแต่สิ่งที่ยกตัวอย่างมานี้ เป็นการบอกว่า การจะตัดสินอะไรสักอย่างนั้น กระบวนการมันต้องถูกต้องและ เป็นมาตรฐานตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงสุดท้าย การวัด ต้องรู้ว่า เรากำลังจะวัดอะไร เมื่อรูแล้ว เลืกใช้เครื่องมือให้ถูกต้องกับการวัดชนิดนั้น เมื่อเลือกเครื่องมือแล้ว ก็มาดูว่า เครื่องมือของเราได้มาตรฐานไหม เมื่อตรวจสอบจนแน่ใจแล้วว่าได้มาตรฐาน ก็มาถึงกระบวนการวัด ว่าผลที่ได้จากการวัดถูกต้องจริงๆ คือกระบวนการวัดก็ต้องได้มาตรฐานด้วยสุดท้ายการแปลผลก็ต้องมีมาตรฐานด้วย ถ้าเป็นไปตามนี้ก็คงจะบอกคุณภาพของสิ่งที่เราจะวัดได้ ไม่ใช่กำลังพัฒนาพันธ์ไก่ แต่เอาเครื่องมือวัดคุณภาพของเป็ดที่ดีมาวัด ทั้งปีทั้งชาติ ก็ไม่มีทางที่จะเป็นไก่พันธ์ที่มีคุณภาพ

Google ช่วยเปิดโลกการศึกษาค้นคว้า

ตอนนี้ google ช่วยลดข้อจำกัดของบรรดาผู้ต้องการศึกษาค้นคว้าที่มีข้อจำกัดเรื่องภษาอังกฤษลงได้มาก โดยเฉพาะแหล่งความรู้ต่างๆ ที่เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งก่อนหน้านี้จะมีปัญหาอย่างมาก เพราะแปลไม่ออก แต่ตอนนี้ จะช่วยเปลี่ยนจาก website ที่เป็นภาษาอังกฤาให้เป็นข้อวคามภาษาไทย ถึงแม้ว่า จะเป็นภาษาแปลที่บางครั้งยังไม่ค่อยรู้เรื่องแต่ก็ยังดีที่พอรู้บ้าง เท่ากับช่วยเปิดโลกกว้างทางการศึกษามากขึ้น ความจริงแล้วเรื่องนี้ไม่ใช่เพิ่งจะมีหรือพัฒนาโดยGoogle แต่ของไทยมีการพัฒนามาหลายปีแล้ว คือ ภาษิต แต่ดูเหมือนว่า การตลาดของ google จะดีกว่า และทำได้สะดวกกว่า ลองเข้าไปใช้ดูนะครับ

