หน้าเว็บ

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552

การศึกษาในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์

จุดประเด็นแนวคิดจากรายการ TV ยามเช้าอีกเช่นเคย โดยผู้รู้กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีเงินทุนสำรอง มาก ดังนั้น สถานะทางการเงินมั่นคง และเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว และกล่าวต่อไปว่า การแข่งขันของประเทศ ทางด้านเศรษฐกิจนั้น จะต้องเปลี่ยนแนวคิดใหม่ หันมาใช้ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (ซึ่งแนวคิดเรื่องนี้ มีมากว่า 10 ปีแล้ว) โดยเขาบอกว่า เป็นเศรษฐกิจขายปัญญา หรือขายความคิดแปลกๆ ใหม่ๆ นั่นเอง เขายกตัวอย่าง เช่น ประเทศเกาหลี เขาลงทุนสร้างหนังเรื่องหนึ่ง แล้วฉายได้ทั่วโลก แค่เรื่องเดียวทำรายได้ดีกว่า ส่งรถยนต์ ออก 5-6 พันคัน หรือ Software ที่ลงทุนไม่มาก แต่ลงทุนทางปัญญามาก สามารถทำรายได้มหาศาล สิ่งที่เขากล่าวต่อไปคือ ฐานของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มี 3 อย่าง คือ
  • ปัญญา
  • วัฒนธรรม
  • เทคโนโลยี
  • เอาสามสิ่งที่เป็นพื้นฐาน ในการสร้างสรรค์ความคิดเพื่อผลิตสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา ทำน้อยชิ้น แต่ขายได้มาก (หนังเรื่องเดียว ขายทั่วโลก Software ชุดเดียว ขายทั่วโลก)สิ่งที่กล่าวถึงต่อไปคือ จะต้องมีการส่งสริม สนับสนุน ในการสร้างนักคิด ให้คนคิดอย่างสร้างสรรค์ แล้วก็อดไม่ได้ที่จะโยงใยเข้ามาสู่การศึกษา คือจัดการศึกษาอย่างไร ที่จะกระตุ้นให้เกิดนักคิด นักประดิษฐ์ นักสร้างสรรค์ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา อย่างจริงจัง เพราะการศึกษาทุกวันนี้ เป็นการศึกษาที่เรียนแบบท่องจำ เรียนตามตำรา ไม่ค่อยมีกระบวนการในการสร้างนักประดิษฐ์เท่าไร
  • เขาบอกว่า อุปสรรค์ที่สำคัญประการหนึ่งของสังคมไทยที่สกัดกั้นการเป็นนักประดิษฐฺ์ คิดค้นสิ่งใหม่ๆ เข้าให้ ดูภาพสะท้อนจากละคร ทาง TV ของไทยทุกวันนี้ และคนติดกันเต็มบ้านเต็มเมือง คือเรื่องเกี่ยวกับอิจฉา ริษยา เห็นใครได้ดีไม่ได้ เขาบอกว่าเรื่องนี้แหละเป็นเรื่องที่สกัดดาวรุ่งอย่างดี ทำให้สังคมไทยไม่ค่อยมีใคร คิดอะไรเท่าไร สิ่งนี้ มันแพร่กระจายเข้าไปในทุกสังคม โดยเฉพาะในหน่วยงาน ยิ่งเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นหน่วยรายการ หรือเอกชน การอิจฉา ริษยา แก่งแย่ง ชิงดี ชิงเด่น ไม่อยากเห็นใครได้ดีกว่า เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจนชินตา
  • คงจะเป็นเรื่องไม่ง่ายนักในสังคมไทย ที่จะสนับสนุนให้คนไทยเป็นนักประดิษฐ์ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม ได้ เพราะปัจจุบัน มีสิ่งประดิษฐ์มากมาย ที่เกิดจากฝีมือคนไทย แล้ววงการศึกษาของเรา สนับสนุนให้เกิด นักประดิษฐ์ โดยเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อยหรือยัง หรือไปสนัสนุนเมื่อโตขึ้นแล้ว มันจะสายเกินไปหรือเปล่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น