หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

นโยบายด้านการศึกษา

รัฐบาลด้านการศึกษาของรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่แถลงต่อรัฐสภา มีดังนี้

ด้านการศึกษา ปฏิรูปการศึกษาทั้งระบบ โดยปฏิรูปโครงสร้างและการบริหารจัดการ ปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ และระดมทรัพยากรเพื่อการปรับปรุงการบริหารจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา พัฒนาครู พัฒนาระบบการคัดเลือกเข้าสู่มหาวิทยาลัย พัฒนาหลักสูตร รวมทั้งปรับหลักสูตรวิชาแกนหลักรวมถึงวิชาประวัติศาสตร์ ปรับปรุงสื่อการเรียนการสอน พัฒนาทักษะในการคิดวิเคราะห์ ปรับบทบาทการศึกษานอกโรงเรียนเป็นสำนักงานการศึกษาตลอดชีวิต และจัดให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ ตลอดจนส่งเสริมการกระจายอำนาจให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อนำไปสู่เป้าหมายคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นคุณธรรมนำความรู้อย่างแท้จริง

  1. ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาการศึกษาทั้งระบบ โดยมุ่งเน้นในระดับอาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เพื่อให้สนองตอบความต้องการด้านบุคลากรของภาคเศรษฐกิจ
  2. พัฒนาครู อาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้ครูดี ครูเก่ง มีคุณธรรม มีคุณภาพ และมีวิทยฐานะสูงขึ้น ลดภาระงานครูที่ไม่เกี่ยวกับการเรียนการสอนตามโครงการคืนครูให้นักเรียน มีการดูแลคุณภาพชีวิตของครูด้วยการปรับโครงสร้างหนี้และจัดตั้งกองทุนพัฒนาคุณภาพชีวิตครู ควบคู่ไปกับการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่เน้นการพัฒนาเนื้อหาสาระและบุคลากรให้พร้อมรองรับและใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศได้อย่างคุ้มค่า
  3. จัดให้ทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาฟรี 15 ปี ตั้งแต่ระดับอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย พร้อมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการให้เกิดความเสมอภาคและความเป็นธรรมในโอกาสทางการศึกษาแก่ประชาชนในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสทั้งผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ผุ้บกพร่องทางร่างกายและสติปัญญา และชนต่างวัฒนธรรม รวมทั้งยกระดับการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กในชุมชน
  4. ยกระดับคุณภาพมาตรฐานการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ โดยการจัดกลุ่มสถาบันการศึกษาตามศักยภาพ ปรับเงินเดือนค่าตอบแทนของผู้สำเร็จการศึกษาระดับอาชีวศึกษาให้สูงขึ้น โดยภาครัฐเป็นผู้นำและเป็นแบบอย่างของการใช้ทักษะอาชีวศึกษาเป็นเกณฑ์กำหนดค่าตอบแทนและความก้าวหน้าในงาน ควบคู่กับการพัฒนาองค์ความรู้และนวัตกรรมด้วยการเพิ่มขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนา
  5. ปรับปรุงการบริหารจัดการกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ให้มีการประนอมและไกล่เกลี่ยหนี้ รวมทั้งขยายกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เพื่อขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีโอกาสในการเข้าถึงการศึกษาระดับอาชีวศึกษาและปริญญาตรีเพิ่มขึ้น
  6. ส่งเสริมให้เด็ก เยาวชน และประชาชนใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีสารสนเทศเชิงสร้างสร้างสรรค์อย่างชาญฉลาด เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้
  7. เร่งรัดการลงทุนด้านการศึกษาและการเรียนรู้อย่างบูรณาการในทุกระดับการศึกษาและในชุมชน โดยใช้พื้นที่และโรงเรียนเป็นฐานในการบูรณาการทุกมิติ และยึดเกณฑ์การประเมินของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาเป็น หลักในยกระดับคุณภาพโรงเรียนที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และส่งเสริมความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยไปสู่การเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาและวิจัยพัฒนาในภูมิภาค รวมทั้งเสริมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตในชุมชนโดยเชื่อมโยงบทบาทสถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษา และสถาบันทางศาสนา

จากนโยบายของรัฐบาลดังกล่าว ถ้าวิเคราะห์เข้ามาสู่บทบาทของ กศน. และบทบาทของหน่วยงานสังกัด กศน. ต่างๆ คงจะต้องมีการวิเคราะห์ว่า สิ่งที่กำลังดำเนินการนั้น ตอบสนองต่อนโยบายของรัฐบาลอย่างไรหรือ ไม่ มสีสิ่งใดที่ตอบสนองนโยบายอยู้แล้ว ก็ดำเนินการต่อไป สิ่งใดที่ไม่เป็นไปตามนโยบาย แค่มีประโยชน์ต่อประชาชน ก็ต้องช่วยกันพิจารณาว่า ควรดำเนินการอย่างไร แต่สิ่งที่ขัดนโยบายก็ต้องพิจารณาหนักหน่อย ญ นโยบายที่สำคัญประการหนึ่งในข้อ 6 ที่เป็นตัวหนังสือสีแดงเป็นนโยบายประการหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับงานสารสนเทศคือการนำเอาเทคโนโลยีสานสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยน์ต่อการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน แต่ถ้าขยายขอบเขตไปถึงประชาชนทั่วไปก็คงจะไม่ผิดอะไร โดยมีแนวทางที่สามารถดำเนินการได้หลายแนวทาง โดยแนวทางหนึ่งที่สามารถดำเนินการได้ทันทีคือการสร้างสื่อการเรียนรู้เพื่อเผยแพร่ผ่านทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต (อ่านบทความเรื่อง คลังสื่อ ประกอบ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น