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

มาตรฐานและคุณภาพการศึกษา

มีการกล่าวพาดพิงกันมากว่า ผู้ที่เรียนจบจาก กศน. ไม่มีคุณภาพ จนกระทั่งมีสถานศึกษาบางแห่ง ไม่รับผู้จบจาก กศน. มาเรียนต่อ หรือสถานประกอบการบางแห่ง ไม่รับคนจบจาก กศน. เข้าทำงาน ทำให้ กศน. ต้องเร่งกลับมาดูว่า เป็นอย่างทีเขาว่าหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะจะต้องม่ดูกันที่ตัวชี้วัดที่บอกว่าตรงไหนที่แสดงว่ามีคุณภาพหรือไม่มีคุณภาพ มาถึงตรงนี้ก็มาตีปัญหากันน่าดู เพราะเริ่มมีบางคนก็ออกมาพูดว่า มาตรฐานของ กศน. จะไปเทียบกับ ในระบบไม่ได้ เพราะเป้าหมายของ ในระบบกับนอกระบบ ต่างกัน ก็ไปถามอีกว่า มันต่างกันตรงไหน และทำไมจึงต่างกัน เขาก็บอกว่า กศน. เป็นการศึกษาสำหรับเติมเต็ม การศึกษาสำหรับผู้พลาดโอกาส หรือขาดโอกาสทางการศึกษา หรือบอกว่า กศน. คือการสึกษาตลอดชีวิต ซึ่งมีปัชญาดั้งเดิมคือปรัชญา คิดเป็น เป็นการศึกษาเพื่อให้เครื่องมือสำหรับคนไปคิด เพื่อนำไปสู้การปฏิบัติที่อยู่ใรสังคมได้อย่างเป็นสุข อันนี้ถอว่าเป็นรากเหง้า และเป็นที่มาของ กศน. ก็เลยต้องมาถามว่า ที่กล่าวกันว่า กศน. ไม่มีคุณภาพ มันคือตรงไหน ตามที่กล่าวอ้าง สืบไปลึกๆ ก็โฟกัสไปอยู้ที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เป็นการศึกษาสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนตั้งแต่ประถม จยจบมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งผู้เรียนจะต้องเรียนตามหลักสูตร 8 หมวดวิชา เหมือนการศึกษาในระบบ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เป็นต้น ซึ่งหลักสูตรนี้ เด็กนักเรียนจะให้เวลาเรียน 12 ปี ซึ่งความต้องการของหลักสูตรคือ ต้องการให้มีพื้นฐานความรู้ สำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเพื่อจะได้เข้าเรียนวิชาเฉพาะในระดับอุดมศึกษา ซึ่งในระดับอุดมศึกษา ก็จะให้ความรูู้เพื่อคนนำไปประกอบอาชีพ พอมาถึงตรงนี้ ก็เริ่มถึงบางอ้อ ก็นักเรียนเขาเรียนเพื่อเป็นพื้นฐานในการไปศึกษาหาความรู้ เพื่อเข้าสู้อาชีพเฉพาะ แต่รากเหง้าของ กศน. มันมาเพื่อเข้าสู่สังคม อยู่ในสังคมอย่างมีความสุขมันก้าวพ้นพื้นฐานไปแล้ว เขาต้องเรียนวิชาชีวิตแล้ว ความต้องการคือ เอาวิชาพื้นฐานบางตัวเท่านั้นที่ยังขาดสำหรับการใช้ชีวิตไปเรียน มิน่าเล่า คนเรียน กศน. จึงตกวิชาภาษาอังกฤษ กันมาก เพราะก่อนเรียน และหลังเรียน ไม่รู้ว่า จะมีโอกาสใช้วิชาภาษาอังกฤษ หรือไม่ ใช้เฉพาะตอนเรียนเท่านั้น (ความจริงบางคนอาจจะใช้เฉพาะตอนสอบเท่านั้น) ถึงตรงนี้ คงจะเริ่มคิดต่อไปบ้างคร่าวๆ ว่า คุณภาพของ กศน. ควรอยู่ตรงไหน

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เกษตรกรไทย ผูเสียค่าใช้จ่ายให้กับการศึกษา

