หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ประเมินเทียบระดับ

การประเมินเทียบระดับการศึกษา อาจจะเรียกว่าเหล้าเก่าในขวดใหม่ เพราะถ้าย้อนอดีตไปประมาณสัก 30 กว่าปีมาแล้ว มีเหตุการณ์ที่อยู่ในความทรงจำตลอดตอนนั้นเรียนอยู่มัธยมศึกษาตอนปลายมีเพื่อนหลายคนไปสอบเทียบ สมัยนั้นเราจะเรียกกันว่า สอบตุลา ที่จำได้เพราะเราเกิดเดือนกันยายน อายุไม่ถึง ขาดไป 1 เดือนจึงไปสอบไม่ได้ มีเพื่อนคนหนึ่งไปสอบแล้วสอบได้ เขาก็สบายใจ เพราะถือว่าจบ ม.ศ. 5 แล้ว ไม่ต้องกังวลกับการสอบไล่ ไปเตรียมอ่านหนังสือเพื่อสอบเอนทรานซ์ได้สบาย อ่านหนังสือเฉพาะวิชาที่จะไปสอบ ส่วนคนท่สอบไม่ได้หรือไม่มีสิทธิ์สอบก็ต้องไปสอบไล่ ซึ่งสมัยก่อนถ้าสอบไม่ผ่านก็ต้องเรียนซ้ำชั้น
  • ในสมัยนั้นไม่รู้จักว่าสอบเทียบคืออะไร และใครรับผิดชอบ รู้แต่ว่าเป็นการสอบที่สามารถสอบโดยไม่ต้องเรียนหนังสือเหมือนเด็กในโรงเรียน แต่ภายหลังเมื่อมาทำงานกองการศึกษาผู้ใหญ่ จึงได้รู้จัก เพราะเป็นงานในหน้าที่ของกองการศึกษาผู้ใหญ่ และวิธีการสอบเทียบก็เปลี่ยนแปลงรูปแบบมาหลายรูปแบบ เช่นเรียกว่า ศบน. ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนสำหรับบุคคลภายนอก หรือต่อมาก็เรียนว่า การเรียนแบบตนเอง (กศน.มี 3 รูปแบบ คือ ชั้นเรียน ทางไกล และตนเอง)
  • เมื่อวันที่ 11-13 ธันวาคม ได้มีโอกาสออกไปนิเทศสนามสอบ ซึ่งใช้ทดสอบเพ่อประเมินเทียบระดับ ของจังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำพูและหนองคาย ซึ่งเป็นการทดสอบเพื่อประเมินเทียบระดับ เป็นการนำเอาความรู้และประสบการณ์ที่มีเพื่อมาประเมินเพื่อขอจบการศึกษาในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น หรือมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยจะต้องสอบข้อสอบเพื่อทดสอบตามมาตรฐานต่างๆ 6 ด้าน (หรือพูดสั้นๆ คือ มาสอบให้ผ่าน 6 วิชา) ต่อจากนั้น ก็ต้อไปสอบสัมภาษณ์ โดยมีคณะกรรมการเพื่อประเมินว่าควรเทียบระดับการศึกษาตามที่ขอหรือไม่ แต่ก็มีเงือนไขเบี้องต้นว่า คนที่มาขอเทียบระดับการศึกษา จะต้องประกอบอาชีพแล้ว
  • จะเห็นว่า ในช่วงเวลา 30 ปีที่ผ่านมา กระบวนการเทียระดับการศึกษาของไทยมีการดำเนินการ และพัฒนาการมาโดยตลอด เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบและวิธีการมาตลอดเวลาเพื่อให้เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับขอสังคม
  • จาการนิเทศสนามสอบเพื่อประเมินเทียบระดับครั้งนี้ ได้แนวความคิดอะรหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการในการเทียบระดับการศึกษา ซึ่งจะมีคำถามในใจตลอดเวลาว่า กระบวนการที่ทำอยู้นี้ เป็นกระบวนการที่เราสามารถเทียบความรู้ความสามารถของแต่ละคนได้จริงหรือไม่ และระดับที่เทียบนั้น (ประถม ม.ต้น ม.ปลาย) ตรงกับความสามารถของเขาเพียงใด เพราะดู้เหมือนเกณฑ์ที่สำคัญจะมี 3 ประการหลักๆ คือ มีอาชีพ สอบข้อเขียนผ่าน และสอบสัมภาษณ์ผ่าน

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

มีเรื่องมากมาย แต่ไม่มีเวลา

ในช่วงเดือน พฤศจิกายน ต่อต้นเดือนธันวาคม มีเรื่องมากมายที่อยากจะบันทึกไว้ แต่ไม่มีเวลา วันนี้จึงบันทึกแต่หัวข้อไว้ก่อน เพื่อตามมาลงรายละเอียดทีหลัง
  1. การปรับปรุงระบบ CMS
  2. การอบรมครู ศรช. ในพื้นที่นำร่องจังหวัดอุบลราชธานี และ มหาสารคาม
  3. วันเฉลิมพระชนมพรรษา
  4. Tutor Chanel

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

มะเร็ง

หลังจากหลายปีที่พูดกันว่าการทำคีโมเป็นทางเลือกเดียวที่จะ ลอง และใช้ในการกำจัดโรคมะเร็ง ในที่สุดโรงพยาบาลจอห์น ฮอพกินส์ก็เริ่มแนะนำถึงทางเลือกอื่นๆอีก ข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับโรคมะเร็งจาก รพ.จอห์น ฮอพกินส์
  • 1. ทุกๆคนมีเซลมะเร็งอยู่ในร่างกาย เซลมะเร็งเหล่านี้จะไม่ปรากฎด้วยวิธีการตรวจสอบตามมาตรฐาน จนกระทั่งมันขยายตัวเพิ่มขึ้นในระดับพันล้านเซล เมื่อแพทย์บอกว่าไม่มีเซลมะเร็งในร่างกายผู้ป่วยโรคมะเร็งที่ได้รับการรักษาแล้ว มันหมายถึงว่าระบบไม่สามารถตรวจสอบเซลมะเร็งได้เพราะว่าจำนวนของมันยังไม่มากพอ จนถึงระดับที่สามารถตรวจจับได้เท่านั้น
  • 2.เซลมะเร็งเกิดขึ้นระหว่าง 6 ถึงมากกว่า 10 ครั้งในช่วงอายุของคนๆหนึ่ง
  • 3. เมื่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแข็งแรงเพียงพอ เซลมะเรงจะถูกทำลายและป้องกันไม่ให้เกิดการขยายตัวและกลายเป็นเนื้องอก
  • 4. เมื่อใครก็ตามเป็นมะเร็ง มันกำลังบอกว่าคนๆนั้นมีความบกพร่องหลายประการเกี่ยวกับโภชนาการ ซึ่งอาจเกิดจากยีน สิ่งแวดล้อม อาหารและปัจจัยอื่นๆในการดำรงชีวิต
  • 5. เพื่อเอาชนะภาวะบกพร่องหลายประการเกี่ยวกับโภชนาการ การเปลี่ยนแปลงประเภทของอาหารรวมทั้งสารอาหารบางอย่างจะช่วยให้ภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น
  • 6. การทำคีโมคือการให้สารเคมีที่มีความเป็นพิษกับเซลมะเร็งที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่ขณะเดียวกัน มันก็จะทำลายเซลที่ดีที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในไขกระดูก ทำลายระบบทางเดินอาหาร ฯลฯ และเป็นสาเหตุทำให้อวัยวะบางส่วนถูกทำลาย เช่น ตับ ไต หัวใจ ปอด ฯลฯ
  • 7. การฉายรังสีแม้ว่าจะเป็นการทำลายเซลมะเร็ง แต่ก็ทำให้เกิดอาการไหม้ เป็นแผลเป็น และทำลายเซลที่ดี เนื้อเยื่อ และอวัยวะ
  • 8. การบำบัดโดยคีโม และการฉายรังสีมักจะช่วยลดขนาดของเนื้องอกได้ในช่วงแรกๆ อย่างไรก็ตามถ้าทำไปนานๆพบว่ามักไม่ส่งผลต่อการทำลายเซลเนื้องอก
  • 9. เมื่อร่างกายได้รับสารพิษจากการทำคีโมหรือการฉายรังสีมากเกินไป ระบบภูมิคุ้มกันอาจปรับตัวเข้ากันได้หรือไม่ก็อาจถูกทำลายลง ดังนั้นคนๆนั้นจึงอาจตกอยู่ในอันตรายจากการติดเชื้อหลายชนิดและทำให้โรคมีความซับซ้อนยิ่งขึ้น
  • 10. การทำคีโมและการฉายรังสีอาจเป็นสาเหตุทำให้เซลมะเร็งกลายพันธุ์ ดื้อยา และยากต่อการ
  • ทำลาย การผ่าตัดก็อาจเป็นสาเหตุทำให้เซลมะเร็งกระจายไปทั่วร่างกาย
  • 11. วิธีที่ดีที่สุดในการทำสงครามกับมะเร็ง คือการไม่ให้เซลมะเร็งได้รับอาหารเพื่อนำไปใช้ในการขยายตัว
  • อะไรคืออาหารที่ป้อนให้กับเซลมะเร็ง
  • a. น้ำตาลคืออาหารของมะเร็ง การตัดน้ำตาลคือการตัดแหล่งอาหารสำคัญที่จ่ายให้กับเซลมะเร็ง สารทดแทนน้ำตาลอย่างเช่น "" นิวตร้าสวีต "" "" อีควล "" "" สปูนฟูล "" ฯลฯ ล้วนทำมาจากสารให้ความหวาน ซึ่งเป็นอันตราย สารทดแทนซึ่งเป็นกลางที่ดีกว่าคือน้ำผึ้งมานูคา (จากนิวซีแลนด์) หรือน้ำอ้อย แต่ในปริมาณน้อยๆเท่านั้น เกลือสำเร็จรูปก็ใช้สารเคมีในการฟอกขาว ควรหันไปเลือกใช้ "" แบรก อมิโน "" หรือเกลือทะเลแทน
  • b. นมเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายผลิตเมือก โดยเฉพาะในระบบทางเดินอาหาร เซลมะเร็งจะไ้ด้รับอาหารได้ดีในสภาวะที่มีเมือก การใช้นมถั่วเหลืองชนิดไม่หวานแทนนม จะทำให้เซลมะเร็งไม่ได้รับอาหาร
  • c. เซลมะเร็งเติบโตได้ดี ในภาวะแวดล้อมที่เป็นกรด อาหารจำพวกเนื้อจะสร้างสภาวะกรดขึ้น ดังนั้นจึงควรหันไปรับประทานปลาจะดีที่สุด รองลงไปคือรับประทานไก่แทนเนื้อและหมู ในเนื้ออาจมียาฆ่าเชื้อ ฮอร์โมนที่สร้างการเจริญเติบโตในสัตว์ และเชื้อปรสิตบางประเภทตกค้างอยู่ ซึ่งล้วนเป็นอันตราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่เป็นมะเร็ง
  • d. อาหารที่ประกอบด้วยผักสด 80% และน้ำผลไม้ พืชจำพวกหัว เมล็ด ถั่วเปลือกแข็ง และผลไม้จำนวนเล็กน้อย จะช่วยทำให้ร่างกายมีสภาวะเป็นด่าง อาหารอีก 20% อาจได้มาจากการทำอาหารร่วมกับพืชจำพวกถั่ว น้ำผักสดจะให้เอ็นไซม์ซึ่งสามารถดูดซึมได้ง่ายและซึมทราบสู่ระดับเซลภายใน 15 นาที เพื่อบำรุงร่างกายและส่งเสริมการเจริญเติบโตของเซลที่ดี เพื่อให้ได้เอ็นไซม์ในการสร้างเซลที่ดี ให้พยายามดื่มน้ำผักสด ( ผักส่วนใหญ่รวมทั้งถั่วที่มีหน่อหรือต้นอ่อน) และรับประทานผักสดดิบ 2-3 ครั้งต่อวัน เอ็นไซม์จะถูกทำลายได้ง่ายที่อุณหภูมิ 140 องศา F ( ประมาณ 40 องศา C)
  • e. ให้หลีกเลี่ยงกาแฟ น้ำชา และช๊อกโกแลต ซึ่งมีคาเฟอีนสูง ชาเขียวถือเป็นทางเลือกที่ดีและมีคุณสมบัติในการต้านมะเร็ง น้ำดื่มให้เลือกดื่มน้ำบริสุทธิ์ หรือที่ผ่านการกรอง เพื่อหลีกเลี่ยงท๊อกซินและโลหะหนักในน้ำประปา น้ำกลั่นมักมีสภาพเป็นกรด ให้หลีกเลี่ยง
  • 12. โปรตีนจากเนื้อจะย่อยยาก และต้องการเอ็นไซม์หลายชนิดมาช่วยในการย่อย เนื้อสัตว์ที่ไม่สามารถย่อยได้ในระบบทางเดินอาหารจะเกิดการบูดเน่าและมีความเป็นพิษมากขึ้น
  • 13. ผนังของเซลมะเร็งจะมีโปรตีนห่อหุ้มไว้ การงดหรือการรับประทานเนื้อสัตว์น้อยลง จะทำให้มีเอ็นไซม์เหลือมากพอมาใช้โจมตีกำแพงโปรตีนที่ห่อหุ้มเซลมะเร็ง และช่วยให้เซลของร่างกายสามารถกำจัดเซลมะเร็งได้ดีขึ้น
  • 14. สารอาหารบางอย่างอาจช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน ( สาร IP6 [inositol hexaphosphate หรือ phytic acid], สาร Flor-essence, สาร Essiac, สารแอนตี้-อ๊อกซิแดนส์ , วิตามิน , เกลือแร่ , EFAs ฯลฯ) เพื่อช่วยให้เซลของร่างกายสามารถกำจัดเซลมะเร็งได้ดีขึ้น สารอาหารอื่นๆเช่น วิตามินอี เป็นที่ทราบกันดีว่าทำให้เกิดการตายลงของเซล หรือกำหนดระยะเวลาการตายของเซล ซึ่งเป็นกลไกธรรมชาติของร่างกายในการกำจัดเซลที่ถูกทำลาย ซึ่งไม่เป็นที่ต้องการ หรือไม่มีประโยชน์ออกไป
  • 15. มะเร็งเป็นโรคที่สัมพันธ์กับจิตใจ ร่างกาย และจิตวิญญาณ การป้องกันเชิงรุกและการคิดในเชิงบวกจะช่วยให้เราสามารถอยู่รอดจากการทำสงครามกับมะเร็ง.... ความโกรธ การไม่รู้จักให้อภัย และความขมขื่นใจ จะทำให้ร่างกายเกิดความตึงเครียดและมีสภาวะเป็นกรดเพิ่มขึ้น ให้เรียนรู้ที่จะมีความรักและจิตวิญญาณแห่งการให้อภัย เรียนรู้ที่จะผ่อนคลายและมีความสุขกับชีวิต
  • 16. เซลมะเร็งไม่สามารถเจริญเติบโตได้ในสภาวะที่มีอ๊อกซิเจนเป็นจำนวนมาก การออกกำลังกายทุกวัน และการหายใจลึกๆจะช่วยให้่ร่างกายได้รับอ๊อกซิเจนเพิ่มขึ้นลงไปจนระดับเซล การบำบัดด้วยอ๊อกซิเจนถือเป็นวิธีการอีกอย่างที่ใช้ในการทำลายเซลมะเร็ง

วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

การเรียนการสอนและการอบรม

มีเรื่องให้คิดและต้องทำ 2 เรื่องที่ทำให้ต้องขบคิด โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่ผ่านมาในการอบรมคอมพิวเตอร์ ประเด็นที่สำคัญคือ กระบวนการอบรมและกระบวนการเรียนการสอน ทั้งสองเรื่องมีผลที่ต้องการให้เกิดที่เป็นปลายทางเหมือนกันคือ เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตัวบุคคลที่เข้ารับการอบรมหรือเข้าเรียน ส่วนผลการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไรนั้นอาจจะแตกต่างกันไป แต่ส่วนมากก็จะหนีไม่พ้น KSA คือ ความรู้ความเข้าใจ ทักษะ และทัศนดติ แต่ดูเหมือนว่าสิ่งที่แตกต่างกันประการหนึ่งของการอบรมและการเรียนการสอน คือเรื่องระยะเวลา การอบรมมักจะใช้เวลาสั้นๆ แต่ก็ไม่แน่เสมอไป เพราะการอบรมบางหลักสูตรใช้เวลาเป็นปี ก็มี แต่ประเด็นที่กำลังคิดตอนนี้คือ ถ้าถูกเหตุการณ์บังคับว่า จะต้องใช้เวลาสั้นๆ เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมาย จะทำอย่างไร
  • การเปลี่ยนแปลงประการแรกที่ต้องการให้เกิด คือ เปลี่ยนจากไม่รู้ เป็นรู้ ซึ่งดูเหมือนว่า การอบรม หรือการเรียนการสอนทุกที่ ทุกหลักสูตร มักจะต้องการเหมือนกัน แล้วก็ดูเหมือนว่า เป็นสิ่งที่ทุกคนคุ้นเคย
  • การที่คนเราจะเปลี่ยนจากรู้ เป็นไม่รู้ จะต้องเกิดจากกระบวนการแรกคือ กระบวนการรับรู้ ในสิ่งที่ต้องการให้รู้ ซึงการับรู้ จะเป็นการรับรู้ผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ เช่นการรับรู้ด้วยการมองเห็น การได้ยินเสียง ได้กลิ่น เป็นต้น โดยการรับรู้ต่างๆนี้ จะส่งผ่านไปยังสมอง แล้วถูกนำไปผ่านกระบวนการทางสมอง บางเรื่องก็เพียงแต่สมองบันทึกและจดจำไว้เท่านั้น แต่บางเรื่องต้องมากกว่านั้น นอกจากสมองจะจดจำแล้ว จะต้องนำเอาสิ่งนั้นไปแปลความ ขยายความ วิเคราะห์ต่างๆอีกหลายประการ แต่ก็ถือว่า เป็นกระบวนการทางสมองทั้งสิ้น
  • การเปลี่ยนแปลงประการที่สอง คือเปลี่ยนจากทำไม่เป็นมาเป็นทำเป็น และทำได้อย่างคล่องแคล่ว เราเรียกว่าทักษะ การเปลี่ยนแปลงนี้ จะต้องต่อเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงตัวแรก คือ จะต้องมีความรู้ในเรื่องนั้นก่อน จึงจะทำได้ และต้องทำบ่อยๆ จึงจะเกิดทักษะ หรือบางครั้งเราก็เรียกว่า เกิดความชำนาญ
  • แต่การที่จะทำจนชำนาญหรือไม่ มักจะเชื่อมโยงกับการเปลี่นแปลงในตัวที่สามคือ ตัวที่เขาเรียกว่า การเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติ เพราะถ้าใจไม่เอาด้วย ไม่ชอบสิ่งที่จะทำนั้น ให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างไร ก็ไม่อยากจะทำจนชำนาญ

โดยสรุปตรงนี้ จะเห็นว่า กระบวนการที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรก็ตามในตัวบุคคลทั้งสามประการนี้ ค่อนข้างจะเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย และอาจจะต้องใช้เวลาพอสมควร จึงย้อนกลับมาสู่ประเด็นหลักคือ ถ้ามีเวลาน้อย จะทำอย่างไร ถ้าวิเคราะห์ให้ดีดูเหมือนว่า เรื่องทัศนคติ จะเข้ามาเป็นตัวแรก ของการเริ่มกระบวนการ ถ้าใครก็ตาม มีความรัก ความชอบ ในสิ่งนั้นแล้ว การที่จะไปเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติจนกระทั่งชำนาญ คงไม่ใช่เรื่องยาก เพราะปัจจุบัน มีแหล่งให้เรียนรู้ และหาประสบการณ์ได้มากมาย

  • การอบรมแต่ละครั้ง คงไม่สามารถที่จะทำให้ทุกคน เกิดการเปลี่ยนแปลในทุกสิ่งได้ แต่ก็เชื่อว่า การอบรม น่าจะเป็นจุดที่เริ่มต้น ของการเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ จะเกิดขึ้น ทั้งระหว่างการอบรม และต่อเนื่องไปเรื่อยๆ หลังการอบรม

วันศุกร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

นโยบายบางครั้งก็อยู่เหนือเหตุผล

ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมรายการหนึ่ง เป็นการประชุมเพื่อรับมองนโยบายในการปฏิบัติงาน ยางเรื่องก็เห็ด้วยแต่บางเรื่องก็ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นเรื่องของการเมืองมากเกินไป แต่นโยบายก็อยู่เหนือทุกอย่าง ต้องปฏิบัติ แต่ก็มีคำถามย้อนกลับมาว่า จะปฏิบัติอย่างไร จึงจะไม่เสียนโยบาย และเสียความรู้สึก

อบรมการสร้าง website

ระหว่างวันที่ 10-15 พ.ย. 2552 ได้มีโอกาสเดินทางไปจังหวัดลำปางอีกครั้ง เพื่ออบรมให้ความรู้ในการสร้าง web ให้กับ กศน. อำเภอต่างๆ ของจังหวัดลำปาง โดยมีการอบรม 2 ช่วง คือ ระหว่าง 11-13 เป็นการอบรมให้ความรู้กับ บุคลากรจาก ศูนย์ กศน. อำเภอในจังหวัดลำปาง 13 อำเภอ ส่วนวันที่ 14-15 เป็นการอบรมให้กับกลุ้มเยาวชนในหมู่บ้าน จำนวน 4 หมู่บ้าน
  • การอบรมช่วงแรก 3 วันเป็นไปด้วยดี เพราะ มีเวลามาก มีโอกาสปูพื้นฐานเรื่องระบบต่างๆ เป็นขั้นตอน แต่การอบรมช่วงหลังกับเยาวชน มีเวลาน้อยมาก แค่วันครึ่ง และมีหลายคนที่พื้นฐานคอมพิวเตอร์ไม่ค่อยดี จึงค่อนข้างจะสาหัสพอสมควร
  • ได้ข้คิดหลายประการจากการอบรมครั้งนี้ โดยเฉพาะเรื่องการสร้าง web ที่ควรจะต้องมีการปรับปรุงหลายประการ
  • การอบรมในช่วงแรกใช้เวลา 3 วัน ดำเนินการไปได้ด้วยดี แต่การอบรมให้กับเยาวชน ช่วงหลัง ใช้เวลาแค่วันครึ่ง ต้องใช้คำว่า ไม่รู้จะจัดกระบวนท่าอย่างไร เพราะไม่ว่าจะทำอย่างไร ก็ไม่มีการตอบสนองจากผู้เข้าอบรม ก้มหน้าก้มตาอยู่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ขณะที่บางคน ครอบหูฟัง จึงไม่รู้ว่า ได้ฟังสิ่งที่เรากำลังพูดอยู่หรือไม่ บางคนนึกอยากทำอะไร ก็ทำ เมื่อให้ทำก็ทำไม่ได้ ก็เลยเหนื่อยหน่อย ส่วนวันที่สองอินเตอร์เน็ตมีปัญหา จึงไม่สามารถอบรมตามเนื้อหาได้ ต้องเปลี่ยนแผนกระทันหัน ดังนั้น ดดยสรุปก็คือ คงจะต้องพิจารณาตัวเองแล้วว่าคงจะต้องปลดระวางตัวเองแล้ว เกี่ยวกับการเป็นวิทยากร เพราะแก่เกินไปแล้ว
  • เห็นใจครูผู้สอนนักเรียนเลยว่า คงเหนื่อยน่าดู ถ้าไปพบกับเด็กที่หลากหลาย แต่ก็ต้องปรับกระบวนการเหมือนกัน แต่ก็เข้าใจว่า การเรียนการสอน กับการอบรม จะไม่เหมือนกัน การอบรมเป็นการเรียนรู้ในช่วงเวลาที่ค่อนข้างสั้น ดังนั้นกระบวนท่าหรือเรียกว่าเทคนิคการอบรม สำคัญมาก
  • วิทยากรจาก loxinfo เตรียมของมาแจกเยอะ ใช้วิธีการแจกของรางวัล เป็นเครื่องมือในการกระตุ้นให้ผู้เข้ารับการอบรมทำกิจกรรมต่างๆ ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ ในกรณีที่ผู้เข้ารับการอบรมเบื่อหน่าย การเล่นแบบนี้ต้องทำเป็นทีม จะยืนหน้าห้องเป็นครูยืนสอนแบบเราคงไม่ได้
  • ไม่ว่าจะใช้รูปแบบใด ก็ตาม ความสำคัญจะอยู่ท่ผู้เรียนเป็นสำคัญ ถ้าผู้เรียนตั้งใจ มีแรงจูงใจสูง ก็อาจจะไม่ต้องมีเทคนิควิธีการอะไรเลยที่จะสร้างความสนใจ

