หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สำนักทดสอบ กศน.

ขณะนี้ กำลังอยู่ในช่วงฤดูกาลแห่งการทำข้อสอบของสถาบัน กศน.ภาคทั้ง 5 ภาค ซึ่งปีหนึ่งจะมี 2 ช่วง คือ ช่วงเดือนมกราคม-มีนาคม เป็นการทดสอบสำหรับภาคเรียนที่ 2 และช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน เป็นของภาคเรียนที่ 1 ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวแทบจะต้องหยุดงานทุกโครงการเอาไว้ เพื่อมาระดมกันจัดทำข้อสอบ หรือเราเคยเรียกกันว่าเกณฑ์คนมาเข้าโรงงานนรก ต้นเดือนมีนาคม นี้ก็จะเป็นเดือนแห่งการทดสอบ ซึ่งนักศึกษา กศน. จะสอบพร้อมกันทั่วประเทศ แล้วต้องเร่งตรวจผลการสอบและประกาศผลอย่างรวดเร็วเพื่อให้ผู้ที่สอบไม่ผ่านได้มีโอกาสสอบซ่อมให้ทันเวลาการสอบเข้ามหาวิทยาลัย ดังนั้นวงรดังกล่าว ก็จะหมุนเวียนเป็นอย่างนี้ทุกปี สำหรับการจัดการศึกษษขั้นพื้นฐาน ของ กศน. ซึ่งเป็นรูปแบบการศึกษารูปแบบหนึ่ง ของการศึกษานอกระบบ ซึ่งยังมีรูปแบบอื่นๆ อีกหลายรูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย ที่มีรูปแบบต่างๆ อีกมากกมาย เป็นปกติของการเรียนการสอน ก็ย่อมจะต้องมีการวัดผล และการวัดผลก็ต้องใช้วิธีการที่เหมาะสม ไม่ใช่ว่าจะใช้วิธีการสอบด้วยแบบทดสอบกันอย่างเดียว ดังนั้นในเมื่อการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมีมากมายหลายรูปแบบ การวัดผลก็ย่อมจะใช้วิธีการที่หลากหมายเช่นเดียวกัน ทำให้เคยมีแนวคิดในเรื่องการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วย โดยกล่าวถึงการทดสอบหน้าจอ และได้มีการพัฒนากันขึ้นแต่ดูเหมือนว่า ยังไม่ได้มีการนำเอามาใช้อย่างเป็นทางการทซึ่งไม่รู้เหตุผลเหมือนกันว่าเพราะอะไร แต่ดูเหมือนว่าประเด็นที่สำคัญคงอยู่ที่นโยบาย และกระบวนการที่จะใช้ว่า ทำอย่างไร จึงจะถูกต้อง เป็นมาตรฐานเป็นที่รองรับและถูกต้องตามระเบียบ มาตรฐานของการทดสอบ คงจะไม่ใช่เพียงแต่มาตรฐานของตัวแบบทดสอบเท่านั้น แต่กระบวนการสอบก็ต้องมีมาตรฐานด้วย ดังนั้นการทดสอบหน้าจอ คงจะไม่พิจารณามาตรฐานของตัวข้อสอบ แต่จะต้องมีคิดหนักถึงมาตรฐานของกระบวนการทดสอบ โดยเริ่มตอบคำถาม เบื้องต้นบางประการคือ
  • มีความจำเป็นอะไรที่ต้องนำเอาระบบการทดสอบหน้าจอมาใช้
  • มีความเป็นไปได้เพียงใด ที่จะนำเอาระบบการทดสอบหน้าจอมาใช้
  • ใครเป็นผู้ดำเนินการ
สมมุติว่า คำถามข้อแรกมีคำตอบว่า จะต้องนำเอากระบวนการทดสอบหน้าจอมาใช้ ด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ควรจะดำเนินการดังนี้ 1 กำหนดผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน ไม่ใช่ทำกันเล่นๆ แล้วแต่ว่าใครอยากทำก็ทำ ดังนั้นคงจะต้องมีสำนักทดสอบขึ้นมา เป็นหน่วยงานย่อยๆ ที่รับผิดชอบเรื่องนี้โดยตรง ตั้งแต่ส่วนกลางจนถึงสถานศึกษา แล้วคิดและวางระบบอย่างจริงจังเป็นมาตรฐานแนวทางเดียวกันทั้งประเทศ โดยเฉพาะดูแลในเรื่องนโยบาย และการสนับสนุนการดำเนินงาน 2 พัฒนาระบบคลังข้อสอบ ให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีสายการดำเนินงานยาว เพราะต้องเริ่มตั้งแต่การผลิตข้อสอบ การพัฒนาคุณภาพข้อสอบ ระบบต่างๆในการใช้คลังข้อสอบ เป็นต้น 3 ปรับระบบการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับระบบการทดสอบหน้าจอ เช่น ระบบการเรียนการสอบแบบยืดหยุ่น ผู้เรียนไม่ว่ารูปแบบใดก็ตาม เมื่อพร้อมที่จะสอบเมื่อไร เมื่อผ่านเงื่อนไขต่างๆ ตามที่กำหดในหลักสูตรแแล้ว ก็สามารถไปทดสอบได้เลยเมื่อไรก็ได้ 4 กระบวนการทดสอบ ก็เพียงเดินมาลงทะเบียนการสอบ ที่สำนักทดสอบ ซึ่งอาจจะอยู่ที่สถานศึกษา เสียค่าลงทะเบียนแล้ว เข้าทดสอบได้ทันที ากระบบการทดสอบหน้าจอ (เหมือนกับการสอบใบขับขี่ของสำนักงานขนส่ง) เมื่อสอบแล้ว ก็มีผลการสอบออกมา นำเอาผลการสอบไปยื่นต่อสถานศึกษา เพื่อรวบรวมเป็นผลที่จะนำไปจบหลักสูตรต่อไป 5 พัฒนาระบบการทดสอบที่มีกระบวนการและวิธีการที่เป็นมาตรฐา เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลของคลังข้อสอบ หรือ ธนาคารข้อสอบ และมีบุคลากรประจำที่สำนัก ทดสอบของสถานศึกษา ที่พร้อมจะให้บริการได้ทันที ผลจากการทดสอบที่ออกให้นักศึกษา เป็นเอกสารที่เชื่อถือได้ สถานศึกษาสามารถตรวจสอบผ่าระบบ Online ได้ว่า คนนี้ผ่านการทดสอบจากสำนักทดสอบใด และผลการทดสอบตรงตามเอกสารหรือไม่ 6 มีระเบียบปฏิบัติที่รองรับกระบวนการดังกล่าวว่าเป็นกระบวนการที่ถูกต้องตามระเบียบ แนวคิดดังกว่าว มีทางเป็นไปได้ แต่ขึ้นอยู่กับว่าพร้อมที่จะทุ่มงบประมาณทำหรือไม่ และเมื่อทำแล้วได้ผลคุ้มค่าหรือไม่ เป็นเรื่องที่ต้องพิจารณากันต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น