ได้ฟังเรื่องจากชาวนาที่เหมือนธรรมดาแต่ไม่ธรรมดา เขาเล่าว่า ที่ทำมาหากินด้วยการทำนาทุกวันนี้พอมีรายได้เลี้ยงปากเลี้ยงท้องเลี้ยงครอบครัว และรายได้ส่วนใหญ่ก็ส่งเสียให้ลูกได้เรียนจนนจบปริญญา นับเป็นความภาคภูมิใจของตนเองและครอบครัว เมื่อถามถึงคนอื่นๆ ในหมู่บ้าน ก็เช่นเดียวกัน ทุกคนที่มีลูก สิ่งที่เป็นความหวังก็คือ ลูกตนเองได้มีการศึกษาให้ไปทำงานสูงๆ และไม่เคยคิดให้ลูกตัวเองมาทำนา อยากให้มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงๆ จะได้ไม่ลำบากเหมือนพ่อแม่ เมื่อพิจารณาแต่ละครอบครัว ถ้ามีลูก 1 คน ก็เริ่มมีค่าใช้จ่ายสำหรับลูกที่เริ่มมากขึ้นตอนเรียนมัธยมต้น ปลาย และรายจ่ายมากสุดๆ ตอนเรียนปริญญาตรี และลูก 1 คน ก็ต้องส่งเสียมากกว่า 4 ปีขึ้นไป ถ้าเรียนถึงปริญญาตรี ถ้ามีลูก 2 คน ก็หมายถึงส่งเสียคนละ 4 ปี เป็นอย่างน้อยรวมสอบคนก็เป็น 8 ปี แต่ใช้เวลาจริงกี่ปีก็ขึ้นอยู่กับว่าลูกอายุห่างกันเท่าไร ถ้าอายุใกล้กัน ก็จะเข้าเรียนไล่ๆกัน ก็หนักหน่อย คิดกันต่อมาว่า พ่อแม่ต้องส่งลูกเรียนแต่ละคนเป็นเงินประมาณเท่าไร ต่อเดือน ซึ่งจะแปรเปลี่ยนไปตามสถานศึกษาที่เรียนว่าเป็นของรัฐบาล หรือเอกชน และสถานที่ตั้งสถานศึกษา ว่าอยู่ใกล้บ้าน หรืออยู่ต่างจังหวัด บางคนส่งให้ลูกเดือนละประมาณ 3000-5000 บาท ขณะที่บางคนต้องส่งถึง 8000-10000บาท ต่อเดือน หรืออาจจะมากกว่านั้น ดังนั้น เมื่อรวมแล้ว ปีหนึ่งก็ใช้จ่ายไม่น้อย ขณะที่ตนเองทำนาที่บ้าน เก็บผักหญ้า หาปูหาปลา มากินเสียค่าใช้จ่ายไม่มากนัก แต่ลูกทีมาเรียนค่าใช้จ่ายทุกอย่างต้องซื้อ บางคนก็ปรหยัด แต่บางคนก็สารพัดจะจ่าย กินอาหารร้านหรู ค่าโทรศัพท์ ค่าเครื่องสำอาง (ผู้หญิง) กินเหล้า(ผู้ชาย) ดูหนัง เครื่องแต่งตัวมีรสนิยม และอื่นๆ เมื่อมองดูที่ค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้วจะเห็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่เป็นผลมาจากการศึกษา ตั้งแต่หอพัก ร้านอาหาร แหล่งบันเทิง โทรศัพท์ (มากมาย) ธุรกิจเหล่านี้อยู่ได้ด้วยหยาดเหงื่อของชาวนา รวมทั้งสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่ใหญ่โตทุกวันนี้ ก็ได้อาศัยหยาดเหงื่อของชาวนาชาวไร เกษตรกร ด้วยเช่นกัน เกษตรกรหลายท่านอาจจะทำงานมาทั้งชีวิต ก็เพื่อทำให้ธุรกิจเหล่านี้ตั้งผงาดอยู่ได้ นับได้ว่าเป็นผู้อุปถัมภ์รายใหญ่จริงๆ

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การประกันคุณภาพ ประเมินเพื่อพัฒนางานหรือพัฒนางานเพื่อประเมิน

สถานศึกษาทุกแห่งจะต้องได้รับการประเมินภายนอก ในระบบการประกันคุณภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่หวาดวิตกพอสมควร เมื่อถึงเวลาที่จะต้องเข้ารับการประเมิน เพราะผู้ประเมินก็จะเข้ามาตรวจสอบตามมาตรฐานแต่ละตัวว่าผ่านเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ ดังนั้นสถานศึกษาก็จะต้องเตรียมสิ่งที่จะเป็นข้อลงชี้ได้ว่า สถานศึกษาของตนเอง ได้ดำเนินงานบรรลุตามเกณฑ์มาตรฐานนั้นๆ เป็นข้อน่าสงสัยว่า เราทำสร้างงานกันเพื่อให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน หรือใช้เกณฑ์มาตรฐานตัวนั้นมาเป็นแนวทางการพัฒนางาน เรื่องนี้ถ้าอยากทราบ ต้องลงไปดูของจริงที่สถานศึกษานั้นๆ และไม่ใช่ไปดูเพียงช่วงเวลาสั้นๆ ถ้าลงไปเป็นส่วนหนึ่งของสถานศึกษาแห่งนั้น ก็จะได้ทราบว่า แท้จริงแล้วนั้น เป็นอย่างไร

วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

หลักสูตรการศึกษานอกระบบ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช2515ถ