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ทดลองใช้ I Google

ยังมีปัญหาเรื่องภาษาไทย

กยศ. กับความบกพร่องของครู

กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เป็นนโยบายที่ดีของรัฐบาลในการสนับสนุนด้านการศึกษา แนวคิดดีมาก วิธีการในท่อนแรกก็ดี แต่กระบวนการในท่อนหลัง คือ การคืนเงินไม่ค่อยดี จนทุกวันนี้ มีผู้กู้ยืมประมาณ 500000 รายไม่ยอมมาใช้คืน จนต้องมีกระบวนการประนอมหนี้ ก่อนที่จะมีการส่งฟ้องศาล กรณีนี้ มีผู้มาออกความคิดเห็นมากมาย แล้วก็อดไม่ได้ที่มาเกี่ยวข้องกับครูจนได้ โดยมองมาว่า ครู จะต้องมีวิธีการที่ดีในการที่จะให้ความรู้ และความเข้าใจที่ถูกต้องสำหรับลูกศิษย์ ที่กู้เงินนี้ไป แต่ที่ผ่านมา ไม่ค่อยมีในเรื่องนี้ จึงส่งผลให้เกิดเหตการณ์ในปัจจุบัน
  • จากการติดตามข่าวพบว่า หลายประเทศ ก็ทำเช่นนี้ เช่น สหรัฐอเมริการ ทำมานานแล้ว ออสเตรเลีย ก็ทำ ในอเมริกา มีปัญหาไม่ส่งคืนประมาณ 6 เปอร์เซ็นต์ เพราะเขามีวิธีการที่ดี จึงทำให้มีเงินมาหมุนเวียน เพื่อให้รุ่นน้องๆ ได้กูยืมตลอด แต่ของไทย พี่เอาไปแล้วไม่คืน น้องก็เลยไม่มี
  • มีผู้ออกมาวิเคราะห์ว่า เหตุผลที่สำคัญสองประการที่ทำให้นักเรียนที่กู้ยืมตั้งแต่เป็นนักเรียน จนจบมหาวิทยาลัย จบไปแล้วไม่คืนเงิน มีสาเหตุที่สำคัญ สองประการ โดยประการแรก มองไปที่จิตสำนึก และประการที่สองมองไปที่ไม่มีเงินส่งคืน เพราะไม่มีงานทำ โดยมองว่า เรื่องแรกสำคัญมากื เพราะถ้าคนนั้นมาอยู่ในสังคม ความคิดเรื่องเบี้ยวหนี้ จะฝังอยู่ในสำนึก ซึ่งเป็นอันตรายต่อสังคมอย่างมาก
  • ตัวเราเองเคยมีประสบการณ์ตรง ที่เคยเป็นพี่เลี้ยงให้กับนักศึกษาฝึกงานของสถาบันแห่งหนึ่ง มีวันหนึ่ง นักศึกษาที่มาฝึกงาน โทรศัพท์มือถือมาอวดเพื่อน เป็นรุ่นทันสมัยมาก ราคาเป็นหมื่น โดยนักศึกษาคนนั้นบอกว่า เงินออก จึงเอาไปซื้อโทรศัพท์ จึงถามว่าเงินอะไรออก ก็ได้รับว่าเงิน กยศ ออก เด็นคนนี้ ไม่รู้ว่า เป็น 1 ใน 500000 คน หรือเปล่า แต่ก็เป็น 1 กรณีที่ชี้ให้เห็นว่า เงินกู้ยืม เด็กเอาไปทำอะไร และเมื่อตามรายละเอียดลงไปอีกก็พบว่า เรื่องเงินกู้ยืม ก็เป็นหัวข้อโฆษณาประการหนึ่งของสถานศึกษาโดยเฉพาะเอกชน ที่ชักชวนให้คนมาเรียน เพราะเมื่อมีคนเข้ามาเรียน ทางสถานศึกษาก็ดำเนินการเรื่องนี้ให้นักเรียนทันที ถือว่าเป็นการสร้างแรงจูงใจ ไม่รู้ว่าเป็นแบบนี้ทุกแห่งหรือเปล่า
  • เรื่องนี้ จึงมีคนออกมาพูดว่า ต่อไปครู ต้องเข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น เพี่อสร้างความตระหรักสำหรับเด็กที่กู้ยืมเงินไปใช้เพื่อการศึกษา

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ปฏิรูปการศึกษามา 50 ปี ไม่ดีขึ้น ใครรับผิดชอบ

เป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะหนักสำหรับระบบการศึกษาไทย สำหรับคำถามนี้ ความจริงแล้ว เป็นคำถามที่ไปเก็บของเขามาจากการพูดคุยทาง TV เมื่อเช้านี้ แต่ดูเหมือนว่า จะเป็นคำถามที่ทิ่มแทงใจของคนในวงการการศึกษาไม่มากก็น้อย และตอนนี้ ก็มีการพูดกันมากขึ้น เมื่อเกิดแนวคิดและแนวนโยบายเรื่อง การปฏิรูปการศึกษารอบสอง ซึ่งได้หยิบยกหลายๆเรื่องมากล่าวถึง และดูเหมือนว่า เรื่องการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย มีการหยิบยกมากล่าวถึงกันไม่น้อยเช่นกัน จนคิดที่จะมีการเปลี่ยนรูปแบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยกันอีกครั้ง
  • ประเด็นที่มีการพูดคุยกันนั้น ได้หยิบยกข้อมูลที่บอกว่า คุณภาพการศึกษาในปัจจุบันเป็นอย่างไรกัน จึงทำให้คนที่จบมหาวิทยาลัยมาแล้วไม่มีงานทำ จนมีคำพูดว่า จบมหาวิทยาลัยแล้ว ทำอะไรไม่เป็น จึงตกงานกันเป็นทิวแถว
  • การวิเคราะห์ได้เชื่อมโยงระบบการศึกษาที่ผ่านมา แต่ก่อนนั้นเมื่อผ่านการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็จะมีการแยกเส้นทางการเดิน ว่า จะไปทางสายอาชีพ หรือสายเข้าสู่มหาวิทยาลัย คนส่วนมากก็มีค่านืยมเข้าสายมหาวิทยาลัย คนเก่งๆ ก็ไปเข้ามหาวิทยาลัย คนไม่เก่งก็ไปสายอาชีพ แต่เมื่อไปทำงาน ก็ดูเหมือนว่า กลุ่มที่จบสายอาชีพ ดูจะต่ำต้อยกว่า ทำงานหนักไม่ได้นั่งห้องแอร์สบายเหมือนสายที่จยมหาวิทยาลัย ดังนั้น สถานศึกษากลุ่มอาชีพ ก็พยายามยกตังขึ้นเป็นวิทยาลัย มหาวิทยาลัย และรูปแบบการศึกษาที่ฝึกทำจริง ก็เปลี่ยนไป เป็นการเรียนเฉพาะวิชาการ ผลที่สุดปัจจุบัน ก็ขาดผู้ที่จบการสึกษษแล้วทำงานได้ เพราะมีแต่พวกนักวิชาการที่จบมาแต่ทำอะไรไม่เป็น
  • เขาได้กล่าวถึงการศึกษาบ้านเราว่า บางครั้งเราไปวุ่นวายกับเด็กมาเกินไป บางประเทศ เขาให้เรียนเมื่อถึงอายุ 7 ขวบ เพราะช่วงเด็ก ก็ให้เป็นเด็กที่สมบูรณ์ แต่บ้านเราเข้าไปวุ่นวายกับเด็กตั้งแต่ 2 ขวบ 3 ขวบ จนเขาเติบโตขึ้นมาอาจจะเก่งก็จริง แต่ขาดบางอย่างไป ซึ่งมีส่วนที่ทำให้สังคมมีปัญหาอยู่ทุกว่า เด็กต้องเป็นเด็ก อย่าไปยุ่งกับเด็กมากเกินไป
  • มีข้อคิดที่น่าสนใจบางประการที่เข้าบอกว่า ใครก็ตามที่จะอยู่ในสังคม มีอาชีพที่มั่นคง ควรจะมี 5 เรื่อง ต่อไปนี้
  1. สื่อสารเป็น โดยเฉพาะการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ
  2. คิดเป็น โดยเฉพาะการฝึกทักษะการคิด โดยใช้คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือ
  3. ทำงานเป็น
  4. จรรยาบรรณ โดยเฉพาะเรื่อง ซื่อสัตย์ กตัญญู
  5. สังเกต และเข้าใจในสถานการณ์

วันอังคารที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

จุดอ่อนของการทำงาน

ได้มีโอกาสเป็นคณะทำงานในการสรุปผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ซึ่งหน่วยงานทุกหน่วยจะต้องสรุปว่า ทำอะไรไปบ้าง และเมื่อมีโอกาสสรุปก็ได้เห็นอะไรหลายอย่างของการทำงาน โดยเฉพาะการทำงานแบบราชการ ซึ่งถ้าตั้งคำถาม ลึกๆ ลงไป ก็จะมีคำตอบบางอย่างที่ออกมาแล้วบางครั้งเราก็รับไม่ค่อยได้เหมือนกัน โดยเฉพาะคำตอบที่พยายามตอบว่า เราทำงานได้ผลคุ้มกับเงินที่ลงทุนลงแรงไปหรือไม่ ถึงแม่ว่าบางคนอาจจะบอกว่า การศึกษาจะมาคิดต้นทุน กำไร ไม่ได้ แต่เราก็อดคิดไมได้เหมือนกัน
  • สิ่งที่มักจะเป็นปัญหาอย่างมากในการสสรุปผลการปฏิบัติงาน คือ ไม่ค่อยมีข้อมูลว่า ทำอะไรบ้างได้ผลเป็นอย่างไร ผลที่ได้บางครั้งเป็นผลที่คิดเอาเองว่า ได้อะไรบ้าง แต่จริงๆ แล้วได้อย่างนั้นหรือเปล่าก็ไม่รู้ หรือบางครั้งก็รู้แต่เพียงว่าทำอะไรบ้าง แต่ผลเป็นอย่างไรไม่รู้ ดังนั้น เมื่อเอาทุกเรื่องที่ทำทั้งหมดมาร่วมกันเป็นภาพรวม จึงไม่รู้ว่า 1ปี ที่ผ่านมา ได้ทำอะไร และได้ผลอย่างไร เรื่องที่ได้ทั้งหมดสามารถนำไปเป็นส่วนประกอบของสิ่งที่หน่วยราชการต้องปฏิบัติในเรื่องอะไร ของนโยบายของรัฐบาล
  • สาเหตุที่สำคัญเริ่มมาตั้งแต่เริ่มแรก ที่แผนไม่ชัดเจน เพราะบางครั้งคนที่ทำก็ไท้รู้เหมือนกันว่าจะทำอะไร ทำไปเพื่ออะไร เพราะบางครั้งเวลาคิดจะทำอะไร เราเอาเรื่องที่เราจะทำเป็นตัวตั้ง แล้วค่อยหาเหตุผลว่า สอดรับกับนโยบายในข้อใด แทนที่จะคิดว่า นโยบายข้อนี้ จะต้องทำอะไรบ้าง ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้เกิดช่องโหว่ เพราะสิ่งที่ทำทั้งหมด เมื่อนำมารวมกัน ไม่สามารถตอบสนองนโยบายได้ทั้งหมด ตอบสนองเพียงบางเรื่อง
  • สิ่งต่อมาคือ เมื่อทำแล้ว ก็ไม่ได้เก็บร่องรอยเอาไว้ ว่าทำอะไร อย่างไร ได้ผลอย่างไร เมื่อเวลาจะรายงานก็รายงานได้ลำบาก และที่สำคัญคือ สิ่งต่างๆ ที่เก็บไว้ ไม่เป็นระบบและรูปแบบเดียวกัน นำมาสรุปรวมกันไม่ได้ เช่น โครงการที่เกี่ยวกับการพัฒนาคน ส่วนมากก็จะเก็ผลว่า พัฒนาคนไปได้เท่าไร แต่ถ้ามีสัก 1-2 โครงการไม่ได้เก็บข้อมูลไว้ เมื่อจะเขียนสรุปว่า ปีนี้ หน่วยงานเราพัฒนาคนไปเท่าไร ก็เลยสรุปไม่ได้ เพราะไม่มีตัวเลข อยู่ 2 โครงการ ผลสุดท้าย ถ้าต้องการได้ตัวเลขจริงๆ จึงต้องประมาณเอา
  • ระบบการวางแผน การปฏิบัติงาน ติดตามประเมินผล และ รายงาน จึงเป็นเรื่องที่ต้องทำ และบันทึกร่องรอยเอาไว้ และไม่ใช่บันทึกอย่างเดียวแต่ต้องบันทึกให้เป็นระบบเดียวกันด้วย

ลมหนาวเริ่มมาอีกแล้ว

เมื่อวานนี้ (2 พ.ย. 2552) ถือว่าเริ่มหนาวแรกของปีนี้ ความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดนอกจากอากาศจะเย็นลงแล้ว ลมจะพัดแรงมาก และเป็นลมกระโชกมาเป็นช่วงๆ พร้อมทั้งพักพาเอาละอองฝุ่นมาด้วย ซึ่งถือว่า เป็นสัญญลักษณ์ของความหนาวของภาคอีสาน
  • บรรยากาศช่วง ปลายฝน ต้นหนาว ถือว่าเป็นอากาศที่สบาย และมีความสุขมาก ผืนดินยังมีความชุ่มชื้นที่หลงเหลือมาจากฤดูฝน แต่ไม่เปียกชื้น อากาศก็ไม่ร้อน หรือหนาวเกินไป และโดยเฉพาะชาวนา จะมีความสุขมาก เพราะข้าวในนาเริ่มออกรวงเป็นสีทองเต็มท้องทุ่ง ซึ่งสร้างความหวังถึงเงินทองที่จะได้ตามมา แล้นำไปจับจ่ายใช้สอย ในช่วงเทศกาลปีใหม่
  • บรรยากาศการทำงาน ก็ถือว่า เป็นบรรยากาศแบบเบาๆ สบายๆ เพราะเริ่มต้นปีงบประมาณ ยังไม่มีงบประมาณส่งมา งานจึงไม่มีอะไรมากนัก นั่งเก็บตกของเก่า และเตรียมงานใหม่ ที่จะเข้ามา
  • 1 รอบปี ที่ซ้ำซาก ทำให้เริ่มเดาออกว่า จะเกิดอะไรขึ้นต่อจากนี้ เพราะช่วงฤดูหนาว มักจะจดจำอะไรได้ดี เพราะเป็นช่วงที่มีเทศกาลมากจริงๆ ตั้งแต่วันลอยกระทง ที่อากาศเริ่มหนาวแล้ว ต่อไปก็เป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษา ที่จะไปรวมตัวกันจุดเทียนชัยถวายพระพร ท่านกลางอากาศที่เย็นสบาย หรือบางปี ก็หนาวมาก ตามด้วยวันหยุดรัฐธรรมนูญ เว้นอีกไม่นานก็เป็นเทศกาลคริสมาส ตามด้วยส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับขึ้นปีใหม่ ซึ่งจะมีวันหยุดยาว นอกจากนั้น ช่วงนี้ก็มักจะมีเงินบางอย่างออกมา เช่นเงินปันผล เป็นพิเศษ อื่นๆ ช่างเป็นช่วงที่มีความสุขจริงๆ

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ความเป็นตัวตนของหน่วยงาน

เป็นคำถามที่น่าสนใจเหมือนกันว่า เรารู้จักตัวเองแค่ไหน เรารู้จักหน่วยงานของเราแค่ไหน ความเป็นตัวตนของหน่วยงานเรามันคืออะไร เพราะถ้าเราไม่รู้จักตัวตนของเรา ก็อาจจะทำให้กำหนดทิศทางที่จะให้หน่วยงานเดินไปไม่ถูกต้องได้เหมือนกัน
  • ตัวตนของหน่วยงาน คืออะไร และตัวตนของหน่วยงานเราเป็นอย่างไร คงไม่ได้มองที่ตัวอาคาร มองที่คน หรือบทาทหน้าที่เพียงอย่างเดียว แต่คงมองหลายๆอย่างพร้อมๆกัน และเมื่อพบตัวตนของเราแล้ว ก็คงจะพบว่า ตัวตนของเรานั้น มีจุดเด่นตรงไหน จุดอ่อนตรงไหน ทำอย่างไร จึงจะเสริมสร้างความเป็นตัวตนของเราให้โดดเด่น เป็นที่รู้จักของคนอื่นๆ พร้อมทั้ง เอาสิ่งที่โดดเด่นนั้น มาเป็นทิศทางในการพัฒนางาน
  • ดูเหมือนว่า ความคิดในการมองตัวตยของตยเองก่อนนั้น เป็นเรื่องที่น่าจนใจ เพาะที่ผ่านมานั้น บางครั้ง คงมีคำถามในใจเหมือนกันว่า เราทำงานเพื่อใคร เพราะมีแต่งานที่เขาให้มาทำ โดยที่เราไม่ค่อยได้คิดเอง ทำงานไปตามที่เขากำหนด พอถึงต้นปีจึงต้องคอย เพราะเขายังไม่ได้สั่งให้ทำ ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะเราไม่ได้ร่วมกันกำหนดว่า เราจะทำอะไรเพื่อตัวเราเอง และบางที่เราก็ไม่สามารถกำหนดได้ เพราะเราไม่เป็นตัวของตัวเอง
  • แนวคิดที่บอกว่า ต่อไปนี้ เราต้องมองที่ตัวเองก่อน ว่า เรากำลังจะทำอะไร อย่างไร ก็เป็นแนวทางที่น่าจะปรับเปลี่ยน เอาตัวเองเป็นตัวตั้ง โดยมองที่ตัวตนของเรา มองที่บทบาทของเรา มองที่ความสามารถที่โดดเด่นของเรา มองที่กลุ่มเป้าหมายของเรา แล้วกำหนดว่าเราจะทำอะไร ส่วนสิ่งที่มีคนสั่งให้ทำนั้น ถ้าเรามีเป้าหมาย แทศทางของเราชัดเจนแล้ว ก็อาจจะปรับให้มาเข้าทิศทางของเราได

ขอต้อนรับ ผู้อำนวยการสถาบัน คนใหม่

เป็นครั้งแรกของเรา ที่มีผู้อำนวยการอายุน้อยกว่า และดูเหมือนว่า ตลอดเวลาที่ทำงานอยู่ที่หน่วยงานแห่งนี้ จะมีผู้อำนวยการที่คงจะไม่เกษียณอายุราชการ ณ หน่วยงานนี้ เพราะผู้อำนวยการท่านนี้อายุยังน้อย
  • เมื่อวาน (26 ตุลาคม 2552) เป็นวันแรกของการเข้ามารับตำแหน่งของท่านผู้อำนวยการ ซึ่งคณะเราทุกคน ได้ร่วมกันต้อนรับอย่างเป็นทางการ แล้วก็เป็นกระบวนการตามปกติ ที่เป็นการพบปะกันระหว่างข้าราชการทุกคน กับผู้บริหารคนใหม่ ซึ่งบรรยากาศ ก็เป็นไปด้วยความเรียบร้อย เป็นบรรยากาศแบบเบาๆ ไม่ตึงเครียด แต่ก็ดูเหมือนว่า มีความจริงจัง เพราะการเรียนต้น ก็เริ่มด้วยคำถามที่นำไปสู่การเริ่มต้นการทำงานทันที โดยเริ่มจากคำถามว่า แต่ละคนต้องการทำอะไร ต้องการให้เปลี่ยนแปลงอะไร และ ต้องการบอกอะไรกับผู้อำนวยการ จาก 3 คำถามดังกล่าว ก็สามารถนำมากำหนดทิศทางการดำเนินงาน ตามความคิดของผู้ปฏิบัติงาน เมื่อบวกกับความต้องการของผู้บริหาร และนโยบายระดับเหนือขึ้นไป ก็ถือว่า นำไปกำหนดทิศทางที่จะเดินไปได้ทันที
  • สิ่งที่น่าเป็นห่วงสำหรับการดำเนินงานในทุกวันนี้ คือ ความไม่ชัดเจนในการทำงาน ที่เห็นชัดเจนก็คือ เริ่มต้นปีงบประมาณแล้ว แต่ยังไม่รู้เลยว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ดังนั้น ถ้าผู้บริหารมีการกำหนดทิศทางได้เร็วเท่าไร งานก็เดินได้เร็วเท่านั้น ถึงแม้บางเรื่องจะต้องรอส่วนกลางในการอนุมัติงบประมาณ แต่หลายเรื่องก็ทำได้โดยไม่ต้องใช้งบประมาณ

วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

อาจารย์กระรอก

ที่ต้องบันทึกเรื่องนี้ ทั้งที่อาจจะไม่เกี่ยวข้องกับเรื่อง IT โดยตรง แต่ก็เกี่ยวข้องกับบุคคลในแวดวง IT และเพื่อเป็นการระลึกถึงผู้ร่วมงาน ที่เป็นทั้งเพื่อร่วมงาน เพื่อร่วมวงการ IT และเป็นน้องที่รักของพี่ๆ ทุกคน คืออาจารย์กระรอก หรืออาจารย์คนึงนิตย์ ที่จากไปโดยไม่มีวันกลับ เหลือไว้แต่ความทรงจำอันดีๆ ที่มีในใจของเพื่อร่วมงาน เพื่อนร่วมวงการ
  • เมื่อวาน (วันอาทิตย์) ได้รับโทรศัพท์จากอาจารย์สุวัฒน์ แจ้งข่าวว่า อาจารย์กระรอกเสียชีวิตแล้ว และจาพระราชทางเพลิงศพ ในวันพฤหัสนี้ ที่จังหวัดระยอง เป็นข่าวที่ช็อคความรู้สึกอย่างมาก เพราะไม่คิดว่า จะได้ยินข่าวเกี่ยวกับอาจารย์กระรอกแบบนี้ เพราะไม่คิดว่า คนอายุยังน้อย จะจากไปเร็วแบบนี้ และไม่ได้ข่าวว่าเจ็บป่วยอะไรหนักมาก่อน รู้แต่ว่าเป็นภูมิแพ้ ก็เป็นเรื่องที่อาจารย์กระรอกเองก็พูดคุยเรื่องนี้อย่างเป็นเรื่องสนุก ไม่จริงจังอะไร และเป็นที่รู้กันว่า เมื่อเวลาไปประชุม อาจรย์กระรอกมักจะเอาของทะเลไปฝาก พี่ๆ และเพื่นฝูง โดยที่ตัวเองกินของทะเลไมได้ โดยเฉพาะตัวเราเอง ที่ชอบกินน้ำพริกกะปิ อาจารย์กระรอกก็จะเอากะปิอย่างดี ของระยองไปฝากประจำ
  • ความสูญเสียบุคลากรที่มีคุณค่าต่อวงการการศึกษานอกโรงเรียนโดยเฉพาะในเรื่อง IT ในครั้งนี้ คณะพวกเราชาว IT รีบเผยแพร่ข่าวบอกกันไปทั่วประเทศทันที ทุกคยที่อยู่ในแวดวงนี้ ได้รับโทรศัพท์สอบถามกันว่า รู้เรื่องหรือยัง ทั้งรับและบอกต่อกันไปเรื่อยๆ ในหมู่คนที่รู้จัก จนได้รับแจ้งเรื่องนี้ไม่รู้กี่ครั้ง และตัวเองก็โทรบอกคนที่อยู่ในวงการนี้ด้วย ทำให้ข่าวแพร่ไปอย่างรวดเร็ว
  • ขอแสดงความเสียใจ กับครอบครัวของอาจารย์กระรอก และขอไว้อาลัยให้กับ เพื่อน/น้อง ที่เป็นที่รักของทุกคน ไว่ ณ ที่นี้ กับการจากไปตลอดกาลโดยไม่มีวันกลับ เหลือไว้แต่ความทรงจำที่ดี สำหรับพวกเราทุกคน

ได้มีโอกาสไปร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพ อาจารย์คนึงนิตย์ แซ่อั้ง หรืออาจารย์กระรอก เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2552 ณ วัดลุ่ม จังหวัดระยอง โดยมีเลขาธิการสำนักงาน กศน. มาเป็นประธานในพิธีพระราชทางเพลิงศพ โดยมรข้าราชการ กศน. ทั้งที่ระยอง จากส่วนกลาง และจากจังหวัดต่างๆ รวมทั้งสภาบัน กศน. ภาคต่างๆ มาร่วมงานอย่างมากมาย ได้ความคิดดีๆ ที่เป็นสัจธรรมมากมาย จากการ่วมพิธีครั้งนี้

  • อาจารย์กระรอก อายุยังไม่มาก เพียง 41 ปี รับราชการได้ไม่นาน (เริ่มรับราชการปี 35) ตำแหน่งทางการบริหารก็ไม่มี เป็นข้าราชการครูธรรมดา เพิ่งจะได้เป็นครูชำนาญการพิเศษ หรือเมื่อก่อนก็เรียกว่าซี 8 เมื่อปีที่แล้ว แต่ทำไมมีคนรักและนึกถึงมากมาย ทั้งในพ้นที่ ส่วนภูมิภาคต่างๆ และส่วนกลาง มาจากทุกสารทิศ แสดงว่า ต้องมีอะไรดีในตัวแน่นอน
  • คนเราเกิดมาก็เท่านี้ ไม่สามารถเอาอะไรไปได้ ต้องทิ้งไว้ทั้งหมด รวมทั้งความดี ความชั่วที่กระทำไว้ด้วย ก็ทิ้งไว้เบื้องหลัง สะท้อนให้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ได้คิด ว่าสุดท้ายก็ไม่เหลืออะไร จะทะเลาะกันไปทำไม รบราฆ่าฟันกันทำไม โกงกินกันไปทำไม อิจฉาริษยากันทำไม่ เพราะสุดท้ายก็ไม่เหลืออะไร มีแต่สิ่งดีหรือเลวไว้ให้คนพูดถึงภายหลัง

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ห้องสมุด 3 ดี

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวแถลงข่าวการจัดงานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน ครั้งที่ 7 ว่า เยาวชนไทยกำลังอ่านหนังสือลดลง จากเดิมอ่านหนังสือเฉลี่ยวันละ 69.1 นาทีในปี 2550 ลดเหลือ 66.3 นาทีในปี 2551 เพราะนำเวลาไปใช้ในกิจกรรมอื่นๆ มากกว่า เช่น ดูโทรทัศน์ ส่งผลให้เด็กขาดจินตนาการซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเกิดความคิดสร้างสรรค์ ขณะที่ประชาชนก็อ่านหนังสือน้อยลง จากเคยอ่านเฉลี่ยวันละ 51 นาทีในปี 2548 ลดเหลือ 39 นาทีในปี 2551 ทั้งนี้ ทุกฝ่ายต้องช่วยกันรณรงค์ส่งเสริมการอ่าน
  • รมว.ศึกษาธิการกล่าวอีกว่า มีนโยบายให้โรงเรียนประถมและโรงเรียนมัธยมทั่วประเทศ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และวิทยาลัยสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ปรับปรุงห้องสมุดในสถานศึกษาครั้งใหญ่ในปีการศึกษานี้ ในโครงการ ”ห้องสมุด 3 ดี“ ได้แก่ ห้องสมุดที่มีหนังสือดี บรรยากาศดีส่งเสริมการอ่าน และสุดท้ายต้องมีบรรณารักษ์ดี
  • นายจุรินทร์กล่าวต่อไปว่า การจัดทำห้องสมุด 3 ดีในสถานศึกษาไม่เน้นก่อสร้างอาคาร แต่เน้นจัดหาหนังสือดีมาให้นักเรียนอ่าน งบประมาณส่วนใหญ่จะทุ่มไปกับการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุด อาจใช้อาคารที่มีอยู่แล้วมาปรับปรุงให้มีบรรยากาศเหมาะกับการอ่านหนังสือ จึงไม่จำเป็นต้องใช้งบมาก เบื้องต้นอาจใช้งบแค่หลักแสนสำหรับจัดสร้างห้องสมุด 3ดีในแต่ละสถานศึกษา
  • "ระยะยาว อาจตั้งกรรมการขึ้นมาคัดเลือกหนังสือเข้าห้องสมุด 3 ดี ประกาศรายชื่อหนังสือที่ควรจัดซื้อเข้าห้องสมุดเป็นรายปี เพื่อให้นักเรียนได้อ่านหนังสือดีจริงๆ ไม่ใช่ห้องสมุดซื้อหนังสือตามที่มีบริษัทมาเสนอขาย อาจขอความอนุเคราะห์ให้สำนักพิมพ์ลดราคาหนังสือที่จัดซื้อเข้าห้องสมุดโรงรียนด้วย รวมทั้งจูงใจให้เอกชนมาช่วยอุปถัมภ์ห้องสมุดโรงเรียนแต่ละแห่งด้วย" รมว.ศึกษาธิการกล่าว
  • นางริสรวล อร่ามเจริญ นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า งานเทศกาลหนังสือเด็กฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “หนังสือ คือ จักรวาลแห่งความรู้“ ในวันที่ 8-12 กรกฎาคมนี้ ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ มีร้านหนังสือกว่า 400 บูธ โซนกิจกรรมและนิทรรศการต่างๆ รวมทั้งโครงการทอฝันปันหนังสือให้น้องโดยคัดเยาวชนด้อยโอกาส 300 คนมาเลือกซื้อหนังสือเอง

วันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2552

รายจ่ายของคนไทย

เมื่อเช้าดูรายการ TV ได้ข้อมูลที่น่าสนใจ โดยพบว่า โดยเฉลี่ยคนไทยมีรายได้ครอบครัวละประมาณ 21,000 บาท เศษ (จำตัวเลขที่ละเอียดไมได้) ต่อครอบครัว โดยคิดเฉลี่ยครอบครัวละ 4 คน ขณะที่มีรายจ่ายประมาณ 16,000 บาท (แสดงว่า ยังมีเงินเหลือ ) และเมื่อมาดูรายจ่าย ใน 16,000 บาท ว่า จ่ายเป็นค่าอะไรบ้าง
  • ค่าอาหาร ประมาณ 33 %
  • ที่อยู่อาศัย ประมาณ 20%
  • ค่าพาหนะ เดินทาง ประมาณ 17%
  • ที่เหลือเป็นคาอื่นๆ
ตัวเลขนี้สะท้อนอะไร จะเห็นว่า ค่าใช้จ่ายเกินครึ่ง จ่ายไปกับค่าอาหารและที่อยู่อาศัย แต่ที่น่าสนใจคือตัวเลขค่าพาหนะ การเดินทาง ร้อยละ 17 ซึ่งนับว่าไม่น้อย จึงมีคำถามว่า ทำไมรายจ่ายเรื่องนี้ จึงมากน่าดู ก็เลยเดาเอาดังนี้
  1. น้ำมันแพง มีผลทำให้ค่าพาหนะสูงตามไปด้วย คือรถหรือค่าเดินทางอื่นๆ ก็เลยแพงตาม
  2. คนเดินทางไปทำงานไกลขึ้น เพราะที่พักกับที่ทำงานอยู่ห่างกัน ทุกคนต้องทำงาน ก็ต้องเดินทาง สมัยก่อน ทำไร่ทำนา ก็เดินไป แต่เดี๋ยวนี้ อย่างน้อยก็ขี่รถมอร์เตอร์ไซต์ ไปนา ยิ่งทำงานในเมืองไม่ต้องห่วง ต้องใช้รถทั้งนั้น
  3. เดินทางไปเที่ยวหรือไปที่ต่างๆ มากขึ้น เพราะการคมนาคมสะดวก จึงไปเที่ยวหรือเยี่ยมเยียนญาติที่น้อง เพื่อนฝูงกันมากขึ้น
เมื่อคิดถึงราคานำมันที่แพงขึ้น ก็พบว่า มีผลกระทบหลายประการ ทั้งผลกระทบโดยตรงคือผลที่เกิดจากการจ่ายเงินซื้อน้ำมัน และผลกระทบโดยอ้อม เช่น
  1. ภาษีน้ำมันแพง เมื่อเก็บภาษีแพง ราคาน้ำมันก็แพงเกินจริง
  2. เมื่อราคาน้ำมันแพง สินค่าทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันก็แพงขึ้น เช่น พ่อค้าแม่ค้า ต้องขับรถไปซื้อของ ก็ต้องบวกต้นทุนน้ำมัน ทำให้ของราคาแพงขึ้นโดยบวกกันขึ้นไปตั้งแต่ผู้ผลิตสิ้นค้า พ่อค้าคนกลางตั้งแต่ยี่ปั้ว ซาปั๊ว จนถึงพอค่าปลีกย่อย
ประเด็นสำคัญก็คือ เราจะลดรายจ่าย โดยเฉพาะเรื่องการเดินทางได้อย่างไร เคยดูรายการ TV รายการหนึ่งเขาบอกว่า คนญี่ปุ่นเขาจะห่อข้าวกลางวันไปกินที่ทำงาน เพราะนอกจากจะประหยัดไม่ต้องออกไปหาซื้อกินแล้ว ยังประหยัดน้ำมันที่ต้องขับรถออกไปหากินข้าวด้วย เขาบอกว่า ประหยัดน้ำมันไปได้มากทีเดียว สิ่งที่อยากทราบอย่างมากตอนนี้ คือ คนไทยเสียค่าใช้จ่ายเพื่อการศึกษาเฉลี่ยแล้วคนละเท่าไร เพราะดูเหมือนคนจะบ่นกันมากว่า ยิ่งมีนโยบายเรียนฟรี ยิ่งต้องจ่ายเงินเพื่อการศึกษามากขึ้น ชาวนาที่ไร่นาหลุดมือไปอยู่กับคนมีเงิน ก็เพราะส่งเสียบุตรหลานให้เรียนหนังสือ ลำพงเฉพาะค่าเรียนมันไม่เท่าไร แต่ค่าอื่นๆ มันมากจริงๆ

วันศุกร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ปฏิรูปการศึกษารอบสอง

ข่าวเรื่องการศึกษา ถูกข่าวการเมืองอื่นๆ เข้ามาเบียด จนกระทั่งคนทั่วไปไม่ค่อยสนใจเท่าไร แต่ความจริงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอนาคตของชาติ ลองอ่านข่าวด้านล่างนี้ดูนะครับ

นายกฯ สั่งศธ. รื้อใหญ่ระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัย ชี้ปฏิรูปการศึกษารอบ 1 เหลวเพราะราชการต้องการผูกขาดอำนาจจัดการศึกษาไว้กับตัว

  • เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 28 กันยายน ที่โรงแรมรอยัล ริเวอร์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมสัมมนาเรื่อง "ทศวรรษที่ 2 ของการปฏิรูปการศึกษา : ปัญหาและทางออก" จัดโดยคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การศึกษา สภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้นายอภิสิทธิ์กล่าวปาฐกถาพิเศษโดยมีใจความตอนหนึ่ง ว่า การปฏิรูปการศึกษาเป็นเรื่องที่ฝ่ายการเมืองได้ร่วมใจกันทำมาโดยตลอด ไม่มีแบ่งแยกว่าเป็นเรื่องของรัฐบาล หรือฝ่ายค้าน แต่ส.ส. ทุกคนต้องการขับเคลื่อนระบบการศึกษาให้มีมาตรฐาน เพราะมองว่าเป็นเรื่องสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและพัฒนาการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
  • นายอภิสิทธิ์กล่าวต่อว่า รัฐบาลได้เดินหน้าผลักดันโครงการเรียนฟรี 15 ปี เพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ แต่ต้องยอมรับว่าไม่สามารถทำได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เพราะปัญหาการขาดแคลนด้านงบประมาณ ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาต้องดิ้นรนหาทรัพยากรเอง อีกทั้งยังมีการเก็บค่าใช้จ่ายหลายเรื่อง อาทิ การสอนพิเศษภาษาต่างประเทศ การสอนคอมพิวเตอร์ ฯลฯ ดังนั้นจึงเป็นโจทย์ท้าทายว่าการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 จะเดินหน้าไปอย่างมีคุณภาพ โดยไม่เป็นภาระแก่ผู้ปกครองได้อย่างไร
  • “สมศ. (สำนักงานมาตรฐานการศึกษา) เคยประเมินผลการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษแรก โดยพบว่าปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการปรับโครงสร้างงานด้านศึกษาธิการเอง ซึ่งใช้เวลามาก และหลายเรื่องก็เกิดความขัดแย้งในเชิงการเมืองและการบริหาร ทำให้ต้องเสียเวลาและเสียสติปัญญาไปกับเรื่องนี้มาก ไม่ว่าจะเป็น การกระจายอำนาจ การจัดเขตพื้นที่การศึกษา ตรงนี้เป็นบทเรียนสำคัญว่าหากเราหมกมุ่นเรื่องโครงสร้างมากเกินไป ก็อาจไปไม่ถึงเป้าหมายที่แท้จริง” นายกรัฐมนตรีกล่าว
  • นายอภิสิทธิ์กล่าวต่อว่า สำหรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 ในปี 2552-2561 ตนได้มอบโจทย์เรื่องการปรับระบบสอบเข้ามหาวิทยาลัยให้กระทรวงศึกษาธิการไปแล้ว โดยเน้นว่าขอความกรุณาอย่าเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย แล้วหวังรอเปลี่ยนแปลงในปีต่อๆ ไป แต่ให้รื้อใหญ่ไปเลย วางระบบเอาไว้ใช้ในระยะยาวไปเลย โดยอาจเริ่มต้นในปี 2554-2555 ก็ได้ ไม่เช่นนั้นเรื่องนี้จะเป็นคอขวดของการปฏิรูปการศึกษาอีก ทั้งนี้ขอให้คำมั่นว่ารัฐบาลจะเดินหน้าผลักดันการปฏิรูปอย่างเต็มที่ ซึ่งผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 ที่อยู่ระหว่างการยกร่างก็ได้บรรจุเรื่องการเรียนรู้ตลอดชีวิตและการศึกษาเป็นเป้าหมายสำคัญด้วย อย่างไรก็ตามลำพังความตั้งใจของรัฐบาลไม่อาจทำให้การปฏิรูปการศึกษาสำเร็จได้ แต่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของสังคม และความตั้งใจของผู้เกี่ยวข้องด้วย
  • “ความล้มเหลวที่เกิดขึ้นในอดีต มาจากการที่รัฐบาลและระบบราชการยังผูกขาดอำนาจในการจัดการศึกษาไว้กับตัว หากคนในวงการศึกษายังหมกมุ่นว่าตัวเองและองค์กรของตนจะได้อะไร เราอาจจะเห็นความขัดแย้งในเรื่องสิทธิประโยชน์ของคนทำงาน และลืมไปว่านี่ไม่ใช่เป้าหมายในการปฏิรูปการศึกษา ดังนั้นหากสามารถละและสละอำนาจและการผูกขาดได้ ก็จะเกิดพลังในการปฏิรูปการศึกษา นี่คือความท้าทาย ความกล้าหาญทางจริยธรรม และการอาศัยการนำของคนที่จะเข้ามาปฏิรูปต่อไป” นายกรัฐมนตรีกล่าว วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552 เวลา 14:13:22 น. มติชนออนไลน์

จากข่าวดังกล่าวนี้ มีสองเรื่องใหญ่ๆ ที่คิดว่า น่าสนใจ

  • ประเด็นแรกเรื่อวงการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพราะเป็นประเด็นที่กล่าวถึงกันมานานแล้ว เพราะการศึกษาที่บิดเบี้ยวอยูททุกววันนี้ ก็เพราะระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัยนี่แหละ ถ้ามีการปฏิรูปกันจริง ก็คงจะเป็นเรื่องดี แต่ก็เกรงว่า จะทำได้ยาก เพราะผ่านมากี่ยุค กี่สมัย ก็ไม่สามารถแก้ได้ จนกระทั่งเดี๋ยวนี้ มีคำกล่าว่า เด็กที่เรียน ม. 6 ไปโรงเรียนเพื่อไปเอาชั่วโมงเรียน และคะแนนเก็บ ไม่ได้ไปเพื่อเรีย เพราะเวลาที่เหลือจะใช้ไปกับโรงเรียนกวดวิชาเพื่อเข้ามหาวิทยาลัย ครูก็ได้แต่นั่งตาปริบๆ เพราะความสำคัญของครู มีน้อยว่า คนกวดวิชา ครูก็เลยต้องผันตัวเองโดยการเปิดโดรงเรียนกวดวิชา เพื่อตามไปสอบเด็กเข้ามหาวิทยาลัย
  • ประเด็นที่สองคือ เรื่ององค์กร เรื่องการบริหารงาน เรื่องอำนาจ เรื่องหวงอำนาจ คงไม่ต้องพูดถึงครับเป็นที่ทราบๆกันอยู่ดี ว่า เป็นอย่างไร

แค่สองประเด็นนี้ ถ้าทำได้ การปฏิรูปกรศึกษาก็เดินไปได้อีกไกล

วันพฤหัสบดีที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ปีงบประมาณใหม่ ผู้บริหารใหม่ นโยบายใหม่

วันแรกของปีงบประมาณ 2553 และวันเริ่มต้นของการรองรับเรื่องใหม่ๆ แต่ยังไม่เห็นมาอะไรใหม่ เป็นแต่เพียงก้าวขึ้นปีงบประมาณใหม่เท่านั้น เพราะผู้บริหารคนใหม่ก็ยังไม่ทราบว่า เป็นใคร นโยบายใหม่ ก็ยังไม่เห็น สรุปก็คือ วันนี้ ก็ยังเป็นผู้บริหารคนเดิม(รักษาการ) พร้อมทั้งนโยบายเดิม
  • นโยบายใหม่ของ กศน. มีอะไรบ้างนั้น ได้ร่างกันออกมาแล้ว แต่ตัวจริงไม่รู้ว่าเป็นอะไร

วิสัยทัศน์ "คนไทยได้รับการศึกษาตลอดชีวิตที่มีคุณภาพ อย่างทั่วถึง และเท่าเทียมกัน เพื่อให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ "

พันธกิจ

  1. จัดและส่งเสริมการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และส่งเสริมการศึกษาในระบบ ให้มีคุณภาพ
  2. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
  3. พัฒนาและส่งเสริมการนำเทคโนโลยีเพื่อการศึกษามาใช้ให้เกิดประสิทธิภาพ ต่อการศึกษาตลอดชีวิต
  4. พัฒนาบุคลากร และภาคีเครือข่ายเพื่อการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
  5. ส่งเสริมชุมชนให้พัฒนากระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2552

วิสัยทัศน์ และวินัย

วันนี้สำหรับผู้ที่จะเกษีญณอายุราชการ ถือว่า เป็นวันเกือบสุดท้ายของชีวิตการทำงาน แต่ไม่ได้หมายความว่า เป็นวันหยุดการทำงาน แต่เป็นวันที่เปลี่ยนงาน เปลี่ยนจากงานประจำท่จำเจ ไปเป็นงานอิสระที่มีชีวิตชีวา บางท่านไปคิดว่า ชีวิตหลังเกษียณ เป็นชีวิตที่ไม่ได้ทำงาน ความจริงคิดผิดครับ เพราะคนวัย 60 ทำงานได้อีกมากมาย เพียงแต่เลือกให้ถูกกับสถานการณ์เท่านั้น
  • แต่สำหรับท่านที่คิดว่าจะพักผ่อน ไม่ทำอะไรอีกแล้ว ต้องการหาความสุ๘หลังจากตรากตรำทำงานมานานได้มีผู้ให้คำแนะนำดีๆ เกี่ยวกับการวางแผนการใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุขมากมาย วันนี้ ได้มีโอกาสฟังผู้รู้มาแนะนำการวางแผนการดำเนินชีวิต โดบเฉพาะการวางแผนด้านการเงิน ที่น่าสนใจอย่างมาก เพราะเงินที่ได้รับหลังเกษียณ ถือว่าเป็นเงินออมที่เราเก็บมาตลอดชีวิตการทงำน ดังนั้นต้องมีการใช้จ่ายเป็นอย่างดี
  • สิ่งแรกที่ต้องคำนึงถึงคือเรื่องสูตรง่ายๆ ในการใช้งาน คือให้คำนวนยโดยเอารายได้บวกมูลค่าทรัพย์สิน หารด้วยรายจาก ถ้ามากกว่า หรือเท่ากับ 1 แสดงว่าใช่ได้ แต่ถ้าต่ำกว่า 1 ให้ระลึกไว้เสมอว่า กำลังเกิดปัญหา
  • คำสองคำที่เขาแนะนำ ให้นำมาใช้ คือ คำว่า วิสัยทัศน์ และวินัย ซึ่งเป็นเรื่องน่าสนใจมาก แต่เนื่องจากไม่มีรายละเอียดมากนัก จึงไม่กล้านำมาขยายความในที่นี้ เกรงว่า จะผิด Concept ดังนั้น ท่านที่สนใจ ต้องติดตามในรายละเอียดเอาเอง

ข้อมูลเพิ่มเติม

  1. มาวางแผนเกษียณอายุกันเถอะ
  2. วางแผนเกษียณอย่างง่าย
  3. คำนวนการสะสมเงินเพื่อเกษียณ

วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552

ใครจะทำหน้าที่พัฒนา

การทำงานยิ่งขยายแนวรุกออกไปอย่างกว้างขวาง แต่ไม่มีกำลังเสริม ใช้กำลังเท่าที่มี และในที่สุด กองหนุนก็ต้องออกรบในแนวหน้า ทำให้นักรบอ่อนล้า และรบแบบไม่มีทิศทาง เพราะขาดเสนาธิการ ที่จะช่วย ผลสุดท้ายก็สะเปะสะปะ และแพ้ในที่สุด
  • ที่กล่าวอย่างนี้ เพราะดูเหมือนว่า งานการศึกษาโดยเฉพาะ การศึกษานแกระบบและการศึกษาตามอัธยาสัย กำลังจะเป็นอย่างนั้น เพราะขยายแนวการจัดการศึกาลงในพื้นที่อย่างมาก ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เพราะได้เข้าถึงประชาชน แต่ตอนนี้ กองหลังกำลังโหว่ครับ สังเกตดูให้ดีนะครับว่า หน่วยกำลังบำรุงกำลังทรุกโทรมลงทุกที
  • ขอยกตัวอย่าง มหาวิทยาลัย เขาจะมีหน่วยที่ทำหน้าที่ ศึกษา ค้นคว้า วิจัยเรื่องราวต่างๆ และมีนักศึกษา เป็นผู้ที่เข้ามาสู่กระบวนการของการศึกษาค้นคว้า ก่อนที่จะผลิตนักศึกษาเพื่อออกสู่สังคม ของ กศน.ที่ผ่านมาก็ เช่นเดียวกัน มีหน่วยต่างๆเหล่านี้ ทั้งที่เป็นหน่วยอิสระ และหน่วยที่แฝงอยู่ในหน่วยปฏิบัติการ เพื่อทำหน้าที่เหล่านี้ แต่ทุกวันนี้ หน่วยเหล่านี้อ่อนแอลง หรือถูกถอนกำลังไปเป็นหน่วยปฏิบัติการ โดยไม่มีการเสริมเข้ามาแทน ทำให้แนวหน้าทำงานกันแบบไม่มีการสนับสนุนท่ดีพอ

ทดสอบเพื่ออะไร

ควันหลงจากการตรวจเยี่ยมสนามสอบอีกครั้ง แต่เป็นคำถามที่ค้างค่าใจจากการรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายต่างๆ ระหว่างที่ได้พูดคุยระหว่างการไปตรวจเยี่ยมแต่ละสนามสอบ ซึ่งบุคคลสามฝ่ายที่คุยกันนั้น คุยกันต่างเวลา ต่างสถานที่ ต่างสถานการณ์กัน ไม่ได้คุยพร้อมกัน ดังนั้นข้อมูลที่เกิดจากการพูดคุยจึงไมได้ต่อเนื่องหรือสถานการณ์เดียวกัน โดยบุคคลทั้ง 3 กลุ่มได้แก่ นักศึกษาที่เข้าสอบ ครู และผู้บริหารสถานศึกษา
  • กลุ่มนักศึกษา เป็นกลุ่มแรกที่ขอยกมากล่าวถึง เริ่มจากการคุยถึงสภาพทั่วๆไปของการสอบ ประเด็นที่จะได้คำตอบตรงกันออกมาคือ ข้อสอบยาก โดยเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์ ดูเหมือว่า ถ้าถามประเด็นนี้ที่ไหน ก็จะได้รับคำตอบที่ตรงกันเกือบทั้งหมด ส่วนประเด็นอื่นๆ ถ้าคุยลึกลงไป ผู้ที่มักจะตอบคำถามได้มากและพูดคุยได้ตรงคือ นักศึกษาที่เป็นผู้สูงอายุ แต่ถ้าเป็นนักศึกษาที่เป็นเยาวชนมักจะไม่ค่อยตอบคำถามอะไรมากนัก คำถามที่ชอบถาม ก็คือ ทำไมจึงมาเรียน กศน. คำตอบก็คือ ต้องการได้ความรู้ ต้องการนำเอาความรู้ไปใช้ประโยชน์ แต่บางกลุ่มก็ไม่ตอบโดยตรงเพียงแต่รู้ว่า ต้องเอาวุฒิไปเพื่อสมัครงานหรืออื่นๆ ที่ต้องมีวุฒิทางการศึกษากำหนด ยังไม่รวมกับคำตอบที่ตอบซื่อๆ แบบชาวบ้านว่า ฉันไม่เคยเรียนเลย ครูมีจดหมายแจ้งให้มาสอบก็มา

เมื่อวิเคราะห์คำตอบของกลุ่มแรกคือนักศึกษาจะเห็นว่า ความต้องการแยกเป็น 2 เรื่องที่อาจจะสัมพันธ์กันหรือไม่ก็ไม่รู้ คือเรียนเพื่อเอาความรู้ กับเรียนเพื่อเอาวุฒิ ซึ่งทั้งสอบกลุ่มนี้ดูเหมือนว่า ไม่ค่อยพึงพอใจกับการสอนเท่าไรนัก เพราะความรู้บางเรื่องเขาก็ต้องการ แต่บางเรื่องก็ไม่ต้องการ เช่นชาวไร่ชาวนา ที่ต้องมาสอบภาษาอังกฤษ โดยที่อ่านภาษาอังกฤษ ไม่ออกเลย แต่เมื่อหลักสูตรบังคับให้เรียนก็ต้องเรียน ขณะที่ผู้ที่ต้องการเอาวุฒิ ก็ไม่ค่อยพึงพอใจกับการสอบนักเพราะการสอบ เป็นเรื่องที่สกัดกั้นการได้วุฒิทางการศึกษาเนื่องจากข้อสอบยากเกินไป แต่ดูเหมือนว่า กลุ่มที่สบายในที่สุดก็คือ กลุ่มที่มาเรียนตามความต้องการของครู เพราะการมาสอบถือว่า ได้ทำตามความต้องการของครูแล้ว ส่วนจะได้หรือไม่นั้น ไม่ใช่ประเด็นสำคัญ

  • กลุ่มครู เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้มีโอกาสพูดคุยซักถามประเด็นต่างๆ แต่สองคำถามที่ต้องถามทุกที่คือ ข้อสอบมีปัญหาหรือไม่ คำตอบทุกที่เหมือนกันคือ ไม่มีปัญหา แต่ข้อสอบค่อนข้างยาก แม้แต่ครูยังทำไม่ได้ ส่วนคำถามที่มักจะถามในบางห้องที่มีนักศึกษาขาดสอบมากๆ โดยเฉพาะห้องที่มาสอบไม่ถึงครึ่งว่าเพราะอะไร ถ้าถามครูที่คุมสอบ ก็มักจะไม่ค่อยได้คำตอบ เพราะไม่ใช่เป็นครู กศน. เป็นครูโรงเรียนในระบบโรงเรียนที่มาคุมสอบเฉยๆ แต่ถ้าถามครู กศน. ก็ได้คำตอบที่หลากหลาย เช่น ไปทำงานกรุงเทพ ไม่สามารถมาสอบได้ หรือถ้าเป็นนักศึกษาระดับประถมศึกษาซึ่งส่วนมากเป็นผู้สูงอายุและไม่มาสอบ ก็มักจะบอกเหตุผลว่า ไม่ว่าง ติดงานสำคัญ หรือไปพบคำตอบแห่งหนึ่งที่น่าสนใจคือ การที่เด็กไม่มาสอบเพราะเคยสอบไม่ผ่านมาแล้ว และลงทะเบียนใหม่ จึงไม่อยากมาสอบ เพราะคิดว่า มาสอบก็คงไม่ผ่านอีก

เมื่อวิเคราะห์ในกลุ่มของครูเริ่มที่ประเด็นแรกที่บอกว่าข้อสอบยากเกินไป ถ้ามองในประเด็นหลักการวัดผล ก็ต้องถามว่า แบบทดสอบของเราต้องการวัดอะไร และข้อสอบนั้นยากเกินไปจริงหรือไม่ และถ้าข้อสอบยาก จะสามารถวัดผลได้ตามความต้องการของหลักการวัดผลหรือไม่ เพราะข้อสอบและการวัดผลนั้นมีหลายวัตถุประสงค์ ถ้าต้องการสอบเพื่อคัดเลือก ข้อสอบก็จะมีลักษณะเด่นไปอย่างหนึ่ง ถ้าการวัดผลเพื่อการจำแนกคน ข้อสอบก็จะเป็นอย่างหนึ่ง ถ้าข้อสอบเพื่อวัดความรู้ความสามารถที่แท้จริงของคน ข้อสอบก็จะออกมาอย่างหนึ่ง ก็ต้องถามว่า การวัดผลปลายภาคเรียนของเรา ต้องการวัดอะไรจากนักศึกษา และแบบสดสอบนั้นวัดได้ตรงหรือไม่

  • กลุ่มที่สาม คือกลุ่มผู้บริหาร เป็นกลุ่มที่มีโอกาสพูดคุยด้วยน้อยมาก เพราะไม่ค่อยได้มีโอกาสพบ ส่วนมากที่ถาม ก็จะเป็นคำถามในเชิงการบริหารงานเช่น วิธีการทดสอบแบบนี้เหมาะสมหรือไม่ ซึ่งเป็นคำถามที่กว้างมาก หรือคำถามเช่นเดียวกับครู แต่ถามคนละอย่างคือ ทำอย่างไร จะให้เด็กมาเข้าสอบมากขึ้น ซึ่งจะเกี่ยวโยงไปถึงกระบวนการทั้งหมดของการจัดการศึกษา ซึ่งคำตอบจะเป็นคำตอบเชิงนโยบาย แต่คำถามจะแฝงไปด้วยความต้องการที่จะแก้ปัญหาเรื่องการ Drop out เพราะมันเชื่อมโยงไปถึงความสูญเปล่า ของการจัดการศึกษา ที่มีการจ่ายงบประมาณรายหัว หัวละพันกว่าบาท ดังนั้น คำถามนี้ จึงมักจะไม่ค่อยเกี่ยวข้องว่า ทดสอบเพื่ออะไร แต่จะเป็นคำถามว่า ทำอย่างไรให้นักศึกาามาทดสอบมากกว่า

จากข้อมูลการทดสอบปลายภาคเรียนครั้งนี้ เป็นเพียงเสี้ยวหนึงของกระบวนการจัดการศึกษานอกระบบเท่านั้น ถ้าเอาข้อมูลทุกส่วนมาปะติดปะต่อกัน ตั้งแต่นักศึกษาเดินเข้ามาในรั้ว กศน. จนกระทั่งจบออกไป บางทีนักการศึกษานอกโรงเรียนอาจจะได้ประเด็นที่ต้องกลับมาคิดทบทวนว่า การศึกษานอกโรงเรียนคืออะไรกันแน่ และที่เราทำอยู่มันใช่หรือไม่

วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2552

ศีล สมาธิ ปัญญา

บางทีอาจจะเคยได้ยินคนเอ่ยถึงปรัชญาในวงเหล้า เพราะหลายๆเรื่องที่คนเราคุยกันในวงเหลา จะเริ่มตั้งแต่ยังไม่เมา ก็คุยกันแบบระมัดระวังคำพูด แต่เมื่อเริ่มควบคุมสติไม่ได้ คำพูดที่ออกมาก็เริ่มขาดการควบคุมจากสมองส่วนที่เรียกว่า สติ แต่ก็เป็นส่วนที่ทำให้เป็นคำที่หลุดออกมาจากสิ่งที่อยู่ภายใต้จิตสำนึก ที่บางครั้งก็ไม่เคยหลุดปากออกมาเลยในยามปกติ
  • ที่เกริ่มนำมานี้ ก็เพราะมีการนำเอาเรื่องของหลักธรรมคำสอนมาถกกันในวงเหล้า ซึ่งฟังดูเหมือนกับว่ามันขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง แต่ถ้าบังอิญว่าในวงเหล้านั้น มีทั้งคนที่ขาดสติและคนที่มีสติ ก็คงจะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากวงเหล้าได้บ้างจากคนที่มีสติ
  • น่าแปลกมากที่คนกำลังจะไม่มีสติยกเอาหลักธรรมที่ถือว่าเป็นขั้นสูงมาพูดคือเรื่องปัญญา โดยกล่าวถึงวิธีที่จะทำให้เกิดปัญญา ว่าจะต้องเป็นผู้ที่มีสติ สามารถรู้เท่าทันทุกสิ่งทุกอย่าง รู้ว่ากำลังเกิดอะไร กำลังทำอะไร กำลังคิดอะไร แล้วก็ตามดูให้รู้ตลอดเหมือนถอดเอาในออกมานอกกาย แล้วดูว่ากายกำลังทำอะไร
  • ขณะที่พูดไป คนที่พูดก็เริ่มขาดสติขึ้นทุกทีเพราะความเมา

ความต้องการไม่ตรงกัน

วันนี้ได้มีโอกาสออกนิเทศและตรวจเยี่ยมสนามสอบ กศน. ได้พบกับนักศึกษา กศน.ที่มาเข้าสอบปลายภาคเรียนในห้องสอบต่างๆ ทั้งที่เป็นวันรุ่น และนักศึกษาสูงวัย เห็นแล้วก็ชื่นใจว่า เราได้เปิดโอกาสให้เขาเหล่านี้ได้มีโอกาสได้เข้าเรียนหนังสือ ได้ศึกษาหาความรู้

  • ที่กล่าวมานั้นเป็นภาพที่เราภูมิใจ แต่ก็มีอีกภาพหนึ่งที่จะต้องหาคำตอบเพราะพบว่า ในแต่ละห้องสอบนั้น บางห้องมีกนักศึกษาไม่ได้มาสอบประมาณครึ่งหนึ่ง หรือบางห้องก็ประมาณ 30-40 เปอร์เซ็นต์ที่ไม่มาสอบ มีคำถามว่า เพราะอะไร ก็ลองเริ่มถามจากครูที่เกี่ยวข้องก็ได้สาเหตุตามความคิดเห็นของครูหลายประการ ลองมาดูกันนะครับว่า มีเหตุผลอะไรบ้าง
  • เหตุผลแรกคือ ช่วงที่สอบตรงกับงานบุญของหมู่บ้าน เขาเรียกว่าบุญสังฆทาน นักศึกษาที่เป็นผู้สูงวัยทั้งหลายจะไม่มาสอบเพราะต้องไปร่วมงานบุญก่อน ทำมห้ไม่สามารถมาสอบตามช่วงเวลาที่กำหนดในตารางสอบได้
  • เหตุผลประการที่สอง กลุ่มที่ไม่มาสอบส่วนมากเป็นกลุ่มที่เคยเรียนและสอบไม่ผ่านมาเมื่อครั้งนี้แล้ว จึงลงทะเบียนใหม่ และไม่มาสอบเพราะคิดว่ามาสอบก็สอบไม่ผ่านอีก (ครูบอกเช่นนั้น)
  • เหตุผลประการที่ 3 ไม่สามารถมาสอบได้ เพราะทำงานที่อื่น เช่นที่กรุงเทพ

นี่เพียงเหตุผลบางประการยังไม่รวมสาเหตหรือเหตผลอื่นๆที่บงครัง้ก็ไม่สามารถบอกได้ ซึ่งจากเหตุผลเอาแค่ 3 ประการนี้ ก็น่าจะแสดงว่า นักศึกษาเห็นว่า การมาสอบนั้น มีความสำคัญน้อยกว่าเรื่องอื่น เช่น สำคัญน้อยกง่างานบุญ สำคัญน้อยกว่าการทำงาน เช่นนั้นใช่หรือไม่ หรือนักศึกษาอยากเรียนเอาความรู้เฉยๆ ถึงไม่ได้วุฒิเพื่อแสดงว่าจบก็ไม่เป็นไร ใช่หรือไม่ หรือความจริงแล้ว เขาก็ไม่ต้องการมาเรียนเท่าไร จึงไม่มาสอบ เป็นเรื่องที่เราเองก็สุดที่จะเดาได้เพราะไม่ได้ใกล้ชิดกับสถานการณ์เพียงพอ แต่ปรากฏการณ์ที่มีนักศึกษาขาดสอบถึงประมาณร้อยละ 20-50 ก็เป็นเรื่องที่ควรเก็บเอามาพิจารณาเช่นกันเพราะอย่างน้อยๆตัวเลขเหล่านี้ก็มีผลกระทบกับอะไรบางอย่าง

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

ความรู้พื้นฐานการใช้อินเทอร์เน็ต

จากการไปไปพบปะกับเพื่อนครูที่อยู่ในพื้นที่ต่างๆ โดยเฉพพาะกับครูที่เข้ารับการอบรมทางไกลผ่านอินเทอร์เน็ตบางท่าน ได้ข้อมูลที่เป็นทั้งเรื่องที่มีกำลังใจในการทำงานต่อ และเรื่องที่ทต้องกลับมาคิดวิธีการแก้ปัญหา

  • เอาเรื่องที่ฟังแล้วก่อให้เกิดกำลังใจก็คือ เรื่องความก้าวหน้าในการใช้งานอินเทอร์เน็ต มีผู้บริหารท่านหนึ่งถามว่า ทำไมไม่จัดการเรียนการสอนผ่านทางอินเทอร์เน็ตไปให้ถึงนักศึกษา เพราะตอนนี้ ครูที่ผ่านการอบรม ได้เรียนรู้ และใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นแล้ว โดยเฉพาะเรื่องการค้นหาข้อมูลต่างๆ ผ่านทางอินเทอร์เน็ต ดังนั้น ถ้าเปิดการเรียนการสอนผ่านทางอินเทอร์เน็ต ก็คงจะช่วยได้มาก โดยครูที่มีประสบการณ์จะเป็นผู้เข้ามาช่วยเหลือนักศึกษา
  • แต่เรื่องที่ต้องกลับมาคิดแก้ไขก็คือ มีครูอีกกลุ่มหนึ่งเช่นกันที่ไม่มีทักษะในการใช้งานอินเทอร์เน็ต โดยเฉพาะเรื่องการสื่อสาร มีหลายประเด็นที่ทั้งเขียนทั้งอธิบายไว้หน้า Website ก็ไม่เคยอ่าน ยังโทรศัพท์มาถามว่าทำอย่างไร พอบอกว่าให้อ่านที่คำอธิบาย ก็ได้รับคำตอบว่ายังไม่ได้อ่าน
  • ทั้งสองกรณีนี้ ก็เหมือนว่า เป็นเรื่องที่ตรงกันข้าม แต่ก็ต้องสรุปว่า ขึ้นอยู่กับบุคคลเป็นหลัก แต่ก็มีผลต่อการตัดสินใจเดินหน้าต่อไปว่า จะทำอย่างไร ถ้าจะรอให้พร้อมทั้งหมด ก็คงไม่ทันการณ์ แต่ถ้าจะเริ่มต้นในสภาพที่พร้อมบ้าง ไม่พร้อมบ้างจะทำอย่างไร
  • แนวคิดที่ตั้งใจว่าจะดำเนินการในปี 2553 นี้คือ จะต้องเดินหน้าเรื่องการเรียนการสอนผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือ e-Learning โดยจะต้องเริ่มเพียงบางพื้นที่ บางกลุ่มก่อน ที่คิดว่า เป็นกลุ่มที่สามารถเดินหน้าไปได้
  • แนวทางการเริ่มต้น 1 สำรวจข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับความพร้อม 3 เรื่องคือ นโยบายผู้บริหาร เครืองมืออุปกรณ์ บุคลากร 2 รับสมัครพื้นที่ที่ต้องการเริ่มต้น เป็นกลุ่มบุกเบิก 3 เริ่มพัฒนาระบบ 4 พัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้อง 5 พัฒนาสื่อ 6 พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 7 ดำเนินการ 8 หาข้อสรุปจากผลการดำเนินงาน

วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552

เลขาธิการ สพฐ. ลาออก

ความจริงได้ข่าวเรื่องนี้มาล่วงหน้าแล้ว แต่เป็นข่าวออกทาง TV เมื่อวานนี้ ทำให้สนใจมาก เพราะคุณหญิง กษมา เป็นที่รักและเคารพของข้าราชการในกระทรวงศึกษาธิการเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะชาว กศน. เพาะท่านเป็นผู้หนึ่งที่เป็นผู้บุกเบิก กศน. ตั้งแต่ยุคแรกๆ จนถึงปัจจุบัน และรับราชการครั้งแรกที่ กศน. แต่ด้วยเหตุผลที่ท่านลาออก ก็เป็นเรื่องที่เราเองก็เห็นด้วยกับท่าน และเห็นว่า ท่านคงคิดรอบคอบแล้ว และความเป็นจริงท่านก็เหลืออายุราชการอึก 1 ปี แต่ถึงแม้ว่าจะอยู่ในชีวิตราชการ หรือลาออกจากชีวิตราชการ ก็เชื่อว่า ท่านจะช่วยเหลือและทำประโยชน์ให้กับกระทรวงศึกษาธิการ และวงการการศึกษาตลอดไป

วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552

การศึกษาเพื่อใคร

ได้มีโอกาสไปพบกับกิจกรรมหนึ่งของกระบวนการจัดการศึกษา คือกิจกรรมการวัดผลการศึกษา หรือเรียกว่า การทดสอบซึ่งเป็นข้อยืนยันว่า กิจกรรมการเรียนการสอน การทดสอบ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ ออกจริงๆ และเข้าไปเกี่ยวข้องกับอีกเรื่องหนึ่งคือ การบริหารการศึกษา ซึ่งส่งผลให้การศึกษาบางครั้งก็เบี่ยงเบนไปได้
  • หลักสูตร สื่อการเรียนรู้ การวัดผล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกัน โดยหลักสูตรเป็นตัวกำหนดกรอบต่างๆ ทั้งหมด สื่อการเรียนการสอน เช่น แบบเรียน ก็จะต้องกำหนดเนื้อหาการเรียนรู้และอื่นๆ ตามหลักสูตร รวมทั้งการวัดผล การออกข้อสอบก็ต้องยึดตามหลักสูตร และทั้งสามส่วนนี้จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน เพราะครูผู้สอน ก็จะยึดหลักสูตรเป็นหลัก (ตามหลักการ) แต่ก็มีไม่น้อยที่ครูผู้สอนยึดแบบเรียนเป็นหลัก ทั้งการจัดการเรียนการสอนและการออกข้อสอบ ดังนั้น ถ้าทุกสิ่งทุกอย่างอยู่ที่ครูทั้งหมด ก็สรุปอย่างลงตัว แต่ถ้าไม่ใช่ เช่น ครูไม่ได้ทำความเข้าใจกับหลักสูตรเท่าที่ควร แบบเรียนก็ไม่มี และไม่ได้ออกข้อสอบเอง ผลสุด ท้ายจึงออกมาแบบไม่รู้ว่าเป็นหัวหรือก้อย และที่ร้ายกว่านั้นคือ นักเรียนไม่ค่อยได้เข้าเรียน หรือไม่ได่เข้าเรียนเลย ก็ไปกันใหญ่ เอาสมองกับสองมือมาสอบ
  • ประเด็นต่อมาคือเรื่องการบริหารจัดการเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็คล้ายๆ กับการเรียนการสอน ถ้าจะเปรียบเทียบว่าการเรียนการสอนหัวใจสำคัญคือหลักสูตร หัวใจของการบริหารจัดการก็คือนโยบาย ดังนั้น นโยบายเรื่องการจัดการศึกษาก็มีความสำคัญ สิ่งที่ต่อเนื่องมาจากนโยบายก็คือ เป้าหมาย และการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ถ้าได้มีการกำหนดนโยบาบเป็นที่เรียบร้อยว่า ต้องการจัดการศึกษา ..... และกำหนดเป้าหมายว่า ต้องจัดการศึกษาสำหรับกลุ่มเป้าหมาย ..... คน หรือเพิ่มขึ้น .... เปอร็เซ็นต์ การปฏิบัติก็ต้องทำให้ได้ตามนั้น เพื่อตอบสนองตามนโยบาย การพิจารณาจำนวนกลุ่มเป้าหมาย จึงเข้ามามีปัจจัยต่อการจัดการศึกษา ที่ต้องหากลุ่มเป้าหมายให้ได้ตามนั้น วิธีการก็มีทั้งเชิงรุก และรับ เชิงรับคือ รอให้คนมาสมัครเรียน ถ้ายังไม่ได ก็ต้องเชิงรุก คือเข้าไปหาผู้เรียนถึงที่ แล้วชักจูงให้มาเรียน โดยทั้งฝ่ายจัดการศึกษา และฝ่ายเข้ารับการศึกษาต่างก็มีผลประโยชน์ที่ได้รับด้วยกันทั้งสองฝ่าย จึงเป็นเรื่องปกติที่มีหลายๆ เรื่องเข้ามาเป็นปัจจับเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา จึงเป็นที่มาของเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง เด็กหนึโรงเรียน ไม่อยากมาเรียน นักเรียนออกกลางคัน ซึ่งเป็นตัวแสดงว่า การศึกษาไม่ตรงกับความต้องการของเขา ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้แล้ว การวัดผลประเมินผล ก็ไม่ได้เกิดผลตามที่ต้องการเท่าไรนัก

วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2552

แนวคิดแบบพอเพียง

เมื่อวานได้รับ Mail ฉบับหนึ่งที่พูด " คนไทยมีพระเจ้าอยู่หัว มีแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ มีศาสนาพุทธที่ดีมาก ทั้ง ๓ อย่างนี้ พยายามรักษาเอาไว้ให้ได้ " นิยามความรวยกับความจน มันเป็นเรื่องแปลกนะที่ประเทศไทยคนยากจนมีหนี้สินเยอะ ที่อังกฤษมีแต่คนรวยที่มีหนี้สิน คนจนไม่มีหนี้เพราะเขาไม่ให้คนจนยืมเงิน เนื่องจากกลัวจะไม่มีปัญญาใช้คืน จึงไม่มีสิทธิ์มีหนี้สิน แต่คนรวยยืมเงินได้ คำว่ารวยกับคำว่าจน มันคืออะไรกันแน่ ที่ขอนแก่นเขาว่าผมบ้าบ้าง ฝรั่งยากจนบ้าง ฝรั่งตกอับบ้าง ฝรั่งขี้นก ฝรั่งไม่มีเงิน แต่ผมบอกว่าไม่ใช่ ผมรวยนะ เขาถามว่ารวยได้ยังไง ผมบอกว่า ๑ . ผมมีบ้าน ผมทำบ้านเล็ก ๆ เป็นกระท่อมน้อย ๆ เอาหญ้ามามุงหลังคา ชาวบ้านเรียกว่าเถียงนา ไม่ใช่บ้านหรอก ผมบอกว่าใช่ มันบ้านของผม ไม่ใช่บ้านเจ้านาย ราคาหนึ่งหมื่นสองพันบาท อยู่ได้ครับ มันกันแดด - กันฝนได้ แค่นั้นผมก็รวยแล้ว ๒ . มีที่ดินแค่ ๖ ไร่เท่านั้นเอง ที่นั่นเขาบอกว่ากระจอกมีนิดเดียว แต่สำหรับฝรั่งมันเยอะมาก จริง ๆ ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องสำคัญ เป็นพื้นฐานของชีวิต เราต้องมีที่อยู่อาศัยเป็นของเรา ไม่ใช่ของเจ้านาย เพราะว่าถ้ามันเป็นของเจ้านาย เราต้องไปหาเงินให้เขา ถ้าเราไม่มีเงินเขาก็ไล่เราออก เราไม่มีที่อยู่นะ เพราะฉะนั้นต้องมีบ้านเป็นของตัวเองไว้ก่อน ซึ่งผมก็มีบ้าน คิดว่าลูกของผมจะต้องมีบ้านแน่ ๆ ด้วย เรื่องเกษตรผมทำไม่เก่ง แต่ที่ทำได้ง่าย คือปลูกต้นไม้ ไม้ประดู่ ไม้สะเดา ไม้ยาง ปลูกไว้ให้ลูกสร้างบ้าน ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ ต้นไม้โตเร็วมาก แค่ ๒๕ - ๓๐ ปี ตัดได้แล้ว ไม่เหมือนอังกฤษ ๒๐๐ ปีได้เท่านี้เอง เพราะอากาศเย็น เป็นเรื่องแปลกที่คนไทยจะบ่น โอ๊ย ... มันร้อน ๆ ผมว่ากลับเป็นเรื่องดี แสงแดดเยอะจะทำการเกษตรได้ตลอดเวลา ๑ ปี ทำได้ทุกวัน แต่คนไทยจะบ่นว่าร้อน ๆ ไม่เอา .. ไม่เอา .. อยากเป็นคนผิวขาวดีกว่า แต่คนอังกฤษเขาถือคนผิวขาวเป็นคนจน เพราะว่าไม่มีปัญญาจะไปเมืองนอก ซึ่งกลับกันเลย แม้แต่พ่อของผมเขาก็ยังมีเครื่องอาบแดดเพื่อให้ผิวเป็นสีแทน ให้ดูเป็นแบบคนมีสตางค์ แต่คนไทยกลับอยากมีผิวขาว วิธีคิดไม่ธรรมดาของมาร์ติน วีลเลอร์ ผมมีลูก ๓ คน ชาย ๒ หญิง ๑ สิ่งสำคัญที่สุด ๒ เรื่องในชีวิตของเรา คือ ๑ . ต้องมีบ้านเป็นของตัวเองให้ได้ จึงจะถือว่าชีวิตประสบความสำเร็จ ๒ . ต้องมีงานทำทุกวัน ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นงานอะไร แต่ขอให้มีงานทำทุกวัน ชีวิตจึงจะไม่สูญเปล่า วิธีเดียวที่รับประกันได้ว่าลูกมีงานทำ คือการมีที่ทำกินให้เขา และเราต้องช่วยให้เขาทำเป็น ผมคิดว่าคนชนบทจริง ๆ ใครมีที่ดินทำกินแล้วจะไม่ตกงาน เว้นแต่คนขี้เกียจ ซึ่งบางคนมีที่ดินเยอะแต่ไม่ยอมทำ ถ้าเราสั่งสอนให้ลูกรู้จักทำมาหากินเขาก็ไม่ตกงาน ผมถือว่างานที่อิสระและมีประโยชน์มากที่สุด คืองานเกษตร ซึ่งช่วยให้เรากินอิ่มทุกวัน คนอังกฤษกินไม่อิ่มเยอะมากนะ ผมไม่อยากให้ลูกของผมอดอาหาร อยากให้ลูกกินอิ่มในลักษณะที่ส่งเสริมสุขภาพด้วย กินอาหารที่ไม่มีสารพิษ กินอาหารแบบเรียบง่ายก็ได้แต่อิ่มทุกวัน เมื่อมีบ้าน มีงาน มีอาหาร ลูกของผมก็จะรวยที่สุด ... ฯลฯ จุดอ่อน - จุดแข็งของคนไทย ผมคิดว่าคนไทยส่วนมากยังไม่เข้าใจระบบทุนนิยม เห็นฝรั่งที่ไหนก็คิดว่ารวยหมด คิดว่าการพัฒนาในระบบทุนนิยมจะทำให้ทุกคนมีเงิน ไม่เข้าใจว่าประเทศที่พัฒนาระบบทุนนิยมนานแล้ว เช่น อังกฤษ , สหรัฐ มีปัญหาเยอะมาก แต่คนไทยก็คิดว่าเมืองนอกดีกว่า อันนี้จุดอ่อนครับ คือคนไทยสนใจเมืองนอก ไม่ได้สนใจประเทศไทย ผมเป็นฝรั่ง คุณเลยนั่งฟังผม ถ้าผมเป็นชาวบ้าน คุณจะไม่สนใจผม อันนี้เป็นจุดอ่อนนะ แต่จุดแข็งคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แผ่นดินประเทศไทยอุดมสมบูรณ์มาก ๆ มีดินเยอะมาก น้ำเยอะมาก แสงแดดเยอะมาก ทำเกษตรอยู่รอดแน่ เป็นพลังแผ่นดิน ใคร ๆ ก็อยากได้ประเทศไทย ผมก็ได้ถึง ๖ ไร่ คนไทยโชคดีมาก ๆ ที่ได้ในหลวงเป็นผู้นำ พระองค์ท่านเป็นคนที่ทำงานหนักมากเพื่อช่วยให้คนคิดได้ ช่วยให้คนอยู่ได้ จะหากษัตริย์ในประเทศอื่นไม่ค่อยมีแบบนี้ ปัญหาคือคนไทยส่วนมากนับถือในหลวง แต่ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสอนของในหลวง พระองค์ท่านบอกมา ๒๗ ปีถึงเศรษฐกิจพอเพียง แต่คนไทยก็ไม่รู้จักพอเพียง เอาอย่างเดียว ถึงยกมือไหว้ในหลวง แต่เวลาดำรงชีวิตไม่ได้ทำตามในหลวง ก็ในหลวงบอกไว้แล้วว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเสือ ขอให้มีอยู่มีกินไว้ก่อน ถ้าทุกคนเริ่มคิดจริง ๆ ถึงสิ่งที่ในหลวงพูด เราน่าจะช่วยให้ประเทศไทยอยู่ได้ เพราะความคิดของในหลวงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงต้องอาศัยพลังแผ่นดิน ทำได้เฉพาะประเทศไทยนะเศรษฐกิจพอเพียง ที่อื่นทำไม่ได้หรอกเพราะเขาไม่มีที่ดิน ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเยอะเหมือนประเทศไทย พวกคุณโชคดีที่ได้แผ่นดินดี ๆ ได้ผู้นำ ( ในหลวง ) ที่ดีด้วย และเรื่องที่ ๓ เรื่องศาสนา ผมคิดว่า ศาสนาพุทธมีความสำคัญมาก ๆ สำหรับคนไทย ไม่ใช่แค่นับถือไหว้พระ แค่นั้นไม่พอแต่อยู่ที่การปฏิบัติด้วยนะ มักน้อย สันโดษ พอเพียง ธรรมะคือธรรมชาติ เป็นเรื่องง่าย ๆ พึ่งตนเองก็ได้ ปรัชญาของศาสนาพุทธทำได้นะแต่คนไทยจำนวนน้อยที่เข้าใจ จริง ๆ แล้วศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ออกแบบให้เหมาะสมสำหรับคนบ้านนอก ให้ใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติโดยไม่ทำลาย ไม่เอาเปรียบ แต่ให้เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมขาติ อยากบอกอะไรคนไทย คุณโชคดีมาก ๆ ที่เกิดในประเทศไทยที่อุดมสมบูรณ์ ไม่ต้องไปรบกับใคร ไม่ต้องไปเอาน้ำมันจากใคร ไม่ต้องไปเบียดเบียนคนอื่น ประเทศไทยอยู่ได้ กินอิ่ม มีเหลือแจกด้วย อย่าไปคิดเรื่องเงินอะไรมาก อย่าลดคุณค่าความเป็นไทยของตัวเองลง คนไทยส่วนมากนิสัยดีจริง ๆ คนไทยมีน้ำใจ หายากนะ คนไทยมีพระเจ้าอยู่หัว มีแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ มีศาสนาพุทธที่ดีมาก ทั้ง ๓ อย่างนี้ พยายามรักษาเอาไว้ให้ได้ ชีวิตที่ไม่ทะเยอทะยานเกินไป คือชีวิตที่มีคุณภาพ ชาวบ้านทุกคนทำได้ ผมเองถึงยังทำไม่สำเร็จแต่มั่นใจว่าจะทำได้แน่ในอนาคต ถ้าผมทำได้คนอื่นก็คงทำได้ง่ายกว่าผมเยอะ ทุกอย่างอยู่ที่เรา ถ้าเราไม่อยากได้อะไรมากเกินไปในชีวิต ชีวิตมันก็ง่าย พยายามทำให้ชีวิตมันง่ายขึ้นอย่าให้มันสับสน อย่าให้มันลำบาก พยายามรักษาสิ่งแบบนี้ให้ดี และอย่าเชื่อฝรั่งมากเกินไป ขอขอบคุณข้อมูลจาก chaiyo.com

แนวคิดแบบพอเพียง

เมื่อวานได้รับ Mail ฉบับหนึ่งที่พูดถึงแนวคิกของฝรั่งมราใอยู่เมืองไทย อดที่จะสนใจไม่ได้ จึงยกเอาข้อความทั้งหมดของ Mail เพื่อมานำเสนอ ดังนี้
  • " คนไทยมีพระเจ้าอยู่หัว มีแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ มีศาสนาพุทธที่ดีมาก ทั้ง ๓ อย่างนี้ พยายามรักษาเอาไว้ให้ได้ "
  • นิยามความรวยกับความจน มันเป็นเรื่องแปลกนะที่ประเทศไทยคนยากจนมีหนี้สินเยอะ ที่อังกฤษมีแต่คนรวยที่มีหนี้สิน คนจนไม่มีหนี้เพราะเขาไม่ให้คนจนยืมเงิน เนื่องจากกลัวจะไม่มีปัญญาใช้คืน จึงไม่มีสิทธิ์มีหนี้สิน แต่คนรวยยืมเงินได้ คำว่ารวยกับคำว่าจน มันคืออะไรกันแน่ ที่ขอนแก่นเขาว่าผมบ้าบ้าง ฝรั่งยากจนบ้าง ฝรั่งตกอับบ้าง ฝรั่งขี้นก ฝรั่งไม่มีเงิน แต่ผมบอกว่าไม่ใช่ ผมรวยนะ เขาถามว่ารวยได้ยังไง ผมบอกว่า
  • ๑ . ผมมีบ้าน ผมทำบ้านเล็ก ๆ เป็นกระท่อมน้อย ๆ เอาหญ้ามามุงหลังคา ชาวบ้านเรียกว่าเถียงนา ไม่ใช่บ้านหรอก ผมบอกว่าใช่ มันบ้านของผม ไม่ใช่บ้านเจ้านาย ราคาหนึ่งหมื่นสองพันบาท อยู่ได้ครับ มันกันแดด - กันฝนได้ แค่นั้นผมก็รวยแล้ว
  • ๒ . มีที่ดินแค่ ๖ ไร่เท่านั้นเอง ที่นั่นเขาบอกว่ากระจอกมีนิดเดียว แต่สำหรับฝรั่งมันเยอะมาก จริง ๆ ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องสำคัญ เป็นพื้นฐานของชีวิต เราต้องมีที่อยู่อาศัยเป็นของเรา ไม่ใช่ของเจ้านาย เพราะว่าถ้ามันเป็นของเจ้านาย เราต้องไปหาเงินให้เขา ถ้าเราไม่มีเงินเขาก็ไล่เราออก เราไม่มีที่อยู่นะ เพราะฉะนั้นต้องมีบ้านเป็นของตัวเองไว้ก่อน ซึ่งผมก็มีบ้าน คิดว่าลูกของผมจะต้องมีบ้านแน่ ๆ ด้วย เรื่องเกษตรผมทำไม่เก่ง แต่ที่ทำได้ง่าย คือปลูกต้นไม้ ไม้ประดู่ ไม้สะเดา ไม้ยาง ปลูกไว้ให้ลูกสร้างบ้าน ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ ต้นไม้โตเร็วมาก แค่ ๒๕ - ๓๐ ปี ตัดได้แล้ว ไม่เหมือนอังกฤษ ๒๐๐ ปีได้เท่านี้เอง เพราะอากาศเย็น
  • เป็นเรื่องแปลกที่คนไทยจะบ่น โอ๊ย ... มันร้อน ๆ ผมว่ากลับเป็นเรื่องดี แสงแดดเยอะจะทำการเกษตรได้ตลอดเวลา ๑ ปี ทำได้ทุกวัน แต่คนไทยจะบ่นว่าร้อน ๆ ไม่เอา .. ไม่เอา .. อยากเป็นคนผิวขาวดีกว่า แต่คนอังกฤษเขาถือคนผิวขาวเป็นคนจน เพราะว่าไม่มีปัญญาจะไปเมืองนอก ซึ่งกลับกันเลย แม้แต่พ่อของผมเขาก็ยังมีเครื่องอาบแดดเพื่อให้ผิวเป็นสีแทน ให้ดูเป็นแบบคนมีสตางค์ แต่คนไทยกลับอยากมีผิวขาว วิธีคิดไม่ธรรมดาของมาร์ติน วีลเลอร์ ผมมีลูก ๓ คน ชาย ๒ หญิง ๑
  • สิ่งสำคัญที่สุด ๒ เรื่องในชีวิตของเรา คือ ๑ . ต้องมีบ้านเป็นของตัวเองให้ได้ จึงจะถือว่าชีวิตประสบความสำเร็จ ๒ . ต้องมีงานทำทุกวัน ไม่ได้จำกัดว่าต้องเป็นงานอะไร แต่ขอให้มีงานทำทุกวัน ชีวิตจึงจะไม่สูญเปล่า วิธีเดียวที่รับประกันได้ว่าลูกมีงานทำ คือการมีที่ทำกินให้เขา และเราต้องช่วยให้เขาทำเป็น ผมคิดว่าคนชนบทจริง ๆ ใครมีที่ดินทำกินแล้วจะไม่ตกงาน เว้นแต่คนขี้เกียจ ซึ่งบางคนมีที่ดินเยอะแต่ไม่ยอมทำ ถ้าเราสั่งสอนให้ลูกรู้จักทำมาหากินเขาก็ไม่ตกงาน ผมถือว่างานที่อิสระและมีประโยชน์มากที่สุด คืองานเกษตร ซึ่งช่วยให้เรากินอิ่มทุกวัน คนอังกฤษกินไม่อิ่มเยอะมากนะ ผมไม่อยากให้ลูกของผมอดอาหาร อยากให้ลูกกินอิ่มในลักษณะที่ส่งเสริมสุขภาพด้วย กินอาหารที่ไม่มีสารพิษ กินอาหารแบบเรียบง่ายก็ได้แต่อิ่มทุกวัน เมื่อมีบ้าน มีงาน มีอาหาร ลูกของผมก็จะรวยที่สุด ... ฯลฯ
  • จุดอ่อน - จุดแข็งของคนไทย ผมคิดว่าคนไทยส่วนมากยังไม่เข้าใจระบบทุนนิยม เห็นฝรั่งที่ไหนก็คิดว่ารวยหมด คิดว่าการพัฒนาในระบบทุนนิยมจะทำให้ทุกคนมีเงิน ไม่เข้าใจว่าประเทศที่พัฒนาระบบทุนนิยมนานแล้ว เช่น อังกฤษ , สหรัฐ มีปัญหาเยอะมาก แต่คนไทยก็คิดว่าเมืองนอกดีกว่า อันนี้จุดอ่อนครับ คือคนไทยสนใจเมืองนอก ไม่ได้สนใจประเทศไทย ผมเป็นฝรั่ง คุณเลยนั่งฟังผม ถ้าผมเป็นชาวบ้าน คุณจะไม่สนใจผม อันนี้เป็นจุดอ่อนนะ แต่จุดแข็งคือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ แผ่นดินประเทศไทยอุดมสมบูรณ์มาก ๆ มีดินเยอะมาก น้ำเยอะมาก แสงแดดเยอะมาก ทำเกษตรอยู่รอดแน่ เป็นพลังแผ่นดิน ใคร ๆ ก็อยากได้ประเทศไทย ผมก็ได้ถึง ๖ ไร่ คนไทยโชคดีมาก ๆ ที่ได้ในหลวงเป็นผู้นำ พระองค์ท่านเป็นคนที่ทำงานหนักมากเพื่อช่วยให้คนคิดได้ ช่วยให้คนอยู่ได้ จะหากษัตริย์ในประเทศอื่นไม่ค่อยมีแบบนี้ ปัญหาคือคนไทยส่วนมากนับถือในหลวง แต่ไม่ยอมปฏิบัติตามคำสอนของในหลวง พระองค์ท่านบอกมา ๒๗ ปีถึงเศรษฐกิจพอเพียง แต่คนไทยก็ไม่รู้จักพอเพียง เอาอย่างเดียว ถึงยกมือไหว้ในหลวง แต่เวลาดำรงชีวิตไม่ได้ทำตามในหลวง ก็ในหลวงบอกไว้แล้วว่า ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นเสือ ขอให้มีอยู่มีกินไว้ก่อน ถ้าทุกคนเริ่มคิดจริง ๆ ถึงสิ่งที่ในหลวงพูด เราน่าจะช่วยให้ประเทศไทยอยู่ได้ เพราะความคิดของในหลวงเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงต้องอาศัยพลังแผ่นดิน ทำได้เฉพาะประเทศไทยนะเศรษฐกิจพอเพียง ที่อื่นทำไม่ได้หรอกเพราะเขาไม่มีที่ดิน ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเยอะเหมือนประเทศไทย พวกคุณโชคดีที่ได้แผ่นดินดี ๆ ได้ผู้นำ ( ในหลวง ) ที่ดีด้วย และเรื่องที่ ๓ เรื่องศาสนา ผมคิดว่า ศาสนาพุทธมีความสำคัญมาก ๆ สำหรับคนไทย ไม่ใช่แค่นับถือไหว้พระ แค่นั้นไม่พอแต่อยู่ที่การปฏิบัติด้วยนะ มักน้อย สันโดษ พอเพียง ธรรมะคือธรรมชาติ เป็นเรื่องง่าย ๆ พึ่งตนเองก็ได้ ปรัชญาของศาสนาพุทธทำได้นะแต่คนไทยจำนวนน้อยที่เข้าใจ จริง ๆ แล้วศาสนาพุทธเป็นศาสนาที่ออกแบบให้เหมาะสมสำหรับคนบ้านนอก ให้ใช้ชีวิตร่วมกับธรรมชาติโดยไม่ทำลาย ไม่เอาเปรียบ แต่ให้เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมขาติ อยากบอกอะไรคนไทย คุณโชคดีมาก ๆ ที่เกิดในประเทศไทยที่อุดมสมบูรณ์ ไม่ต้องไปรบกับใคร ไม่ต้องไปเอาน้ำมันจากใคร ไม่ต้องไปเบียดเบียนคนอื่น ประเทศไทยอยู่ได้ กินอิ่ม มีเหลือแจกด้วย อย่าไปคิดเรื่องเงินอะไรมาก อย่าลดคุณค่าความเป็นไทยของตัวเองลง คนไทยส่วนมากนิสัยดีจริง ๆ คนไทยมีน้ำใจ หายากนะ คนไทยมีพระเจ้าอยู่หัว มีแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์ มีศาสนาพุทธที่ดีมาก ทั้ง ๓ อย่างนี้ พยายามรักษาเอาไว้ให้ได้ ชีวิตที่ไม่ทะเยอทะยานเกินไป คือชีวิตที่มีคุณภาพ ชาวบ้านทุกคนทำได้ ผมเองถึงยังทำไม่สำเร็จแต่มั่นใจว่าจะทำได้แน่ในอนาคต ถ้าผมทำได้คนอื่นก็คงทำได้ง่ายกว่าผมเยอะ ทุกอย่างอยู่ที่เรา ถ้าเราไม่อยากได้อะไรมากเกินไปในชีวิต ชีวิตมันก็ง่าย พยายามทำให้ชีวิตมันง่ายขึ้นอย่าให้มันสับสน อย่าให้มันลำบาก พยายามรักษาสิ่งแบบนี้ให้ดี และอย่าเชื่อฝรั่งมากเกินไป

