หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

การทดสอบปลายภาคเรียน

การเรียนการสอน และการทดสอบ ดูเหมือนว่าจะเป็นของคู่กัน และการทดสอบดูเหมือนว่า เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ แต่อาจจะมีวิธีการที่แตกต่างกันไป เช่นเคยดูหนังจีน ก็จะพูดถึงการสอบจอหงวน เป็นต้น
  • ย้อนหลังไปเมื่อสามสิบกว่าปีที่ผ่านมา เมื่อสมัยที่ตัวเองเรียนหนังสือในระดับมัธยมศึกษา ตอนนั้นระดับมัธยมศึกษามี ม.ศ.1 - ม.ศ. 5 การเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอยปลายมี 2 ปี คือ ม.ศ. 4 และ ม.ศ. 5 การรเรียนสมัยนั้น จะมีการเรียนไปเรื่อยๆ เป็นวิชาต่างๆ แล้วมีการสอบรวบยอดทุกวิชาในครั้งเดียวเมื่อสิ้นปี เขาจึงเรียกว่า สอบไล่ คือสอบเพื่อไล่ให้ไปเรียนชั้นที่สูงขึ้น ถ้าใครสอบไม่ผ่าน ก็สอบตก ต้องเรียนชั้นเดิม เรียนวิชาเดิมอัก 1 ปี แล้วสอบไล่ใหม่ และเมื่อขึ้น ม.ศ. 5 ก็สอบอีก แต่เอาเนื้อหาวิชาตั้งแต่ ม.ศ. 4- ม.ศ. 5 มาสอบ และถ้าสอบไม่ผ่าน 50 เปอร์เซ็นต์ ก็ถือว่า สอบตก ต้องเรียนซ้ำอีก 1 ปี การสดสอบจึงเป็นเรื่องสาหัสมาก
  • การเรียนการสอนต่อมา เปลี่ยนแปลงโดยแยกการเรียนและการวัดผลในแต่ละวิชาไป แต่ละวิชาก็เรียนจบใน 1 ภาคเรียน แล้วสอบกันไปทีละวิชา จนกระทั่งจบแต่ละวิชา เมื่อหมดปีก็ขึ้นไปชั้นสูงขึ้นโดยไม่มีการซ้ำชั้น จนกระทั้งจบการศึกษา ใครสอบไม่ผ่านวิชาอะไร ก็ซ่อมเฉพาะวิชานั้นๆ เป็นรายวิชาไป ดังนั้นจึงไม่มีการสอบไล่ ไม่มีการตกซ้ำชั้น
  • เมื่อพูดถึงเรื่องข้อสอบปลายภาค ก็มี 2 ลักษณะ ลักษณะแรก ครูผู้สอนเป็นผู้ออกข้อสอบและสอบเอง กับอีกลักษระหนึ่งคือใช้ข้อสอบกลาง ที่มีหน่วยงานอื่นทำหน้าที่ออกข้อสอบ แล้วส่งไปให้โรงเรียนต่างๆ ใช้ทดสอบ ซึ่งการใช้ทั้งสอบวิธีก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป สำหรับ ในช่วงแรกๆ ก็ใช้ข้อสอบกลาง โดยมีศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาค ร่วมกันออกข้อสอบ แต่ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นให้แต่ละจังหวัดออกข้อสอบเอง และปัจจุบันคือปี 2551 และ 2552 นี้ กลับมาใช้ข้อสอบกลางที่ส่วนกลาง ร่วมกับ สถาบัน กศน. ภาคเป็นผู้ออกข้อสอบ ให้กับแต่ละอำเภอไปทำการทดสอบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น