ตอนนี้ กศน. ได้พัฒนาหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับการศึกษานอกระบบขึ้นมาใหม่ รายวิชาบังคับระดับประถมศึกษา สาระที่ 1 สาระทักษะการเรียนรู้ ประกอบด้วยรายวิชาต่างๆ ดังนี้
  1. การเรียนรู้ด้วยนเอง
  2. การใช้แหล่งการเรียนรู้
  3. การจัดการความรู้
  4. คิดเป็น
  5. วิจัยอย่างง่าย

สาระที่ 2 สาระวความรู้พื้นฐาน ประกอบด้วยรายงิชาต่างๆ ดังนี้

  1. ภาษาไทย
  2. ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1
  3. ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2
  4. ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 3
  5. คณิตศาสตร์
  6. วิทยาศาสตร์

สาระที่ 3 สาระการประกอบอาชีพ ประกอบด้วยรายวิชาต่างๆ ดังนี้

  1. ช่องทางเข้าสู่อาชีพ
  2. ทักษะเข้าสู่อาชีพ
  3. การจัดการเข้าสู่อาชีพ
  4. พัฒนาอาชีพให้มีอยู่มีกิน

สาระที่ 4 สาระการดำเนินชีวิต ประกอบด้วยรายวิชาต่างๆ ดังนี้

  1. เศรษฐกิจพอเพียง
  2. สุขศึกษา พลศึกษา
  3. ศิลปศึกษา

สาระที่ 5 สาระการพัฒนาสังคม ประกอบด้วยรายวิชาต่างๆ ดังนี้

  1. สังคมศึกษา
  2. ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี
  3. หน้าที่พลเมือง
  4. การพัฒนาตนเอง

รายวิชาบังคับระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

สาระที่ 1 สาระทักษะการเรียนรู้ ประกอบด้วยรายวิชาต่างๆ ดังนี้

  1. การเรียนรู้ด้วยตนเอง 1 หน่วยกิต
  2. การใช้แหล่งการเรียนรู้ 1 หน่วยกิต
  3. การจัดการความรู้ 1 หน่วยกิต
  4. คิดเป็น 1 หน่วยกิต
  5. วิจัยอย่างง่าย 1 หน่วยกิต

สาระที่ 2 สาระความรู้พื้นฐาน

  1. ภาษาไทย 4 หน่วยกิต
  2. ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน 1 2 หน่วยกิต
  3. ภาษาอัีงกฤษในชีวิตประจำวัน 2 2 หน่วยกิต
  4. คณิตศาสตร์ 1 2 หน่วยกิต
  5. คณิตศาสตร์ 2 2หน่วยกิต
  6. วิทยาศาสตร์ 4 หน่วยกิต

สาระที่ 3 สาระการประกอบอาชีพ

  1. ช่องทางเข้าสู่อาชีพ 2 หน่วยกิต
  2. ทักษะพัฒนาอาชีพ 2 หน่วยกิต
  3. การจัดการพัฒนาอาชีพ 2 หน่วยกิต
  4. พัฒนาอาชีพให้มีความเข้มแข็ง 2 หน่วยกิต

สาระที่ 4 สาระการดำเนินชีวิต

  1. เศรษฐกิจพอเพียง 1 หน่วยกิต
  2. สุขศึกษา พลศึกษา 2 หน่วยกิต
  3. ศิลปศึกษา 2 หน่วยกิต

สาระที่ 5 สาระการพัฒนาสังคม

  1. สังคมศึกษา 3 หน่วยกิต
  2. ศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี 1 หน่วยกิต
  3. หน้าที่พลเมือง 1 หน่วยกิต
  4. การพัฒนาตนเอง 1 หน่วยกิต