ขอขอบคุณข้อมูลจาก chaiyo.com

วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2552

ข้อสอบมาตรฐาน และมาตรฐานการสอบ

  • ใครที่เรียนวัดผลมาคงรู้ดี ในการออกข้อสอบแบบ Multiple Choice นั้น ตัวเลือกที่ถูกควรกระจายไปเท่าๆกัน เช่นถ้ามีตัวเลือก 4 ตัว คือ ก ข ค ง จำนวนข้อที่ถูกควรจะเป็นของ ก ถึง ง จำนวนพอๆ กัน ดังนั้น ถ้ามีข้อสอบ 100 ข้อ ข้อ ก็น่าจะเป็นข้อถูกประมาณ 25 ข้อ
  • ประการต่อมาคือ เขาก็บอกอีกว่า ตามทฤษฎีแล้ว ข้อสอบที่ดีนั้น ต้องสามารถจำแนกคนได้ คือ คนที่มีความรู้มากที่สุดก็ควรจะได้เต็ม แต่คนที่ไม่มีความรู้เลย ก็ควรจะได้ ศูนย์ คะแนน จากข้อสรุปทั้งสองประการที่กล่าวมา ก็แสดงว่า ถ้าคนเข้าสอบคนหนึ่งรู้หลักการนี้ แล้วทำข้อสอบโดยกาที่ข้อ ก. หมด เข้าก็น่าจะได้คะแนนประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ ก็แสดงว่า เขามีความรู้ประมาณ 25 เปอร์เซ็นต์ ของความรู้ทั้งหมด จริงหรือไม่ คำตอบคือ ไม่จริงเพราะเขาไม่ได้อ่านคำถามด้วยซ้ำ แต่เขากา ข้อ ก.ทั้งหมด ซึ่งถ้าเป็นอย่างนี้ ความผิดพลาดอยู้ที่ตรงไหน
  • ที่ยกตัวย่างมากนี้ เพื่อแสดงให้เห็นว่า การวัดความสามารถทางสมองนั้น ไม่ใช่เป็นการวัดทางตรง เพราะไม่มีเครื่องมืออะไรเข้าไปวัดในสมองได้ จึงต้องวัดโดยวิธีการอ้อมๆ เช้าการใช้แบบทดสอบ เมื่อเป็นการวัดทางอ้อม ก็เลยมีส่วนที่ผิดพลาด หรือเรารู้จักกันว่ามันเป็น error จึงขึ้นอยู่กับว่า เราจะยอมให้มันผิดพลาดได้เท่าไร ประการต่อมาที่ต้องคิดกันต่อไปว่า ข้อสอบตามอุดมคติที่ว่านั้น จริงๆ มันมีหรือไม่ คือข้อสอบที่คนไม่มีความรู้แล้วตอบได้ศูนย์ และคนที่รู้ทั้งหมดได้ร้อย คำตอบก็ได้ตรงกันว่า ไม่มีหรอกครับ นั่นก็แสดงความข้อสอบที่มีนั้น ไม่ได้ดีที่สุด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า แบบทดสอบใช้ไม่ได้ เพราะคนที่ทำข้อสอบ ก็ต้องพยายามทำให้ข้อสอบนั้นดีที่สุด จึงมีคำว่า ข้อสอบมาตรฐานขึ้นมา
  • ก่อนที่จะเข้าเรื่องข้อสอบมาตรฐาน มาดูอีกตั้งอย่างหนึ่ง การทำข้อสอบสมัยนี้ บางครั้งก็มีการให้คะแนนที่แปลกไปอีก เช่น ใครทำถูก ได้ 1 คะแนน ทำผิด ติดลบ 1 คะแนน แต่ถ้าไม่ทำได้ 0 ที่เป็นเช่นนี้ เขาบอกว่า ป้องกันการเดา ก็มีคำถามต้อมาว่า คะแนนทีได้สมุติว่า คนสอคนไม่มีความรู้เลยทั้งคู่ แต่คนหนึ่งทำข้อสอบทั้งหมดทุกข้อ แต่เมื่อเขาไม่รู้เลย จึงผิดหมด เขาจะได้คะแนนเป็นลบ 100 แต่อีกคนหนึ่งไม่กาเลย เขาได้ 0 คะแนน ซึ่งตัวเลขไม่ติดลบ จะแปลความหมายของความรู้ของคนสองคนนี้อย่างไร
  • มาเข้าเรื่องข้อสอบมาตรฐานได้แล้ว คำว่ามาตรฐานและข้อสอบมาตรฐานนั้นนักวิชาการก็ช่วยกันคิดและกำหนดเป็นแนวทางหรือ ทฤษฎีไว้มากมายว่า ข้อสอบมาตรฐานต้องมีลักษณะอย่างไรบ้าง (จะไม่กล่าวทั้งหมดในที่นี้ เพราะมีรายละเอียดมาก)ที่สำคัญคือ ตัวข้อสอบต้องเป็นมาตรฐาน และกระบวนการทดสอบต้องเป็นมาตรฐาน ถ้าข้อสอบเป็นมาตรฐานแล้ว แต่กระบวนการสอบไม่ดี ผู้ทำข้อสอบลองข้อสอบกัน ผลคะแนนที่ออกมาก็เชื่อถือไม่ได้ ดังนั้นคำว่ามาตรฐาน ต้องเป็นมาตรฐานตั้งแต่กระบวนการทำข้อสอบให้เป็นมาตรฐาน และกระบวนการสอยที่เป็นมาตรฐาน

การทดสอบปลายภาคเรียน

การเรียนการสอน และการทดสอบ ดูเหมือนว่าจะเป็นของคู่กัน และการทดสอบดูเหมือนว่า เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์ แต่อาจจะมีวิธีการที่แตกต่างกันไป เช่นเคยดูหนังจีน ก็จะพูดถึงการสอบจอหงวน เป็นต้น
  • ย้อนหลังไปเมื่อสามสิบกว่าปีที่ผ่านมา เมื่อสมัยที่ตัวเองเรียนหนังสือในระดับมัธยมศึกษา ตอนนั้นระดับมัธยมศึกษามี ม.ศ.1 - ม.ศ. 5 การเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอยปลายมี 2 ปี คือ ม.ศ. 4 และ ม.ศ. 5 การรเรียนสมัยนั้น จะมีการเรียนไปเรื่อยๆ เป็นวิชาต่างๆ แล้วมีการสอบรวบยอดทุกวิชาในครั้งเดียวเมื่อสิ้นปี เขาจึงเรียกว่า สอบไล่ คือสอบเพื่อไล่ให้ไปเรียนชั้นที่สูงขึ้น ถ้าใครสอบไม่ผ่าน ก็สอบตก ต้องเรียนชั้นเดิม เรียนวิชาเดิมอัก 1 ปี แล้วสอบไล่ใหม่ และเมื่อขึ้น ม.ศ. 5 ก็สอบอีก แต่เอาเนื้อหาวิชาตั้งแต่ ม.ศ. 4- ม.ศ. 5 มาสอบ และถ้าสอบไม่ผ่าน 50 เปอร์เซ็นต์ ก็ถือว่า สอบตก ต้องเรียนซ้ำอีก 1 ปี การสดสอบจึงเป็นเรื่องสาหัสมาก
  • การเรียนการสอนต่อมา เปลี่ยนแปลงโดยแยกการเรียนและการวัดผลในแต่ละวิชาไป แต่ละวิชาก็เรียนจบใน 1 ภาคเรียน แล้วสอบกันไปทีละวิชา จนกระทั่งจบแต่ละวิชา เมื่อหมดปีก็ขึ้นไปชั้นสูงขึ้นโดยไม่มีการซ้ำชั้น จนกระทั้งจบการศึกษา ใครสอบไม่ผ่านวิชาอะไร ก็ซ่อมเฉพาะวิชานั้นๆ เป็นรายวิชาไป ดังนั้นจึงไม่มีการสอบไล่ ไม่มีการตกซ้ำชั้น
  • เมื่อพูดถึงเรื่องข้อสอบปลายภาค ก็มี 2 ลักษณะ ลักษณะแรก ครูผู้สอนเป็นผู้ออกข้อสอบและสอบเอง กับอีกลักษระหนึ่งคือใช้ข้อสอบกลาง ที่มีหน่วยงานอื่นทำหน้าที่ออกข้อสอบ แล้วส่งไปให้โรงเรียนต่างๆ ใช้ทดสอบ ซึ่งการใช้ทั้งสอบวิธีก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป สำหรับ ในช่วงแรกๆ ก็ใช้ข้อสอบกลาง โดยมีศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาค ร่วมกันออกข้อสอบ แต่ต่อมาก็เปลี่ยนเป็นให้แต่ละจังหวัดออกข้อสอบเอง และปัจจุบันคือปี 2551 และ 2552 นี้ กลับมาใช้ข้อสอบกลางที่ส่วนกลาง ร่วมกับ สถาบัน กศน. ภาคเป็นผู้ออกข้อสอบ ให้กับแต่ละอำเภอไปทำการทดสอบ

สถาบัน กศน. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิเทศ ตรวจเยี่ยมสนามสอบ

ระหว่างวันที่ 19-20 กันยายน 2552 นี้ ได้จัดให้มีการสอบปลายภาคเรียน สำหรับนักศึกษา กศน.ที่เข้าเรียนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทุกระดับชั้น ซึ่งสภาบัน กศน. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้ส่งคณะครูของสถาบันออกนิเทศ และเยี่ยมสนามสอบ ทั้ง 19 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยแบ่งคณะนิเทศออกเป็น 6 สาย คือ
  • สายที่ 1 อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์
  • สายที่ 2 บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ
  • สายที่ 3 มุกดาหาร นครพนม สกลนคร
  • สายที่ 4 อุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู เลย
  • สายที่ 5 อำนาจเจริญ ยโสธร ร้อยเอ็ด
  • สายที่ 6 กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ขอนแก่น

สำหรับสายที่ 2 รับผิดชอบจังหวัด บุรีรัมย์ นครราชสีมา ชัยภูมิ ได้เริ่มออกเดินทางจากสถาบัน กศน. ภาค ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน 2552 และประสานงานกับ กศน. จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นจังหวัดแรก โดยเข้าพบท่าน ผอ.กศน.บุรีรัมย์ เพื่อประสานงานการนิเทศสนามสอบในวันที่ 19 โดยจะนิเทศสนามสอบที่อำเภอเมือง และอำเภอลำปลายมาศ และต่อจากนั้น จะเดินทางต่อไปอำเภอห้วยแถลง และ จักราช จังหวัดนครราชสีมา

วันจันทร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2552

ทักษะชีวิตเรื่องที่ 1 รู้กฏหมาย

ได้เริ่มพูดถึงการสึกษาตลลอดชีวิตมาหลายครั้งแล้ว แด้เชื่อมโยงให้เห็นว่า หลักสูตรบังคับสำหรับการศึกษาตลอดชีวิต มี 3 หลักสูตร คือ การพัฒนาทักษะชีวิต การพัฒนาสังคมและชุมชน และการพัฒนาอาชีพ วันนี้ขอหยิบยกหลักสูตรทักษะชีวิตการพูดถึง ถือว่า เป็นการเริ่มต้น จึงนับเป็นวิชาที่ 1
  • วิชาการทำความเข้าใจกับกฏหมาย
  • ที่นำประเด็นนี้มาพูดก็เนื่องจาก มีอาจารย์มหาวิทยาลับท่านหนึ่งมาพูดคุยกันทางทีวี และกล่าวว่า เหตุการณืบ้านเมืองทุกวันนี้ มีการฟ้องร้องกันวุ่นวาย เพราะมีเหตุการณ์วุ่นวายต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะเรื่องการประท้วง โดยยกตัวอย่างกลุ่มเสื้อแดงที่ลพบุรี ถึงขนามีการขว้างปาปลาร้า อุจาระใส่รถนายก ประเด็นที่ยกมาคือ จะต้องดำเนินการตามกฏหมาย โดยนายกกล่าวว่า จะไปดูว่าการขว้างปลาร้าใส่รถ ผิดกฏหมายหรือไม่
  • ประเด็นนี้ ทำให้สะกิดใจว่า แม่แต่นายกก็ไม่รู้กฏหมายไปทั้งหมด ยิ่งชาวบ้านทั่วๆไปแล้วกันใหญ่ ส่วนมากก็ไม่รู้ว่า อะไรถูกกฏหมาย อะไรผิดกฏหมาย หรือบางอย่างก็รู้ว่าผิด แต่ทนายก็หาประเด็นทางกฏหมายมาสู่คดีมาทำให้ไม่ผิดได้ สิ่งสำคัญที่ได้ยินมาก็คือ ทุกคนจะปฏิเสธว่า ทำไปโดยไม่รู้กฏหมายไม่ได้
  • ประเด็นที่กล่าวถึงก็คือ ต้องยอมรับว่า ภาษากฏหมายเข้าใจยากจริงๆ ครูอย่างเราๆ อ่านแล้วก็งงเหมือนกัน เขาก็เสนอแนะว่า น่าจะมีหน่วยงานอะไร มาทำหน้าที่อธิบายความให้ประชาชนได้รู้กฏหมายบ้าง ไม่ใช่ให้รู้เฉพาะ ผู้พิพากษา ทนาย ตำรวจ อัยการ หรือผู้ที่เรียนกฏหมายเท่านั้น ประชาชนก็ควรได้รับสิทธิในการรู้กฏหมายด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย
  • เรื่องนี้เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับสิทธิพื้นฐาน เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับวิธีชีวิต และเป็นทักษะที่สำคัญในการดำเนินชีวิต แล้วจะไม่ให้ความสำคัญเป็นวิชาทักษะชีวิต ที่ต้องบังคับสำหรับการศึกษาตลอดชีวิตได้อย่างไร แต่ใครจะเป็นคนสร้างแหล่งการเรียนรู้นี้

วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2552

การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิต

ไม่ได้เข้าไปดูรายละเอียดว่า หลักสูตรวิชาทักษะชีวิตเข้าเขียนไว้อย่างไรบ้าง แต่อยากจะเขียนเรื่อง ทักษะชีวิต ตามความคิดของตัวเอง ว่าทักษะชีวิตมันเป็นอย่างไร
  • เราคงจะเคยเห็นเด็กน้อยตัวเล็กๆ น่ารัก ทำอะไรตามประสาเด็กและดูน่ารักเด็กจะทำอะไรสักอย่างก็ดูจะไม่ค่อยผิด เพราะถือว่า เข้ายังไม่ค่อยรู้เรื่อง เราเห็นเด็กน้อย 1 คน ที่กำลังน่ารัก แต่เรารู้ไหมว่า เมื่อเขาโตเป็นผู้ใหญ่ เขาจะเป็นอย่างไร ถ้าแบ่งเป็นสองซีกก็คือ โตขึ้นเขาจะเป็นคนดี หรือเป็นคนเลว เป็นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิต หรือเป็นคนล้มเหลงในชีวิต เป็นผู้ช่วยเหลือครอบครับ หรือทำลายครอบครัว ฯลฯ การที่เขาจะดำเนินชีวิตอย่างไร ตั้งแต่เด็กจนกลายเป็นผู้ใหญ่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวเขาทั้งสิ้น และถาเราจะเหมาว่า สิ่งแวดล้อมรอบตัวเข้าทั้งหมดนั้นคือ การศึกษา ก็คงจะไม่ผิดนัก ถ้าเรายอกรับว่า ทุกสิ่งที่เข้าไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสมองของเขาเรีกว่าการศึกษา (แต่ถ้าคิดว่า การศึกษาคือการเข้าเรียนในโรงเรียน ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง)
  • ถ้าคิดว่า ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวที่เข้ามากระตุ้นให้เกิดกระบวนยการตทางสมองท่เข้าไปควบคุมพฤติกรรมต่างๆ ของเด็ก เป็นการศึกษา เราก็เรียกว่า นั่นแหละเป็นการศึกษาที่จะเกิดขึ้นตลอดชีวิต และการศึกษาแบบนี้ ก็จะมีตัวหนึ่งที่ไปทำให้เด็กคนนั้นนำมาใช้กับการดำเนินชีวิต ที่จะทำให้เขามีวิถีชีวิตเป็นอย่างไร เป็นไปในทางดี หรือทางเลว และสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องที่มีผลต่อวิถีชีวิตนี่แหละที่เราเรียกว่าเป็นวิชาทักษะชีวิต คือสร้างทักษะหรือความชำนาญที่จะทำให้ตัวเองมีชีวิตอยู่ได้อย่างเป็นสุข

วันศุกร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552

แหล่งเรียนรู้ การศึกษาตามอัธยาศัย

มีคำถามว่า ในฐานะที่ทำงานด้าน ICT จะนำเอา ICT มาใช้เพื่อการจัดการศึกษาอย่างไร คำตอบดูเหมือนว่าจะกว้างขวางมาก สาเหตุที่ตอบเช่นนี้ก็เพราะ ICT ไม่ใช่เป็นตัวหักในการจัดการศึกษา ICT เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยสนับสนุนการจัดการศึกษา ส่วนตัวหลักก็ยังคงเป็นคนเช่นเดิม
  • สิ่งแรก ที่คิดถึง และง่ายที่สุดคือ ใช้ ICT เป็นเครื่องมือในการสร้างแหล่งการเรียนรู้ เพราะนอกจากจะเป็นการสร้างองคฺความรู้ต่างๆ ไว้แล้ว ยังป็นการส่งเสริมการรักการอ่านด้วย (แต่สำหรับคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้นที่เข้าถึง ICT หรือเข้าถึงอินเตอร์เน็ต) แต่ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องจากอีกเหมือนกันในการสร้างแหล่งการเรียนรู้ เอาแค่คำถามสั้นๆ ง่ายๆ ว่า จะสร้างแหล่งการเรียนรู้เรื่องอะไร ก็ตอบยากแล้ว
  • พยายามดึ่งประเด็นให้แคบเข้า ก็บอกว่า สร้างแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการศึกษาตลอดชีวิต ที่เป็นหน้าที่ของ กศน. ที่สามารถจัดแหล่งการเรียนรู้ได้อย่างกว้างขวาง แต่ก็ถามต่อไปอีกว่า จะสร้างเรื่องอะไรที่เป็นการศึกษาตลอดชีวิต คำตอบก็คงออกมาเหมือนที่เคยเขียนไว้แล้ว คือสร้างแหล่งการเรียนรู้สำหรับวิชาบังคับ 3 หมวด (วิชาบังคับตามคำนิยามของผู้เขียนเอง) คือ
  • เรื่องที่ 1 พัฒนาทักษะชีวิต เรืองที่ 2 พัฒนาสังคม และเรื่องที่ 3 พัฒนาอาชีก โดยทั้งสามเรื่องต้องปรับปรุงเนื้อหาให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาและสถานการณ๖ในปัจจุบัน

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

เพิ่มพลังสมองเป็นสองเท่า

ได้ฟังเรื่องที่น่าสนใจมาอีกแล้ว และเห็นว่า เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับครู และเรื่องการเรียนการสอน คำพูดที่ได้ยินแล้วกระตุกความคิดก็คือ การเรียนรู้ของคนนั้น เกิดขึ้นที่สมอง การพัฒนาสมองให้มีความ สามารถในการเรียนรู้ได้ดีนั้น เกี่ยวข้องกับเซล์สมอง และการทำงานของสมอง เขาบอกว่า สมองของคนโง่หรือ คนฉลาดมีจำนวนเซลล์ไม่ต่างกัน (จริงหรือเปล่าไม่ขอยืนยัน) แต่คนฉลาดนั้น มีพัฒนาการทางสมองที่ดี เพราะสมองของเขาได้รับการกระตุ้นให้ทำงานเสมอ

  • ข้อความที่กล่าวนี้น่าจะมีเหตุผลให้เชื่อได้ เพราะครูของเราก็ไค้รับการสั่งสอนมาไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับ จิตวิทยาการเรียนการสอน หรือทฤษฏีต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ ก็มุ่งไปสู่กิจกรรมกระตุ้นให้เกิดพฤติกรรมทางสมองทั้งสิ้น ดังนั้น จึงมีวิธีการกระตุ้นให้สมองทำงานด้วยวิธีการต่างๆ มากมาย เกิดเป็นทฤษฏีการเรียนรู้อย่างหลากหลาย

ประเด็นต่อมาที่น่าสนใจคือ เขาบอกว่า สมองมีสองซีก คือ ซีกซ้ายกับขวา ซึ่งเราก็รู้ว่า พวก ไอคิวสูงแสดงว่าสมองซีกซ้ายพัฒนาดี ส่วนพวกอีคิวสูง แสดงว่า สมองซีกขวาพัฒนาได้ดี แต่เขาบอกต่อว่า เรามัวแต่พัฒนาสมองซีกใดซีกหนึ่ง อย่างเดียว หรือพัฒนาทั้งสองซีก แต่พัฒนากันคนละที ทำไมไม่พัฒนาไปพร้อมๆ กันให้สมองทั้งสองซีกคุยกันบ้าง ถ้าเมื่อไรก็ตาม มีการกระตุ้นสมองทั้งสองซีกไปพร้อมๆกัน ให้สมองทั้งสองซีกคุยกัน จะเป็นการเพิ่มพลังสมองเป็นสองเท่า

  • คิดตามประโยคนี้ ก็เริ่มคล้อยตามเขาอีกแล้ว สมัยก่อน เรามีการแยกโรงเรียนเป็นสายวิทย์ สายศิลป์ ปัจจุบันไม่แยกโรงเรียน แต่ก็ยังแยกโปรแกรมการเรียนเป็นโปรแกรมวิทย์ โปรแกรมศิลป์ จริงๆแล้ว ถ้าให้มันไปด้วยกันได้หรือไม่ ถ้าเรามีคนที่ไอคิวก็ดี อีคิวก็สูง คงจะดีไม่น้อย และเขาก็ยืนยันว่า มันเป็นไปได้ โดยต้องมีการ กระตุ้นพัฒนาการทางสมองทั้งสองซีกไปพร้อมๆ กัน ไม่ใช่ทำกันคนละที เขาใช้คำว่า ให้สมองสองซีกคุยกันติดตามต่อไปอีกว่า

กระบวนการกระตุ้นสมองทำอย่างไร เขายกตัวอย่าง การให้โจทย์คณิตศาสตร์ แบบ กระตุ้นสมองหรือไม่กระตุ้นสมอง เช่น ถามว่า สองบวกสองเป็นเท่าไร คำตอบก็คือ 4 ต่อไปก็ถามว่า 5 คูณ 10 เป็นเท่าไร คำตอบคือ 50 ถ้ากระบวนการกระตุ้นสมองแบบนี้ ไม่ค่อยเกิดกระบวนการให้สมองได้ทำงาน เท่าไร แต่ลองเปลี่ยนใหม่ เอาคำตอบเป็นหลัก เช่นคำตอบคือ 4 แล้วให้แต่ละคนคิดว่า จะต้องเอาเลขอะไร มาทำการคำนวนแล้วให้ได้ผลลัพท์ออกมาเป็น 4 บ้าง คำตอบของแต่ละคนจะออกมาอย่างหลากหลายไม่ใช่ มีคำตอบเดียวว่า สองบวกสอง

