หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สายด่วน ช่องทางการสื่อสารที่ไม่ได้รับความสนใจ

  • คงต้องยอมรับว่า หน่วยงานและสถานศึกษาของ กศน. ได้มีการพัฒนาด้าน ICT ไปค่อนข้างมาก หน่วยงาน กศน. ระดับภาคและระดังจังหวัด มีเครื่องมือ และอุปกรณ์ที่สามารถใช้งาน อินเตอร์เน็ตที่สามารถให้บริการแก่สมาชิกในองค์กรได้ นอกจากนั้นยังสามารถสร้าง website ของตนเองได้ ทำให้สามารถเปิดช่องทางการสื่อสาร ระหว่างหน่วยงานได้อย่างกว้างขวาง และรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ข้อมูล ข่าวสาร หรือการให้บริการทางการศึกษา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเรียนการสอน การฝึกอบรม ผ่านทางอินเตอร์เน็ต
  • เป็นที่น่าดีใจว่า ช่องทางการสื่อสารเหล่านี้ เข้ามาช่วยไม่เพียงความรวดเร็วในการสื่อสารเท่านั้น แต่ยังช่วยประหยัดงบประมาณ ในการติดต่อสื่อสารได้ ด้วย ถ้าสามารถนำมาใช้ได้อย่างเต็มที่ตัวอย่างเช่น การสื่อสารการรับส่งหนังสือราชการระหว่างหน่วยงานระดับจังหวัด และอำเภอ นอกจากจะรวดเร็วแล้ว ยังประหยัดค่าไปรษณีย์ได้ด้วย เมื่อคลิกเมาส์ที่ปุ่มส่ง ก็จะถึงผู้รับทันทีแต่ยังน่าเสียดายที่ยังมีบางสิ่งบางอย่างเข้ามาเป็นอุปสรรคที่ขวางกั้นไม่ให้กระบวนการดังกล่าวนำมาใช้ได้อย่างเต็มที่ ตัวอย่างเช่น การส่งจดหมายดังกล่าวนี้ เป็นการส่งไปยังตู้จดหมาย ไม่ได้ส่งถึงตัวบุคคล ถ้าเจ้าของตู้ไม่ไปเปิดดูจดหมายในตู้ ก็จะไม่ได้รับจดหมาย ดังนั้นแทนที่จะเป็นผลดี ก็เลยกลาวเป็นผลเสีย เพราะทางผู้ส่ง ก็คิดว่าผู้รับได้รับจดหมายแล้ว ก็รอว่า เมื่อไรจะดำเนินการตามที่สั่งไปในจดหมาย เมื่อรอไม่ไหว ก็เร่งรัดไป ทางผู้รับก็ต่อว่ามาว่า ทำไมไม่บอก (เพราะไม่เคยไปเปิดดู หรือไม่มีใครเอาจดหมายมาใหดู)
  • ถ้าต้องการให้กระบวนการนี้ได้ผล จะต้องทำอย่างไร ขอยกตัวอย่าง กระบวนการสื่อสารระหว่างหัวหน้าหน่วยงานระดับสูง เช่น อธิบดี กับหน่วยงานในระดับพื้นที่ ในเรื่องการติดต่อสื่อสาร สิ่งที่เป็นแนว ทางที่เป็นไปได้ น่าจะดำเนินการดังนี้
  • 1 เปิดหน้า website ที่หน้าแรก ตรงส่วนใดส่วนหนึ่งให้ชัดเจน ว่า ในกรอบนี้ เป็นเรื่องที่ผู้บริหารระดับสูง ต้องการติดต่อสื่อสาร กับหน่วยงานในพื้นที่ ทำให้ชัดๆ กว้างๆ น่าสนใจ ใครเปิดมาที่หน้าแรกของ website ก็จะเห็นทันที
  • 2 กำหนดเป็นนโยบาย หรือสั่งการไปยังทุกหน่วยงานว่า ต่อไปนี้ อธิบดี จะใช้ช่องทางนี้ เป็นการสื่อสารเรื่องที่ด่วน หรือสำคัญ ดังนั้น ท่านหัวหน้าหน่วยงานในพื้นที่โปรดให้ความสำคัญและเอใจใส่ ถ้าใช้ไม่เป็น ก็ มอบให้คนที่ใช้เป็นคอยเข้ามาตรวจสอบและรายงานให้ทราบวันละ 3 เวลาหลังอาหาร
  • 3 Website ของหน่วยงานในพื้นที่ นำเอาช่องสื่อสารกับผู้บริหารระดับสูงนี้ มาแปะไว้ที่หน้า website ของตนเอง เรียกได้ว่า เหมือนกับการถ่ายทอดของโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจ เปิดไปช่องไหนก็พบ
  • 4 ต้นน้ำ ปลายน้ำ ต้องตกลงที่จะเล่นพร้อมกัน นั่นคือต้นน้ำ คือผู้บริหารระดับสูง ต้องเริ่มก่อน คือ เป็นผู้ตัดสินใจมอบหมายหรือสั่งการด้วยตัวเองว่า เรื่องอะไรบ้าง ที่ให้นำไปไว้ในช่องสายด่วนของผู้บริหาร เอาเฉพาะเรื่องสำคัญและด่วยจริงๆ (ไม่เช่นนั้นช่องนี้จะมีขยะเข้าไปปะปน) ส่วนปลายน้ำ คือ ผู้บริหารหน่วยงานในพื้นที่ก็ต้องตอบสนอง เปิดติดตามเรื่องราวในสายด่วนตลอดเวลา แล้วมีปฏิกิริยาตอบสนองให้ต้นน้ำทราบด้วย
  • เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องยาก ขอให้ประกาศเป็นนโยบาย ทุกอย่างพร้อมอยู่ ขาดแต่การนำไปปฏิบัติของผู้บริหารเท่านัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น