หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

เกษตรกรไทย ผูเสียค่าใช้จ่ายให้กับการศึกษา

ได้ฟังเรื่องจากชาวนาที่เหมือนธรรมดาแต่ไม่ธรรมดา เขาเล่าว่า ที่ทำมาหากินด้วยการทำนาทุกวันนี้พอมีรายได้เลี้ยงปากเลี้ยงท้องเลี้ยงครอบครัว และรายได้ส่วนใหญ่ก็ส่งเสียให้ลูกได้เรียนจนนจบปริญญา นับเป็นความภาคภูมิใจของตนเองและครอบครัว เมื่อถามถึงคนอื่นๆ ในหมู่บ้าน ก็เช่นเดียวกัน ทุกคนที่มีลูก สิ่งที่เป็นความหวังก็คือ ลูกตนเองได้มีการศึกษาให้ไปทำงานสูงๆ และไม่เคยคิดให้ลูกตัวเองมาทำนา อยากให้มีตำแหน่งหน้าที่การงานสูงๆ จะได้ไม่ลำบากเหมือนพ่อแม่ เมื่อพิจารณาแต่ละครอบครัว ถ้ามีลูก 1 คน ก็เริ่มมีค่าใช้จ่ายสำหรับลูกที่เริ่มมากขึ้นตอนเรียนมัธยมต้น ปลาย และรายจ่ายมากสุดๆ ตอนเรียนปริญญาตรี และลูก 1 คน ก็ต้องส่งเสียมากกว่า 4 ปีขึ้นไป ถ้าเรียนถึงปริญญาตรี ถ้ามีลูก 2 คน ก็หมายถึงส่งเสียคนละ 4 ปี เป็นอย่างน้อยรวมสอบคนก็เป็น 8 ปี แต่ใช้เวลาจริงกี่ปีก็ขึ้นอยู่กับว่าลูกอายุห่างกันเท่าไร ถ้าอายุใกล้กัน ก็จะเข้าเรียนไล่ๆกัน ก็หนักหน่อย คิดกันต่อมาว่า พ่อแม่ต้องส่งลูกเรียนแต่ละคนเป็นเงินประมาณเท่าไร ต่อเดือน ซึ่งจะแปรเปลี่ยนไปตามสถานศึกษาที่เรียนว่าเป็นของรัฐบาล หรือเอกชน และสถานที่ตั้งสถานศึกษา ว่าอยู่ใกล้บ้าน หรืออยู่ต่างจังหวัด บางคนส่งให้ลูกเดือนละประมาณ 3000-5000 บาท ขณะที่บางคนต้องส่งถึง 8000-10000บาท ต่อเดือน หรืออาจจะมากกว่านั้น ดังนั้น เมื่อรวมแล้ว ปีหนึ่งก็ใช้จ่ายไม่น้อย ขณะที่ตนเองทำนาที่บ้าน เก็บผักหญ้า หาปูหาปลา มากินเสียค่าใช้จ่ายไม่มากนัก แต่ลูกทีมาเรียนค่าใช้จ่ายทุกอย่างต้องซื้อ บางคนก็ปรหยัด แต่บางคนก็สารพัดจะจ่าย กินอาหารร้านหรู ค่าโทรศัพท์ ค่าเครื่องสำอาง (ผู้หญิง) กินเหล้า(ผู้ชาย) ดูหนัง เครื่องแต่งตัวมีรสนิยม และอื่นๆ เมื่อมองดูที่ค่าใช้จ่ายต่างๆ แล้วจะเห็นธุรกิจขนาดใหญ่ที่เป็นผลมาจากการศึกษา ตั้งแต่หอพัก ร้านอาหาร แหล่งบันเทิง โทรศัพท์ (มากมาย) ธุรกิจเหล่านี้อยู่ได้ด้วยหยาดเหงื่อของชาวนา รวมทั้งสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่ใหญ่โตทุกวันนี้ ก็ได้อาศัยหยาดเหงื่อของชาวนาชาวไร เกษตรกร ด้วยเช่นกัน เกษตรกรหลายท่านอาจจะทำงานมาทั้งชีวิต ก็เพื่อทำให้ธุรกิจเหล่านี้ตั้งผงาดอยู่ได้ นับได้ว่าเป็นผู้อุปถัมภ์รายใหญ่จริงๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น