  • ต่อไปก็เป็นการบกตัวอย่างกิจกรรมให้สมองสองซึกคุยกันซึ่งน่าสนใจมาก เป็นกิจกรรมง่ายๆ คือ การนับ จำนวนตัวเลขจากนิ้วมือ ครั้งแรกก็ทดลองมือเดียว ต่อไปเป็นสองมือ

เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องที่น่าสจใจมากครับ สำหรับครูมืออาชีพ นอกจากเรื่องนี้แล้ว ยังเข้าไปพบบทความที่กล่าวเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้อีก เช่น เพิ่มพลังสมองเป็น 10 เท่า หรืออื่นๆ ซึ่งน่าติดตามศึกษา

วันพุธที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552

เทคโนโลยี ดาบสองคม

เทคโนโลยี เป็นดาบสองคม ถ้าไม่รู้จักใช้ หรือใช้ไม่เป็น หรือไม่สามารถควบคุมมันได้ มันอาจจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพงานได้อย่างมาก แต่บางครั้งก็ทำให้งานเราพังได้เหมือนกัน แต่อย่าไปโทษเทคโนโลยีนะครับ ต้องโทษคนใช้ เพราะเทคโนโลยีมันไม่มีชีวิตจิตใจ มันทำตามคำสั่งของคนเป็นหลัก
  • เรื่องที่เกิดเป็นตัวอย่างของการควบคุมเทคโนโลยีไม่ได้ เกิดกับตัวเอง ที่ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ในการเก็บข้อมูลที่สำคัญๆไว้ใน Harddisk สำรอง ด้วยเกรงว่า ถ้าเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ อาจเกิดการผิดพลาด สูญหายได้ ด้วยความรอบคอบ จึงนำมาเก็บรวมไว้ที่เดียว แต่ปรากฏว่า เกิดความผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจ มีการ Format Harddisk จนหมด ผลคือ ข้อมูลหายเกลี้ยง ทั้งข้อมูลสำคัญ และไม่สำคัญ โดยไม่สามารถกู้คืนได้
  • ตัวอย่างนี้ อาจจะถือว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นข้อมูลที่มีความสำคัญกว่านี้ อาจจะเกิดความเสียหายมากกว่านี้
  • อีกตัวอย่างหนึ่งที่ได้ฟังจากข่าวเป็นประจำ คือ เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ต เราพบว่า มีประโยชน์อย่าสงมาก ในเรื่องการศึกษาหาความรู้ การติดต่อสื่อสาร จนเกิดระบบต่างๆ ตามมากมายตามเทคโนโลยี Web2 และ Web3 (อนาคต) แต่ข่าวที่ตามมาคือ การใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมีในการหลอกลวง การทำทุจริต การสร้างความเดือดร้อน เสียหายให้กับผู้อื่นมากมาย จนต้องออกกฏหมายมาคุ้มครองป้องกัน และลงโทษผู้กระทำผิด นี่ก็เป็นตัวอย่างของคมอีกด้านหนึ่งของดาบเทคโนโลยี ที่กลับมาเฉือดเฉือนตัวผู้ใช้เอง

วิชาบังคับ สำหรับการศึกษาตลอดชีวิต

เมื่อกล่าวถึงการศึกษาตลอดชีวิต หลายคนอาจจะนึกไม่ออก เพราะแต่ละคนคิดถึงแต่การศึกษาระดับประถม มัธยม และอุดมศึกษา นึกถึงแต่การศึกษาที่เรียนในโรงเรียน มหาวิทยาลัย มีใบประกาศนียบัตร ดังนั้นเมื่อ เรียนจบจากสภาบันเหล่านั้นแล้ว ก็ถือว่า ไม่ได้เป็นนักศึกษา ไม่ได้เข้ารับการศึกษาอีกแล้ว
  • ในสภาพที่เป็นจริง ทั้งที่อยู้ในสถาบันการศึกษาหรือจบจากสถาบันการศึกษา ทุกคนก็ต้องศึกษาหาความรู้ ตลอดเวลา คนที่ไม่ได้ศึกษาหาความรู้ ก็มีแต่คนที่ตายแล้วเท่านั้น เพราะกระบวนการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นที่สมอง คนที่ไม่ได้เรียนรู้คือคนที่สมองตาย หรือคนที่ตายแล้ว ดังนั้นคนเราจึงต้องศึกษาหาความรู้ หรือเรียนรู้กันตลอดชีวิต
  • วิชาที่เราต้องศึกษาและนำมาใช้ตลอดชีวิต มีวิชาหลักอยู่ 3 วิชา คือ

วิชาที่ 1 วิชาทักษะชีวิต เป็นวิชาที่สร้างทักษะ หรือความชำนาญในการทำให้มีชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข วิชาที่ 2 วิชาพัฒนาสังคม เป็นวิชาที่ทำให้เราอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นสุข วิชาที่ 3 วิชาทักษะอาชีพ เป็นวิชาที่ทำให้เรามีชีวิตและความเป็นอยู่ในสังคมได้

  • ดังนั้น ทุกคนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับการศึกษาตลอดชีวิต จึงจำเป็นต้องเรียนใน 3 หลักสูตรบังคับนี้ จะโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตามตั้งแต่ตื่นนอนจนถึงเข้านอน บางคนตอนที่กำลังนอนหลับก็อาจจะเรียนด้วยก็ได้
  • ถามว่าเรียน 3 วิชานี้อย่างไร เพราะไม่เห็นได้เรียนอะไรเลย แต่จริงๆ ลองดูกิจวัตรประจำวันเราได้เรียนรู้หรือเปล่า เช้าขึ้นมาแปรงฟัน เราก็ได้เรียนวิชาทักษะชีวิต วิธีแปรงฟันที่ถูก วิธีเลือกแปรงสีฟัน ยาสีฟัน การแปรงฟันมีประโยชน์อย่างไร ถ้าไม่แปรงฟันจะเป็นอย่างไร ได้เรียน ได้รู้ จนเกิดทักษะในเรื่องแปรงฟัน จนถึงขั้นเกิดเจตคติที่ดีต่อการแปรงฟัน คือนำมาปฏิบัติเป็นปกติในชีวิต เรียกว่า ถ้ามีการประเมินก็ผ่านการประเมินในเนื้อหาการแปรงฟัน ตื่นเช้า ดูข่าว ฟังข่าว พูดคุยกับเพื่อนบ้าน ก็เป็นการเรียนวิชาพัฒนาสังคมแล้ว เริ่มไปทำงาน ก็เรียนรู้วิชาพัฒนาอาชีพ ว่า ทำอย่างไรให้อาชีพที่ทำอยู้มันดีขึ้น พัฒนาขึ้น
  • ดังนั้น 3 วิชานี้ อาจจะเรียกว่าเป็นหลักสูตรบังคับของการศึกษาตลอดชีวิต เป็นหลักสูตรที่ทุกคนลงทะเบียนเรียนด้วยตนเอง จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเอง โดยไม่ต้องมีใครบังคับ มีการวัดผลประเมินผลเอง และที่สำคัญ คือ มอบใบประกาศนียบัตรให้ตัวเอง
  • นักการศึกษาต้องทำอะไรบ้าง สำหรับการศึกษาตลอดชีวิต ถ้าบอกว่า เราจะต้องไปจัดการศึกษาตลอดชีวิตให้กับประชาชน คงเป็นเรื่องยากมาก เพราะมันมากมาย กว้างขวางจริงๆ แต่ถ้าคิดเพียงว่า จะช่วยอำนวยความสะดวกให้เกิดการศึกษาตลอดชีวิต คงจะทำได้ง่ายกว่า โดยอำนวยความสะดวกให้ประชาชนทุกคน เป็นคนจัดการศึกษาตลอดชีวิต สำหรับตัวเขาเอง จัดเอง เรียนเอง ประเมินผลเอง น่ามีความเป็นไปได้มากกว่า และนักการศึกษาเอง ก็ควรจัดการศึกษาตลอดชีวิตให้ตัวงเองด้วย จะได้ไม่สอบตกหลักสูตรการศึกษาตลอดชีวิตเสียเอง

วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

นโยบาย 3D Tutor Chanel และรักการอ่าน

ถ้าใช้คำที่วัยรุ่นชอบพูดกัน ก็ต้องบอกว่า ตอนนี้ กศน. งานเข้า มีเรื่องที่เป็นนโยบายเข้ามาเต็มๆ และเกี่ยวข้องกับ กศน. 3 เรื่อง คือ
  • เรื่องที่ 1 คือ นโยบาย 3D เป็นนโยบายที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงศึกษาธิการทั้งกระทรวง โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีสถานศึกษาและมีการจัดการเรียนการสอน กศน. ได้ขายรับเรื่องนี้โดยทันที โดยมีคำขวัญว่า สำนักงาน กศน.ส่งเสริมประชาธิปไตย คุณธรรมความเป็นไทย ห่างไกลยาเสพติด
  • เรื่องที่ 2 โครงการ Tutor Chanel กศน. เข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรง ทางสถานิโทรทัศน์การศึกษา ETV ที่เผยแพร่ออกอากาศรายการนี้ และสามารถที่จะดู TV Ondemand หรือดูรายการย้อนหลังได้ โดรงการนี้ เป็นโครงการติวเข้ามหาวิทยาลัยสำหรับเด็กในระบบ ก็ไม่แน่ใจว่า เด็กนอกระบบจะได้อานิสงแค่ไหนก็ไม่รู้
  • เรื่องที่ 3 นโยบายรักการอ่าน เป็นเรื่องของ กศน. เต็มๆ และนโยบายนี้ประกาศเป็นวาระแห่งชาติ และจพดำเนินการต้อไปอีก 10 ปี เรียกได้ว่างานนี้เข้ามาเต็มๆ และนานอีกด้วย แต่ก็ไม่รู้ว่า ถ้าเปลี่ยนรัฐบาล จะยังคงนโยบายถึงปี 2561 หรือไม่

จากทั้งสามนโยบายดังกล่าวนี้ จึงเป็นคำถามที่ตามมาว่า กศน. ได้มีการขยับขยายและรองรับเรื่องเหล่านี้ ไว้อย่างไรบ้าง มีแนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมอ่ยางหรบ้าง โดยเฉพาะ 3 ยุทธศาสตร์ คือ

  1. ยุทธศาสตร์เพิ่มขีดความสามารถทางด้านการอ่าน จะทำอย่างไร ให้กลุ่มเป้าหมาย กศน. มีขีดความสามารถทางการอ่านเพิ่มขึ้น และความหมายของคำว่า ขีดความสามารถทางการอ่านหมายความว่าอย่างไร หมายความว่า สามารถอ่านได้มากภาษาขึ้น ใช่ไหม หรือสามารถอ่านได้เร็วขึ้น หรืออ่านแล้ว รู้เรื่องมากขึ้น หรืออะไรแน่ ที่เรียกว่า มีขึดความสามารถทางการอ่านเพิ่มขึ้น
  2. ยุทธศาสตร์สร้างนิสัยรักการอ่าน เป็นเรื่องที่ทำได้ไม่ง่ายนัก ที่จะทำให้คนรักการอ่าน จะต้องเริ่มจาก มีอะไรให้อ่านมากขึ้น ถ้ายังหาหนังสื่ออ่านได้ยาก หนังสือมีราคาแพง ไม่มีแหล่งให้ไปอ่านมาก ก็คงเปฌนเรื่องยากที่จะให้มีนิสัยรักการอ่าน เมื่ออดีตประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา ได้ส่งเสริมกันมามากในเรื่อง ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู้บ้าน ต่อมาเปลี่ยนเป็นที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน นี่ก็เป็นนโยบายส่งเสริมให้คนอ่านหนังสื่อซึ่งเริ่มทำมานานแล้ว
  3. ยุทธศาสตร์การสร้างบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมแห่งการส่งเสริมการอ่าน ยังมองไม่ค่อยชัดเท่าไร หมายถึงมีแหล่งการอ่านให้มาก และแต่ละแห่งต้องมีบรรยากาศให้อยากอ่านหรือเปล่า ก็ทำให้นึกถึงห้องสมุดประชาชน ศูนย์การเรียนชุมชน และอื่นๆ ที่จะมีแนวทางการพัฒนาได้มากขึ้นเพื่อให้มีบรรยากาศส่งเสริมการอ่าน

มีแนวทางที่เป็นรูปธรรมอย่างไร เพื่อหน่วยงานระดับปฏิบัติจะได้รับทราบ และดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว

วันอาทิตย์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2552

ฐานข้อมูลสื่อ

ได้เข้าไปดู Video ผ่านทางอินเตอร์เน็ตของ Yuo Tube มีเรื่องที่มีประโยชน์มากมาย ตัวอย่างที่ขอนำมาอ้างถึงคือ Video เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ เรื่องเกี่ยวกับร่างกาย แต่ละเรื่องมีประโนชน์เป็นอย่างมาก ถือว่า เป็นแหล่งรวบรวมสื่อที่มีประโยชน์อย่างมาก ตัวอย่างภาพทางด้านซ้ายมือ เป็นเรื่องเกี่ยวกับ Anatomy เป็นแบบจำลองแบบสามมิติ ทำให้เราได้เรียนรู้ได้ง่ายขึ้น นับว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีประโยชน์อีกแหล่งหนึ่งสำหรับประกอบกาเรียนการสอน หรือลองเข้าไปดูต้วอย่าง บางเรื่องที่ http://www.youtube.com/watch?v=gGrDAGN5pC0&feature=channel แนวคิดที่มองไปไกลอีกอย่างหนึ่งคือ แหล่งข้อมใลเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมาก และมีการจัดหมวดหมู่เอาไว้แล้ว แต่บางคนก็อาจจะยังเข้าไม่ถึง ทำอย่างไรจะให้ทุกคนเข้าถึงได้โดยง่ายขึ้น จึงเริ่มมาดูที่ข้อจำกัดต่างๆ ดังนี้
  • ข้อจำกัดด้านเทคดนโลยี การจะเข้าถึงได้ ต้องมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อินเตอร์เน็ตได้ ซึ่งคนทั่วไปส่วนมากยังไม่มี
  • ข้อจำกัดด้านทักษะการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการค้นหาข้อมูล บางคนใช้คอมพิวเตอร์ แต่ค้นหาข้อมูลไม่เป็น
  • ข้อจำกัดด้านภาษา เพราะส่วนมากเป็นภาษาอังกฤษ ทั้งข้อความ และเสียงบรรยาย
  • ข้อจำกัดด้าน นิสัย ไม่ชอยการศึกษาค้นคว้า

พบข้อจำกัดต่างๆ นี้แล้ว ก็นึกเสียดายว่า คนส่วนมากยังไม่สามารถเข้าถึงสิ่งดีๆ เหล่านี้

ทำไม กศน. ไม่เปิด e-Learning

เมื่อวานนี้ ได้รับโทรศัพท์ และมีคำถามที่ทำให้คิดอะไรไปได้ยืดยาว คำถามก็คือ เปิดให้ลงทะเบียนเข้าเรียนกศน. ระดับ ม.ปลายผ่านระบบ e-Learning หรือไม่ ถ้าเปิดลงทะเบียนอย่างไร ก็ตอบไปว่า ไม่ได้เปิดให้ลงทะเบียน แต่ถ้าใครสนใจที่จะเรียนรู ก็สามารถเข้ามาเรียนได้ โดยไม่ต้องลงทะเบียน เข้าเรียนเพื่อศึกษาหาควตามรู้เฉยๆ โดยไม่มีวุฒิบัตรอะไรให้ คำถพูดที่ทำให้คิดต่อมาอีกยาวก็คือ เขาพูดว่า หนูคิดว่า กศน.มีการเปิดให้เรียนทางอินเตอร์เน็ต โดยการเรียนสามารถเรียนผ่านทางอินเตอร์เน็ต เมื่อเรียนแล้ว ถึงเวลาสอบ ก็ไปสอบ เหมือนมหาวิทยาลัยรามคำแหง แค่คำพูดแค่นี้ ก็ทำให้ต้องมาทบทวนความคิดเดิมอีกครั้ง เรื่องเกี่ยวกับ e-Learning ยังไม่ประสบความสำเร็จ คือเรื่องการจัดการเรียนการสอนผ่าน e-Learning ที่พยายามขยายแนวคิดลงไปสู่อำเภอหรือสถานศึกษาของ กศน. โดยใช้กระบวนการเรียนผ่านอินเตอร์เน็ตเป็นอีกช่องทางหนึ่งของการเรียนการสอนผ่านอินเตอร์เน็ต
  • หลักการ สภาพการเรียนการสอนของ กศน.ปัจจุบัน เมื่อผู้เรียนลงทะเบียนแล้ว ก็ไปศึกษาหาความรู้ผ่านสื่อการเรียนรู้ต่างๆ ซึ่งส่วนมากก็คือตำราเรียน โดยมีกระบวนการพบกลุ่มเป็นกิจกรรมการเรียนรู้อีกกิจกรรมหนึ่งเพื่อเป็นการทบทวน เพิ่มเติม ให้ผู้เรียนได้เข้าใจในบทเรียนมากยึ่งขึ้น และเมื่อเรียนวิชาหมดทุกวิชาแล้ว ก่อนจบกลัดสูตรแต่ละระดับ ก็จะมีการทำกิจกรรม ที่นอกเหนือจากกิจกรรมทางวิชาการอีก 1 กิจกรรม ตามสภาพความเป็นจริงแล้ว นักศึกษาจำนวนหนึ่งอาจจะไม่ค่อยได้ศึกษาหาความรู้จากสื่อต่างๆ เท่าที่ควร อาศัยกิจกรรมการพบกลุ่มเป็นหลัก เพื่อการเรียนรู้ แต่ก็มีหนักศึกษาอีกกลุ่มหนึ่ง พยายามศึกษาหาความรู้ทุกวิธีการ ทั้งอ่านหนังสือ และเข้าพบกลุ่มและอื่นๆ ถ้าเปิดช่องทางการเรียนการสอนอีกช่องทางการเรียนการสอนอีกช่องทางหนึ่ง จะช่วยได้หรือไม่ คือช่องทางการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
  • วิธีการ เมื่อนักศึกษา กศน. มาลงทะเบียนเรียนหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก็จะได้ลงทะเบียนเรียนในระบบอินเตอร์เน็ตด้วย ตามวิชาที่เขาลงทะเบียนในแต่ละภาคเรียน นักศึกษาสามารถศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ต ทั้งในส่วนที่เหมือนกับแบบเรียน แบะส่วนที่เพิ่มเติจากบทเรียน ส่วนที่เพิ่มเติมจากบทเรียน เช่น สื่อที่แตกต่างจากบทเรียน เพราะมีลักษณะเป็นสื่อ Multimedia มีการติวโดยครูที่เก่ง (เหมือนโครงการ Tutorของกระทรวง) ได้พบครูประจำกลุ่ม และติดต่อสอบถามได้ตลอดเวลา มีกิจกรรมเสริม เป็นต้น นอกจากจะได้เรียนรู้เพิ่มเติมแล้ว ยังมีการบันทึกเวลาการเข้าเรียน เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเวลาเรียนด้วย มีศูนย์แนวแนวที่ช่วยติดต่อประสานงาน และแนะนำการเรียนการสอนและอื่นๆ กับนักเรียน มีศูนย์ทดสอบเพื่อให้นักศึกษาฝึกฝนเตรียมตัวก่อนการทดสอบปลายภาคเรียน
  • แนวปฏิบัติ การเตรียมความพร้อม

1 ความพร้อมด้านระบบ ต้องมีการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการดำเนินงานทั้งหมดที่กล่าวมา โดยเฉพาะระบบคอมพิวเตอร์และเครือข่าย ซึ่งมีสองส่วน คือส่วนของผู้ส่ง คือศูนย์ e-Learning ที่ตั้งอยู่ที่สำนักงาน กศน.จังหวัด และส่วนของผู้รับ คือห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ที่อยู้ที่ ศูนย์ กศน. อำเภอ หรืออื่นๆ

2 ความพร้อมของสื่อการเรียนรู้ ในระบบ Online อาจจะยังไม่พร้อมทุกวิชา แต่เริ่มเป็นบางวิชาที่มีการลวทะเบียนเรียน

3 ความพร้อมของบุคลากร คือ ผู้จัดการเรียนการสอน ครูประจำกลุ่ม และนักศึกษา

  • กิจกรรมการเรียนการสอน 1 ดำเนินการเหมือนปกติทุกประการ 2 สำหรับนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่มีความพร้อมที่จะเรียนผ่านอินเตอร์เน็ต ให้มาเรียนที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ ที่ศูนย์ กศน. อำเภอ ห้องสมุด หรือที่อื่นๆ เช่น อบต. (โดยการสร้างภาคีเครือข่ายกับสถานที่ที่มีคอมพิวเตอร์) หรือที่บ้านนักศึกษาที่มีคอมพิวเตอร์ 3 มีครูพี่เลี้ยงประจำศูนย์คอมพิวเตอร์ให้คำแนะนำในช่วงแรกๆ ช่วงต่อไปผู้เรียนสามารถเรียนได้เอง (แนะนำในเรื่องการใช้ อินเตอร์เน็ต และแนะนำการเรียนในระบบ e-Learning) 4 ครูประจำกลุ่ม ที่อยู่ที่จังหวัด หรือที่อำเภอ หรือที่อื่นๆ จะเป็นผู้คอยให้ความช่วยเหลือและติดต่อประสานงานกับผู้เรียน ผ่านทางระบบ Online
  • เริ่มต้นอย่างไร เริ่มต้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป บนพื้นฐานของความพร้อมที่มีดังนี้ 1 ความพร้อมในเชิงนโยบายของ จังหวัดและอำเภอ ที่ต้องการจะนำแนวทางนี้เข้าไปเสริมการเรียนการสอนในปัจจุบัน 2 ความพร้อมของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานที่ต้องการใช้แนวทางนี้ และมีประสบการณ์ในการเข้าอบรม e-Training 3 ความพร้อมของเครื่องมือ โดยเฉพาะระบบคอมพิวเตอร์

วันเสาร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2552

online ครบวงจร

วันนี้นั่งตอบปัญหาสำหรับผู้ที่เข้าอบรม Online มีข้อที่น่าสังเกตบางประการ ดังนี้

1 ผู้เข้าอบรมแจ้งข้อมูลไม่ถูกต้อง โดยปกติการเข้ารับการอบรม ครูจะเป็นผู้ประเมินว่าผ่านการเข้าเรียน หรือไม่โดย การตรวจสอบจำนวนชั่วโมงในการเข้าเรียน แต่เนื่องจากครูผู้สอนต้องรับผิดชอบผู้เข้าอบรมจำนวนมาก บางครั้ง จึงไม่มีเวลาไปตรวจสอบว่ามีใครเข้าเรียนครบทุกบทเรียน และมีเวลาการเข้าเรียนครบแล้วบ้าง ดังนั้น ผู้เรียนจะต้องแจ้งมายังครูว่า เข้าเรียนครบแล้ว ซึ่งครูจะได้ประเมินให้ผ่าน เพื่อไปทำกิจกรรมการเรียนรู้อื่นๆต่อไป สิ่งที่พบคือ ผู้เข้าอบรมส่วนหนึ่ง จะแจ้งมาว่า เข้าเรียนครบแล้ว โดยไม่มีข้อมูบอื่นๆ เลย จึงไม่รู้ว่า ผู้เรียนเป็นใคร เรียนอะไร ดังนั้นจึงเขียนคำอธิบายไว้ที่หน้า Website ว่า ถ้าจะแจ้งเข้ามาต้องบอกข้อมูลอะไรบ้างแต่ผลที่พบก็คือ ยังมีคนกลุ่มหนึ่งแจ้งมาเหมือนเดิม จึงสงสัยว่า

