- หลักการ สภาพการเรียนการสอนของ กศน.ปัจจุบัน เมื่อผู้เรียนลงทะเบียนแล้ว ก็ไปศึกษาหาความรู้ผ่านสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งส่วนมากก็คือตำราเรียน โดยมีกระบวนการพบกลุ่มเป็นกิจกรรมการเรียนรู้อีกกิจกรรมหนึ่งเพื่อเป็นการทบทวน เพิ่มเติม ให้ผู้เรียนได้เข้าใจในบทเรียนมากยึ่งขึ้น และเมื่อเรียนวิชาหมดทุกวิชาแล้ว ก่อนจบกลัดสูตรแต่ละระดับ ก็จะมีการทำกิจกรรม ที่นอกเหนือจากกิจกรรมทางวิชาการอีก 1 กิจกรรม ตามสภาพความเป็นจริงแล้ว นักศึกษาจำนวนหนึ่งอาจจะไม่ค่อยได้ศึกษาหาความรู้จากสื่อต่างๆ เท่าที่ควร อาศัยกิจกรรมการพบกลุ่มเป็นหลัก เพื่อการเรียนรู้ แต่ก็มีหนักศึกษาอีกกลุ่มหนึ่ง พยายามศึกษาหาความรู้ทุกวิธีการ ทั้งอ่านหนังสือ และเข้าพบกลุ่มและอื่นๆ ถ้าเปิดช่องทางการเรียนการสอนอีกช่องทางการเรียนการสอนอีกช่องทางหนึ่ง จะช่วยได้หรือไม่ คือช่องทางการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
- วิธีการ เมื่อนักศึกษา กศน. มาลงทะเบียนเรียนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็จะได้ลงทะเบียนเรียนในระบบอินเตอร์เน็ตด้วย ตามวิชาที่เขาลงทะเบียนในแต่ละภาคเรียน นักศึกษาสามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต ทั้งในส่วนที่เหมือนกับแบบเรียน แบะส่วนที่เพิ่มเติจากบทเรียน ส่วนที่เพิ่มเติมจากบทเรียน เช่น สื่อที่แตกต่างจากบทเรียน เพราะมีลักษณะเป็นสื่อ Multimedia มีการติวโดยครูที่เก่ง (เหมือนโครงการ Tutorของกระทรวง) ได้พบครูประจำกลุ่ม และติดต่อสอบถามได้ตลอดเวลา มีกิจกรรมเสริม เป็นต้น นอกจากจะได้เรียนรู้เพิ่มเติมแล้ว ยังมีการบันทึกเวลาการเข้าเรียน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเวลาเรียนด้วย มีศูนย์แนวแนวที่ช่วยติดต่อประสานงาน และแนะนำการเรียนการสอนและอื่นๆ กับนักเรียน มีศูนย์ทดสอบเพื่อให้นักศึกษาฝึกฝนเตรียมตัวก่อนการทดสอบปลายภาคเรียน
- แนวปฏิบัติ การเตรียมความพร้อม
1 ความพร้อมด้านระบบ ต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการดำเนินงานทั้งหมดที่กล่าวมา โดยเฉพาะระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ซึ่งมีสองส่วน คือส่วนของผู้ส่ง คือศูนย์ e-Learning ที่ตั้งอยู่ที่สำนักงาน กศน.จังหวัด และส่วนของผู้รับ คือห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ที่อยู้ที่ ศูนย์ กศน. อำเภอ หรืออื่นๆ
2 ความพร้อมของสื่อการเรียนรู้ ในระบบ Online อาจจะยังไม่พร้อมทุกวิชา แต่เริ่มเป็นบางวิชาที่มีการลวทะเบียนเรียน
3 ความพร้อมของบุคลากร คือ ผู้จัดการเรียนการสอน ครูประจำกลุ่ม และนักศึกษา
- กิจกรรมการเรียนการสอน 1 ดำเนินการเหมือนปกติทุกประการ 2 สำหรับนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่มีความพร้อมที่จะเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต ให้มาเรียนที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ ที่ศูนย์ กศน. อำเภอ ห้องสมุด หรือที่อื่นๆ เช่น อบต. (โดยการสร้างภาคีเครือข่ายกับสถานที่ที่มีคอมพิวเตอร์) หรือที่บ้านนักศึกษาที่มีคอมพิวเตอร์ 3 มีครูพี่เลี้ยงประจำศูนย์คอมพิวเตอร์ให้คำแนะนำในช่วงแรกๆ ช่วงต่อไปผู้เรียนสามารถเรียนได้เอง (แนะนำในเรื่องการใช้ อินเตอร์เน็ต และแนะนำการเรียนในระบบ e-Learning) 4 ครูประจำกลุ่ม ที่อยู่ที่จังหวัด หรือที่อำเภอ หรือที่อื่นๆ จะเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือและติดต่อประสานงานกับผู้เรียน ผ่านทางระบบ Online
- เริ่มต้นอย่างไร เริ่มต้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป บนพื้นฐานของความพร้อมที่มีดังนี้ 1 ความพร้อมในเชิงนโยบายของ จังหวัดและอำเภอ ที่ต้องการจะนำแนวทางนี้เข้าไปเสริมการเรียนการสอนในปัจจุบัน 2 ความพร้อมของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานที่ต้องการใช้แนวทางนี้ และมีประสบการณ์ในการเข้าอบรม e-Training 3 ความพร้อมของเครื่องมือ โดยเฉพาะระบบคอมพิวเตอร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น