หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

นโยบาย 3D Tutor Chanel และรักการอ่าน

ถ้าใช้คำที่วัยรุ่นชอบพูดกัน ก็ต้องบอกว่า ตอนนี้ กศน. งานเข้า มีเรื่องที่เป็นนโยบายเข้ามาเต็มๆ และเกี่ยวข้องกับ กศน. 3 เรื่อง คือ
  • เรื่องที่ 1 คือ นโยบาย 3D เป็นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการทั้งกระทรวง โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีสถานศึกษาและมีการจัดการเรียนการสอน กศน. ได้ขายรับเรื่องนี้โดยทันที โดยมีคำขวัญว่า สำนักงาน กศน.ส่งเสริมประชาธิปไตย คุณธรรมความเป็นไทย ห่างไกลยาเสพติด
  • เรื่องที่ 2 โครงการ Tutor Chanel กศน. เข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรง ทางสถานิโทรทัศน์การศึกษา ETV ที่เผยแพร่ออกอากาศรายการนี้ และสามารถที่จะดู TV Ondemand หรือดูรายการย้อนหลังได้ โดรงการนี้ เป็นโครงการติวเข้ามหาวิทยาลัยสำหรับเด็กในระบบ ก็ไม่แน่ใจว่า เด็กนอกระบบจะได้อานิสงแค่ไหนก็ไม่รู้
  • เรื่องที่ 3 นโยบายรักการอ่าน เป็นเรื่องของ กศน. เต็มๆ และนโยบายนี้ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ และจพดำเนินการต้อไปอีก 10 ปี เรียกได้ว่างานนี้เข้ามาเต็มๆ และนานอีกด้วย แต่ก็ไม่รู้ว่า ถ้าเปลี่ยนรัฐบาล จะยังคงนโยบายถึงปี 2561 หรือไม่

จากทั้งสามนโยบายดังกล่าวนี้ จึงเป็นคำถามที่ตามมาว่า กศน. ได้มีการขยับขยายและรองรับเรื่องเหล่านี้ ไว้อย่างไรบ้าง มีแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอ่ยางหรบ้าง โดยเฉพาะ 3 ยุทธศาสตร์ คือ

  1. ยุทธศาสตร์เพิ่มขีดความสามารถทางด้านการอ่าน จะทำอย่างไร ให้กลุ่มเป้าหมาย กศน. มีขีดความสามารถทางการอ่านเพิ่มขึ้น และความหมายของคำว่า ขีดความสามารถทางการอ่านหมายความว่าอย่างไร หมายความว่า สามารถอ่านได้มากภาษาขึ้น ใช่ไหม หรือสามารถอ่านได้เร็วขึ้น หรืออ่านแล้ว รู้เรื่องมากขึ้น หรืออะไรแน่ ที่เรียกว่า มีขึดความสามารถทางการอ่านเพิ่มขึ้น
  2. ยุทธศาสตร์สร้างนิสัยรักการอ่าน เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก ที่จะทำให้คนรักการอ่าน จะต้องเริ่มจาก มีอะไรให้อ่านมากขึ้น ถ้ายังหาหนังสื่ออ่านได้ยาก หนังสือมีราคาแพง ไม่มีแหล่งให้ไปอ่านมาก ก็คงเปฌนเรื่องยากที่จะให้มีนิสัยรักการอ่าน เมื่ออดีตประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา ได้ส่งเสริมกันมามากในเรื่อง ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู้บ้าน ต่อมาเปลี่ยนเป็นที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน นี่ก็เป็นนโยบายส่งเสริมให้คนอ่านหนังสื่อซึ่งเริ่มทำมานานแล้ว
  3. ยุทธศาสตร์การสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมแห่งการส่งเสริมการอ่าน ยังมองไม่ค่อยชัดเท่าไร หมายถึงมีแหล่งการอ่านให้มาก และแต่ละแห่งต้องมีบรรยากาศให้อยากอ่านหรือเปล่า ก็ทำให้นึกถึงห้องสมุดประชาชน ศูนย์การเรียนชุมชน และอื่นๆ ที่จะมีแนวทางการพัฒนาได้มากขึ้นเพื่อให้มีบรรยากาศส่งเสริมการอ่าน

มีแนวทางที่เป็นรูปธรรมอย่างไร เพื่อหน่วยงานระดับปฏิบัติจะได้รับทราบ และดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น