  1. ผู้เข้าอบรมไม่ได้อ่านหน้า web หรือเปล่า
  2. ป่านแล้วไม่เข้าใจ
  3. ไม่เคยเข้าเรียนเลย โดยให้ผู้อื่นเข้าเรียนแทน
  4. ไมได้ศึกษากระบวนการอบรมผ่านอินเตอร์เน็ตว่า ต้องทำอย่างไรบ้าง
  5. มีปัญหาแต่ไม่รู้จะแก้ไขอย่างไร เพราะใน Web บอกให้ติดต่อ หรือประสานงานผ่าน e-Mail แต่ไม่รู้ว่าส่งอย่างไร

2 กระบวนการเรียนรู้ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ยังเป็นเรื่องใหม่ หลายท่านยังไม่รู้ว่าทำอย่างไรบ้างทั้งๆ ที่มีคำอธิบายมากมาย แต่บางคนพื้นฐานการเข้าใช้ website แทบจะไม่มีเลย จึงต้องให้คนอื่นทำให้ตั้งแต่การสมัคร การเรียน และติดต่อประสานงานต่างๆ เพื่อให้จบหลักสูตร เพราะมีข้อบังคับว่า ทุกคนต้องเรียน ดังนั้น บุคคลกลุ่มนี้จึงต้องมาเรียนด้วยการบังคับ โดยทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ผ่าน

คำถามที่มีก็คือว่า ทำไมต้องบังคับ คงเป็นช่วงแรกเท่านั้นที่ต้องบังคับ เพื่อให้ครู ส่วนหนึ่งมีทักษะในการใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการเรียนการสอน ในโอกาสข้างหน้า ถ้าจะขยายงานด้านการศึกษาทางไกล โดยเอาเทคโนโลยัด้านอินเตอร์เน็ตเข้ามาใช้ ครูเหล่านี้ จะได้ใช้เป็น ดังนั้น จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่ครูต้องรู้ แต่ครูส่วนหนึ่งก็ไม่สนใจที่จะรู้ จึงต้องบังคับ แต่เมื่อบังคับแล้วก็ยังไม่รู้ จะทำอย่างไร

แนวทางแก้ปัญหาก็คือต้องมีตัวช่วยให้มากขึ้น โดยต้องช่วยเหลือมากกว่า ความช่วยเหลือทางอินเตอร์เน็ต แต่ต้องช่วยด้วยวิธีการอื่นๆ อีก เช่น การอบรม จัดทำเอกสาร แต่รตัวช่วยผ่าน web ก็ตงต้องมีเพิ่มขึ้น เช่นคงจะต้องจัดตั้งเป็น web แนะแนวการเรียนทางไกลผ่านอินเตอร์เน็ต

คำถามต่อไปก็มีว่า ขนาดครู ยังมีปัญหาขนาดนี้ แล้วนักศึกษาจะเป็นอย่างไร

วันศุกร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2552

Tutor Channel

"เพื่ออนาคตของชาติ เพื่อโอกาส ทุกคน ติวเข้ม เติมเต็มความรู้" เป็นข้อความประชาสัมพันธ์ โครงการของกระทรวงศึกษาธิการ ที่จะเริ่มเปิดตัวในวันที่ 5 กันยายน 2552 ซึ่งเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ และช่อง E TV ก็เป็นช่องที่จะออกอากาศด้วย
เสนอว่า นอกจาจะดูรายการสดแล้ว ควรให้สามารถดูรายการย้อนหลังได้ สำหรับผู้ที่ดูรายการสดไม่ทัน จะช่วยให้เกิดประโยชน์ มากยิ่งขึ้น

วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552

การศึกษาทางไกล e-Learning (การลงทะเบียน)

รูปแบบการเรียนการสอนทางไกล ที่กำลังทดลองดำเนินการในปัจจุบัน เป็นรูปแบบการเรียนการสอนผ่าน เครือข่ายอินเตอร์เน็ต โดยรูปแบบการดำเนินงาน มีตั่งแต่ขั้นตอนการสมัครเรียน จนจบหลักสูตรได้รับวุฒิบัตร
  • วันนี้ขอเอาข้อสรุปในขั้นตอนที่ 1 คือการสมัครเข้าเรียนและการลงทะเบียนเรียนมากล่าวถึง ซึ่งเป็นขั้นตอนการเรียนการสอนขั้นตอนแรกที่ ผู้เรียนจะต้องพบกับการสมัครเป็นนักศึกษา หรือขั้นตอนการสมัครสมาชิกของโรงเรียน Online จากการดำเนินงาน พบว่า มีวิธีการสมัคร 3 วิธีการ คือ วิธีที่ 1 ให้นักเรียนสมัครเป็นนักศึกษาด้วยตนเอง ผ่านทางหน้า website ใครก็ตามที่เปิด website เข้ามา และต้องการเรียน จะต้องสมัครเป็นสมาชิก โดยกรอกข้อมูลได้ด้วยตนเอง เมื่อกรอกข้อมูลเสร็จ ก็ถือว่าเป็นสมาชิก หรือเป็นนักเรียนโดยสมบูรณ์ วิธีที่ 2 ทางโรงเรียนสมัครให้ ระบบ e-Learning จะไม่เปิดให้สมัครเป็นสมาชิก แต่จะให้ Download ใบสมัคร แล้วไป Print เป็นเอกสาร แล้วกรอกข้อมูลในเอกสาร เสร็จแล้ว ส่งไปสมัครทางไปรษณีย์ หรือไม่เช่นนั้น ก็เปิดใบสมัครด้วยคอมพิวเตอร์ กรอกข้อมูล แล้วส่งใบสมัครไปทาง e-Mail เมื่อทางโรงเรียนได้รับจบหมาย ก็จะสมัครให้ แล้วแจ้งผลกลับไปยังผู้เรียน วิธีที่ 3 ทางโรงเรียนสมัครให้ เป็นการจัดการเรียนการสอนสำหรับกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ที่รู้จัก โดยทาง โรงเรียนสมัครให้เมื่อสมัครเสร็จแล้ว ก็แจ้ง Username และ Password ไปให้ผู้เรียนทราบทาง e-Mail เพื่อเข้าใช้งานระบบ
  • การสมัครเป็นสมาชิกทั้ง 3 วิธีการนี้ มีข้อดี และข้อจำกัดต่างกัน และขณะเดียวกัน จะเชื่องโยงไปถึงกระบวนการลงทะเบียนเรียน
  • กระบวนการลงทะเบียนเรียน ในการจัดให้ผู้เรียนลงทะเบียนเรียนนั้น ทางโรงเรียนได้กำหนดรูปแบบการลงทะเบียนได้ 2 วิธีการคือ วิธีที่ 1 ผู้เรียนต้องลงทะเบียนล่วงหน้า ก่อนวันที่จะเปิดการเรียนการสอน วิธีที่ 2 ผู้เรียนสามารถลงทะเบียนเรียนเมื่อไรก็ได้
  • ทั้งสองวิธีการ มีข้อดี ข้อจำกัดดังนี้
  • การลงทะเบียบล่วงหน้า มีข้อดีคือ ผู้เรียนจะเข้าเรียนพร้อมกัน การเรียนการสอนจะดำเนินการไปพร้อมๆ กันและจบพร้อมกัน เหมาะสำหรับวิชาที่ต้องเรียนเป็นขั้นตอน และวิชาที่ต้องทำกิจกรรมตามคำแนะนำของครูผู้สอน แต่มีข้อจำกัดคือ เมื่อผู้เรียนลงทะเบียนแล้ว ไม่สามารถเรียนได้ทันที ต้องรอจนถึงวันเปิดเรียน ซึ่งไม่สอดคล้องกับหลักการตอบสนอง สำหรับการเรียนรู้ Online เพราะส่วนมาก เมื่อลงทะเบียนแล้ว ก็ต้องการเรียนทันที หรือข้อจำกัดอีกประการหนึ่งคือ เมื่อพ้นเขตการลงทะเบียนแล้ว ผู้เรียนที่ลงทะเบียนไม่ทัน จะไม่สามารถลงทะเบียนเรียนได้ ถ้าต้องการเรียนจริงๆ ต้องแจ้งให้ทางโรงเรียนเป็นผู้ลงทะเบียนให้
  • การลงทะเบียนเมื่อไรก็ได้ เหมาะสำหรับผู้ที่มาลงทะเบียนหลังเปิดเรียนเนื่องจากมีปัญหามาลงทะเบียนไม่ทัน ก็ยังทำให้ลงทะเบียนได้ (แต่ถ้ายังไม่ถึงวันเปิดเรียนก็ยังเข้าเรียนไม่ได้เช่นกัน) แต่ถ้าเลยวันเปิดเรียน แล้ว ก็สามารถเข้าเรียนได้ แต่มีข้อจำกัดคือ บางครั้งครูผู้สอนไม่ทราบว่า มีผู้เรียนเข้ามาเรียนเพิ่มเติม ดังนั้นอาจจะขาดการสื่อสารระหว่างครูและผู้เรียน แต่ถ้าเป็นการเรียนด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยครูประจำกลุ่ม ก็ไม่มีปัญหามากนัก ส่วนข้อจำกัดอีกประการหนึ่งคือ ถ้ามีผู้เรียนเข้าเรียนมากเกินไป เพราะผู้เรียนสามารถลงทะเบียนเรียนเพิ่มเติมได้ตลอดเวลา จะมีผลทำให้ครูผู้สอน เปิด web เข้าไปตรวจสอบผลการเรียนได้ช้า เพราะฐานข้อมูลค่อนข้างใหญ่
  • เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว บางครั้งครูผู้สอนอาจจะเปิดให้ลงทะเบียนโดยจำกัดจำนวนผู้เรียนแต่ละกลุ่มว่า ไม่เกินเท่าไร ซึ่งจะมีผลทำให้ผู้เรียนไม่สามารถลงทะเบียนได้ถ้ามีผู้ลงทะเบียนเต็มแล้วในการเปิดให้ลงทะเบียนนั้น ทำได้ 2 วิธี คือ วิธีที่ 1 ให้ผู้เรียนลงทะเบียนเอง วิธีการนี้ค่อนข้างสะดวก แต่ควบคุมไม่ได้ เช่น ควบคุมจำนวนผู้เรียนแต่ละกลุ่มไมได้ ควบคุมกลุ่มผู้เรียนไม่ได้ เช่น กลุ่มจัดหวัด ก. ต้องอยู่กลุ่มเดียวกัน (นอกจากจะแจ้งล่วงหน้า ว่าจะให้ใครลงทะเบียนในกลุ่มใด) วิธีที่ 2 ทางโรงเรียนลงทะเบียนให้ ค่อนข้างจะควบคุมกลุ่มผู้ลงทะเบียนได้ แต่จะเสียเวลา และมีกระบวนการที่ยุ่งยาก เพราะผู้เรียนจะต้องแจ้งมาทางโรงเรียนก่อน อาจจะโดยทาง e-Mail หรืออื่นๆ แล้วครูจึงจะลง ทะเบียนให้ โดยสรุปแล้ว อาจจะกล่าวได้ว่า การเรียนทางไกล ขั้นตอนการสมัครเรียน และการลงทะเบียนเรียน ก็ต้อง เลือกให้เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของทั้งผู้เรียนและผูสอน

การศึกษาในยุคเศรษฐกิจสร้างสรรค์

จุดประเด็นแนวคิดจากรายการ TV ยามเช้าอีกเช่นเคย โดยผู้รู้กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีเงินทุนสำรอง มาก ดังนั้น สถานะทางการเงินมั่นคง และเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว และกล่าวต่อไปว่า การแข่งขันของประเทศ ทางด้านเศรษฐกิจนั้น จะต้องเปลี่ยนแนวคิดใหม่ หันมาใช้ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (ซึ่งแนวคิดเรื่องนี้ มีมากว่า 10 ปีแล้ว) โดยเขาบอกว่า เป็นเศรษฐกิจขายปัญญา หรือขายความคิดแปลกๆ ใหม่ๆ นั่นเอง เขายกตัวอย่าง เช่น ประเทศเกาหลี เขาลงทุนสร้างหนังเรื่องหนึ่ง แล้วฉายได้ทั่วโลก แค่เรื่องเดียวทำรายได้ดีกว่า ส่งรถยนต์ ออก 5-6 พันคัน หรือ Software ที่ลงทุนไม่มาก แต่ลงทุนทางปัญญามาก สามารถทำรายได้มหาศาล สิ่งที่เขากล่าวต่อไปคือ ฐานของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มี 3 อย่าง คือ
  • ปัญญา
  • วัฒนธรรม
  • เทคโนโลยี
  • เอาสามสิ่งที่เป็นพื้นฐาน ในการสร้างสรรค์ความคิดเพื่อผลิตสิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา ทำน้อยชิ้น แต่ขายได้มาก (หนังเรื่องเดียว ขายทั่วโลก Software ชุดเดียว ขายทั่วโลก)สิ่งที่กล่าวถึงต่อไปคือ จะต้องมีการส่งสริม สนับสนุน ในการสร้างนักคิด ให้คนคิดอย่างสร้างสรรค์ แล้วก็อดไม่ได้ที่จะโยงใยเข้ามาสู่การศึกษา คือจัดการศึกษาอย่างไร ที่จะกระตุ้นให้เกิดนักคิด นักประดิษฐ์ นักสร้างสรรค์ประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นมา อย่างจริงจัง เพราะการศึกษาทุกวันนี้ เป็นการศึกษาที่เรียนแบบท่องจำ เรียนตามตำรา ไม่ค่อยมีกระบวนการในการสร้างนักประดิษฐ์เท่าไร
  • เขาบอกว่า อุปสรรค์ที่สำคัญประการหนึ่งของสังคมไทยที่สกัดกั้นการเป็นนักประดิษฐฺ์ คิดค้นสิ่งใหม่ๆ เข้าให้ ดูภาพสะท้อนจากละคร ทาง TV ของไทยทุกวันนี้ และคนติดกันเต็มบ้านเต็มเมือง คือเรื่องเกี่ยวกับอิจฉา ริษยา เห็นใครได้ดีไม่ได้ เขาบอกว่าเรื่องนี้แหละเป็นเรื่องที่สกัดดาวรุ่งอย่างดี ทำให้สังคมไทยไม่ค่อยมีใคร คิดอะไรเท่าไร สิ่งนี้ มันแพร่กระจายเข้าไปในทุกสังคม โดยเฉพาะในหน่วยงาน ยิ่งเห็นได้ชัด ไม่ว่าจะเป็นหน่วยรายการ หรือเอกชน การอิจฉา ริษยา แก่งแย่ง ชิงดี ชิงเด่น ไม่อยากเห็นใครได้ดีกว่า เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจนชินตา
  • คงจะเป็นเรื่องไม่ง่ายนักในสังคมไทย ที่จะสนับสนุนให้คนไทยเป็นนักประดิษฐ์ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม ได้ เพราะปัจจุบัน มีสิ่งประดิษฐ์มากมาย ที่เกิดจากฝีมือคนไทย แล้ววงการศึกษาของเรา สนับสนุนให้เกิด นักประดิษฐ์ โดยเริ่มตั้งแต่อายุยังน้อยหรือยัง หรือไปสนัสนุนเมื่อโตขึ้นแล้ว มันจะสายเกินไปหรือเปล่า

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2552

กำลังใจ

มีการกล่าวถึงเรื่องขวัญและกำลังใจของครูกันมาก โดยพาดพิงไปถึงรายได้น้อยพร้อมทั้งหนึ้สินของครู ซึ่งก่อให้เกิดเผลกระทบต่อการพัฒนาการเรียนการสอนโดยเขาบอกว่า ถ้าสามารถช่วยลดหน้าสินนของครูได้ ครูก็จะอยู่โรงเรียนมากขึ้น พัฒนาการเรียนการสอนให้ดีขึ้น
  • สิง่ที่พูดกันมาก คือ คือ เป็นข้าราชการที่ถือว่า อยู่ใกล้ชิดประชาชนมาก และเป็นที่รู้จักกันมานานแล้ว ครูเป็นผู้มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ของข้าราชการ ผลผลตอบแทนที่ให้กับครู ไม่สอดคล้องกับเกียรติแลบะศักดิ์ศรีที่มี เพราะไม่ว่าจะมีเรื่องอะไรสารพัดในหมู่บ้าน ชาวบ้านก็ต้องมาบอกครู มาปรึกษาครู งานต่างๆ ครูก็ต้องไปร่วม ไปทำบุญ ไปช่วยเหลือ อย่างนี้ครูก็แย่
  • นอกจากนั้นแล้วปัจจุบัน ครูก็ต้องมีข้าวของเครื่องใช้ ให้สมศักดิ์ศรี ครูส่วนมาก จะเป็นครูที่เขาเรีกว่าเช้ามา เย็นกลับ เพราะไม่ได้อาศัยอยู่ที่โรงเรียน การเดินทาง ก็ต้องมีรถยนต์ โรงเรียนแถวชนบท ก็ต้องมีที่จอดรถ ครู 5 คน ก็มีรถ 5 คัน ครูจะอยู่บ้านธรรมดา แบบชาวบ้านทั่วไปก็ไม่ได้ สิ่งต่างๆ เหล่านี้ จึงเป็นที่มาของหนี้สินของครูทั้งสิ้น
  • จะช่วยปลดหนี้ครูอย่างไร แค่ยกหนี้สินบางส่วนมานี้ ก็จะแย่อยู่แล้ว

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การใช้คอมพิวเตอร์อย่างถูกวิธี

คนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์นานๆ ต้องระวังปัญหารที่จะตามมาเกี่ยวกับสุขภาพของตนเอง เขาบอกว่า แม้กระทั่งการนั่งทำงานหน้าเครื่องคอมพิวเตอร์ก็ต้องนั่งให้ถูกวิธี เพราะปัญหาด้านสสุ๘ภาพที่สำคัญจะมี 2 เรื่องใหญ่ คือปัญหาที่เกิดกัยตา แบะปัญหาที่เกิดกับโครงสร้างของร่างกาย

การรับรู้ และการเรียนรู้

เคยสังเกตไหมครับว่า บางที คนสองคน มองเห็นหรือได้ยินเรื่องราวเหมือนกัน แต่คิดไม่เหมือนกันแปล ความไม่เหมือนกัน เช่นได้ฟังข่าวว่า นาย ก มีเงินมากมาย คนหนึ่งก็อาจจะคิดว่า นาย ก ต้องไปโกงกินมาแน่ๆ จึงได้ร่ำรวย แต่อีกคนหนึ่งอาจจะคิดว่า เขาคงขยันทำมาหากินประกอบธุรกิจจนมีเงินมากมาย ทั้งสอง คนไปฟังข่าวมาจากที่เดียวกัน ได้รับรู้ในสิ่งเดียวกัน แต่คิดไม่เหมือนกัน เพราะการรับรู้มีเพียงแค่นี้ แต่ถ้าเขาได้ข้อมูลมากขึ้น ได้ไปรู้จัก ใกล้ชิดนาย ก ได่เรียนรู้เรื่องราวต่างๆ จากนาย ก มากขึ้น จึงจะทราบว่า จริงๆแล้ว เขาโกงกิน หรือทำมาหากิน เช่น ได้ทราบข้อเท็จจริงว่า แท้ที่จริงแล้ว ตระกูลเขาร่ำรวยอยู่แล้ว และเป็นคนทำมาหากินด้วย จึงได้เงินมากมาย ดังนั้น ในเวลาต่อมา เมื่อเขาได้ข่าวว่า นาย ข ร่ำรวย เขาก็จะคิดหรือแปลความทันที ว่า นาย ข เป็นคนทำมาหากิน เพราะการรับรู้ครั้งนี้ มีกรอบความคิดเดิมจากนาย ก เข้ามาช่วยในการแปลความ
  • การเรียนการสอนก็เช่นเดียวกัน กระบวนการเรียนการสอน จะเริ่มต้นด้วยการให้ผู้เรียนได้รับรู้เรื่องราวต่างๆซึ่งเรารเรียนว่า สิ่งเร้า หรือตัวกระตุ้น เข้าไปกระตุ้นสมองให้ได้รับรู้ ก่อน ต่อจากนั้น จึงสร้างกระบวนการ เรียนรู้ภายในสมอง ให้ได้เรียนรู้กับสิ่งเร้านั้นๆ เพื่อหาข้อค้นพบในการแปลความสิ่งเร้าอันนั้นว่าคืออะไร ถ้าสมองสามารถค้นพบได้ว่า สิ่งเรานั้นคืออะไร เราก็เรียกว่า เกิดปัญญา แต่ถ้ายังไม่สามารถค้นพบได้ ก็จะจำเพียงสิ่งเร้าอันนั้นไป แต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร เพียงแต่จำได้ เราก็เรียกว่า ท่องจำได้แบบนกแก้ว นกขุนทองโดยไม่รู้ความหมายของคำที่นกขุนทองมันพูด
  • ดังนั้น สิ่งเรา ที่จะให้เกิดการรับรู้ (Perception) จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากว่า เร้าอย่างไร จึงจะทำให้ผู้เรียน ได้รับรู้ เพราะถ้าไม่ผ่านขั้นแรก คือการรับรู้แล้ว ก็คงไม่เกิดขั้นเรียนรู้ การรับรู้ ก็สามารถรับรู้ได้จากประสาทสัมผัสต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เห็นผ่านตา ได้ยินผ่านหู ได้รสผ่านลิ้น เป็นต้น คนตาบอดจึงขาดการรับรู้ผ่านการเห็น คนหูหนวก ก็ขาดการรับรู้ผ่านการได้ยิน คนที่ไม่ได้สนใจเรียน อาจจะไม่ได้รับรู้อะไรเลยก็ได้เพราะกำลังคิดเรื่องอื่น ไม่ได้ฟังที่ครูสอน ดังนั้น การเร้าให้เกิดการรับรู้ จึงสำคัญมาก เรามักจะเคยได้ยินบ่อยถึงการนำเข้าสู่บทเรียนของครู ความจึงก็คือการสร้างสิ่งเร้าประการหนึ่งนั่นเองเมื่อผู้เรียนรับรู้แล้ว ขั้นต่อไปคือทำอย่างไร ให้นำเอาสิ่งที่ได้รับรู้นั้นไปเรียนรู้ และเกิดปัญญา ซึ่งกระบวนการดังกล่าว เป็นกระบวนการที่เกิดในสมองทั้งสิ้น หรือเราเรียกว่า เป็นสภาวะการณ์ทางจิต ซึ่งนักจิตวิทยาได้ศึกษาค้นคว้า และคิดกันมากมาย จึงเกิด ทฤษฎีการเรียนรู้มากมาย แต่ละทฤษฎีก็คิดกันว่า จะทำอย่างไรให้ผู้เรียนเกิดปัญญาให้ได้ ไม่ใช่รับรู้ และจำสิ่งเร้าได้เท่านั้น

การศึกษาทางไกลหรือ e-Learning มีอะไรเป็นสิ่งเราให้เกิดการรับรู้ และกระบวนการเรียนรู้ทำอย่างไร ผลที่ได้รับเป็นอย่างไร เป็นคำถามที่น่าสนใจ