วันจันทร์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

คลังสื่อ

แนวคิดในการพัฒนาระบบคลังสื่อ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เป็นการศึกษาที่จัดสำหรับประชาชนและเป็นการศึกษาตลอดชีวิต ซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้สอดคล้องและสนองตอบต่อสภาพและความต้องการของประชาชน ที่สามารถเข้ามาเรียนรู้ได้ตลอดชีวิต โดยรูปแบบการเรียนรู้จะเป็นการเรียนรู้ตามอัธยาศัยของแต่ละบุคคล เมื่อกล่าวถึงการเรียนการสอน ก็มักจะวนเวียนอยู่กับองค์ประกอบ 3 ประการคือ ผู้เรียน ผู้สอน กระบวนการเรียนการสอน โดยในกระบวนการเรียนการสอน เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อที่กำลังเขียนในขณะนี้ คือเรื่องสือ่การเรียนการสอน ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญประการหนึ่งของการจัดการเรียนการสอนสอน สำหรับท่านที่ต้องการศึกษาหาความรู้ การเรียนเรียนรู้ในรูปแบบการศึกษาตามอัธยาศัยนั้น องค์ประกอบด้านผู้สอนค่อนข้างจะมีข้อจำกัด เพราะไม่มีผู้สสอนเหมือนกับการเรียนการสอนในชั้นเรียน ดังนั้นองค์ประกอบสำคัญจึงมาอยู่ที่ ผู้เรียน กับกระบวนการเรียนการสอน โดยผู้เรียนจะเป็นผู้กำหนดกระบวนการเรียนการสอนของตนเอง โดยอาศัยสื่อเป็นเครื่องมือช่วยให้เกิดการเรียนรู้ สื่อจึงยกบทบาทตัวเองขึ้นมามีความสำคัญอย่างมาก สำหรับการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดวิธีการเรียนของตนเอง หรือเรียกว่า การเรียนด้วยตนเอง เพราะสื่อที่ดี จะต้องมีทั้งสื่อที่เป็นตัวองค์ความรู้ และกระบวนการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ นั่นคือ เป็นสื่อที่เป็นลักษณะ Instructional Media เมื่อกล่าวมาถึงตรงนี้ ก็เริ่มเข้ามาสู่ประเด็นที่ต้องการคือเรื่อง คลังสื่อ... คลัง ก็คือคลัง คือสถานที่ที่มีสื่อเก็บไว้แต่คงไม่ใช่เก็บไว้แบบเก็บของเก่า แต่เป็นสถานที่รวบรวมสื่ออย่างหลากหลายที่คนทั่วไป สามารถเขามาใช้ได้โดยง่ายไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใคร อยู่ที่ไหน ก็สามารถเขามาใช้ได้ตลอดเวลา ตรงนี้เองที่เปรียบเหมือนกับโจทย์ที่ตอบได้ยากพอสมควรดังนั้งนแนวคิดเรื่องการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเข้ามาช่วยสร้างคลังสื่อตามโจทย์นี้ จึงได้รับการพิจารณา โดยมีกระบวนการที่จะทำให้เกิดคลังสื่อ 2 กระบวนการคือ
  • กระบวนการสร้างสื่อ คือกระบวนการที่ทำอย่างไรให้มีสื่อที่มีประโยชน์เข้ามาอยู่ในคลังอบ่างเหมาะสมและพอเพียง
  • กระบวนการบริการสื่อสำหรับผู้สนใจได้อย่างสะดวก
ทั้งสองกระบวนการนี้ถือว่าเป็นส่วนที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ลองมาดูว่า ทั้งสองกระบวนการนั้นจะต้องทำอย่างไรบ้าง กระบวนการสร้างสื่อ ต้องเน้นว่าเป็นสื่อที่เผยแพร่ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยมีที่มาของสื่อได้สามทางคือ
  • ผลิตเอง คือหน่วยงานที่รับผิดชอบคลังสื่อเป็นผู้สร้างสื่อเอง
  • เชื่อมโยงไปยังแหล่งสื่ออื่นๆ โดยทำหน้าที่ในลักษณะ Portal Web คือทำหน้าทีสร้าง Link ที่เชื่อมโยงไปยัง website ต่างๆ ที่มีสื่อเพื่อเผยแพร่ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่จำนวนมากซึ่งสื่อจะต้องคัดเลือกและสรรหามาเฉพาะสื่อที่มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้และสนองตอบความต้องการของประชาชน
  • ผู้ใช้ช่วยกันสร้าง โดยสร้าง website ที่เป็นสื่อกลางให้ปนะชาชนสามารถเข้ามาสร้างสื่อได้ด้วยตนเอง
กระบวนการบริการสื่อ เป็นกระบวนการในการบริหารจัดการสื่อที่มีอยู่ไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว
  • การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้คนรู้จัก
  • กระบวนการค้นหา
  • กระบวนอำนวยความสะดวกในการนำสื่อไปใช้