หน้าเว็บ

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

มาตรฐานและคุณภาพการศึกษา

มีการกล่าวพาดพิงกันมากว่า ผู้ที่เรียนจบจาก กศน. ไม่มีคุณภาพ จนกระทั่งมีสถานศึกษาบางแห่ง ไม่รับผู้จบจาก กศน. มาเรียนต่อ หรือสถานประกอบการบางแห่ง ไม่รับคนจบจาก กศน. เข้าทำงาน ทำให้ กศน. ต้องเร่งกลับมาดูว่า เป็นอย่างทีเขาว่าหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะจะต้องม่ดูกันที่ตัวชี้วัดที่บอกว่าตรงไหนที่แสดงว่ามีคุณภาพหรือไม่มีคุณภาพ มาถึงตรงนี้ก็มาตีปัญหากันน่าดู เพราะเริ่มมีบางคนก็ออกมาพูดว่า มาตรฐานของ กศน. จะไปเทียบกับ ในระบบไม่ได้ เพราะเป้าหมายของ ในระบบกับนอกระบบ ต่างกัน ก็ไปถามอีกว่า มันต่างกันตรงไหน และทำไมจึงต่างกัน เขาก็บอกว่า กศน. เป็นการศึกษาสำหรับเติมเต็ม การศึกษาสำหรับผู้พลาดโอกาส หรือขาดโอกาสทางการศึกษา หรือบอกว่า กศน. คือการสึกษาตลอดชีวิต ซึ่งมีปัชญาดั้งเดิมคือปรัชญา คิดเป็น เป็นการศึกษาเพื่อให้เครื่องมือสำหรับคนไปคิด เพื่อนำไปสู้การปฏิบัติที่อยู่ใรสังคมได้อย่างเป็นสุข อันนี้ถอว่าเป็นรากเหง้า และเป็นที่มาของ กศน. ก็เลยต้องมาถามว่า ที่กล่าวกันว่า กศน. ไม่มีคุณภาพ มันคือตรงไหน ตามที่กล่าวอ้าง สืบไปลึกๆ ก็โฟกัสไปอยู้ที่การศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่เป็นการศึกษาสำหรับผู้ที่ต้องการเรียนตั้งแต่ประถม จยจบมัธยมศึกษาตอนปลาย ซึ่งผู้เรียนจะต้องเรียนตามหลักสูตร 8 หมวดวิชา เหมือนการศึกษาในระบบ เช่น วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ เป็นต้น ซึ่งหลักสูตรนี้ เด็กนักเรียนจะให้เวลาเรียน 12 ปี ซึ่งความต้องการของหลักสูตรคือ ต้องการให้มีพื้นฐานความรู้ สำหรับการศึกษาในระดับอุดมศึกษาเพื่อจะได้เข้าเรียนวิชาเฉพาะในระดับอุดมศึกษา ซึ่งในระดับอุดมศึกษา ก็จะให้ความรูู้เพื่อคนนำไปประกอบอาชีพ พอมาถึงตรงนี้ ก็เริ่มถึงบางอ้อ ก็นักเรียนเขาเรียนเพื่อเป็นพื้นฐานในการไปศึกษาหาความรู้ เพื่อเข้าสู้อาชีพเฉพาะ แต่รากเหง้าของ กศน. มันมาเพื่อเข้าสู่สังคม อยู่ในสังคมอย่างมีความสุขมันก้าวพ้นพื้นฐานไปแล้ว เขาต้องเรียนวิชาชีวิตแล้ว ความต้องการคือ เอาวิชาพื้นฐานบางตัวเท่านั้นที่ยังขาดสำหรับการใช้ชีวิตไปเรียน มิน่าเล่า คนเรียน กศน. จึงตกวิชาภาษาอังกฤษ กันมาก เพราะก่อนเรียน และหลังเรียน ไม่รู้ว่า จะมีโอกาสใช้วิชาภาษาอังกฤษ หรือไม่ ใช้เฉพาะตอนเรียนเท่านั้น (ความจริงบางคนอาจจะใช้เฉพาะตอนสอบเท่านั้น) ถึงตรงนี้ คงจะเริ่มคิดต่อไปบ้างคร่าวๆ ว่า คุณภาพของ กศน. ควรอยู่ตรงไหน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น