- วิชาการทำความเข้าใจกับกฏหมาย
- ที่นำประเด็นนี้มาพูดก็เนื่องจาก มีอาจารย์มหาวิทยาลับท่านหนึ่งมาพูดคุยกันทางทีวี และกล่าวว่า เหตุการณืบ้านเมืองทุกวันนี้ มีการฟ้องร้องกันวุ่นวาย เพราะมีเหตุการณ์วุ่นวายต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะเรื่องการประท้วง โดยยกตัวอย่างกลุ่มเสื้อแดงที่ลพบุรี ถึงขนามีการขว้างปาปลาร้า อุจาระใส่รถนายก ประเด็นที่ยกมาคือ จะต้องดำเนินการตามกฏหมาย โดยนายกกล่าวว่า จะไปดูว่าการขว้างปลาร้าใส่รถ ผิดกฏหมายหรือไม่
- ประเด็นนี้ ทำให้สะกิดใจว่า แม่แต่นายกก็ไม่รู้กฏหมายไปทั้งหมด ยิ่งชาวบ้านทั่วๆไปแล้วกันใหญ่ ส่วนมากก็ไม่รู้ว่า อะไรถูกกฏหมาย อะไรผิดกฏหมาย หรือบางอย่างก็รู้ว่าผิด แต่ทนายก็หาประเด็นทางกฏหมายมาสู่คดีมาทำให้ไม่ผิดได้ สิ่งสำคัญที่ได้ยินมาก็คือ ทุกคนจะปฏิเสธว่า ทำไปโดยไม่รู้กฏหมายไม่ได้
- ประเด็นที่กล่าวถึงก็คือ ต้องยอมรับว่า ภาษากฏหมายเข้าใจยากจริงๆ ครูอย่างเราๆ อ่านแล้วก็งงเหมือนกัน เขาก็เสนอแนะว่า น่าจะมีหน่วยงานอะไร มาทำหน้าที่อธิบายความให้ประชาชนได้รู้กฏหมายบ้าง ไม่ใช่ให้รู้เฉพาะ ผู้พิพากษา ทนาย ตำรวจ อัยการ หรือผู้ที่เรียนกฏหมายเท่านั้น ประชาชนก็ควรได้รับสิทธิในการรู้กฏหมายด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย
- เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิพื้นฐาน เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับวิธีชีวิต และเป็นทักษะที่สำคัญในการดำเนินชีวิต แล้วจะไม่ให้ความสำคัญเป็นวิชาทักษะชีวิต ที่ต้องบังคับสำหรับการศึกษาตลอดชีวิตได้อย่างไร แต่ใครจะเป็นคนสร้างแหล่งการเรียนรู้นี้
วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552
ทักษะชีวิตเรื่องที่ 1 รู้กฏหมาย
ได้เริ่มพูดถึงการสึกษาตลลอดชีวิตมาหลายครั้งแล้ว แด้เชื่อมโยงให้เห็นว่า หลักสูตรบังคับสำหรับการศึกษาตลอดชีวิต มี 3 หลักสูตร คือ การพัฒนาทักษะชีวิต การพัฒนาสังคมและชุมชน และการพัฒนาอาชีพ วันนี้ขอหยิบยกหลักสูตรทักษะชีวิตการพูดถึง ถือว่า เป็นการเริ่มต้น จึงนับเป็นวิชาที่ 1
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น